ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวะหายใจเร็วชั่วคราว
ในทารกแรกเกิด
(Transient tachypnea of the newborn)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10P22.1
ICD-9770.6
DiseasesDB32373
MedlinePlus007233
eMedicineped/2597 radio/710

ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด (อังกฤษ: Transient tachypnea of the newborn; TTN, TTNB) เป็นความผิดปกติของระบบหายใจที่พบได้ในทารกหลังเกิดใหม่ๆ และเป็นสาเหตุของภาวะหายใจลำบากที่พบบ่อยที่สุดในทารกคลอดครบกำหนด ทารกจะมีอาการหายใจเร็วกว่าช่วงปกติ (ทารกหายใจปกติ 40-60 ครั้งต่อนาที) เชื่อว่าเป็นจากการมีสารน้ำค้างอยู่ในปอด ส่วนใหญ่พบในทารกอายุครรภ์มากกว่า 35 สัปดาห์ที่คลอดโดยไม่ผ่านช่วงของการเบ่งคลอด เช่น คลอดโดยการผ่าตัดคลอด ส่วนใหญ่หายได้เองในเวลา 24-48 ชั่วโมง การรักษาหลักคือการรักษาประคับประคอง อาจใช้ออกซิเจนเสริม หรือให้ยาปฏิชีวนะหากสงสัยภาวะอื่นที่อาจเป็นสาเหตุ การตรวจเอกซเรย์จะพบปอดขยายมากกว่าปกติ มีลายหลอดเลือดปอดเห็นชัด กะบังลมแบนราบลง และพบรอยของเหลวในร่องแนวนอนของปอดขวา