พูดคุย:ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข/กรุ 1

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

constitutional democratic monarchy

จากการตรวจสอบในศัพท์บัญญัติราชบัญญัติยสถานไม่พบคำกล่าวอ้าง "constitutional democratic monarchy" ในภาษาอังกฤษ ไม่ทราบว่านี่เป็นคำสร้างใหม่หรือไงครับ อยู่ดี ๆ ทำไมถึงมาปรากฏในวิกิพีเดีย ถ้าคุณอยากจะให้มีบทความนี้จริง ๆ กรุณามีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และต้องเป็นคนกลางที่เป็นที่ยอมรับ --Horus 11:54, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เพิ่มเติมฮะ เมื่อเอาคำนี้ (constitutional democratic monarchy) ไปหาใน EN Wikipedia มันโยงกลับ (Redirect) มาที่ Constitutional monarchy ฮะ --Summer Memories 11:57, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
มันคือคำที่เป็น subset ของกันและกัน และมีความหมายแยกมาเพิ่มเติม มีข้อมูลอยู่แล้วใน wikipedia En ก็ระบุไว้ชัดเจนนะคะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 12:10, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ถ้างั้นช่วยอธิบายหน่อยครับว่าทำไมในแม่แบบรูปแบบการปกครอง ทำไมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงเป็น subset ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแทนที่จะเป็น subset ของราชาธิปไตย --Horus 12:12, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เพราะมันระบุชัดเจนอยู่ในรัฐธรรมนูญ เอกสารางอิงทางกฎหมายของชาติมานานแล้วอ่ะค่ะ รัฐธรรมนูญของไทยระบุมาอย่างงี้มานานนนนนมากกกกแล้วค่ะ ไม่บังอาจมากำหนดอะไรเองค่ะ ศัพท์อื่นๆ เช่น ตุลาการภิวัฒน์ ยังมาทีหังเยอะเลยค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 12:21, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ที่อธิบายไปแล้วก็คือ คำไทย ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญนานมากแล้ว ส่วนคำอังกฤษ เป็นคำที่ทาง en wikipedia ได้ขยายความเพิ่ม ไม่ได้บัญญัติศัพท์มาเองค่า ---- ~ Look-Narm ~ คุย 12:29, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ถ้าคุณยังยอมรับว่ามันมีความหมายอย่างเดียวกัน ทำไมคุณไม่ลิงก์จากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไปยังระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญล่ะ แล้วที่สำคัญ ถ้าคุณบอกว่าไม่ได้บังอาจกำหนดอะไรเอง ทำไมคุณไม่ไปลบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาล่ะครับ อยู่ดี ๆ มันโผล่ขึ้นมาได้ไง ในเมื่อกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ คนเขียนนี่จงใจหมิ่นกฎหมายหรือเปล่าครับ

ส่วนเรื่องคำที่มาที่หลังนั้น คุณลองคลิกเข้าไปคุณจะไม่เห็นเขายกตัวอย่างประเทศที่ปกครองแบบดังกล่าว แสดงว่าไม่เป็นที่ยอมรับในวงกว้างไงครับ --Horus 12:32, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

      • เอ้า..ไปกันใหญ่ จะไปลบ ไปแยก ไป link ไปทำอะไรให้มันยุ่งเหยิงทำไมล่ะค๊า... ไม่ได้เป็นเจ้าของวิกิค่ะ เป็น user ธรรมดา ที่ login เข้ามาเขียนบทความ อยากจะทำอะไรก็ทำไปเองสิค๊า เฮ้อ..แปลกจิงๆ ^__^ --- ~ Look-Narm ~ คุย 12:40, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
จะพยายามทำให้ดีที่สุดละกันครับ (ยากจริง ๆ) --Horus 12:46, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

คุณฮอต้องแยกให้ออกระหว่างรูปแบบของรัฐกับระบอบการปกครองนะครับ ราชาธิปไตยคือรูปแบบของรัฐ ส่วนประชาธิปไตยเป็นระบอบ ผมตรองดูแล้ว สำหรับบทความนี้มีความหมายว่าทั้งสองอย่างรวมกัน ขออภัยผมตอบบนมือถืออาจจะไม่สะดวก --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Octahedron80 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 05:50, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ซึ่งรูปแบบของรัฐมีแค่สองอย่างเท่านั้น คือไม่ราชาธิปไตยก็สาธารณรัฐ

ก็แสดงว่ามันก็ทับซ้อนกันใช่ไหมล่ะครับ ส่วนระบอบการปกครองนั้น ถ้าคุณพูดถูก "การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ก็ไม่สมควรอยู่ในแม่แบบรูปแบบของรัฐสิครับ (จริง ๆ แล้วแม่แบบของวิกิภาษาอังกฤษมันเป็น Form of Goverment แต่ไหงมาเป็นรูปแบบการปกครองก็ไม่รู้) --Horus 12:59, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
คำว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่คำใหม่นะครับ การขึ้นหัวข้อแบบในประกาศแบบนั้น อาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดกันนะครับ และถ้าว่าง ๆ กัน ก็ลองอ่าน ความหมายและความเป็นมาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดูครับ เผื่อจะได้มีไอเดียในการเขียนบทความกันต่อ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 13:48, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
นั่นสิครับ ผมก็เห็นว่าคำ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" มิใช่คำใหม่จากอ้างอิงสนับสนุนและในรัฐธรรมนูญ แต่ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข=constitutional democratic monarchy" รึเปล่า นั่นอีกประเด็นหนึ่ง --Sry85 13:55, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการอ้างว่า "ผู้ใช้วิกิพีเดียแปลกันเอง" อยากทราบเหมือนกันว่าการแปล constitutional democratic monarchy เป็น "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" จะนับรวมกันด้วยหรือเปล่า --Horus 13:58, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
อย่าไปเอาถ้อยคำในสื่อมาเป็นประเด็นในการทำงานสิคะ งานวิชาการก็ทำไปด้วยเอกสารข้อมูลหลักฐาน ไม่ได้ทำตามกระแส --Tinuviel | พูดคุย 14:07, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ผมว่าแค่ดูคำจำกัดความก็รู้แล้วครับ (การปกครองที่มีประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ และมีการปกครองในระบอบรัฐสภา) ผมอยากทราบว่ามันต่างจากคำว่า "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" และที่สำคัญ มันแตกต่างจาก "การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา" ตรงไหน แค่ redirect ก็น่าจะใช้ได้แล้ว อย่าให้เป็นกระแส วิกิพีเดียสุขภาพดีมานาน อย่าให้ใครมาเจาะยางเอาเสียง่าย ๆ --Horus 14:10, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ส่วนการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น อาจมีประมุขเป็นกษัตริย์หรือไม่ก็ได้ ฉะนั้นทั้งหมดจึงเป็น subset ของกันและกัน เพราะกล่าวถึงคนละประเด็นกัน ว่าจะกล่าวถึงระบอบการปกครอง หรือ รูปแบบของ head of state --- ~ Look-Narm ~ คุย 16:49, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เอาละ ผมขอสรุปเป็นครั้งสุดท้ายเลยนะครับว่า แม้แต่คุณเองก็ยังยอมรับว่ามันเป็นการปกครองในลักษณะเดียวกัน แต่กล่าวถึงกันคนละประเด็น โดยที่ประเด็นหนึ่งกล่าวถึงรูปแบบของรัฐบาล ส่วนอีกแบบหนึ่งกล่าวถึงระบอบการปกครอง (จำได้นะครับ) จากการที่ผมร่อนไปยังหน้าประเทศไทย ซึ่งมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ และพบว่าคำที่ปรากฏในแม่แบบประเทศนั้น คือ คำว่า "รัฐบาล" ไม่ใช่ "ระบอบการปกครอง" ครับ หวังว่าคุณคงจะเข้าใจ และยุติการกระทำของคุณ เพราะคำพูดของคุณ

