วิกิพีเดีย:สภาการ์ตูนญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิกิพีเดีย:สภาการ์ตูน)
โครงการวิกิการ์ตูนญี่ปุ่น


สารานุกรมการ์ตูน
จำนวนบทความ
สภาการ์ตูนญี่ปุ่น
คู่มือการเขียน
รายชื่อการ์ตูนญี่ปุ่น
วันสำคัญของการ์ตูน
WikiProject Manga

กำหนดแนวการ์ตูนดีไหม?[แก้]

เท่าที่ป๋มเห็นใน Template ของ การ์ตูนญี่ปุ่น ตอนนี้ยังไม่มีแนวการ์ตูนที่แน่นอนเลยฮะ ก็เลยคิดว่า ถ้าเราตั้งแนวการ์ตูนให้เป็นหมวดหมู่ จะดีกว่านะฮะ เพื่อที่ว่าจะได้ไม่ฉกแนวกันเกินไป เช่น แนวผจญภัย, แนวรักโรแมนติค ไม่เช่นนั้น เดี๋ยวจะตั่งชื่อแปลกๆ กันไปนะฮะ--Aki Akira 06:57, 6 ตุลาคม 2005 (UTC)
ฮะฮะ จริงครับ ตอนนี้ค่อนข้างจะออฟกันแล้ว แต่อย่างว่า บางการ์ตูนมันมีหลายแนวเหลือเกิน --Manop 07:00, 6 ตุลาคม 2005 (UTC)
ควรแก้ Template ทำให้ใส่แนวได้หลายแนวไปเลยดีไหมฮะ แบบเดี่ยวกันกับที่ทำกับ Element ลิขสิทธิ์ น่ะฮะ จะได้ใส่ได้หลายแนว ส่วนแนวการ์ตูนหลักๆ น่าจะมีดังนี้ฮะ
  1. ต่อสู้และผจญภัย/Action & Adventure
  2. รักโรแมนติค/Love & Romance
  3. ตลก/Comedy
  4. หนังชีวิต/drama
  5. กีฬา/Sports
  6. หวาดเสียว/Horror (หวาดเสียว นี่น่าหวาดเสียวแฮะ)
  7. การ์ตูนเพื่อการศึกษา/Education
  8. อื่น/Other--Aki Akira 07:08, 6 ตุลาคม 2005 (UTC)
ทำเทมเพลต กับ element นี่ทำยังไงครับ นึกภาพไม่ออก แต่ไอเดียดีดีครับ มีตัวอย่างมั้ยครับ หนับหนุนหนับหนุน --Manop 06:22, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)
แค่ให้เขียนว่า ต่อสู้และผจญภัยตามนี้แหละฮะ แค่จัดเป็นหมวดๆ เหมือนเข้าหมวดหนังสือแหละฮะ สมมุติว่า เป็นเรื่องที่ค่อนข้างคลุมเครื่อ อาจใส่เป็นแบบ
[[ต่อสู้และผจญภัย]]
[[รักโรแมนติค]]
--Aki Akira 06:39, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)
ตอนนี้มี แนวการ์ตูน เอาหลายๆ หน้ามารวมกันนะครับ เพราะแต่ละหน้ามันน้อยเกิน ถ้ามีเยอะแล้วค่อยแยกออกเป็นหน้าใหม่ --Manop | พูดคุย - 19:25, 17 ธันวาคม 2005 (UTC)
อย่าลืม แนวทำอาหาร ด้วยครับ ก็จะมียอดกุ๊กแดนมังกร จอมโหดกระทะเหล็ก ฯลฯ ครับ --คนลาดกระบัง เลี้ยงเอแคร์กันได้ 08:56, 10 ตุลาคม 2553 (ICT)

ชื่อภาษาญี่ปุ่น[แก้]

สงสัยว่าจะเขียนชื่อตามอันไหนดี หนังสือการ์ตูน หรือ ในหน้า การเขียนคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น (อ้างอิงจากเกณฑ์ราชบัณฑิตยสถาน) ถ้าชื่อในหนังสือการ์ตูนกับหลักการขัดแย้งกัน --Manop | พูดคุย 03:38, 14 ตุลาคม 2005 (UTC)
น่าจะตามในหนังสือการ์ตูนนะฮะ เพราะคนมักติดชื่อในหนังสือการ์ตูน เช่น คิโนโมโตะ ซากุระ (ชื่อสกุลขึ้นก่อน) -+ - ป๋มว่าดีนะ ไม่งั้นถ้าเป็น ซากุระ คิโนโมโตะ เดี๋ยวจะงง ว่าไม่ใช่คนเดียวกัน--Aki Akira 12:03, 14 ตุลาคม 2005 (UTC)
อันนี้ก็ดีครับ ชื่อสกุลขึ้นก่อน แต่อยากให้มีบอกชื่อบอกสกุล เพราะชื่อสกุลภาษาญี่ปุ่นมีความหมายในตัวเอง แล้วสื่อความหมายต่อเนื่องไปอีกได้
แต่อีกเรื่องนึงเรื่องการสะกดนะครับ เห็นว่า การสะกดตามหลัก -_-" มันแปลกๆ แต่ไม่รู้ว่าจะเอาไงดี อย่างคำว่า คิโนโมโตะ ซากุระ ก็จะเป็น คิโนะโมะโตะ ซะกุระ ประมาณนี้นะครับ เน้นพยางค์เสียงสั้นและเสียงยาว กลายเป็นว่าอ่านแล้วเสียงมันแปลกไปเฉยเลย--Manop | พูดคุย 07:41, 16 ตุลาคม 2005 (UTC)

