ทากาชิ นิชิยามะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ทากาชิ นิชิยามะ | |
---|---|
สัญชาติ | ญี่ปุ่น |
อาชีพ | นักออกแบบ, ผู้กำกับ, ผู้อำนวยการผลิตวิดีโอเกม |
มีชื่อเสียงจาก | เกมอาร์เคดและเกมต่อสู้ |
ทากาชิ นิชิยามะ (ญี่ปุ่น: 西山隆志; อักษรโรมัน: Takashi Nishiyama) บางครั้งได้รับเครดิตในฐานะ พิสตัน ทากาชิ, ทากาชิ หรือ ที.นิชิยามะ เป็นทั้งนักออกแบบ, ผู้กำกับ, ผู้อำนวยการผลิตวิดีโอเกมชาวญี่ปุ่น ซึ่งทำงานให้แก่บริษัทไอเรม, แคปคอม และเอสเอ็นเค ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัทดิมส์ของเขาเอง เขาเป็นที่รู้จักกันอย่างดีจากผลงานเกมแอ็กชันศิลปะการต่อสู้ โดยการออกแบบเกมแนวบีตเอ็มอัปอย่างกังฟูมาสเตอร์ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1984 ก่อนที่เขาจะสร้างแฟรนไชส์เกมต่อสู้หลายเกม เช่น สตรีทไฟเตอร์, กาโรเด็นเซ็ตสึ และเดอะคิงออฟไฟเทอส์ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990
เขาเริ่มอาชีพของเขาที่ไอเรม ซึ่งเขาได้พัฒนาเกมอาร์เคด เช่น มูนพาโทรลซึ่งเป็นเกมแอ็กชันเลื่อนด้านข้างในปี ค.ศ. 1982 และเกมแนวบีตเอ็มอัปอย่างกังฟูมาสเตอร์ ส่วนที่บริษัทแคปคอม เขาได้สร้างสตรีทไฟเตอร์ภาคแรกในปี ค.ศ. 1987 จากนั้น เขาได้ทำงานที่บริษัทเอสเอ็นเค ซึ่งเขาได้สร้างซีรีส์เกมต่อสู้อย่างกาโรเด็นเซ็ตสึ และเดอะคิงออฟไฟเทอส์ ในขณะที่ยังทำงานในอาร์ตออฟไฟติง รวมถึงซีรีส์เกมรันแอนด์กันอย่างเมทัลสลัก
อาชีพ
[แก้]ทากาชิ นิชิยามะ เริ่มอาชีพของเขาที่ไอเรม เขาทำงานในการออกแบบเกมยิงเลื่อนฉากอย่างมูนพาโทรลในปี ค.ศ. 1982 ซึ่งเป็นหนึ่งในเกมแรกที่มีการเลื่อนแบบพารัลแลกซ์ เขายังเป็นผู้ออกแบบกังฟูมาสเตอร์ (ค.ศ. 1984) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในวิดีโอเกมแนวบีตเอ็มอัปเกมแรก ๆ[1]
จากนั้น เขาก็เข้าร่วมกับบริษัทแคปคอม ซึ่งเขาได้สร้างแฟรนไชส์เกมต่อสู้อย่างสตรีทไฟเตอร์ ในส่วนร่วมกับฮีโรชิ มัตสึโมโตะ เขาได้กำกับสตรีทไฟเตอร์ภาคแรก เขาสร้างท่าพิเศษสำหรับริวที่เรียกว่า "ฮาโดเคน" ซึ่งเขาบอกว่าได้รับแรงบันดาลใจจากการโจมตีด้วยขีปนาวุธพลังงานจากซีรีส์อนิเมะเรื่องเรือรบอวกาศยามาโตะในคริสต์ทศวรรษ 1970[1] แล้วเขาก็ออกจากบริษัทแคปคอมและไม่ได้กลับมาทำงานในภาคต่ออย่างสตรีทไฟเตอร์ II