ส่วนผลสืบเนื่องจากประเด็นที่คุณกล่าวมา คุณได้กล่าวเอาไว้ว่า "การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" นั้นเป็นรูปแบบการปกครอง ไม่ใช่รูปแบบแห่งรัฐ ถ้าเช่นนั้น ขออนุญาตลบออกไปละกันนะครับ --Horus 16:57, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • รูปแบบแห่งรัฐ หมายรวมถึงระบอบการปกครองด้วยค่ะ เช่น คอมมิวนิสต์ --- ~ Look-Narm ~ คุย 17:02, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ตัวอย่างประเทศที่เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น กาตาร์ ก็มี แต่การเอาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปอยู่ใต้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงไม่น่าจะถูกต้อง เพราะเป็นการแบ่งประเภทระบอบการปกครอง ไม่ใช่ รูปแบบของประมุข ค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 17:02, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • นอกจากนี้ ประชาธิปไตย ก็เป็นรูปแบบแห่งรัฐแบบหนึ่ง ไม่ใช่หรือคะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 17:05, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ประเทศไทย ระบุว่าเป็นราชอาณาจักรค่ะ และมีรัฐบาลประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ถูกตรงไหนคะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 17:08, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • คำว่ารูปแบบแห่งรัฐ ไม่ใช่ รูปแบบของรัฐบาล นะคะ รูปแบบแห่งรัฐ แยกเป็น 2 ส่วนค่ะ คือการบริหารงานแผ่นดิน (อาจเรียกได้ว่ารัฐบาล) กับประมุข ที่พยายามอธิบายอยู่นี่ ไม่ได้หมายถึง รูปแบบของรัฐบาล ค่ะ แต่หมายถึง รูปแบบแห่งรัฐ ซึ่งความหมายกว้างกว่าค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 17:17, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ส่วนเรื่องรูปแบบการปกครองกับรูปแบบแห่งรัฐนั้น ผมขอถาม:

ในเมื่อประเทศไทยมีการปกครองแบบพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ร่วมกับการปกครองในแบบรัฐสภา ขอถามว่าในส่วนนี้ประเทศไทยแตกต่างจากประเทศอังกฤษตรงไหน (อย่าตอบว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติเอาไว้ เพราะบทความวิกิพีเดียสามารถ redirect ไปหากันได้)
ถ้าคุณหาคำตอบไม่ได้ กรุณาทำอย่างที่ผมแนะนำ คือ redirect ไปหากัน โดยเขียนในหน้าประเทศไทยว่า "รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งตรงกับการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" ครับ

ป.ล. แอบไปแก้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษด้วย ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ (ที่ทำสำเร็จ) ว่าง ๆ ลองไปแก้ในเว็บซีไอเอให้ถูกต้องทีสิครับ ผมไม่กล้า --Horus 17:11, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ผิดครับ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนครับ ในหนังสือเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ม.4 ก็มี --Horus 17:11, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน(รัฐสภา) ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขค่ะ เป็นคำขยายความที่ชัดเจนขึ้น ในหนังสือหน้าที่พลเมือง ม.4 ก็ระบุไว้ บางประเทศมีประมุขเป็นประธานาธิบดี หรือจักรพรรดิ ก็ได้ไงคะ ได้ระบุไว้ในบทความหลักแล้วทั้งหมด --- ~ Look-Narm ~ คุย 17:23, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ถ้าอย่างนั้น ทำไมคุณถึงแก้ไขเฉพาะประเทศไทยล่ะครับ บทความประเทศอื่น ๆ เขาก็เขียนในรูปแบบเดียวกันกับที่ผมพยายามบอกคุณนี่ ทำไมถึงต้องเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเมื่อราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมีความหมายที่กว้างกว่า ครอบไว้หมด เพียงแต่เขาละเว้นให้ปกครองแบบเผด็จการได้ เพราะฉะนั้น ผมถึงได้เน้นไงครับว่าอย่าใช้มาตรฐานที่ตัวเองสร้างขึ้นมาเทียบกับวิกิพีเดีย วิกิพีเดียเป็นองค์กรที่จะมีความยั่งยืนมากกว่าอายุของคุณ เพราะฉะนั้น คุณต้องเคารพมาตรฐานของวิกิพีเดียสิครับ ไม่ใช่พูดกันเอง

ประเทศไทยได้อภิสิทธิ์พิเศษในการกล่าวถึงประมุขของรัฐหรือครับ งง

และแล้ว คุณก็ยังอธิบายไม่จบอยู่ดี เอวัง --Horus 17:26, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • อธิบายไม่หมดตรงไหนอีกคะ ลอง list มาเป็นข้อๆสิคะ วันนี้ว่างประมาณ 4 วันจะช่วยตอบให้ เท่าที่สามารถค่ะ หากสงสัยอะไรที่ไม่สามารถตอบได้ คงมีนักรัฐศาสตร์ฝีมือดีกว่ามาช่วยให้ได้ค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 17:37, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

สรุปทุกอย่าง

ถ้าคุณตอบได้ทั้งหมด คุณก็จะไม่มีอุปสรรคขวากหนามแล้วล่ะครับ (มั้ง)