จะนับเซ็นไตเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นไหม?[แก้]

ขบวนการ เซ็นไต หรือภาษาไทยคือขบวนการ 5 สี อย่าง พาเวอร์เรนเจอร์ ถือได้ว่า อยู่ควบคู่กับการ์ตูนเหมือนกัน จะว่าเกือบจะเป็นละครการ์ตูนด้วยซ้ำมั้ง แต่มีคนเสนอว่า มันไม่ใช้การ์ตูนญี่ปุ่น แต่ถ้าตามความเข้าใจของคนไทยรุ่นพ่อแม่ ประมาณ 35 - 40 ปี บุคคลเหล่านี้ติดตามและชอบมันมากๆ และถือว่ามันเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ซึ่งนอกจาก เดกะเรนเจอร์ พาวเวอร์เรนเจอร์ แล้ว ยังมี เซเลอร์มูน ที่มีทั้งแบบการ์ตูนและละคร รวมทั้ง อุลตราแมน (ที่ควรเป็นอัลตราแมนมากกว่า), และ ไอ้มดแดง (ที่น่าจะเรียกว่ามนุษยหน้ากาก) อีก พวกเราจะรวมพวกนี้เข้ามาด้วยดีไหม?--Aki Akira 11:14, 23 ตุลาคม 2005 (UTC)

งง มันก็เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นไม่ใช่หรือ ยังไงอธิบายด้วยครับ
ส่วน อุลตร้าแมน หรือ ไอ้มดแดง เป็นชื่อเรียกสมัยนั้นที่เข้ามาใหม่ๆ แต่หลังๆ ไอ้มดแดง พอมีคนแปลเยอะ บางคนก็แปลจาก คาเมนไรเดอร์ เป็นอย่างอื่น --Manop | พูดคุย 18:49, 23 ตุลาคม 2005 (UTC)
พี่ Manop อะ >X < มีคนบอกเฉยๆ ว่ามันไม่ใช่การ์ตูน ก็เลยเอามาเสนอ--Aki Akira 06:35, 24 ตุลาคม 2005 (UTC)
อ๋ออออ เพิ่งนึกมาได้ คงหมายถึง ที่เป็นคนแสดงใช่ปะ ตอนแรกก็นึกถึงอุลตร้าแมนที่มันเป็นการ์ตูนที่เป็นลายเส้นอะ ฮะฮะ นั้นซินับเป็นการ์ตูนดีมะ จริงๆ ก็ไม่รู้แฮะว่ามันเรียกอะไรเหมือนกัน --Manop | พูดคุย 07:33, 24 ตุลาคม 2005 (UTC)
คุณ AkiAkira คงหมายถึงผมครับ :) ความเห็นอย่างไรคงแล้วแต่สภาการ์ตูนครับ จะเป็นแนวทางในการจัดรูปแบบ บทความใหม่ ๆ ต่อไป -- Lerdsuwa 10:08, 24 ตุลาคม 2005 (UTC)
ฮุๆ แต่ป๋มว่าอยู่ด้วยก็ดีนะ เพราะว่า คนแก่ๆ (รวมถึงคุณพ่อทั้งหลาย) ที่ชอบพวกนี้มากๆ ก็ซื้อพวกนี้เก็บเยอะเหมือนกัน และหนังพวกนี้ก็ขายๆ กันอยู่ แต่คงต้องบรรญัติศัพท์ให้มันหน่อยนะฮะ ว่าใช้คำว่าอะไรดีเพราะมันจะใช้ง่า ภาพยนตร์การ์ตูนก็ไม่ถูกสินะ เอิกๆๆ --Aki Akira 11:07, 25 ตุลาคม 2005 (UTC)
มาคิดดูอีกที มันก็ไม่ใช่การ์ตูนอะนะ คงหาศัพท์อื่นมาอธิบาย ตอนแรกนั่งคิด รู้สึกว่า "เออ จริง" แต่มันก็เป็นหนังที่ทำมาจากการ์ตูนอีกทีีนึงนะครับ --Manop | พูดคุย 21:13, 25 ตุลาคม 2005 (UTC)
เอะ...มันทำมาจากการ์ตูนเหรอฮะ ป๋มว่าบางเรื่องมันก็ไม่ได้ทำนะ (ส่วนใหญ่) แต่ว่าจะใช้ชื่ออะไรดี ใช้คำว่า ภาพยนตร์ เฉยๆ แล้วกัน แต่อยู่ในหมวดการ์ตูน --Aki Akira 14:09, 27 ตุลาคม 2005 (UTC)
ขอบเขตของคำว่าการ์ตูนที่เราจะใช้ในที่นี้นี่แค่ไหนเหรอครับ? คือตามความเข้าใจของผม การ์ตูนที่เราว่ากันก็คือcomic,cartoon,animationแล้วก็animeกับmangaของญี่ปุ่น ซึ่งเซ็นไตนี่เป็นlive-action showประเภทtokusatsuซึ่งไม่เกี่ยวกับสื่อ5ประเภทนั้นนะครับ คิดว่ารวมไว้เป็นการ์ตูนคงจะไม่ได้ Kuruni 14:57, 6 พฤศจิกายน 2005 (UTC)
จริงๆ ในนี้ไม่มีหลักการณ์อะไรมากนะครับ ในส่วนนี้ยังคงใหม่อยู่นะครับ(จะเห็นได้ว่ามี คนเขียนตอบประมาณ 3-4 คน) หลักการณ์และข้อกำหนดต่างๆ ยังคงไม่มีอะไร ตอนแรกสุดคือต้องการจะรวบรวมการ์ตูนไว้ให้เยอะที่สุด ตอนหลังกลายเป็นว่า การ์ตูนที่มีคนมาเขียนส่วนมากจะเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นนะครับ พวกการ์ตูนไทยหรือการ์ตูนฝรั่งไม่ค่อยมีเท่าไร ตอนนี้มีแค่ บาร์บ้าปาป้า กับ แบทแมน--Manop | พูดคุย 15:38, 6 พฤศจิกายน 2005 (UTC)

