ยาซูยูกิ โอดะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยาซูยูกิ โอดะ (ญี่ปุ่น: 小田 泰之; อังกฤษ: Yasuyuki Oda) เป็นนักออกแบบเกมชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อ ค.ศ. 1972 ในจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น โดยโอดะได้แสดงความสนใจในการเล่นเกมในช่วงวัยเด็ก ซึ่งทำให้เขาศึกษาแอนิเมชันเมื่อโตขึ้น เขาได้รับการเปิดตัวในฐานะผู้พัฒนาบริษัทเอสเอ็นเค โดยทำการแก้จุดบกพร่ององเกมบางเกมในขณะที่เป็นผู้วางแผนหลักในกาโร: มาร์กออฟเดอะวูฟส์ ส่วนใน ค.ศ. 2000 เขาย้ายไปที่บริษัทดิมส์ก่อนที่จะย้ายกลับมาทำงานที่บริษัทเอสเอ็นเคอีกครั้งในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 2010 เพื่อกำกับเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XIV และส่วนประกอบอื่น ๆ จากทรัพย์สินของบริษัทเอสเอ็นเค

ประวัติ[แก้]

ชีวิตในช่วงต้นและความชอบ[แก้]

โอดะเกิดเมื่อ ค.ศ. 1972 ที่จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น[1] ตอนเด็กเขาไม่ชอบเกมอาร์เคด จึงเล่นเกมดองกีคิง, เครซีคอง และเครซีคิงแทน เขาเป็นคนชอบความเป็นจริงเสมือนและมุ่งเป้าไปยังเกมที่อนุญาตให้ผู้เล่นเลียนแบบอนิเมะหุ่นยนต์ยักษ์โมบิลสูท กันดั้ม เมื่อพูดถึงอนิเมะเขาได้แสดงความชอบที่มีต่อ Golden Kamuy และโมบิลสูทกันดั้ม ไอรอน บลัด ออร์แฟนซ์ ในขณะที่เขาก็ชอบโทกูซัตสึอย่างคาเมนไรเดอร์เช่นกัน โดยเฉพาะมาสค์ไรเดอร์อากิโตะ และเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทอย่างโตเกียวมิราจ ส่วนเกมโปรดของเขาเกี่ยวข้องกับโอเพนเวิลด์ เช่น อัสแซสซินส์ครีด ออริจินส์, ฮอไรซันซีโรดอว์น เขาเชื่อว่าผู้เล่นชาวญี่ปุ่นควรลองเกมอินเฟมัสเซคันด์ซัน ในขณะที่ชาวตะวันตกควรเล่นเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: บรีทออฟเดอะไวลด์[2] โอดะและนักออกแบบเกมบริษัทเอสเอ็นเค โนบูยูกิ คูโรกิ เรียนอยู่โรงเรียนศิลปะแห่งเดียวกันที่วิทยาลัยโอซากะดีไซเนอส์[3] ซึ่งที่นั่น โอดะได้เรียนแอนิเมชัน[4]

อาชีพ[แก้]

โอดะเป็นสมาชิกของเอสเอ็นเค อาร์แอนด์ดี ดิวิชัน 1 ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1993 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000[5] งานแรกของเขาเกี่ยวข้องกับการแก้ไขข้อบกพร่องของกาโรเด็นเซ็ตสึสเปเชียล และอาร์ตอออฟไฟติง 2 ในการออกแบบตัวละครทากูมะ ซากาซากิ ซึ่งเขาพบว่ามีความท้าทายเนื่องจากเนื้อตัวของตัวละครดังกล่าวไม่ได้ถูกปกปิดด้วยเสื้อผ้า[6] ส่วนบลู แมรี เป็นความท้าทายในการออกแบบ อันเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนในการต่อสู้ของเธอเพื่อให้เคลื่อนไหวได้ โดยในระหว่างที่เธอได้รับการเปิดตัวในกาโรเด็นเซ็ตสึ 3 มีไม่กี่คนในทีมที่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับซามบะ ซึ่งเป็นรูปแบบการต่อสู้ของเธอมากนัก และมีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่โยอิจิโระ โซเอดะ หนึ่งในนักออกแบบที่ทำงานกับบลู แมรี ได้ใช้หุ่นฝึกของโอดะเพื่อแสดงการโจมตีบางอย่างที่เขามีต่อทีมอื่น ซึ่งโอดะได้พูดติดตลกว่าเขาได้รับบาดแผลใหญ่หลังจากถูกใช้โดยนักออกแบบตัวละคร[7] แม้ว่าจะไม่ใช่ผู้พัฒนา แต่โอดะก็ประทับใจเดอะคิงออฟไฟเทอส์ '94 เนื่องจากความสามารถของเกมที่โดดเด่นเมื่อเปิดตัว[8]