  • ขออนุญาตสมาชิกวิกิไทย ท่านผู้รู้ต่างๆช่วยตอบนะคะ หากผิดพลาดช่วยๆกันแก้ไขก็ดีค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 18:30, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ฉลาดจัง เขาคงจะมาช่วยอยู่นะครับ ในเมื่อสื่อโหมกระหน่ำโจมตีอยู่อย่างนี้ ผมล่ะแปลกใจจริง ๆ ที่คุณไม่เดือดร้อน ทั้ง ๆ ที่โดนสื่อด่าหลายอยย่าง --Horus 18:47, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ทำไมในเว็บราชบัณฑิตถึงไม่มีคำว่า "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" (Constitutional democratic monarchy ตามคำกล่าวอ้าง ซึ่งพบในหน้าราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) รวมไปถึงในตำรา สารบบอื่น ๆ
  • เมื่อมีการใช้แพร่หลายขึ้นน่าจะมีการแปลไว้ค่ะ เท่าที่ทราบทางราชบัณฑิตมีการแก้ไขปรับปรุงข้อมูลตลอดเวลาให้ทันต่อเหตุการณ์ที่สุด คำ Constitutional democratic monarchy เป็นศัพท์ที่ใช้อธิบาย monarchy ที่เป็น democratic ค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Looknarm (พูดคุยหน้าที่เขียน) 11:30, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • แต่สำหรับผม เป็นเพราะว่ามันไม่แพร่หลาย + ไม่เป็นสากล + ไม่มีใช้ในหลักตำรา สารบบ บันทึกต่างหากล่ะครับ ที่สำคัญ คุณต้องนำความรู้ที่เป็นรัฐศาสตร์มาใช้ในบทความ อย่ามั่ว อย่าคิดขึ้นเอง (แบบนี้ยังจะมาคิดว่าชาววิกิพีเดียคนไหนจะมาช่วยอีกหรือ) --Horus 18:47, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ในเมื่อคุณยอมรับเองว่ามันมีความหมายอย่างเดียวกัน ดังนั้นทำไมมันจึงไม่ควรรวมอยู่ในบทความเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่วิกิพีเดียสามารถ redirect บทความได้
  • มิได้บอกว่าเป็นคำเดียวกันนะคะ เป็นคำขยายให้เห็นข้อแตกต่างว่า monarchy แปลได้ว่า การปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ราชาธิปไตย, ระบอบกษัตริย์ ก็ได้ (จาก พจนานุกรมแปล อังกฤษ-ไทย อ.สอ เสถบุตร) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Looknarm (พูดคุยหน้าที่เขียน) 11:30, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • เหมือนกันครับ คำจำกัดความเหมือนกัน เพียงแต่อันหนึ่งกล่าวถึงทั้งแบบสมบูรณาญาสิทธิราช ประชาธิปไตยและเผด็จการ และอย่างที่คุณบอกเองว่ามันเป็น subset ของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ กรุณาทำตามนั้นด้วย --Horus 18:47, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • คุณเคยบอกเองว่าคุณจะให้ผมจัดการเรื่องนี้คนเดียว (อันนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องตามหลักการ แต่ปากของคุณมันไวไงครับ)
  • ขออภัยค่ะ คุณ Horus น่าจะเข้าใจไปเอง ดิฉันหมายความว่า หากจะใช้ให้ดิฉันทำ link ทำโยง ทำยุ่งอะไร กรุณาทำเอง ดิฉันเป็น user ธรรมดา ที่มีสิทธิ์แก้ไข ไม่เห็นด้วย เพื่อให้บทความมีความสมบูรณ์ขึ้นตามความรู้ความเข้าใจของดิฉัน โดยมีแหล่งอ้างอิงตามที่ดิฉันทราบ หากคุณหรือท่านผู้รู้ใดไม่เห็นด้วยก็สามารถแก้ไขได้เช่นกัน แต่การที่บอกให้ดิฉันทำ หากดิฉันไม่เห็นตามนั้นจึงเรียกร้องให้คุณแก้ไปตามที่คุณต้องการตามสะดวกค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Looknarm (พูดคุยหน้าที่เขียน) 11:30, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ซึ่งคุณก็ทำให้การกระทำนั้นไร้ค่าใช่ไหมครับ --Horus 18:47, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • คำจำกัดความของการปกครองทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร ไม่ทราบว่าเคยอ่านคำจำกัดความของแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญหรือเปล่า
  • อ่านแล้วค่ะ ย้อนไปที่คำตอบแรกๆ ไม่ได้บอกว่าเป็นคำเดียวกันนะคะ เป็นคำขยายให้เห็นข้อแตกต่าง เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่คำคำเดียวกันค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Looknarm (พูดคุยหน้าที่เขียน) 11:30, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • การปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไม่ได้บอกรูปแบบประมุขแห่งรัฐหรืออย่างไร
  • ก็ได้อธิบายไว้ในบทความหลัก ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ว่าปัจจุบันมักเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่มีประเทศอื่นที่มีรัฐธรรมนูญ แต่เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น กาตาร์ เป็นต้น ในบทความหลักก็ระบุไว้แล้วค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Looknarm (พูดคุยหน้าที่เขียน) 11:30, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบราชาธิปไตยเหมือนกัน อย่ายึดติดกับความคิดที่ว่ากษัตริย์มีอำนาจเป็นเผด็จการ (ยกเว้นสมบูรณาญาสิทธิราช) --Horus 18:47, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • และคุณยังได้มีข้อผิดพลาดอีกด้วยเหมือนกัน
  • ถ้าผมแก้แล้วคุณไม่ย้อน ผมจะทำโดยที่ลังเล -100% ครับ --Horus 18:47, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
    • ตัวอย่างประเทศที่เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่ใช่ครับ มันแยกกันต่างหาก อย่าอ้างมั่ว ๆ
  • ในแม่แบบมันแยกกันครับ ประทานโทษ --Horus 18:47, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
    • ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน(รัฐสภา) ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขค่ะ เป็นคำขยายความที่ชัดเจนขึ้น ในหนังสือหน้าที่พลเมือง ม.4 ก็ระบุไว้ บางประเทศมีประมุขเป็นประธานาธิบดี หรือจักรพรรดิ ก็ได้ไงคะ ได้ระบุไว้ในบทความหลักแล้วทั้งหมด ใช่ครับ ประชาธิปไตยแบบนี้สามารถมีประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็ได้ เรื่องแบบนี้ผมว่าคำว่า "ระบบรัฐสภา" คำเดียวก็บ่งบอกถึงการปกครองในแบบนี้ได้ทั้งหมดแล้ว แล้วคุณจะเอาคำใหม่มาใช้ให้วุ่นวายทำไม
  • เพราะอ้างอิงจากรัฐธรรมนูญ ค่ะ ไม่ได้ยกอ้างเอง ก็มีอ้างอยู่ในนั้นแล้วตั้งแต่ปี 2492 เป็นอย่างน้อย ในรัฐธรรมนูญไทย กฏหมายสูงสุดของประเทศบอกว่าอย่างนั้น จะให้ไปเอาจากที่อื่น ให้สับสนทำไมล่ะค่ะ อ่านต่อๆไปในรายละเอียดก็มีระบุในแต่ละหมวดถึงรัฐสภา ฝ่ายบริหาร องค์กรอิสระ ฯลฯ
  • ส่วนกฎหมายก็กฎหมาย ส่วนการกระทำก็เป็นการกระทำ ถ้ารัฐธรรมนูญระบุว่าเป็นประชาธิปไตย ที่ปกครองแบบเผด็จการจะถือว่าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือเปล่า --Horus 18:47, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
    • อย่าบอกนะครับว่ารัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า การปกครองของไทย เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถ้าอย่างนั้น ในกฎหมายนาซีเยอรมนีเขาคงจะบอกอยู่หรอกนะครับว่าเขาปกครองแบบเผด็จการ/แบบจักรวรรดิ แล้วลองอ่านนี่ "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" ซึ่งปัจจุบันปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ คุณคิดว่ากฎหมายเขาระบุว่าตัวเองปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์หรือเปล่าล่ะครับ