การ์ตูนผู้หญิง การ์ตูนผู้ชาย[แก้]

เห็นมีข้อความว่า การ์ตูนผู้หญิง การ์ตูนผู้ชาย เลยอยากสอบถามครับ ว่าแบ่งยังไงว่าอันไหนเป็นการ์ตูนผู้ชาย หรือการ์ตูนผู้หญิงครับ --Manop | พูดคุย 23:28, 1 พฤศจิกายน 2005 (UTC)
การตูนผู้หญิง มักจะเป็นการ์ตูนที่ผู้หญิงอ่านฮับ (ถึงได้เรียกว่าการ์ตูนผู้หญิง - -") โดนส่วนใหญ่มักจะหมาายถึงการ์ตูนที่เกี่ยวกับความรัก มักมีผู้หญิงเป็นตัวชูโรง การ์ตูนผู้หญิงสุดยอดได้แก่ หน้ากากแก้ว, คำสาปฟาโรห์ ส่วนการ์ตูนผุ้ชาย มักจะมีเนื้อหา วาบหวิว หรือ มีฉากวับๆ แวมๆ เข้ามา มักจะมีแต่ผู้ชายอ่า่น เช่น คุณครูจอมเวทย์ เนกิมะ! น่าจะเป็นแบบนี้นะฮะ และมันยังมีการ์ตูนอีก 2 ประเภท นั้นคือ เกย์ กะ เลส แต่สามารถจัดเข้าสู่ 2 ประเภทแรกได้คือ การ์ตูนเกย์ เป็นการ์ตูนผู้หญิง เพาะนักอ่านส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงเสียหมด ส่วนการตูนเลส สามารถเข้าข่ายการ์ตูนผู้ชาย ยกเว้น มีการวาดรูปออกแนวผู้หญิง ซึ่งยกตัวอย่าง 2 เรื่องคือ อูเทน่า (จัดว่าเป็นการ์ตูนผู้หญิงได้) แต่ มิโกะ คนทรงหุ่นเทวะ จัดเป็นการ์ตูนผู้ชาย--Aki Akira - พูดคุย 15:35, 2 พฤศจิกายน 2005 (UTC)
เอาใหม่ดีกว่าเริ่มงง จัดแบ่งตามภาพจะง่ายกว่า เพราะการวาดภาพจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การ์ตูนผู้หญิง ภาพวาดจะออกผู้หญิงๆ เช่น ตาเยิ้ม (โชบิโจ- ถูกเปล่าหว่า) และ มีเรื่องราวเกียวกับความรักกุ๊กกิก แต่การ์ตูนผู้ชายมักเน้นการต่อสู้ปและกีฬา ถ้าใช้ 2 ข้อนี้น่าจะพอๆ มองออกนะ--Aki Akira - พูดคุย 15:35, 2 พฤศจิกายน 2005 (UTC)

โคลว์การ์ด[แก้]

รวม โคลว์การ์ดทั้งหมดไว้ในหน้าเดียวกันดีมั้ยครับ เหมือนอย่างตัวละครในเนกิมะ! เวลาอ่านแล้วจะได้อ่านทีเดียวหมด เพราะข้อมูลแต่ละอันไม่เยอะ แล้วถ้าการ์ดอันไหนมีเยอะ ค่อยแยกออกมาต่างหาก --Manop | พูดคุย 06:11, 3 พฤศจิกายน 2005 (UTC)
อยากถามว่าการ์ดที่ว่านี้คือ การ์ดแบบยูกิใช่มั้ยครับ --Jsoc 03:50, 9 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)jsoc

การ์ตูนญี่ปุ่น[แก้]

จาก Template:การ์ตูนญี่ปุ่น ป๋มพึ่งแก้ไขเส้นเวลาใช้หัวเรื่องได้สำเร็จ (เย้ๆๆ! > x <) แต่พอมาดูอีกที บทความที่ใช้ Template นี้มีแค่ 45 บทความเอง ( - _ - )" ดังนั้นน่าจะเริ่มช่วยกันใส่มันให้เยอะๆ ขึ้นเนอะ--Aki Akira - พูดคุย 14:18, 13 พฤศจิกายน 2005 (UTC)

ตัวละครการ์ตูน[แก้]

ไอเดีย รวมตัวละครไว้ในบทความเดียวกัน (จริงๆ รวมไป 2 อันแล้ว พวกหน้าที่มี บรรทัดเดียว-2 บรรทัด) ถามความเห็นว่าอันไหนควรรวม หรืออันไหนควรแยกแล้วปล่อยไว้ให้เป็นโครงดี --Manop | พูดคุย - 12:48, 20 ธันวาคม 2005 (UTC)

ชื่อตัวละครการ์ตูน[แก้]

