ราชสกุลจิเมียวอิง
ญี่ปุ่น: 持明院統 | |
พระราชลัญจกรดอกเบญจมาศ | |
พระราชอิสริยยศ | จักรพรรดิญี่ปุ่น |
---|---|
ปกครอง | อาณาจักรญี่ปุ่น ราชสำนักเหนือ จักรวรรดิญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น |
เชื้อชาติ | ญี่ปุ่น |
บรรพบุรุษ | ราชวงศ์ญี่ปุ่น |
จำนวนพระมหากษัตริย์ | 36 พระองค์ |
ประมุขพระองค์แรก | จักรพรรดิโกะ-ฟูกากูซะ |
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบัน | สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ |
ประมุขพระองค์สุดท้าย | ราชสำนักเหนือ: จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ |
ช่วงระยะเวลา | ค.ศ. 1246–ปัจจุบัน |
สถาปนา | 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1246 |
ราชสกุลจิเมียวอิง (ญี่ปุ่น: 持明院統) เป็นเชื้อสายของจักรพรรดิโกะ-ฟูกากูซะจักรพรรดิองค์ที่ 89 ซึ่งเป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิโกซางะจักรพรรดิองค์ที่ 88 ที่ขึ้นครองบัลลังก์ตั้งแต่ปลายยุคคามากูระจนถึงยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ โดยถูกเรียกว่าราชสำนักเหนือ
ภาพรวม
[แก้]ชื่อจิเมียวอิงมาจากที่ฟูจิวาระ โนะ โมโตโยริ ซึ่งเป็นชินจูฟุโชกุนได้สร้างวัดขึ้นในที่พำนักของเขาโดยตั้งชื่อว่าจิเมียวอิงทำให้มีการเรียกตระกูลนี้ว่าตระกูลจิเมียวอิง
หลานสาวของโมโตโยริคือ ชินโกะ ซึ่งเป็นบุตรสาวของ จิเมียวอิง โมโตอิเอะ บุตรชายของโมโตโยริ ได้เป็นพระชายาของเจ้าชายโมริซาดะ ซึ่งเจ้าชายโมริซาดะก็ประทับอยู่ในวัดแห่งนี้ ในช่วงสงครามปีโจคิวอดีตจักรพรรดิทั้ง 3 (อดีตจักรพรรดิโกะ-โทบะ อดีตจักรพรรดิสึจิมิกาโดะและอดีตจักรพรรดิจุนโตกุ) ถูกเนรเทศโดยรัฐบาลโชกุนและจักรพรรดิชูเกียวถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ โอรสของเจ้าชายโมริซาดะคือเจ้าชายชิเงฮิโตะจึงได้เป็นจักรพรรดิโกะ-โฮริกาวะ (ส่วนเจ้าชายโมริซากะได้มีสถานะเทียบเท่าจักรพรรดิพระนามว่าโกะ-ทากากุระอิง) หลังจากที่จักรพรรดิโกะ-โฮริกาวะสละราชบัลลังก์ พระองค์ก็ประทับอยู่ในวัดจิเมียวอิง จากนั้น จักรพรรดิโกซางะ และจักรพรรดิโกะ-ฟูกากูซะ ก็เสด็จมาประทับที่วัดแห่งนี้ดังนั้นเชื้อสายตั้งแต่จักรพรรดิโกะ-ฟูกากูซะถึงจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึจึงถูกเรียกว่าสายราชสกุลจิเมียวอิง
อย่างไรก็ตาม จิเมียวอิงถูกปกครองโดยพระราชธิดาของอดีตจักรพรรดิโกะ-โฮริกาวะคือ มูโรมาจิอิง (เจ้าหญิงคิชิ) หลังจากการสวรรคตของอดีตจักรพรรดิโกะ-โฮริกาวะ และพระราชโอรสของอดีตจักรพรรดิโกะ-โฮริกาวะ อดีตจักรพรรดิฟูชิมิ ได้สืบทอดวัดจิเมียวอิงหลังจากการสิ้นพระชนม์ของมูโรมาจิอิง ในปีโชอังที่ 4 (ค.ศ. 1302) วัดจิเมียวอิงจึงได้กลายเป็นพระราชวังเซ็นงาวะ และได้รับการขนานนามว่าเป็นราชสกุลจิเมียวอิง
เนื่องจากอดีตจักรพรรดิโกซางะซึ่งว่าราชการในวัดสวรรคตโดยมีพระราชประสงค์ให้ทายาทของจักรพรรดิคาเมยามะ (สายราชสกุลไดกากูจิ) ซึ่งเป็นพระราชอนุชาของอดีตจักรพรรดิโกะ-ฟูกากูซะขึ้นสืบราชบัลลังก์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างอดีตจักรพรรดิโกะฟูกากูซะกับจักรพรรดิคาเมยามะ รัฐบาลโชกุนคามากูระจึงมีคำสั่งว่าทายาทของทั้ง 2 ราชสกุลควรสลับกันสืบทอดราชบัลลังก์ (両統造立) หลังจากผ่านไปประมาณ 10 ปี
