วิทยา เทียนทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยา เทียนทอง
ไฟล์:วิทยา เทียนทอง.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (82 ปี)
อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

นายวิทยา เทียนทอง (เกิด 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว รวม 8 สมัย รวมถึง อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสระแก้ว ปัจจุบันต้องโทษในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ

ประวัติ[แก้]

นายวิทยา เทียนทอง เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เป็นบุตรของนายแสวง และ นางทองอยู่ เทียนทอง[1] และเป็นน้องชายของ นายเสนาะ เทียนทอง สำเร็จการศึกษา ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง[2]

งานการเมือง[แก้]

วิทยา เคยทำธุรกิจส่วนตัวในบ้านเกิด และเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดปราจีนบุรี ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2544 รวม 8 สมัย[3]

พ.ศ. 2549 วิทยา ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกตั้ง แต่ทำหน้าที่ได้เพียง 5 เดือนเท่านั้นก็ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

วิทยา เทียนทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดปราจีนบุรี → จังหวัดสระแก้ว สังกัดพรรคชาติไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสระแก้ว สังกัดพรรคชาติไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสระแก้ว สังกัดพรรคความหวังใหม่
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสระแก้ว สังกัดพรรคไทยรักไทย

สมาชิกวุฒิสภา[แก้]

วิทยา เทียนทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 จังหวัดสระแก้ว

คดีความ[แก้]

วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559 วิทยาถูกศาลลงโทษจำคุก 6 ปี ตามความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษหนักสุดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12[4] และเขาถูกส่งตัวเข้ารับโทษจำคุกในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ในทันที[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดสระแก้ว. นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
  3. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/069/12.PDF
  5. "'ชูชีพ-วิทยา' นอนคุกคืนแรก เครียด-ความดันพุ่ง!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-12. สืบค้นเมื่อ 2016-08-15.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