ใช้ชื่อไหนเป็นหลักดี ถ้าคนแปลการ์ตูนไทยแปลผิด ??? ยกตัวอย่างเช่น "วอยด์" (ตัวละครในเบอร์เซิร์ก) (ボイド /โบะอิโดะ/) คนไทยแปลเป็น "บอยด์" ตอนอ่านก็เหมือนจะถูก แต่ชื่อภาษาอังกฤษออกมา เป็น "วอยด์" (Void) ตัวละครนี้ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือของ Frank Herbert ในชื่อเรื่อง Destination: Void
คิดว่าถ้าเขียนตามต้นฉบับที่ถูก คนไทยอ่านแล้วจะงง แต่ถ้าเขียนตามคำแปลที่ผิด มันก็ไม่ควรผิดควรจะถูกใช่ปะ ถ้าเป็นชื่อในเนื้อเรื่องอาจจะวงเล็บได้ แต่ถ้าเป็นชื่อหัวเรื่องเลยนี่ ควรจะเอาอันไหนขึ้นก่อนดี วอยด์ หรือ บอยด์ --Manop | พูดคุย - 10:54, 2 มกราคม 2006 (UTC)

แมสคอต?[แก้]

เห็นวิกิพีเดียฉบับภาษาอังกฤษเปลี่ยนแมสคอตของหมวดมังงะและอะนิเมะะเป็นตัวละครออริจินัล วิกิพีตัน [1]แล้ว เราเอามาใช้บ้างได้ไหมครับ? Kuruni 07:24, 10 มิถุนายน 2006 (UTC)
นำมาใช้ได้เลยครับ ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ด้วย สำหรับชื่อแมสคอต ถ้าเป็น "วิกิพีตัง" น่าจะดีกว่าหรือเปล่าครับ เพราะคำว่า -tan ก็กร่อนเสียงมาจาก -chan (-จัง) ด้วย --Phisite 18:10, 15 มิถุนายน 2006 (UTC)

การ์ตูนประเทศอื่น[แก้]

อยากเสนอให้รวมการ์ตูนสัญชาติอื่นมาอยู่ใน สถานีย่อยการ์ตูนด้วยครับ มีใครเห็นด้วยไหมเอ่ย ? --PoSTeRWEB 17:54, 22 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ผมเห็นด้วยครับ เมื่อทำแบบนั้นก็ใส่ไว้ในหมวดหมู่ใหญ่ของการ์ตูนซะเลยครับ --Jsoc 03:51, 9 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)jsoc
น่าจะมีนะร่วมด้วยนะครับ แต่ไม่รู้ว่าต้องสร้างสถานีย่อยใหม่หรือเปล่า เพราะตอนนี้ชื่อเป็น "การ์ตูนญี่ปุ่น" --Manop | พูดคุย - 21:08, 22 พฤศจิกายน 2006 (UTC)

แก้ชื่อครับ[แก้]

ผมขอแก้ชื่อบทความเกี่ยวกับโมบิลสูทในกันดั้มนะครับ จะอิงกับชื่อบทความฉบับภาษาญี่ปุ่นโดยเอาเลขรหัสออก Kuruni 13:26, 19 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
อือ...ทำไปทำมา...ชื่อหมวดหมู่มันผิดแฮะ แก้ชื่อหมวดหมู่ยังไงครับเนี่ย? อยากแก้เป็น หุ่นยนต์ในกันดั้ม จะได้ครอบคลุมเนื้อหาให้กว้างกว่านี้อีกหน่อยน่ะครับ Kuruni 05:11, 9 มีนาคม 2007 (UTC)

การ Update ข้อมูลการ์ตูนที่ออกมาใหม่[แก้]

ผมเห็นว่าการ์ตูนบางเรื่องกำลังอยู่ในระหว่างจัดพิมพ์ หรือจัดฉาย เป็นต้น เมื่อมีการ์ตูนออกใหม่ จึงขอเสนอทุกท่านให้ช่วยกัน Update ฐานข้อมูลของการ์ตูนด้วยครับ เพื่อจะได้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจครับ --Harley Hartwell 10:51, 22 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ผมจะมาUpdate ข้อมูลการ์ตูนที่ออกมาใหม่ให้ครับ ผมดูที่คอมตูนให้เองครับ --คนลาดกระบัง เลี้ยงเอแคร์กันได้ 08:52, 10 ตุลาคม 2553 (ICT)

เรื่องชื่อบทความการ์ตูน ที่ยังไม่มีชื่อไทยอย่างเป็นทางการ[แก้]

เอาให้มันเหมือนกันหมดดีกว่าอ่ะ ว่า จะใช้แบบไหน

  • ชื่อที่แปลกันชั่วคราว
  • ใช้เสียงอ่านแบบภาษาไทย
  • ใช้โรมันจิซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่น แล้วแปะป้ายบทความภาษาอื่น

ส่วนตัว เสนอ ข้อ 3 เพราะเป็นการคงชื่อเดิมไว้ ยังไงโรมันจิก็คือภาษาญี่ปุ่น เพื่อความถูกต้องและเหมาะสมกว่า ซึ่งวิกิหลายๆที่ก็ใช้แบบนี้กันครับ --พ่อบ้านลูกหนี้ 18:25, 1 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

  • เนื่องจากผมเป็นชาวไร้สาระนุกรมจึงไม่ค่อยมีประสบการณ์ในวิกิพีเดียสักเท่าไร ถ้าใช้ตามข้อ 3 ก็อาจจะถูกต้องและเหมาะสม แต่จะมีปัญหากับชื่อการ์ตูนที่ยาวเกิน เช่น ore no imouto ga konnani kawaii wake ga nai อะไรอย่างนี้

จึงคิดว่า 2 แบบแรกน่าจะเหมาะสม --วอร์ออฟดีเฟียส|มาโม้ได้ที่นี่ 18:46, 1 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

อันนี้เลือกไม่ออกจริงๆว่าจะเลือกข้อใดดังนั้น No Comment ครับ --Vega-ZERO 19:01, 1 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