เขามีส่วนเกี่ยวข้องเล็กน้อยในเกมเดอะคิงออฟไฟเทอส์ '95 และฟูอุนซูเปอร์แท็กแบตเทิล[1] ทั้งคูโรกิและโอดะต่างสงสัยว่าตัวละครเอกประเภทใดที่จะประสบความสำเร็จอย่างเทอร์รี โบการ์ด ในเกมล่าสุดของกาโรเด็นเซ็ตสึ อย่างกาโร: มาร์กออฟเดอะวูฟส์ ในขณะที่พวกเขาไม่มั่นใจกับร็อค ฮาวเวิร์ด แต่พวกเขาก็ยังตัดสินใจให้เขาเป็นตัวเอกคนใหม่[9] โอดะรู้สึกภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมในซีรีส์กาโรเด็นเซ็ตสึเนื่องจากการเพิ่มกลไกของเกมในการยกเลิกการโจมตีแบบ "ซูเปอร์"[2] ครั้นในปี ค.ศ. 2000 โอดะได้ออกจากเอสเอ็นเคเพื่อเข้าร่วมบริษัทดิมส์[1]

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของดิมส์ โอดะได้เป็นผู้ออกแบบการต่อสู้ของสตรีทไฟเตอร์ IV และทำงานในเกมข้ามฝั่งอย่างสตรีทไฟเตอร์ X เทคเคน ในภายหลัง โอดะได้ทำหน้าที่กำกับเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XIV หลังกลับคืนสู่บริษัทเอสเอ็นเค[10] นี่เป็นการมีส่วนร่วมครั้งแรกของเขาในแฟรนไชส์ โดยการนำพนักงานที่อายุน้อยกว่า ในระหว่างการทำงานครั้งแรกของโอดะที่บริษัทเอสเอ็นเค เกมอย่างเวอร์ชัวไฟเตอร์ ได้กระตุ้นให้เขาสร้างเกม 3 มิติหลังจากที่เขาจากไป เมื่อโอดะกลับมาที่บริษัทเอสเอ็นเค เขาตัดสินใจที่จะเปลี่ยนซีรีส์คิงออฟไฟเทอส์ จาก 2 มิติ มาเป็น 3 มิติ แม้ว่าการปรับตัวละครบางตัวจะยากกว่าตัวอื่น ๆ[11] แม้จะมีปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับโหมดออนไลน์และคุณสมบัติอื่น ๆ จากเกม แต่ยาซูยูกิ โอดะ กล่าวว่าการตอบสนองของแฟน ๆ ต่อเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XIV นั้นเป็นไปในเชิงบวกโดยเฉพาะหลังจากแก้ไขปัญหาเหล่านี้แล้ว ด้วยเหตุนี้ เขาจึงคิดว่าการทำเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XV มีความเป็นไปได้ แต่บริษัทต้องการที่จะมุ่งเน้นไปที่แฟรนไชส์อื่นด้วย[12] ในการสร้างพอร์ตอาร์เคดของเกมนี้ โอดะได้รับแรงบันดาลใจจากเนซิกาxไลฟ์ 2 ของบริษัทไทโตตามความสามารถของมัน[2] โอดะกล่าวว่าเลโอนา ไฮเดิร์น และเคียว คุซานางิ เป็นตัวละครโปรดของเขาในซีรีส์เดอะคิงออฟไฟเทอส์[13] โอดะตั้งข้อสังเกตว่าในขณะที่ค้นคว้าตัวละครใหม่สำหรับเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XIV การเคลื่อนไหวของเคียวนั้นหลีกเลี่ยงแบบแผนอย่างนักมวยปล้ำซูโม่ญี่ปุ่น เพื่อสร้างความหลากหลายมากขึ้นภายในตัวละคร ซึ่งรวมถึงตัวละครหลายเชื้อชาติ โอดะกล่าวเพิ่มเติมว่าพวกเขาทำให้สมาชิกใหม่ "เป็นแบบเคียว" เพื่อสร้างความคิดริเริ่มในเกม[14]