คุณรู้หรือเปล่าว่า การปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์เองก็มีการเลือกตั้งเหมือนกัน (โดยมีพรรคการเมืองพรรคเดียวให้เลือก) สุดท้ายนี้มันก็เหมือนกับประชาธิปไตยไม่ใช่หรือไงครับ --Horus 17:52, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • ก็ ประเทศไทยเป็น ราชอาณาจักร แต่ก่อนลาวก็เป็นราชอาณาจักรค่ะ แต่ปัจจุบันเป็นสาธารณรัฐ ค่ะ
คำว่า monarchy ไม่ได้แปลว่าราชาธิปไตยเท่านั้นตามที่บอกไงคะ ประเทศไทยเป็น ราชอาณาจักร (kingdom) มีประมุขเป็น พระมหากษัตริย์ (king) อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ส่วนจะอ้างอิงเอกสารฉบับใดที่ชัดเจนกว่ารัฐธรรมนูญก็อ้างมาสิคะ แต่ดิฉันเห็นว่ามีเอกสารมากมายก็อธิบายรายละเอียดสอดคล้องกันว่า ไทยปกครองแบบประชาธิปไตย ไม่เคยมีที่ไหนระบุเลยนะคะว่าเป็นราชาธิปไตย หรือมีคะ เอ..เอ.. (^_^) --- ~ Look-Narm ~ คุย 18:30, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
แล้วรัฐธรรมนูญของสปป.ลาวปัจจุบันนี้เขาบอกว่าตัวเองเป็นคอมมิวนิสต์หรือไงครับ (นอกเรื่องนะข้างบนเนี่ย) --Horus 18:47, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

อันนี้ถามเล่น ๆ จะตอบหรือไม่ตอบก็ได้ "ระหว่างแมวสีขาวกับแมวสีดำ มันแตกต่างกันตรงไหน" --Horus 17:52, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • 555 เข้าใจถามดีค่ะ ยอมค่ะยอม จะเฉลยเมื่อไหร่อ่ะคะ \(^_^)/--- ~ Look-Narm ~ คุย 18:40, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

มารยาทค่ะมารยาท

  • คุณ Horus กรุณาเขียนเหตุผลในการแก้ว่า "โกหกหน้าด้าน ๆ ในร่างรัฐธรรมนูญภาษาอังกฤษไม่ปรากฏ Constitutional democratic monarchy เลย" เอ..เอ..มันจะดีเหรอคะ แล้วที่เอาออกไปน่ะ เขียนว่ารัฐธรรมนูญฉบับแปลภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า "A democratic form of government with the King as head of the state"[1] ค่ะ ไม่ได้บอกซะกะหน่อยว่า constitutional democratic monarchy --- ~ Look-Narm ~ คุย 18:46, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
    • ผิดครับ คุณเขียนว่ามันเป็นคำนิยามของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในภาษาอังกฤษ แต่ผมเซิร์ซแล้วไม่เจอคำดังกล่าวในหน้านั้นเลย สรุปว่าผมค้นไม่ดี + ผมตาถั่วอย่างนั้นหรือครับ --Horus
  • ไปว่าตัวเองอย่างนั้นทำไมล่ะคะ ส่วนที่ตัดไปคือส่วนนี้ค่ะ A democratic form of government with the King as head of the state เป็นคำขยายที่ดูเหมือนชัดเจนดี นี่คะ ไม่ได้โกหกหน้าด้านๆซ๊ากหน่อย (._.")--- ~ Look-Narm ~ คุย 18:57, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • อ้าว ถ้าเป็นคำขยายจริง คุณจะรู้ได้อย่างไรครับว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน จากที่แปลมามันก็จะได้ว่า "รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ" แล้วอังกฤษ หรือแม้แต่นครรัฐวาติกันซึ่งเลือกตั้งประมุขราชาพระคาทอลิกขึ้นมานี่ไม่ใช่ประชาธิปไตยเลยหรือครับ --Horus 19:01, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ของคริตสจักรวาติกันุถูกระบุเป็น เทวาธิปไตย (Theocratic elective monarchy) ค่ะ นั่นแสดงว่า consitutional monarchy มีความหลากหลายค่ะ หากใช้คำๆเดียวอธิบายจะไม่สามารถครอบคลุมความหมายอย่างครบถ้วนได้ นะคะ? --- ~ Look-Narm ~ คุย 19:37, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ถ้าเป็นเทวาธิปไตยแท้ ๆ คงไม่มีการเลือกตั้งหรอกครับ กฎหมายไม่ระบุ แต่เราก็สามารถคิดเองได้ --Horus 19:44, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • อืมม..ม..อันนี้ไม่ทราบค่ะ แต่เรามี elective มาขยายไงคะ ว่าไม่ใช่ Theocratic หรือ Monarchy เฉยๆ --- ~ Look-Narm ~ คุย 19:47, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ทางตรง ทางอ้อม

    • แล้วประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนกับประชาธิปไตยแบบทางอ้อมมันต่างกันตรงไหน อันนี้ต้องถามว่า น้ำ 1 หยดแตกต่างจากน้ำ 1 หยดตรงไหน --Horus 18:52, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ต้องไปถามคนที่เขียนในภาษาอังกฤษนะคะ ไปคัดมาอ่ะค่ะ เห็นมีทั้งสองคำที่มีศัพท์เรียกต่างกันค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 18:57, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • จากเนื้อหาในประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน เรียก "ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหรือประชาธิปไตยทางอ้อม" ซึ่งหมายความว่า ไม่ได้เป็นคำแยกกันครับ --Horus 19:01, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • เห็นว่าเป็นสาระสำคัญที่กล่าวถึงระบอบการปกครองที่สอดคล้องกับ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น --- ~ Look-Narm ~ คุย 19:03, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
    • การเขียนคำบรรยายนี้ ใช้ หรือ คั่น นะคะ วัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 19:06, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
      • ผมเห็นว่ามันควรจะ redirect เข้าด้วยกันเสียอีกครับ (อันนี้เห็นได้ชัดเจนนะครับ) --Horus 19:23, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
        • redirect บทความอะไรคะ? --- ~ Look-Narm ~ คุย 19:30, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
          • ก็ประชาธิปไตยทางอ้อมกับประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนไงครับ --Horus 19:35, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ก็ได้นะคะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 19:41, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เถียงกันอยู่ได้