ผมเองดีลกับบทความโคนันเดอะมูฟวี่มาหลายตอน (ซึ่งก็ไม่มีชื่อ Official มากว่า 7-8 เดือนจนกว่าทาง License Holder จะมีการประกาศตอนท้ายปี) เลยขอเลือกข้อ 3 (แต่ในเคสของบทความที่ผมพูดถึงมันมีชื่อ Official เป็นภาษาอังกฤษ เลยสามารถตั้งได้ แต่ถ้าเป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นที่ยาว ๆ แบบ โอคามิซัง ก็จะเกิดปัญหาหน่อย แต่คำว่ายาวคงไม่น่าจะเป็นปัญหาถ้ามีการ Redirect จากชื่อสั้น ๆ ไป) ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาแก้ไปแก้มา เดี๋ยวบางคนเอาอันนู้น เดี๋ยวบางคนแปลเป็นอันนี้ ไม่เป็นไปในทางเดียวกัน --G(x) (พูดคุย · หน้าที่เขียน) 19:37, 1 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

ผมคิดว่า แบบที่่สองจะดีกว่านะครับ เพราะอาจจะเป็นแบบที่คุณ G(x) บอกไว้ เิกิดคนนั้นเข้ามาแก้บทความ แล้วแปลชื่อไปอีกแบบ ก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ --AeMzA 19:48, 1 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

ผมคิดว่าน่าจะเอาชื่อต้นฉบับมาถอดเป็นภาษาไทยนะครับ เพราะไม่น่าจะมีเหตุผลยกเว้นไม่ควรถอดเป็นภาษาไทย --Horus | พูดคุย 20:08, 1 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

ผมคิดว่าข้อ 2 น่าจะเหมาะสมที่สุด เนื่องด้วยปัจจุบัน หัวข้อบทความของวิกิพีเดียวภาคภาษาไทย ก็ควรมีชื่อบทความเป็นภาษาไทย ในขณะที่ข้อ 1 อันเป็นชื่อที่แปลกันชั่วคราวนั้น น่าจะอนุโลมให้ทำการ redirect ไปยังหน้าบทความหลักได้นะครับ 125.27.170.195 23:50, 1 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

2.ครับ เพราะชื่อที่แปลกันชั่วคราวนี่...จริงๆแล้วไม่มีเกณฑ์น่ะ แฟนแปลนี่บางทีกี่กลุ่มก็ไม่รู้ (อย่างคุโซมิโซ เทคนิคไง) อีกข้อนึงก็คือบางทีพอลิขสิทธิ์เข้าบ้านเราเขาก็ใช้ไม่ตรงกันนะครับ อย่างโทระโดระนี่ฉบับนิยายกับมังงะก็ใช้ชื่อไทยผิดกันหน่อย คงชื่อเดิมไว้ก็น่าจะหาง่ายกว่า (หมั่นทำหน้าเปลี่ยนทางหน่อยก็แล้วกัน) 心のトリガーを引け! 00:31, 2 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

กรณีใช้โรมันจิแล้วชื่อยาว ผมว่าถ้าใช้เสียงอ่านแบบไทยทับศัพท์ก็ยาวครือกันอ่ะนะ (ดีไม่ดีอาจจะยาวกว่า) = = บางทีอ่านแล้วจำยากกว่าโรมันจิด้วยนะครับ ผมว่า

ตัวอย่างบทความที่ใช้ชื่อแบบกรณีที่ 1

ตัวอย่างบทความที่ใช้ชื่อแบบกรณีที่ 2

ตัวอย่างบทความที่ใช้ชื่อแบบกรณีที่ 3

ลองดูเอาก็ได้ฮะ ส่วนตัวอยากให้คงภาษาเดิมไว้โดยการใช้โรมันจิ เพราะมันชัวร์เรื่องความถูกต้องอ่ะนะ ไหนจะเรื่องคำอ่านไทยที่เขียนได้หลายแบบอีก เช่น สึ/ซึ/สุ/ซุ หรือ กะ/งะ ด้วยอ่ะ = = --พ่อบ้านลูกหนี้ 05:49, 2 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

เรื่องกล่องเสียอรรถรส[แก้]

มีคนท้วงมา http://twitter.com/Fai_hanso/statuses/48048676991549441 แต่ตอนนี้เรายกเลิกไปแล้ว ผมค่อนข้างเห็นด้วยที่จะให้มีนะ ในฐานะที่เคยเป็นคนอ่านมาก่อนน่ะ คิดว่าไงครับ? --พ่อบ้านลูกหนี้ 23:04, 16 มีนาคม 2554 (ICT)

