รกเกาะต่ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รกเกาะต่ำ
Placenta praevia
ชื่ออื่นPlacenta previa
รกปกติ (ซ้าย) และรกเกาะต่ำ (ขวา)
สาขาวิชาสูติศาสตร์
อาการเลือดออกในมดลูกสีแดงสดโดยปราศจากอาการปวด[1]
ภาวะแทรกซ้อนมารดา: เลือดออกหลังคลอด[2]
ทารก: การเติบโตจำกัดในทารก[1]
การตั้งต้นครึ่งทางของการตั้งครรภ์[1]
ปัจจัยเสี่ยงอายุที่สูงขึ้น, การสูบบุหรี่, มีประวัติการทำ cesarean section, การกระตุ้นการคลอด, การยุติการตั้งครรภ์[3][4]
วิธีวินิจฉัยอัตราซาวด์[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันPlacental abruption[1]
การรักษานอนเตียง, cesarean section[1]
ความชุก0.5% ของการตั้งครรภ์[5]

รกเกาะต่ำ หรือ รกขวางปากมดลูก (อังกฤษ: Placenta praevia หรือ Placenta previa) เป็นอาการที่รกฝังตัวภายในมดลูกแต่ในตำแหน่งที่ผิดปกติคือใกล้หรือเหนือข่องเปิดปากมดลูก[1] อาการประกอบด้วยเลือดไหลในมดลูกเมื่อตั้งครรภ์ไปได้ครึ่งทาง[1] เลือดที่ไหลนั้นมีสีแดงสดและมีกไม่มีอาการปวดร่วมด้วย[1] อาการแทรกซ้อนอาจประกอบด้วย placenta accreta, ความดันเลือดต่ำเกินไป หรือ เลือดออกขณะคลอด[2][4] ทารกที่คลอดออกมาอาจมีภาวะแทรกซ้อนคือการเจริญเติบโตที่จำกัดในทารก[1]

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญประกอบด้วยการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากและการสูบบุหรี่ รวมถึงมีประวัติการทำ cesarean section, การกระตุ้นการคลอด หรือ การยุติการตั้งครรภ์[3][4] การวินิจฉัยสามารถกระทำได้ด้วยการอัลตราซาวด์[1] รกเกาะต่ำเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนการตั้งครรภ์[1]

การตั้งครรภ์ประมาณ 0.5% พบภาวะรกเกาะต่ำ[5] แต่สำหรับผู้ที่ผ่านการ cesarean sections สี่ครั้ง ความเสี่ยงจพสูงขึ้นเป็นพบได้ที่ 10% ของการตั้งครรภ์[4] อัตราเกิดโรคนี้สูงขึ้นในปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21[3] ภาวะนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี 1685 โดยพอล พอร์ทอล (Paul Portal)[6]

จีนแผ่นดินใหญ่มีความชุกของรกเกาะต่ำมากที่สุดในโลก[5] ด้วยการพบภาวะรกเกาะต่ำเฉลี่ย 12.2 ต่อการตั้งครรภ์ 1000 ครั้ง นอกจากนี้ยังพบมากเป็นพิเศษในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตามสาเหตุยังไม่ถูกค้นพบ ปัจจัยหลายอย่างอาจส่งผลให้สตรีชาวเอเชียมีโอกาสเกิดรกเกาะต่ำ เช่นอายุการตั้งครรภ์ที่สูกงว่า 35 ปี (advanced maternal age) หรือเคยได้รับการ Caesarean section มาก่อน, การตั้งครรภ์หลายครั้ง และการเคยมีประวัติแท้ง หรือ ยุติการตั้งครรภ์ ในบรรดาประเทศแถบเอเชีย ประเทศที่มีอัตรารกเกาะต่ำสูงคือญี่ปุ่น (13.9 ใน 1000) และเกาหลี (15 ใน 1000)[5] ส่วนในแถบตะวันออกกลาง มีอัตราเกิดโรคต่ำกว่าทั้งในซาอุดิอาระเบีย (7.3 ต่อ 1000) และอิสราเอล (4.2 ต่อ 1000)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 "Placenta Previa – Gynecology and Obstetrics – Merck Manuals Professional Edition". Merck Manuals Professional Edition (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). October 2017. สืบค้นเมื่อ 9 December 2017.
  2. 2.0 2.1 Fan, D; Xia, Q; Liu, L; Wu, S; Tian, G; Wang, W; Wu, S; Guo, X; Liu, Z (2017). "The Incidence of Postpartum Hemorrhage in Pregnant Women with Placenta Previa: A Systematic Review and Meta-Analysis". PLOS One. 12 (1): e0170194. doi:10.1371/journal.pone.0170194. PMC 5249070. PMID 28107460.
  3. 3.0 3.1 3.2 Palacios-Jaraquemada, JM (April 2013). "Caesarean section in cases of placenta praevia and accreta". Best Practice & Research. Clinical Obstetrics & Gynaecology. 27 (2): 221–32. doi:10.1016/j.bpobgyn.2012.10.003. PMID 23127895.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Allahdin, S; Voigt, S; Htwe, TT (2011). "Management of placenta praevia and accreta". Journal of Obstetrics and Gynaecology. 31 (1): 1–6. doi:10.3109/01443615.2010.532248. PMID 21280984.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Cresswell, JA; Ronsmans, C; Calvert, C; Filippi, V (June 2013). "Prevalence of placenta praevia by world region: a systematic review and meta-analysis". Tropical Medicine & International Health : TM & IH. 18 (6): 712–24. doi:10.1111/tmi.12100. PMID 23551357.
  6. Baskett, Thomas F.; Calder, Andrew A.; Arulkumaran, Sabaratnam (2014). Munro Kerr's Operative Obstetrics E-Book (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 178. ISBN 978-0-7020-5248-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก