สภาผู้แทนราษฎรนิวซีแลนด์
สภาผู้แทนราษฎรนิวซีแลนด์ New Zealand House of Representatives (อังกฤษ) | |
---|---|
สมัยที่ 54 | |
ประเภท | |
ประเภท | เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภานิวซีแลนด์ |
ผู้บริหาร | |
ประธานรัฐสภา | เจอร์รี่ บราวน์ลี, พรรคชาตินิวซีแลนด์ ตั้งแต่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2023 |
คริสโตเฟอร์ ลุกซัน, พรรคชาตินิวซีแลนด์ ตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | |
หัวหน้าฝ่ายค้าน | คริส ฮิปกินส์, พรรคแรงงานนิวซีแลนด์ ตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 |
คริส บิช็อป, พรรคชาตินิวซีแลนด์ ตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | |
ผู้นำสภาเงา | คีแรน แมคอานัลตี, พรรคแรงงานนิวซีแลนด์ ตั้งแต่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 123 ที่นั่ง |
กลุ่มการเมือง | ฝ่ายรัฐบาล (68)
ฝ่ายค้านทางการ (34)
ครอสเบนช์ (21) |
การเลือกตั้ง | |
แบบสัดส่วนผสมบัญชีปิด | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 14 ตุลาคม ค.ศ. 2023 |
ที่ประชุม | |
ห้องประชุม ในอาคารรัฐสภา (Parliament House) เวลลิงตัน | |
เว็บไซต์ | |
www |
สภาผู้แทนราษฎรนิวซีแลนด์ (อังกฤษ: New Zealand House of Representatives) เป็นสภาเดี่ยวในรัฐสภานิวซีแลนด์ โดยมีบทบาทในการผ่านกฎหมาย รับรองรัฐมนตรีเพื่อการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี และกำกับดูแลการทำงานของรัฐบาล และยังมีหน้าที่ในการผ่านงบประมาณของประเทศนิวซีแลนด์
สภาผู้แทนราษฎรเป็นหนึ่งในโครงสร้างตามประชาธิปไตยอันประกอบด้วย สมาชิกรัฐสภา (MPs) จำนวน 120 คน โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงในกรณีมีที่นั่งส่วนขยาย (overhang seat)[1] การเลือกตั้งมีขึ้นทุกๆ สามปีโดยใช้ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมอันประกอบด้วยที่นั่งส่วนหนึ่งมาจากระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดและอีกส่วนหนึ่งจากระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อปิด โดยมีสมาชิกรัฐสภาจำนวน 72 คนมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตๆ ละหนึ่งคน และที่เหลือจัดสรรปันส่วนจากคะแนนเสียงในระบบบัญชีรายชื่อ การจัดตั้งรัฐบาลสามารถกระทำได้โดยพรรคการเมืองเสียงข้างมากพรรคเดียว หรือจากการร่วมรัฐบาลเพื่อให้ได้เสียงข้างมากในสภา[1] หากกรณีที่ไม่สามารถได้เสียงข้างมากสามารถจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยได้แต่จะต้องมีการตกลงหนุนรัฐบาล (confidence and supply) กับพรรคอื่นๆ ซึ่งหากเมื่อใดที่รัฐบาลไม่ได้รับการไว้วางใจโดยสภาจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ขึ้น
สภาผู้แทนราษฎรถูกจัดตั้งขึ้นจากกฎหมายรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ ค.ศ. 1852 ซึ่งผ่านโดยรัฐสภาสหราชอาณาจักร เพื่อให้มีการจัดตั้งองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติแบบสองสภา แต่สภาสูง หรือเรียกว่า "คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติ" (อังกฤษ: Legistrative Council) ซึ่งถูกยกเลิกไปในปีค.ศ. 1950 รัฐสภานิวซีแลนด์ได้รับอำนาจอย่างสมบูรณ์จากสหราชอาณาจักรในปีค.ศ. 1947 ตามธรรมนูญแห่งเวสมินสเตอร์ ห้องประชุมของสภาผู้แทนราษฎรตั้งอยู่ภายในอาคารรัฐสภา (Parliament house) ในเวลลิงตัน เมืองหลวงของนิวซีแลนด์ โดยการประชุมสภานั้นเปิดให้สาธารณชนร่วมเข้าสังเกตการณ์ได้ แต่สภาสามารถลงมติขอร่วมประชุมอย่างเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน โดยการอภิปรายต่างๆ นั้นถ่ายทอดสดผ่านรายการโทรทัศน์ของรัฐสภา วิทยุคลื่นเอเอ็ม และ Parliament Today
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "How Parliament works: What is Parliament?". New Zealand Parliament. 28 June 2010. สืบค้นเมื่อ 31 May 2014.