หลังจากความสำเร็จของเดอะคิงออฟไฟเทอส์ XIV ทางบริษัทเอสเอ็นเคได้ตัดสินใจตัดสินใจที่จะพัฒนาเกมที่เบากว่าเดิมโดยเน้นเฉพาะนักสู้หญิง ซึ่งคือเอสเอ็นเค เฮโรอินส์: แท็กทีมเฟรนซี โอดะกล่าวว่าในขณะที่การกล่าวถึงเบื้องต้นของเกมได้ทำให้กลไกฟังดูง่ายขึ้นกว่าเกมก่อนหน้า ทีมงานก็ยังทำงานอย่างจริงจังในระบบที่ซับซ้อนซึ่งจะดึงดูดผู้เชี่ยวชาญในประเภทนี้[15] โอดะได้กลับมาในฐานะโปรดิวเซอร์ของซามูไรโชดาวน์เนื่องจากผลตอบรับที่สำคัญ โดยโอดะได้ตั้งเป้าให้ตัวละครแต่ละตัวมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และแสดงความสนใจที่จะเพิ่มตัวละครรับเชิญจากลอร์ดออฟเดอะริงส์ อย่างอารากอร์น[16] ซึ่งซามูไรโชดาวน์เป็นหนึ่งในซีรีส์ที่โอดะต้องการพัฒนามาเป็นเวลานานโดยพิจารณาจากการใช้งานอาวุธ[2]

ผลงาน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Yasuyuki Oda". Japan Expo Paris. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ August 9, 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Interview with Yasuyuki Oda - Producer for SNK Heroines: Tag Team Frenzy". GameGrin. สืบค้นเมื่อ August 9, 2020.
  3. "Yasuyuki Oda". Facebok. สืบค้นเมื่อ August 9, 2020.
  4. "The making of Samurai Shodown (2019)". Polygon. สืบค้นเมื่อ August 9, 2020.
  5. "The making of Samurai Shodown (2019)". MobyGames. สืบค้นเมื่อ August 9, 2020.
  6. "Yasuyuki Oda (SNK) – Interview". Arcade Attack. สืบค้นเมื่อ August 9, 2020.
  7. "Fan-Favorite Character Blue Mary Joins the King of Fighters XIV Roster". PlayStation Blog. สืบค้นเมื่อ September 15, 2018.
  8. "Interview with #KOFXIV Producer #KOFXIII hits top 3 sales charts #FGC #ebook FREE PDF". Orochinagi. สืบค้นเมื่อ September 15, 2018.
  9. "Nobuyuki Kuroki". Facebook. January 17, 2016. สืบค้นเมื่อ September 9, 2017.
  10. 10.0 10.1 Lazy Freddy (October 27, 2015). "KOFXIV Director Yasuyuki Oda Was Previously SF4 Battle Director and Game Designer". Dream Cancel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2015. สืบค้นเมื่อ October 29, 2015.
  11. "『ザ・キング・オブ・ファイターズ XIV』プロデューサーインタビュー! 最新作は新旧スタッフが総力を挙げて開発(1/2)". Famtisu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2015. สืบค้นเมื่อ December 11, 2015.
  12. Moreno, Tania (August 18, 2017). "Yasuyuki Oda y Hayato Watanabe hablan sobre el Desarrollo Y Futuro de KOF" (ภาษาสเปน). IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2017. สืบค้นเมื่อ August 20, 2017.
  13. 13.0 13.1 "Yasuyuki Oda (SNK) – Interview". Arcade Attack. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2019. สืบค้นเมื่อ January 2, 2019.
  14. "Yamazaki and Blue Mary were left out of KoF14 to make it feel 'more KoF, less Fatal Fury', Art of Fighting's Jack Turner, John Crawley also considered". Eventhumbs. January 3, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2018. สืบค้นเมื่อ September 9, 2018.
  15. "Yasuyuki Oda on SNK Heroines' Sexualization, Accessibility, And Competitive Audiences". Game Informer. February 9, 2018. สืบค้นเมื่อ February 10, 2018.
  16. Romano, Sal (2019-03-25). "Samurai Shodown launches for PS4 and Xbox One in June, Switch in Q4 2019 and PC later; 44 minutes of gameplay and staff interview". Gematsu. Gematsu. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]