จากนั้น นิชิยามะก็ได้เข้าร่วมบริษัทเอสเอ็นเค ที่นั่นเขาสร้างแฟรนไชส์เกมต่อสู้อย่างกาโรเด็นเซ็ตสึ โดยเป็นเกมสืบทอดจิตวิญญาณของสตรีทไฟเตอร์ภาคแรก เขายังทำงานในแฟรนไชส์เกมต่อสู้อย่างอาร์ตออฟไฟติง และเดอะคิงออฟไฟเทอส์ ตลอดจนซีรีส์เกมยิงรันแอนด์กันอย่างเมทัลสลัก[1]
แล้วเขาก็ออกจากบริษัทเอสเอ็นเค และก่อตั้งบริษัทพัฒนาเกมของตัวเองที่ชื่อดิมส์[1] ซึ่งปัจจุบัน[เมื่อไร?] เขาเป็นประธานของบริษัทดิมส์
ผลงานเกม
[แก้]- มูนพาโทรล (ค.ศ. 1982) (ผู้ออกแบบเกม)
- กังฟูมาสเตอร์ (ค.ศ. 1984) (ผู้ออกแบบเกม)
- เซกชัน Z (ค.ศ. 1985) (ผู้ออกแบบเกม)
- โทรจัน (ค.ศ. 1986) (ผู้ออกแบบเกม)
- เลเจนดารีวิงส์ (ค.ศ. 1986) (ผู้กำกับ)
- ร็อคแมน (ค.ศ. 1987) (ผู้อำนวยการผลิต)
- อเวนเจอร์ส (ค.ศ. 1987) (ผู้กำกับ)
- แมดเกียร์ (ค.ศ. 1988) (ผู้วางแผนเกม)
- สตรีทไฟเตอร์ (ค.ศ. 1987) (ผู้กำกับ)
- ลาสต์ดูเอล: อินเตอร์แพลเนตวอร์ 2012 (ค.ศ. 1988) (ผู้กำกับ)
- โกสต์ไพลอตส์ (ค.ศ. 1991) (ผู้อำนวยการบริหารการผลิต)
- กาโรเด็นเซ็ตสึ: ชูกูเมโนะทาตาไก (ค.ศ. 1991) (ผู้กำกับ)
- มิวเทชันเนชัน (ค.ศ. 1992) (ให้ความช่วยเหลือพิเศษ)
- แบตเทิลไฟเทอส์ กาโรเด็นเซ็ตสึ (ค.ศ. 1992) (ผู้อำนวยการผลิต, รายการโทรทัศน์พิเศษ)
- เดอะคิงออฟไฟเทอส์ '94 (ค.ศ. 1994) (ผู้อำนวยการผลิต)
- กาโรเด็นเซ็ตสึ 3: ฮารูกานารุทาตาไก (ค.ศ. 1995) (ผู้อำนวยการผลิต)
- เรียลเบาต์กาโรเด็นเซ็ตสึ (ค.ศ. 1995) (ผู้อำนวยการผลิต)
- เรียลเบาต์กาโรเด็นเซ็ตสึสเปเชียล (ค.ศ. 1997) (ผู้อำนวยการผลิต)
- เดอะคิงออฟไฟเทอส์ '97 (ค.ศ. 1997) (ผู้อำนวยการผลิต)
- เมทัลสลัก 2 (ค.ศ. 1998) (ผู้อำนวยการผลิต)
- เดอะคิงออฟไฟเทอส์ '98: เดอะสลักเฟสต์ (ค.ศ. 1998) (ผู้อำนวยการผลิต)
- ซามูไรโชดาวน์: วอร์ริเออส์เรจ (ค.ศ. 1999) (ผู้อำนวยการบริหารการผลิต)
- เดอะคิงออฟไฟเทอส์'99 (ค.ศ. 1999) (ผู้อำนวยการผลิต)
- เมทัลสลัก X (ค.ศ. 1999) (ผู้อำนวยการผลิต)
- เมทัลสลัก 3 (ค.ศ. 2000) (ผู้อำนวยการผลิต)
- สตาร์โอเชียน: ทิลดิเอนด์ออฟไทม์ (ค.ศ. 2003) (ผู้ออกแบบไอเทม)
- สตรีทไฟเตอร์ IV (ค.ศ. 2008) (ผู้อำนวยการบริหารการผลิต)[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "The Man Who Created Street Fighter from 1UP.com". Web.archive.org. 3 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-03. สืบค้นเมื่อ 8 January 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Dimps expanding into original IPs for mobile and social platforms". Engadget.com. สืบค้นเมื่อ 8 January 2019.