พอจะทราบไหมครับว่าเขาเอามาจากหน้าไหน เพราะเท่าที่ทราบเราก็พิจารณายกเลิกจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ --Horus | พูดคุย 20:35, 17 มีนาคม 2554 (ICT)
เจ้าตัวแจ้งมาว่าเห็นอยาก วิกิอื่นครับ เช่น วิกิเดดเสปซ วิกิมาโดกะ อะไรพวกนั้นอ่ะ --พ่อบ้านลูกหนี้ 21:30, 17 มีนาคม 2554 (ICT)
วิกิอื่น ก็ต้องตั้งเอง ไม่เกี่ยวกับวิกิพีเดีย ปกติโฮสต์ที่วิเกีย สั่งสร้างได้ที่หน้านี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเคยทำหรอกนะ In Heaven, everything is fine. 00:39, 18 มีนาคม 2554 (ICT)
อันนี้เป็นความเห็นที่ผู้อ่านเค้าเสนอมา เพราะมันจะเป็นผลดีกับผู้อ่าน ผมเลยเอามาเสนอตรงนี้ครับ จำเป็นด้วยหรือที่เราต้องมีนโยบายเหมือนวิกิพิเดียภาษาอื่นตลอดเวลาน่ะ? ถ้าเกิดไม่มีคนเห็นด้วย นโยบายที่ผมยื่นมาก็เลิกครับ ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย --พ่อบ้านลูกหนี้ 06:28, 18 มีนาคม 2554 (ICT)
ถ้าอ่านเพื่อความบันเทิงอาจไม่ควรเขียน plot ให้เสียอรรถรสหรือควรใส่ป้ายเตือนหากเขียน plot แบบดังกล่าว แต่วัตถุประสงค์หลักของสารานุกรมเสรีวิกิพีเดียใช้เพื่องานวิชาการ จึงต้องเขียน plot แบบไม่ซ่อน climax เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ อย่างเป็นวิชาการต่อไป
ป้ายเตือนมีหลายระดับ มีทั้งแบบซ่อนและแบบเปิดหัวปิดท้าย แบบซ่อนนั้นไม่เหมาะสมกับสารานุกรมด้วยรูปแบบ เพราะไม่เคยมีการจัดรูปแบบลักษณะดังกล่าวกับเนื้อหาในบทความเลย (ปัจจุบันใช้กับกล่อง แม่แบบ ตาราง หรือข้อมูลดิบที่เป็นรายละเอียด) ส่วนแบบเปิดหัวปิดท้ายเลิกไปเพราะว่าซ้ำซ้อนกับคำเตือนอื่นๆ ที่มีอยู่ในวิกิพีเดียอยู่แล้ว (ดูข้อความของคุณ Horus ด้านล่าง) เมื่อคนเข้ามาอ่านวิกิพีเดียควรทราบคำเตือนดังกล่าวและเมื่อเห็นหัวข้อว่า plot ก็ควรทราบว่าอาจมีเนื้อหาที่ทำให้เสียอรรถรสอยู่ อนึ่งเนื้อหาในวิกิพีเดียเป็นวิชาการ ตรงไปตรงมา และไม่เซ็นเซอร์ การติดป้ายเหล่านี้อาจจัดได้ว่าเป็นการเซ็นเซอร์อย่างอ่อนๆ
--taweethaも 07:05, 18 มีนาคม 2554 (ICT)
คือ บางกรณีเนื้อหามันไม่ได้อยู่ตรงส่วนที่เรียกว่า plot แต่อยู่ในส่วนอื่นที่ผู้อ่านเลี่ยงได้ยาก เช่น ตรงส่วนข้อมูลตัวละครเบื้องต้นน่ะครับ เพราะผู้เขียนหลายท่านเอาข้อมูลไปใส่ตรงนั้น ซึ่งเป็นจุดที่เลี่ยงได้ยาก เลยลองเอามาให้พิจารณาอีกหนน่ะ ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไรฮะ ถือเป็นความซวยของผู้อ่านไปเนอะ :)
ปล. ตรงซวยนี่พูดเอาฮานะครับ กันเข้าใจผิดกัน :) --พ่อบ้านลูกหนี้ 11:40, 18 มีนาคม 2554 (ICT)
ผมเห็นด้วยกับคุณพ่อบ้านลูกหนี้ครับ ขอยกตัวอย่างตอนหนึ่งคือตอนนั้นกำลังอ่านหนังสือ กระท่อมน้อยของลุงทอมอยู่ เกิดสนใจเลยหาข้อมูลในวิกิอังกฤษเรื่องการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิชาวผิวดำ เขารวมเรื่องหนังสือลุงทอมด้วย แต่ดันใส่เนื้อเรื่องพร้อมทั้งตอนจบลงไป ... ดังนั้นผมไม่คิดว่าป้ายนี้ตรงใช้เฉพาะตรง "เรื่องย่อ" เท่านั้น และไม่คิดว่าการติดป้ายเป็นการเซ็นเซอร์ คิดว่าเป็นการบอกผู้อ่านเฉย ๆ ให้ตัดสินใจเอาเองว่าจะรับข้อมูลหรือไม่ --Rattakorn 08:16, 19 มีนาคม 2554 (ICT)
อย่างไรก็ดี เรื่องนี้เป็นปัญหาระดับนโยบายของวิกิพีเดียไทยทั้งหมด ถ้าอยากพูดคุยให้เป็นผลบังคับใช้ ต้องประกาศเข้าศาลาชุมชนนะครับ เพราะจะมีผลกับบทประพันธ์ทุกเรื่องไม่จำกัดเฉพาะการ์ตูนญี่ปุ่นเท่านั้น อนึ่งลองดูการอภิปรายเดิมที่คุยเรื่องแม่แบบ:เสียรสประกอบด้วยนะครับ (เลิกใช้เมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2553) --taweethaも 08:21, 19 มีนาคม 2554 (ICT)