ในปีเก็นโกะที่ 3 (ค.ศ. 1333) เนื่องจากการฟื้นฟูเค็มมุโดยจักรพรรดิโกไดโงะ ซึ่งมาจากสายราชสกุลไดกากูจิ ดูเหมือนว่าราชวงศ์ถูกรวมเข้ากับสายราชสกุลไดกากูจิ แต่รัฐบาลใหม่ล่มสลายภายในเวลา 2 ปีครึ่ง เพื่อแทนที่จักรพรรดิโกไดโงะที่หนีไปโยชิโนะ อาชิกางะ ทากาอูจิจึงสนับสนุนจักรพรรดิโคเมียวจากราชสกุลจิเมียวอิง จักรพรรดิโกไดโงะอ้างว่าพระองค์ปกครองราชสำนักใต้ด้วยความชอบธรรมของพระองค์เอง และยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ก็ได้เริ่มต้นขึ้น
ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ ราชวงศ์ได้ถูกส่งผ่านไปยังราชสำนักเหนือ ของราชสกุลจิเมียวอิง ตามสนธิสัญญาเมโตกุ (ค.ศ. 1392)
สาขาย่อยของราชสกุลจิเมียวอิง
[แก้]ในศักราชโชเฮ อดีตจักรพรรดิโคงง ซึ่งเป็นชิเต็นในขณะนั้น รวมถึงพระราชอนุชาของพระองค์คืออดีตจักรพรรดิโคเมียว จักรพรรดิของราชสำนักเหนือในขณะนั้นคือจักรพรรดิซุโก และสมาชิกส่วนใหญ่ของราชสำนักเหนือ รวมถึงเจ้าชายนาโอฮิโตะ ที่รัชทายาท ถูกส่งตัวไปยังราชสำนักใต้
ในเวลานั้น ตระกูลอาชิกางะได้ครอบครองวังของพระราชอนุชาของจักรพรรดิซุโก ที่เสด็จไปที่วัดเมียวโฮอิง ซึ่งพระองค์วางแผนที่จะออกผนวช ขณะที่จักรพรรดิโกะ-โคงง ถูกบังคับให้ขึ้นครองราชบัลลังก์โดยปราศจากเครื่องราชกกุธภัณฑ์สามอย่างและพระราชโองการของชิเต็นซึ่งกำหนดโดยกฎหมายสืบราชสันตติวงศ์ (กฎหมายจารีตประเพณี) ในขณะนั้น เขาออกจากเกียวโตและไปยังมิโนะและโอมิร่วมกับตระกูลอาชิกางะด้วยเหตุนี้ ตระกูลอาชิกางะจึงแสดงท่าทีเคารพองค์จักรพรรดิโกะ-โคงงผู้ซึ่งต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพวกเขา ในขณะนั้น ราชสำนักใต้กดดันให้อดีตจักรพรรดิซุโกซึ่งได้เป็นผู้นำของราชสกุลจิเมียวอิงรวมถึงอดีตจักรพรรดิโคงงผู้เป็นชิเต็น โนะ คิมิ ให้สละสิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์ของพระองค์เอง และทายาทของพระองค์และโดยต้องให้คำมั่นสัญญาก่อนจะอนุญาตให้กลับไปเกียวโต สำหรับอดีตจักรพรรดิโคงงและอดีตจักรพรรดิซุโก การครองราชย์ของจักรพรรดิโกะ-โคงงซึ่งเดิมคาดว่าจะออกผนวชเป็นพระภิกษุนั้นเป็นเรื่องที่คาดคิดไม่ถึง ในการตอบสนองต่อเรื่องนี้รัฐบาลโชกุนมูโรมาจิและจักรพรรดิโกะ-โคงง กำลังควบคุมอดีตจักรพรรดิโคงงรวมถึงอดีตจักรพรรดิซุโกโดยกล่าวว่าขุนนางในราชสำนักที่รับใช้อดีตจักรพรรดิโคงง และอดีตจักรพรรดิซุโกจะถูกลงโทษ
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่จักรพรรดิโคงงสวรรคต จักรพรรดิโกะ-โคงงมีพระราชประสงค์ให้ทายาทของพระองค์ได้สืบราชบัลลังก์ และแสดงเจตจำนงต่อรัฐบาลโชกุนมูโรมาจิ บังเอิญเป็นยุคของโชกุนหนุ่ม อาชิกางะ โยชิมิตสึ และโฮโซกาวะ โยริยูกิผู้ซึ่งปกป้องโยชิมิตสึในฐานะคันเร ได้แก้ตัวว่าเป็นเรื่องยากสำหรับโชกุนหนุ่มที่จะตัดสินใจ เขาเห็นด้วยกับเจตน์จำนงขององค์จักรพรรดิ ดังนั้นจักรพรรดิโกะ-โคงงจึงสละราชบัลลังก์ให้กับจักรพรรดิโกะ-เอ็งยู ผู้เป็นพระราชโอรส