เอาหล่ะ ผมมีสองประเด็นจะถามครับ

  1. ในอ้างอิงที่๑ คำว่า "Constitutional democratic monarchy" อยู่ตรงไหนครับ?
    1. "A democratic form of government with the King as head of the state" เนี่ย มันหมายถึง "Constitutional Monarchy" อยู่แล้วนะครับ โดยลักษณะโดยทั่วไปก้คือ ผู้นำรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง และได้รับการแต่งตั้งโดยประมุขแห่งรัฐ (อันหมายถึงกษัตริย์นั่นแหละ)
  2. ในวิกิอังกฤษ ย่อหน้าที่๑กล่าวว่า "Although contemporary constitutional monarchies mostly are representative, constitutional democratic monarchies" หรือสรุปง่ายๆว่า "constitutional democratic monarchies" เป็นส่วนย่อยหนึ่งของ "constitutional monarchies" (จริงจริงแล้ว โดยคำของมันก็บอกอยู่แล้วว่ามีความเกี่ยวพันกันโดยตรง ของแบบนี้เรียกว่า สามัญสำนึกครับ)
    • อย่างไรก็ตาม ผู้นำรัฐบาลในระบอบนี้ อาจจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรง หรือโดยอ้อม หรืออาจจะมาจากรัฐบาลเผด็จการทหารก็ได้ด้วยนะ (ทั้งหมดอยู่ในย่อหน้าแรกของ constitutional monarchies ภาษาอังกฤษ) ดังนั้น "constitutional democratic monarchies" ก็เพียงแค่การชี้ชัดว่า รัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้งนะ ก็เท่านั้นแหละ

เฮ้อ! ว่าจะไม่ยุ่งกะพวกเรื่องการเมียแล้วนะ แต่บอกตามตรงครับ การศึกษาบ้านเรามันพยายามปลูกฝังให้ผู้คนเทิดทูนบูชาประชาธิปไตยเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขอพูดจากประสบการณ์เลยนะครับ คนจีน มาจากประเทศคอมมิวนิสต์ ยังมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าคนไทยหลายคนด้วยซ้ำ (ขอโทษ) ถ้าพวกคุณเถียงกันยาวเหียดเพียงเพราะความรู้สึกบูชาประชาธิปไตย และคิดว่าไม่ได้ ยังไงๆก็ตั้งยัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยไว้ก่อนจะได้ไม่ดุเหมือนประเทศด้วยพัฒนาหล่ะก็ ปรับความคิดเสียหน่อยนะครับ เอาข้อมูล ข้อเท็จจริงมาพูดกันดีกว่า

ประชาธิปไตยไม่ใช่ระบอบที่ดีที่สุด แต่เป็นระบอบที่เลวน้อยที่สุด

— เซอร์ วิสตัน เชอร์ชิล

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 19:52, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • เข้าใจสิ่งที่คุณ ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน)ตั้งประเด็นมาค่ะ และคิดคล้ายๆกัน เหตุที่เขียนบทความนี้และพยายามตอบคำถามของคุณ Horus เพราะว่างๆอยู่ค่ะ ไม่ได้คิดว่าจะยัดเยียดประเทศไทยให้เป็นอะไรเลย สิ่งที่เขียนมาก็คัดมาจากแหล่งข้อมูลที่มีที่มา ในความคิดเห็นส่วนตัวบริบทของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน การทำความเข้าใจกับเรื่องบางเรื่องนั้นต้องการคำอธิบาย ด้วยเหตุนี้วิกิพีเดียน่าจะเป็นแหล่งความรู้ที่ให้ความกระจ่างได้ หากมีความเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น วิกิพีเดียก็ยืดหยุ่นพอที่จะปรับเปลี่ยนได้ การมีหัวใจประชาธิปไตยยอมรับความคิดเห็นเป็นสิ่งดีค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 20:09, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)


อ้อ ลืมบอกไป คำว่า Constitution นี่มันแปลว่า รัฐธรรมนูญ นะครับ ส่วน Monarchy ก็แปลว่า ประเทศที่มีกษัตริย์ หรือระบอบที่มีกษัตริย์ ดังนั้น Constitutional Monarchy ถ้าแปลตามศัพท์ก็คือ ระบอบที่มีกษัตริย์และรัฐธรรมนูญครับ แต่อย่งไรก็ตาม คำแปลของ Constitutional Monarchy ควรจะใช้ตามศัพท์บัญญัติที่ราชบัณฑิตกำหนดไว้ครับ ถ้าคุณจะเปลี่ยนศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิต ก็ขอให้ถามตัวเองเสียก่อนครับว่า คุณเป็นใคร? แล้วราชบัณฑิตเป็นใคร?

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 20:03, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • ไม่ขัดข้องค่ะ แก้เลยก็ได้นะคะ ว่าแต่ว่าดิฉันไม่กล้าค่ะ เพราะไม่ได้เป็นราชบัณฑิต :P --- ~ Look-Narm ~ คุย 20:09, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

มันก็เท่านั้นแหละครับ จบประกาศ ส่วนจะลบ จะรวม ก็แล้วแต่การจัดการข้องฝ่ายเก็บกวาด (ผู้ดูแล) ก็แล้วกัน --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 20:16, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • งั้นก็ลบคำว่า constitional democratic monarchy ออกดีไม๊คะ? จะได้ไม่สับสน --- ~ Look-Narm ~ คุย 20:18, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เรื่องคำว่า constitutional democratic monarchy มันเป็นแค่การเปรียบเปรยกับบริบทครับ ไม่ได้เป็นคำที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปให้ความสำคัญกับคำนี้หรอกครับ เหมือนกับที่ใครหลายคนบอกว่ามันคือ "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" คุณก็ไม่จำเป็นต้องไปใส่ใจ --Octra Dagostino 20:32, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ควรจะอ้างอิงจากเอกสารทางวิชาการมากกว่าจะอ้างอิงจากสื่อนะครับ ไม่งั้นคุณคงต้องตอบคำถามใคร ๆ อีกว่าแหล่งที่มานั่นเป็นกลางจริงหรือเปล่า --Horus 20:39, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

สื่อมวลชน ก็คือสื่อมวลชน ยังไงก็เอามาอ้างอิงทางวิชาการไม่ได้หรอก แถมผู้จัดการนี่ก็รู้กันนะครับว่าเอียงข้างไหน นายนั่นที่โดนเอามาอ้าง ก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร ถ้าบอกว่าเ้ป็น อ คณะรัฐศาสตร์ยังว่าไปอย่างครับ นอกจากนี้ การสวมรอยแอบอ้าง ใช่ว่าจะทำไม่ได้ครับ เหมือนกับข่าวที่ นศ ไอริช แอบใส่ข้อความเท็จลงวิกิพีเดีย แต่ปรากฏว่าสื่อดันไปเชื่อถือเป็นตุเป็นตะ ก็เกิดในช่วงเวลาไล่ๆกันนี้นี่แหละครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 20:43, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

หมายถึงอะไรครับ บอกใคร (ผมละงงกับการเขียนของคุณฮอจริง) คุณจะมาจุดประกายเรื่องคำศัพท์อีกเหรอครับ ผมเคยบอกอยู่บ่อยๆว่า อย่าอ้างอิงวิกิพีเดียด้วยกันเอง ประโยคนั้นยังต้องการอ้างอิงอยู่เลย ในเมื่อมันยังไม่มีการอ้างอิง เราก็ไม่ควรเอามาอ้างอิงต่อ ซึ่งถ้าไม่มีใครสามารถหามาใส่ได้ ไม่นานก็คงจะมีคนลบออกเช่นกัน (และสงสารผมหน่อยนะครับ ผมไม่สามารถใช้เมาส์ได้) --Octra Dagostino 20:52, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

โธ่คุณครับ ผมหมายถึงการอ้างอิงคำว่า constitional democratic monarchy ไงล่ะครับ --Horus 20:54, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เรื่องท่เคยเถียงๆกันหน่ะ จบเถอะครับ ผมว่าเรามาคุยว่า จะย้ายบทความนี้ไปรวมกับอีกบทความยังไง หรือจะลบทิ้งไปเฉยๆเลยดี จะดีกว่านะครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 21:03, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
Superb! --Horus 21:06, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ไม่เห็นด้วย - ขอตัดค้านการรวมบทความ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กับ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
  1. ไม่อาจพูดได้ว่ารายชื่อประเทศในบทความ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นประเทศที่เป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทั้งหมด
  2. ศัพท์คำนี้ (ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) มีอยู่จริงในตำรารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐธรรมน฿ญ เป็นที่รับรู้ในเมืองไทย วิกิไทยจะนำไปรวมกับศัพท์อีกคำ ที่ไม่มีคนคุ้นเคย และไม่ให้มีคำ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปรากฏอยู่หรือ
  3. ศัพท์ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (A democratic form of government with the King as head of the state) เป็น ระบอบการปกครอง แต่ ราชาธิไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นการระบุรูปแบบของรัฐ

--- ~ Look-Narm ~ คุย 08:39, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)


ขอตอบตามความเห็นเป็นข้อๆดังนี้ครับ

  1. ที่คุณพูดมาก้ถูกอยู่ว่าทุกประเทศในรายชื่อดังกล่าวนั้น มิได้ปกครองในรูปแบบเดียวกัน แต่ว่าจัดได้ว่ามีลักษณะร่วมเดียวกันคือ มีรัฐธรรมนูณ และมีกษัตริย์ในรัฐเดียวกัน
    • อย่างไรก็ตาม แต่ละรัฐ ตางก็มีธรรมเนียมปฎิบัติที่ต่างกันออกไปตามประวัติศาสตร์ความเป็นมาของแต่ละชาติรัฐ แลธรรมเนียมปฎิบัติที่สืบทอดกันมา
        • แต่ก็อีกนั่นแหละครับ ปชต อันมีกษัตริย์เป็นประมุข คือ ส่วนย่อยของ ราชาธิปไตยภายใต้ รธน (ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว) นี่คือเหตุผลประการแรกที่ควรรวม
      • สิ่งที่เสริมเหตุผลของการรวมบทความประการแรกก็คือ ในเมื่อบทความสองบทความมีความเกี่ยวเนื่องกัน และบทความที่เป็นส่วนย่อยมีเนื้อหาไม่มาก บทความสองบทความ สมควรจะรวมเข้าด้วยกัน
        • การใช้ redirect สามารถกระทำได้ครับ
    • สิ่งที่จะทำให้บทความนี่แยกเป็นเอกเทศออกมาได้คือ เนื้อหาของบทความนี้จะต้องมีปริมาณมากจนสมควรแยกออกมาต่างหากครับ
  2. ศัพท์ที่คุณว่ามานั้น มีจริง แต่มันก็แค่คำเรียกหา แต่เนื้อหาสาระนั้น คือหนึ่งเดียว ดังนั้น สามารถอธิบายในหน้าบทความได้ว่า คำเรียกมีสอง แต่ก็เหมือนกัน
  3. คำพูดที่คุณยกมานั้น ผมได้อธิบายไปแล้วครับ Constitution คือรัฐธรรมนูณ โดยไม่เกี่ยวว่าหัวหน้ารัฐบาลนั้นมีท่มาอย่างไร ส่วน Monarchy นั้น แปลว่า รัฐ หรือระบอบที่มีกษัตริย์ ดังนั้น A democratic form of government with the King as head of the state คือหนึ่งในประโยคอธิบายความหมายของ Constitution Monarchy ครับ (บอกว่าประโยคนี้คือการบรรยายถึง Constitutional Democratic Monachy จะดีกว่านะ)

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเห็นว่า ควรจะรวมบทความครับ

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 19:23, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)

อยากให้ผู้เสนอรวมลองร่างหน้า ที่มีการรวมเนื้อหาของทั้งสองบทความแล้ว เพื่อให้เห็นภาพ ซึ่งไม่รู้ว่าการรวมเนื้อหาเข้าด้วยกันอาจมีเนื้อหาบางส่วนขัดแย้งกันหรือไม่ หรือเนื้อหาที่รวมแล้วอาจมีเนื้อหาในของเนื้อ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" มากกว่าเนื้อหาของ "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เสียอีก หรือเปล่า --Sry85 19:51, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)
คงจะเป็นเรื่องตลกไม่น้อยนะครับ เพราะตามตรรกะแล้ว A เป็นส่วนย่อยของ B แต่ B กลับถูกให้ความสำคัญจนนำมาใช้เป็นชื่อบทความมากกว่า A ถ้าเอาตามความเห็นผมจริงจริงแล้ว ผมจะลบบทความนี้ทิ้งด้วนซ้ำไป แต่ที่เสนอรวมนั้น เพื่อการประนีประนอมครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 20:08, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)
พอดีได้สอบถามมาจากผู้ที่มาจากสายรัฐศาสตร์มาครับ สรุปว่า Constitutional Democratic Monachy เป็นเพียงการขยายว่า Constitution นี้ มาจาก Democratic นะ ก็เท่านั้นเอง เพราะบางประเทศที่เป็น Constitution Monarchy เช่น บรูไน นั้น Constitution ของเขาไม่ได้มาจกประชาธิปไตย มันก็เท่านั้นเองแหละ สุดท้ายขอย้ำครับ อย่าพยายามคลั่งไคล้บูชาคำว่า "ประชาธิปไตย"ให้มันมากจนไม่สนใจหลักทางรัฐศาสตร์ครับ มิเช่นนั้น การอธิปรายนี้อาจจะจบลงตามวิถีอนาถาธิปไตยครับ เอาเหตุผลข้อเท็จจริงมาคุยกันดีกว่าครับ--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 20:19, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ก็แยกเป็นหัวข้อย่อยเสียก็หมดเรื่อง แบบนี้รวมได้แน่นอน --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Octahedron80 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 13:43, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เห็นด้วยกับคุณขี้เมาครับ เนื่องจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กล่าวถึง การปกครองสองแบบ คือ แบบประชาธิปไตย กับแบบที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ราชาธิปไตย = ไม่จำเป็นต้องเป็นเผด็จการ) ซึ่งเมื่อขยายความแล้วก็จะเป็นราชาธิปไตยแบบประชาธิปไตย ไม่ทราบว่าทำไมประเทศอื่นที่ปกครองโดยสองรูปแบบดังกล่าวจึงไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญ หรือจะเป็นเพราะแค่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
ส่วนเรื่องการรวมบทความ ถ้าหากมติเป็นที่ยอมรับเมื่อใด ก็สามารถปฏิบัติตามได้ทันทีครับ อยู่ที่ว่าจะเห็นพ้องกันหรือไม่ --Horus 22:06, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ผมว่าปัญหา คือ บทความราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีความพร้อมแค่ไหนสำหรับการ redirect ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปยังหน้านั้น ถ้าจะรวมบทความ ควรเพิ่มหัวข้อย่อยในหน้า ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตามที่คุณ Octa เสนอครับ ผมว่าอาจจะใช้ชื่อ ระบอบการปกครอง เป็นต้น แล้วอธิบายไปว่า ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีทั้งแบบประชาธิปไตย, สมบูรณาญาสิทธิราช ฯลฯ อะไรก็ว่าไป หลังจากนั้น ก็ redirect ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปยัง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ#ระบอบการปกครอง หัวข้อ ประชาธิปไตย เป็นต้น และถ้าลองเขียนแล้วมันเยอะถึงค่อยแยกออกมาเป็นบทความใหม่ทีหลังก็ไม่เสียหาย เช่น
  • ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ชื่อบทความ)
  • ระบอบการปกครอง (หัวข้อย่อย)
  • ประชาธิปไตย <-- ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • สมบูรณาญาสิทธิราช --161.200.255.162 22:30, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT) ScorpianPK (ไม่ได้ log in)

สมบูรณาญาฯไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ อธิบายอย่างนี้ก็แล้วกัน

  1. ราชาธิปไตย (Monachy) แยกย่อยได้เป็น
    1. สมบูรณายาสิทธิราช (Absolute Monachy)
    2. ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูณ (Constitution Monachy) ซึ่งสามารถย่อยลงไปได้อีกคือ
      1. ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูณที่มาจากการเลือกตั้ง (Constitution Democratic Monachy) (ชื่อไทยคิดเองนะ อย่าหาอ้างอิง แต่ประมาณนี้แหละ ความหมายตรงตัว)

ดังนั้น อย่าสับสนครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 22:39, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)

อีกอย่างนะครับ ในบทความอเมริกา ซึ่งใครๆ รวมทั้งพี่ไทยคิดว่าเป็นต้นแบบของประชาธิปไตยในปัจจุบันนั้น บอกว่าตัวเองเป็น Federal constitutional republic ครับ อ่านได้ในบทความอเมริกาภาษาอังกฤษครับ มิได้บอกว่าเป็น democracy แต่อย่างใด ส่วนฝรั่งเศสที่ได้ประชาธิปไตยมาจากการถล่มประตูคุกนั้น บอกว่าตัวเองเป็น Unitary semi-presidential republic ครับ อ่านได้จากบทความภาษาอังกฤษเช่นกันครับ ส่วนอังกฤษไม่ต้องพูดถึง Constitutional monarchy เหมือนพี่ไทยครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 22:46, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ส่วนทำไมราชบัณฑิตใช้คำว่า ราชาธิปไตยนั้นน่าจะมาจากการที่ว่า Constitutional มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นประชาธิปไตยเสมอไปครับ นอกจากนี้แล้ว ตามหลักภาษาศาสตร์ Constitutional เป็นคำคุณศัพท์ที่ไปขยาย Monachy ด้วยเหตุนี่ ราชบัณฑิตจึงบัญญัติเอาไว้ว่า "ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" และถ้าผมจะบังอาจแปลคำว่า Constitution Democratic Monachy หล่ะก็ ผมคงจะแปลว่า "ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นประชาธิปไตย" ครับ
คำว่าราชาธิปไตยยังไงก็ต้องคงไว้ครับ เนื่องจากว่านายกฯและรัฐมนตรีทุกท่าน ถึงแม้ว่าจะได้รับเลือกมาจากประชาชนในรัฐ แต่ก้ต้องรอพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯทุกครั้งถึงจะเป็น นายกฯ รมต โดยสมบูรณ์ และนี่คือการใช้ "อธิปไตย" ของ ราชา ในระบอบระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญครับ (อธิปไตยแปลว่า อํานาจสูงสุดของรัฐที่จะใช้บังคับ บัญชาภายในอาณาเขตของตน) และอย่าลืมว่า การที่ร่างพระราชบัญญัติจะมีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัตินั้น ต้องรอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิทัยก่อนนะครับถึงจะมีผลบังคับใช้ได้ และนี่ก็คือ "อธิปไตย" ของพระมหากษัตริย์ไทยเช่นกันครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 23:07, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ขอบคุณที่ขยายความเพิ่มเติม ผมใช้สมบูรณาญาสิทธิราชเพราะผมก็นึกไม่ออกว่ามีอะไรให้ยกตัวอย่างอีก เลยไปอ่านหน้าบทความ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ย่อหน้าที่ 2 และ 3 จึงนำคำว่าประชาธิปไตยและสมบูรณาญาสิทธิราชมาใช้ยกตัวอย่างสำหรับการเรียงหัวข้อ ถ้าผิดก็แก้ไขตามสบาย ส่วน Constitution Democratic Monachy ถ้ายังไม่มีแหล่งอ้างอิงว่ามีการบัญญัติว่าอย่างไรก็ยังไม่ต้องแปลก็ได้นะครับ --161.200.255.162 23:29, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT) ScorpianPK (ไม่ได้ log in)
ผมเข้าใจครับ ส่วนการแปล Constitution Democratic Monachy นั้น ผมแจ้งไปแล้วว่าเป็นการอังอาจแปลด้วยความรู้ของตัวเองตามคำศัพท์ ย่อมมิอาจจะใช้อ้างอิงได้ แต่ทว่า อาจจะทำให้ท่านอื่นได้เห็นว่า อย่งไรก็ตาม คำว่า "ราชาธิปไตย" ก็ยังต้องคงไว้อยู่ดี และเพื่อการนี้ ผมกำลังแปลบทความ รัฐบาลในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ (สหราชอาณาจักร) ซึ่งน่าจะทำให้เห็นภาพของระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้ชัดขึ้นครับ (และเนื้อหาน้อยกว่าการแปลราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญตรงๆด้วยหล่ะ ความขี้เกียจต้องมาก่อนครับ ๕๕๕) --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 23:40, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เหมือนกับที่คุณไอ้ขี้เมาว่าไว้เด๊ะเลย นี่มันโดนล้างสมองไปแล้วชัด ๆ ประชาธิปไตยนะครับมันกินได้ที่ไหน ข้าวสิครับ ข้าวที่กินได้ ถึงข้างบนผู้เขียนจะบอกว่าอยากให้วิกิพีเดียเผยแพร่แหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง คือ มันไม่ถูกน่ะครับ ผิดนโยบายอีกด้วย แถมยังไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอีก ปากบอกประชาธิปไตย แต่ใจเป็นเผด็จการ ดูง่าย ๆ ใช้สามัญสำนึก ไม่จำเป็นต้องจบสังคม/รัฐศาสตร์/นิติศาสตร์ขั้นดอกเตอร์ก็ยังบอกได้ ผมบอกได้แค่นี้แหละ --Horus 19:36, 10 พฤษภาคม 2552 (ICT)
วุฒิหน่ะมันไม่เกี่ยวหรอกครับ ดร ห่วยๆ กุ่ยๆ ผมเจอมาเยอะแล้ว ตบตายคาปาก ก็ทำมาแล้ว เอาความจริงมาคุยกันดีกว่า --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 19:43, 10 พฤษภาคม 2552 (ICT)
งั้นลดเหลือปริญญาโทก็พอครับ --Horus 19:46, 10 พฤษภาคม 2552 (ICT)
จะออกทะเลซ่ะละ เหอๆๆ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 20:02, 10 พฤษภาคม 2552 (ICT)
แวะมาเที่ยวทะเลครับ .·´`·» จะไปกันหรือยังอ่า -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 02:00, 11 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เสนอหน้ารวมทั้งสองบทความ