ถ้าจะพูดกันตามความจริงแล้ว เรามีเตือนสปอยเนื้อหาทุกหน้านะครับ (เพียงแต่อาจจะเห็นยากหน่อย) ดู วิกิพีเดีย:ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบด้านเนื้อหา --Horus | พูดคุย 09:38, 19 มีนาคม 2554 (ICT)
ลองไปอ่านที่ คุยเรื่องแม่แบบ:เสียรส แล้ว เสนอ 3 ทางเลือกฮะ
* เอาแม่แบบเสียรสกลับมาใช้ใหม่
* ทำให้คำเตือน วิกิพีเดีย:ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบด้านเนื้อหา เด่นชัด และเอามาใช้แทนได้
* ทำยังไงก็ได้ ให้บทความในวิกิพีเดีย มีเนื้อหาพอสังเขป ไม่ใช่สปอยด์
ส่วนตัว ยังไงก็ได้ฮะ --พ่อบ้านลูกหนี้ 20:13, 19 มีนาคม 2554 (ICT)
ข้อ 3 ผมว่าเป็นรากฐานของวิกิพีเดียนะครับ เหมือนกับเนื้อหาบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง 18+ แต่เราก็ต้องมีเนื้อหารองรับไว้ครับ ไม่สามารถเซ็นเซอร์เนื้อหาประเภทที่ว่าได้เช่นกัน --Horus | พูดคุย 21:15, 19 มีนาคม 2554 (ICT)
บางครั้งงานในสื่อมันก็มีความสำคัญที่เนื้อหาของสื่อเอง ถ้าเอาแก่นของเนื้อหาออกแล้ว ความสำคัญของเรื่องก็จะหายไปจากบทความเลย โดยเฉพาะเรื่องแนวถอดรื้อโครงสร้างกับล้อเลียน เพราะเรื่องแนวนี้เขาเล่นกับความคาดหวังในแนวของเรื่องแนวนั้นๆ ถ้าเขียนแบบสังเขปก็จะไม่ต่างจากแนวธรรมดา ออกจะเป็นการหลอกคนอ่านให้หลงทางด้วยซ้ำไป ซึ่งถ้าที่นี่เป็นไกด์บันเทิงก็ไม่เป็นไรหรอก แต่เราเป็นสารานุกรม เจตนาแบบนั้นไม่ควรมีอยู่แล้ว ส่วนตัวแล้วบทบรรยายต่างๆ ถ้าไม่ละเอียดถึงขั้นที่ว่าเป็นสคริปต์เรื่องอย่าง "พระเอกหลบกระสุนสามนัดแล้วยิงสวนกลับไปถูกผู้ร้ายตาย" อะไรทำนองนี้ก็ใช้ได้แล้วล่ะผมว่า In Heaven, everything is fine. 23:20, 19 มีนาคม 2554 (ICT)
ข้อ 3 เป็นไปได้ยากอยู่แล้วครับ เพราะบางบทความมันก็จำเป็นจริงๆที่จะต้องเขียนละเอียด แต่บางครั้งผมก็ไม่เข้าใจว่าบางจุดที่ไม่ควรมีสปอยด์ เช่น ตรงส่วนข้อมูลตัวละครเบื้องต้น จะมีสปอยด์ไปทำไม เพราะไม่ใช่ส่วนที่จำเป็นต้องมีเนื้อหาขนาดนั้น เนื่องจากเป็นการอธิบายประวัติตัวละครเพียงสังเขป พอรู้ว่าเป็นใครก็เพียงพอ และที่สำคัญยังเป็นจุดที่ผู้อ่านเลี่ยงได้ยาก ไม่เหมือนส่วนเนื้อเรื่อง ที่ผู้อ่านเห็นหัวข้อแล้วใช้วิจารณญาณตัดสินเองได้ว่าถ้าอ่านไปแล้วจะสปอยด์หรือไม่ ซึ่งที่ผมเสนอเรื่องป้ายนี้เพราะเรื่องนี้ครับ แบบที่คุณ Rattakorn เคยเจอเองก็ไม่ใช่พบการสปอยด์ที่ตัวเนื้อเรื่องของบทความ แต่เป็นส่วนอื่น/บทความอื่น น่ะครับ --พ่อบ้านลูกหนี้ 05:05, 20 มีนาคม 2554 (ICT)
ขอให้คิดในทางตรงข้ามด้วยนะครับ ผมเคยเห็นบทความจำนวนมากที่เขียนทำนอง "หลอกให้อยากแล้วจากไป" คือเล่ามาครึ่งเรื่องแล้วสุดท้ายก็หักมุมบอกให้ไปติดตามเอาเอง แบบนี้อาจจัดเป็นโฆษณาและไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่ว่าชาววิกิพีเดียทุกคนจะสามารถเข้าถึงงานวรรณกรรมเหล่านั้นได้ (งานเหล่านี้มีลิขสิทธิ์ ก็ต้องซื้อหาผ่านช่องทางที่ถูกต้อง บางทีก็ยังไม่มีวางจำหน่าย วางจำหน่ายแล้วหมดไป หรืออาจมีราคาสูง ฯลฯ) บทความจะต้องอยู่ต่อไปอีกห้าปีสิบปีหรือยาวนานกว่านั้น ถ้าเขียนแบบ review เพื่อให้ไปอ่านไปแล้วต้องไปชมของจริงจึงจะเข้าใจ มันไม่เป็นสารานุกรมแน่นอน และเมื่อเวลาผ่านไปบทความจะด้อยคุณค่าลงเพราะไม่อาจเข้าถึงงานต้นฉบับได้ โดยเฉพาะในส่วนการวิเคราะห์หรือคำวิพากษ์วิจารณ์ที่ต่อจาก plot มันจะไม่มีความหมายอะไรเลยถ้าคนอ่านไม่รู้ว่า plot เป็นอย่างไร --taweethaも 05:29, 20 มีนาคม 2554 (ICT)