และเมื่อจักรพรรดิโกะ-เอ็งยูสละราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสคือจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ ในอีก 11 ปีต่อมา โยชิมิตสึซึ่งเป็นผู้ใหญ่แล้วก็เห็นชอบด้วย แม้ว่าอดีตจักรพรรดิซุโกจะคัดค้านอย่างรุนแรงถึงขั้นขัดแย้งกับพระราชอนุชาและพระราชนัดดาของพระองค์ก็ตาม แต่พระองค์ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เจ้าชายโยชิฮิโตะซึ่งเป็นโอรสของอดีตจักรพรรดิซุโกได้ตั้งสายราชสกุลของพระองค์ชื่อว่า 'ฟุชิมิ โนะ มิยะ' เนื่องจากเป็นที่พำนักของพระองค์ จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึซึ่งได้รับการอุปถัมภ์ของอาชิกางะ โยชิมิตสึและอาชิกางะ โยชิโมจิบุตรชายของเขา ประสบความสำเร็จในการสืบราชสันตติวงศ์ผ่านสนธิสัญญาเมโตกุ จากนั้นจึงมอบราชบัลลังก์ให้กับจักรพรรดิโชโก พระราชโอรสองค์โตของพระองค์ และเริ่มต้นการว่าราชการในวัด ในทางกลับกัน ฟุชิมิโนะมิยะกำลังตกต่ำหลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายโยชิฮิโตะและพระโอรสองค์โตของพระองค์คือ เจ้าชายฮารุฮิโตะ
อย่างไรก็ตาม จักรพรรดิโชโกมีพระพลานามัยไม่สู้ดีและไม่สามารถมีพระบุตรได้ และพระอนุชาของพระองค์คือ เจ้าชายโองาวะ ซึ่งเป็นที่รัชทายาทได้สิ้นพระชนม์ไปก่อน ดังนั้นจึงไม่มีสมาชิกจากสายราชสกุลของอดีตจักรพรรดิโกะ-โคงงได้สืบราชบัลลังก์อีก ในทางกลับกัน ราชสำนักใต้ (ราชสำนักใต้ยุคหลัง) คาดหวังสิ่งนี้และเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องการสืบทอดราชบัลลังก์ หลังจากนั้น อดีตจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึจึงได้ประกาศให้เจ้าชายซาดาฟูซะ พระโอรสของเจ้าชายโยชิฮิโตะ ซึ่งเป็นผู้สืบราชสกุล ฟุชิมิ โนะ มิยะ เป็นพระราชโอรสบุญธรรมของพระองค์ ในโอกาสนี้ อดีตจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึและเจ้าชายซาดาฟูซะได้ออกผนวช ในวันที่ 3 เดือน 6 อย่างไรก็ตาม ปัญหาการสืบราชบัลลังก์ไม่เพียงแต่กลับไปสู่จุดเริ่มต้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจักรพรรดิโชโกกับเจ้าชายซาดาฟูซะแย่ลงไปอีก อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 เดือน 7 ศักราชโชโช ที่ 1 จักรพรรดิโชโกก็ประชวรหนัก เมื่อวันที่ 13 เดือน 7 โชกุน อาชิกางะ โยชิโนริ สนับสนุนเจ้าชายฮิโกฮิโตะ โอรสของเจ้าชายซาดาฟูซะ อดีตจักรพรรดิจึงตัดสินพระทัยให้เจ้าชายฮิโกฮิโตะขึ้นสืบราชบัลลังก์ทันทีในฐานะพระราชโอรสบุญธรรมของพระองค์
อ้างอิง
[แก้]- 今谷明『室町の王権 足利義満の王権簒奪計画』(中公新書、1990年) ISBN 4-12-100978-9
- 横井清『室町時代の一皇族の生涯 『看聞日記』の世界』(講談社学術文庫、2002年) ISBN 4-06-159572-5
- 近藤成一 「内裏と院御所」(初出:五味文彦 編『都市の中世』(吉川弘文館、1992年)/所収:近藤『鎌倉時代政治構造の研究』(校倉書房、2016年) ISBN 978-4-7517-4650-9)
- 小川剛生「伏見宮家の成立 -貞成親王と貞常親王-」(所収:松岡心平 編『看聞日記と中世文化』(森話社、2009年) ISBN 978-4-916087-94-2)
- 村田正志「後小松天皇の御遺詔」(初出:『国史学』47・48号(1944年2月)、所収:『村田正志著作集 第2巻続南北朝史論』(思文閣出版、1983年) ISBN 978-4-7842-0344-4)
- 松薗斉『日記の家 中世国家の記録組織』(吉川弘文館、1997年) ISBN 4-642-02757-2
- 第七章 持明院統天皇家の分裂 p178~p201
- 久水俊和「改元と仏事からみる皇統意識」(初出:『国史学』199号(2009年)、所収:『室町期の朝廷公事と公武関係』(岩田書院、2011年) ISBN 978-4-87294-705-2)