รกงอกติด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Placenta accreta)
รกงอกติด
(Placenta accreta)
รกงอกติดชนิดต่างๆ
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10O73.0
ICD-9667.0
DiseasesDB10091
MeSHD010921

รกงอกติด (อังกฤษ: placenta accreta) เป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ซึ่งมีความรุนแรงมากอย่างหนึ่ง ซึ่งรกเกาะกับผนังมดลูกลึกกว่าปกติ ผ่านจากชั้นเยื่อบุมดลูกไปยังชั้นกล้ามเนื้อมดลูก แบ่งออกเป็นสามชนิดตามความลึกของการแทรกเข้าไปในผนังมดลูก

การคลอดปกตินั้นเมื่อทารกคลอดออกมาแล้วรกจะลอกตัวออกจากมดลูกโดยง่ายตามกระบวนการปกติ แต่ในครรภ์ที่มีรกงอกติดนั้น รกไม่สามารถลอกออกมาตามปกติได้ ทำให้มีเลือดออกมาก และแม้จะเอารกออกมาได้แล้วก็ยังเสี่ยงต่อการตกเลือดตามมาอย่างมาก บ่อยครั้งที่จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเข้าช่วยเพื่อเอารกออก บางครั้งอาจจำเป็นต้องตัดมดลูกออกทั้งหมดเพื่อรักษาชีวิตของมารดาเอาไว้

รกงอกติดพบได้ 1 ใน 2500 การตั้งครรภ์

ชนิดต่างๆ[แก้]

รกงอกติดแบ่งได้เป็นสามชนิดตามความลึกที่รกแทรกเข้าไปในผนังมดลูก

ชนิด คำอธิบาย %
รกงอกติด (อังกฤษ: placenta accreta) รกแทรกเข้าไปถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูกแต่ไม่ทะลุชั้นกล้ามเนื้อ 75-78%
รกแทรกติด (อังกฤษ: placenta increta) รกแทรกตัวเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก 17%
placenta percreta รกแทรกตัวเข้าไปลึกมากจนทะลุผ่านชั้นเยื่อเลื่อมของมดลูกออกมา เข้าสู่ช่องท้อง รถอาจเกาะติดกับอวัยวะอื่นๆ ในช่องท้อง เช่น ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะได้[1]. 5-7%

อ้างอิง[แก้]

  1. Miller, David A. (2 November 2004). 'Accreta Obstetric Hemorrhage เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน' High Risk Pregnancy Directory at ObFocus เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed 25 January 2006