ประเด็นที่ผมเสนอไม่ใช่ สปอยด์หรือไม่สปอยด์ อ่ะครับ แต่เป็น สปอยด์ไปอยู่ในที่ไม่ควรสปอยด์ เช่น เอาส่วนที่เป็นสปอยด์เนื้อเรื่อง ไปใส่ตรงข้อมูลตัวละครเบื้องต้น อะไรแบบนี้ อย่างที่ยกตัวอย่างไปครับ ถึงได้มาผลักดันเรื่องป้ายแม่แบบ เพราะถ้าเกิดมีกรณีมีข้อมูลสปอยด์ในลักษณะนี้ปรากฏ จะสามารถติดป้ายเตือนได้ ไม่ก็ถ้าจะเขียนข้อมูลตัวละคร หรือเนื้อเรื่องอย่างละเอียดในส่วนอื่นๆที่เนื้อหานั้นๆเกี่ยวข้อง แต่ตรงนั้นไม่ใช่เนื้อหา ก็ควรทำหน้าแยกไปจากหน้าหลัก เพื่อให้ผู้อ่านเลี่ยงได้ครับ ส่วนตัวแล้วก็ไม่สนับสนุนให้เขียนละเอียดถี่ยิกอ่ะนะ บางบทความก็ไม่ได้ละเอียดถึงขั้นสคริปต์ แต่ผมว่ามันก็ละเอียดเกินความจำเป็น และบางครั้งยังอยู่ในจุดที่ไม่จำเป็นจะต้องมีข้อมูลนั้นๆด้วย ในความหมายสารานุกรมที่ผมเข้าใจ คือ "สื่อรวบรวมข้อมูลในแบบกว้างๆ" ครับ การเขียนทั้งหมดลงไปให้ผู้อ่านเข้าใจก็เพียงพอแล้ว ผมคิดแบบนี้นะ แต่เรื่องนโยบายนี้พูดตรงๆว่ายังไงก็ได้ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ผู้อ่านเสนอมา เราเขียนวิกิก็เพื่อเสนอข้อมูลให้กับผู้อ่านได้รับทราบและเข้าใจทั้งหมดของบทความ ผมว่าก็น่าจะมีความพอดีระหว่าง "สารานุกรมที่ถูกต้อง" กับ "ความเห็นของผู้อ่าน" นะฮะ
ปล. สังเกตุหลายหนแล้ว เวลาคุยเรื่องนโยบายทีไร มีสมาชิกไม่ถึง 1 ใน 10 ของวิกิพิเดียเลย ที่ทราบแล้วเข้ามาพูดคุย บางครั้งนโยบายอาจไม่ออกมาเป็นประธิปไตยพอนะครับ น่าจะแก้ปัญหาเรื่องการแจ้งข่าวด้วยนะ เหอๆ--พ่อบ้านลูกหนี้ 05:55, 20 มีนาคม 2554 (ICT)
ส่วนตัวผมสนับสนุนให้ใช้กล่องเสียรสเพราะมีแค่บรรทัดเดียว หรือถ้าไม่เอากล่องจะเอาเป็นข้อความธรรมดาก็ได้ หรือไม่ก็ลิงก์? เครื่องหมายคำถามอย่างนี้ไปที่หน้าที่คุณ Horus เสนอ แต่ก็ไม่ได้อะไรมากกับเรื่องนี้ เรื่องที่อยากนำเสนอคือเนื้อหา 18+ เห็นหยิบยกมาพูด อยากให้มีวิธีป้องกันที่ดีกว่านี้ เช่น การมีกล่อง "เนื้อหานี้สำหรับ 18+" ทั้งหน้า ถ้า 18+ ให้คลิกเข้าไปดูเนื้อหาอย่างนี้เป็นต้น... และไม่แน่ใจว่าผิดพรบ.คอมพิวเตอร์หรือไม่อย่างไร --Rattakorn 06:57, 20 มีนาคม 2554 (ICT)
ผมคิดว่าส่วนปฏิเสธความรับผิดชอบด้านล่างก็อธิบายเรื่องนี้แล้วนะครับ เหมือนกับว่า "เราไม่ผิด คุณต้องใช้โดยมีวิจารณญาณเอง" ดู ๆ ไปแล้วก็เป็นการฝึกนิสัยคนไปด้วยในตัว --Horus | พูดคุย 09:59, 20 มีนาคม 2554 (ICT)
แนะนำว่าน่าจะทำใหญ่ๆแบบคำเตือนแป้กไม่รับผิดชอบแบบในไร้สาระนุกรมน่ะครับ คนจะได้เห็นได้ชัดๆ กว่าเป็นอักษรแผงเล็กๆด้านล่าง คิดว่าถ้าไม่สังเกตุคงไม่เห็นหรอกครับ --พ่อบ้านลูกหนี้ 11:25, 20 มีนาคม 2554 (ICT)

สำหรับเรื่องสปอยด์ในที่ที่ไม่ควรสปอยด์ คิดว่าคงเป็นปัญหาที่ผู้ใช้มากกว่านะครับ ไม่น่าจะถึงกับต้องแก้หลักการ --Horus | พูดคุย 10:02, 20 มีนาคม 2554 (ICT)

ตรงนี้ผมก็ไม่รู้จะพูดยังไงเหมือนกัน เพราะบางแนวความคิดของ User บางคนเค้าไม่ได้คิดถึงตรงนี้อ่ะ บางทีเราไปแก้กลับ เค้าก็ใส่ใหม่ได้ บางทีก็เลยเถิดกันจนดราม่า ตรงนี้ผมเลยคิดว่าการมีป้ายเตือนน่าจะเป็นผลดีกว่าครับ --พ่อบ้านลูกหนี้ 11:26, 20 มีนาคม 2554 (ICT)

สะสางภาพไม่ระบุที่มา[แก้]

มีภาพการ์ตูนอยู่จำนวนหนึ่ง รบกวนช่วยกันจัดการด้วยครับ (ดูเพิ่มที่วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/ลบภาพไม่ระบุที่มา) --taweethaも 07:27, 23 มีนาคม 2554 (ICT)