อำนาจอธิปไตย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รัฏฐาธิปัตย์)
ปกหนังสือเลอไวอะทัน ของโทมัส ฮอบส์ ปรากฏองค์อธิปัตย์รูปใหญ่ถือดาบและไม้ตะขอใยรา บนร่างกายรายล้อมไปด้วยปัจเจกหลายคน

อำนาจอธิปไตย (sovereignty) หรืออำนาจใดที่ก่อร่างรัฐชาติ โดยทั่วไปถือเป็นอำนาจสูงสุด[1] อำนาจอธิปไตยนำมาซึ่งลำดับขั้นในรัฐ รวมถึงภาวะอิสระในการปกครองตนเองนอกรัฐ (external autonomy)[2] ในรัฐ อำนาจอธิปไตยถูกมอบหมายให้แก่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือสถาบันที่มีอำนาจสมบูรณ์เหนือบุคคลอื่น เพื่อตรากฎหมายหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่มีอยู่เดิม[3] ในทฤษฎีทางการเมือง อำนาจอธิปไตยเป็นคำสามัญบ่งชี้อำนาจหน้าที่ซึ่งมีความชอบธรรมสูงสุดเหนือองค์การทางการเมือง[4] ในกฎหมายระหว่างประเทศ อำนาจอธิปไตยเป็นการใช้อำนาจโดยรัฐ อำนาจอธิปไตยหมายถึงสิทธิทางกฎหมายที่ให้กระทำได้โดยนิตินัย ขณะที่โดยพฤตินัยนั้น หมายถึงขีดความสามารถที่กระทำได้อย่างแท้จริง

มโนทัศน์[แก้]

มโนทัศน์ของอำนาจอธิปไตยมีหลายองค์ประกอบที่ทับซ้อนกัน มีคำนิยามหลายคำ และมีการนำมาปรับใช้ที่หลากหลายและไม่ลงรอยกันตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา[5][6][7][8] ความเชื่อเรื่องรัฐเอกราชในปัจจุบันประกอบด้วย 4 มิติ: ดินแดน, ประชากร, องค์การของรัฐ (authority) และการรับรอง (recognition)[7] อ้างถึง สตีเฟน ดี. คราสเนอร์ อำนาจอธิปไตยสามารถเข้าใจได้โดย 4 วิธี:

  • อำนาจอธิปไตยภายใน (Domestic sovereignty) – การควบคุมที่แท้จริงเหนือรัฐโดยองค์การของรัฐที่ถูกจัดแจงภายในรัฐ
  • อำนาจอธิปไตยพึ่งพาระหว่างรัฐ (Interdependence sovereignty) – การควบคุมการเคลื่อนตัว (movement) เหนือชายแดนรัฐ
  • อำนาจอธิปไตยทางกฎหมายระหว่างประเทศ (International legal sovereignty) – การรับรองรัฐโดยรัฐเอกราชอื่นอย่างเป็นทางการ
  • อำนาจอธิปไตยแบบเว็สท์ฟาเลิน – ไม่มีอำนาจอธิปไตยอื่นใดนอกจากอำนาจอธิปไตยภายในรัฐนั้น (อำนาจอื่น ๆ อาจเป็นองค์การทางการเมืองหรือตัวแสดงภายนอกอื่น)[5]

ทั้งนี้ ยังมีอีกสององค์ประกอบของอำนาจอธิปไตยที่ควรกล่าวถึงคือ อำนาจอธิปไตยเชิงประจักษ์ (empiriacal sovereignty) และ อำนาจอธิปไตยเชิงกฎหมาย (juridical sovereignty)[9] อำนาจอธิปไตยเชิงประจักษ์จะบรรยายการจัดการกับความชอบธรรมของผู้ปกครองรัฐ และความชอบธรรมในการใช้อำนาจนั้น[9] เดวิด ซามูเอล ชี้ว่าเป็นมิติที่สำคัญของรัฐ เพราะจะต้องมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับเลือกให้กระทำแทนพลเมืองของรัฐ[10] ขณะที่อำนาจอธิปไตยเชิงกฎหมายเน้นไปที่ความสำคัญของรัฐอื่นในการรับรองสิทธิการปกครองและใช้อำนาจอย่างเสรีของรัฐโดยให้มีการแทรกแซงอย่างน้อยที่สุด[9] Douglass North ระบุว่าสถาบันต้องมีโครงสร้าง และรูปแบบของอำนาจอธิปไตยทั้งสองนี้อาจใช้เป็นวิธีในการก่อร่างโครงสร้างขึ้น[11]

การได้มา[แก้]

วิธีการได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยหลายวิธีได้รับการยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศทั้งในปัจจุบันและในประวัติศาสตร์ว่าเป็นวิธีโดยชอบด้วยกฎหมายผ่านการได้มาของดินแดนนอกรัฐ การจัดแบ่งประเภทของวิธีเหล่านี้ แต่เดิมมาจากกฎหมายลักษณะทรัพย์สินโรมันและการพัฒนาขึ้นของระบบกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่:[12]

ขอบเขตอำนาจและอำนาจอธิปไตย
อวกาศ (รวมถึงวงโคจรของโลก, ของดวงจันทร์ และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ และวงโคจรของมัน)
น่านฟ้าระดับชาติ น่านฟ้าทะเลอาณาเขต น่านฟ้าเขตต่อเนื่อง[ต้องการอ้างอิง] น่านฟ้าสากล
พื้นผิวอาณาเขตทางบก พื้นผิวน่านน้ำภายใน พื้นผิวทะเลอาณาเขต พื้นผิวเขตต่อเนื่อง พื้นผิวเขตเศรษฐกิจจำเพาะ พื้นผิวน่านน้ำสากล
น่านน้ำภายใน น่านน้ำอาณาเขต เขตเศรษฐกิจจำเฉพาะ น่านน้ำสากล
ดินแดนทางบกใต้ดิน พื้นผิวไหล่ทวีป พื้นผิวไหล่ทวีปส่วนต่อขยาย พื้นผิวพื้นดินท้องทะเลระหว่างประเทศ
ไหล่ทวีปใต้ดิน พื้นผิวไหล่ทวีปส่วนต่อขยายใต้ดิน พื้นดินท้องทะเลระหว่างประเทศใต้ดิน
  เขตอำนาจและอำนาจอธิปไตยระดับชาติเต็มที่
  มีข้อจำกัดเรื่องเขตอำนาจและอำนาจอธิปไตยระดับชาติ
  เขตอำนาจระหว่างประเทศตามมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ

การให้เหตุผล[แก้]

มีการให้เหตุผลที่หลากหลายผ่านมุมมองที่แตกต่างซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานทางศีลธรรมของอำนาจอธิปไตย การให้เหตุผลเรื่องอำนาจอธิปไตยถูกแบ่งออกเป็นสองขั้ว: องค์อธิปัตย์ได้รับมอบอำนาจอธิปไตยโดยเทวสิทธิราชย์หรือสิทธิธรรมชาติ และอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของปวงชนแต่เดิม ซึ่งโทมัส ฮอบส์ กล่าวว่าปวงชนมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้แก่องค์อธิปัตย์ ขณะที่ฌ็อง-ฌัก รูโซ ระบุว่าอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของปวงชนและสงวนรักษาอำนาจนั้นไว้[13]

ในช่วงหนึ่งของยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป หลักเทวสิทธิราชย์เป็นหนึ่งในการอ้างสิทธิในการใช้อำนาจอธิปไตยที่สำคัญ ขณะที่อาณัติแห่งสวรรค์ในประเทศจีนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการให้เหตุผลการปกครองโดยจักรพรรดิ แม้ต่อมาจะแทนที่โดยแนวคิดอำนาจอธิปไตยแบบตะวันตกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[14]

สาธารณรัฐเป็นรูปแบบรัฐบาลหนึ่งที่ประชาชน หรือส่วนหนึ่งที่สำคัญของพวกเขา สงวนไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยเหนือรัฐบาล และตำแหน่งในรัฐบาลไม่ได้มาโดยมรดกตกทอด[15][16] คำนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปของคำว่าสาธารณรัฐคือ รัฐบาลที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ[17][18]

ประชาธิปไตยตั้งอยู่บนมโนทัศน์ของอำนาจอธิปไตยของปวงชน (popular sovereignty) ในประชาธิปไตยโดยตรง ประชาชนมีบทบาทในการออกนโยบายสาธารณะ ขณะที่ประชาธิปไตยมีผู้แทนทำให้มีการโอนถ่ายการใช้อำนาจอธิปไตยจากประชาชนสู่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Philpott, Daniel (1995). "Sovereignty: An Introduction and Brief History". Journal of International Affairs. 48 (2): 353–368. ISSN 0022-197X. JSTOR 24357595.
  2. Spruyt, Hendrik (1994). The Sovereign State and Its Competitors: An Analysis of Systems Change. Vol. 176. Princeton University Press. pp. 3–7. doi:10.2307/j.ctvzxx91t. ISBN 978-0-691-03356-3. JSTOR j.ctvzxx91t. S2CID 221904936.
  3. "Sovereignty". A Dictionary of Law. Oxford University Press. 21 June 2018. ISBN 978-0-19-880252-5.
  4. "sovereignty (politics)". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 5 August 2010.
  5. 5.0 5.1 Krasner, Professor Stephen D. (2001). Problematic Sovereignty: Contested Rules and Political Possibilities. Columbia University Press. pp. 6–12. ISBN 9780231121798.
  6. Korff, Baron S. A. (1923). "The Problem of Sovereignty". American Political Science Review (ภาษาอังกฤษ). 17 (3): 404–414. doi:10.2307/1944043. ISSN 0003-0554. JSTOR 1944043. S2CID 147037039.
  7. 7.0 7.1 Biersteker, Thomas; Weber, Cynthia (1996). State Sovereignty as Social Construct. Cambridge University Press. ISBN 9780521565998.
  8. Biersteker, Thomas J., บ.ก. (2013). "State, sovereignty, and territory". Handbook of international relations. Sage. pp. 245–272.
  9. 9.0 9.1 9.2 Barnett, Michael (1995). "The New United Nations Politics of Peace: From Juridical Sovereignty to Empirical Sovereignty". Global Governance. 1 (1): 79–97. doi:10.1163/19426720-001-01-90000007. ISSN 1075-2846. JSTOR 27800102.
  10. Samuels, David. Comparative Politics. pp. 33–42.
  11. North, Douglass (1990). Institutions, Institutional Change and Economic Performance. Cambridge University Press. pp. 3–10. ISBN 9780521397346.
  12. Malanczuk, Peter (1997). Akehurst's Modern Introduction to International Law. International politics/Public international law. Routledge. pp. 147–152. ISBN 9780415111201.
  13. Tuck, Richard (2016). The Sleeping Sovereign: The Invention of Modern Democracy. Cambridge University Press. p. 100. ISBN 9781316425503
  14. Mitchell, Ryan Martínez (2022). Recentering the World: China and the Transformation of International Law. Cambridge University Press. pp. 32, 52, 63. ISBN 9781108690157
  15. "Republic". Encyclopædia Britannica.
  16. Montesquieu, The Spirit of the Laws (1748), Bk. II, ch. 1.
  17. "republic". WordNet 3.0. สืบค้นเมื่อ 20 March 2009.
  18. "Republic". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 14 August 2010.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]