เสนอหน้ารวมทั้งสองบทความ ผู้ใช้:Horus/ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ --Horus 20:14, 10 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ความคิดเห็น - เนื่องจากเป็นผู้เสนอรวมหน้าจึงไม่ขอร่วมลงคะแนน แต่ขอกล่าวว่าเนื้อหาในหน้าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่มีเนื้อหาพอไปสร้างหน้าใหม่หรอกครับ ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงกฎหมายเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการปกครองเลยแม้แต่น้อย ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติและการบัญญัติอำนาจของพระมหากษัตริย์ และในหัวข้อ "รูปแบบของรัฐ" เป็นการกล่าวถึงระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาดี ๆ นี่เอง ดังนั้นตามความเห็นส่วนตัวแล้ว จึงไม่ควรยกไปสร้างหน้าใหม่ครับ (เนื้อหาที่ผมเสนอรวมนั้นเป็นการสรุปหน้านี้ไปด้วยแล้ว หลังจากคัดกรองส่วนที่ไม่ตรงกับชื่อของบทความออกไป) --Horus 20:23, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  1. เห็นด้วย — เค้าติดสอบนิดเดียว คุยกันฟุ้งแล้ว ตามอ่านแทบปวดตา แล้วเค้าจะร่ายอะไรต่อดีล่ะ... เบื้องต้นเอาเป็นว่า ในฐานะที่เป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปี ๒ ในฐานะที่ได้เรียนเรื่องพวกนี้โดยตรง ในฐานะที่อ่านบทความทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้มากพอสมควร และในฐานะที่สนใจกับเรื่องพวกนี้อีกประการหนึ่ง ขอแสดงความเห็นชอบด้วยให้รวมบทความ "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" และ "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" หรือ "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข" หรือจะชื่ออื่นใดก็ดีที่มีลักษณะเดียวกัน เข้ากับบทความ "ราชาธิปไตย"
    ทั้งนี้ มีความเห็นอีกว่า (ไม่รู้คุยกันไปหรือยังนะ) อาจจะให้มีทั้งบทความ "ราชาธิปไตย" และบทความ "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" ทั้งสองบทความก็ได้ ถ้าบทความหลังมีเนื้อหามากพอจะขึ้นเป็นบทความใหม่นะ—— เปิดศาล จิ๊จ๊ะ | ๒๕๕๒ ศก พฤษภาคมมาส เตรสมสุรทิน, ๑๖:๐๗ นาฬิกา (GMT+7)
  2. ไม่เห็นด้วย - ขอตัดค้านการรวมบทความ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กับ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประเภทของราชาธิปไตยควรอยู่กับราชาธิปไตย, ประเภทประชาธิปไตยควรอยู่กับประชาธิปไตย หากเอา ประชาธิปไตยฯไปอยู่กับราชาธิปไตยฯ จะทำให้สับสน --- ~ Look-Narm ~ คุย 09:20, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  3. ไม่เห็นด้วย - เพราะเท่าที่ดูบทความ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็มีเนื้อหาพอควรที่จะแยกออกมาเป็นบทความใหม่ ในฐานะที่เป็นบทความย่อยของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ได้นะครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 15:49, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  4. ไม่เห็นด้วย - มีเนื้อหาที่แยกออกมาพอสมควร --Sry85 18:49, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  5. เห็นด้วย - "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เป็นการประสมกันระหว่างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย กับรูปแบบของรัฐแบบ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ซึ่งเปลี่ยนคำเสียใหม่เป็น "อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข") แต่ไม่ได้มีความหมายเชิงวิชาการในตัวเองในมุมมองสากล ปล. ที่บอกว่ามีเนื้อหามากพอควร อันนี้คงต้องดูด้วยว่าเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวบทความจริงหรือไม่ เป็นเอกเทศจริงหรือไม่ หรือพยายามใส่อะไรๆ ให้มันเยอะเข้าไว้ --Tinuviel | พูดคุย 23:11, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)

รวมบทความ ราชาธิปไตย เข้ากับ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

หากจะรวมบทความ เสนอว่าน่าจะรวม ราชาธิปไตย (Monarchy) เข้ากับ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) มากกว่านะคะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 17:04, 13 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  1. เห็นด้วย ความเห็น - ตามหลักแล้วไม่ควรรวมบทความเพราะจะทำให้ยาวเกินไป อ่านยาก แต่หากจำเป็นต้องรวม ควรพิจารณาไม่ให้ก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้อ่าน ประชาธิปไตยฯควรอยู่กับบทความหลักประชาธิปไตย , ราชาธิปไตยฯควรอยู่กับบทความหลักราชาธิปไตย หากเอาราชาธิปไตยไปอยู่กับประชาธิปไตยทำให้เกิดความสับสันในการเรียกว่าตกลงแล้วคืออะไรกันแน่ --- ~ Look-Narm ~ คุย 09:27, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  2. ไม่เห็นด้วย — พิจารณาแล้ว เหตุผลฟังไม่ขึ้นที่จะชวนให้รวมบทความ "ราชาธิปไตย" เข้ากับ "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" จึงไม่เห็นชอบด้วย
    —— เปิดศาล จิ๊จ๊ะ | ๒๕๕๒ ศก พฤษภาคมมาส เตรสมสุรทิน, ๑๖:๐๗ นาฬิกา (GMT+7)
  3. ไม่เห็นด้วย - ราชาธิปไตย Monarchy มีมายาวนานมากครับ เราเห็นว่าราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมีความแตกต่างจากราชาธิปไตยแบบอื่นๆมากพอสมควร จึงถูกแยกออกมาอย่างละเอียด และการแยกนี้ก็มีในวิกิฯภาษาต่างประเทศด้วย บทความนี้มีเหตุผลรองรับที่จะอยู่ไปอย่างนี้ Choosing between Truth and safety of Lies... 09:41, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  4. ไม่เห็นด้วย - ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีรายละเอียดมากพอ ๆ กับ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถึงแม้ทั้งคู่จะเป็นส่วนย่อยของราชาธิปไตย แต่ถ้าเอาทั้งสองบทความนี้ไปใส่เป็นเนื้อหาสรุปของราชาธิปไตยนั้นทำได้ แล้วใส่ลิงก์เชื่อมโยงมายังบทความหลัก เพื่อไม่ให้ประเด็นเนื้อหาปนกัน ปกติก็ทำกันแบบนี้ไม่ใช่รึ --Octra Dagostino 10:25, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  5. ไม่เห็นด้วย - ไม่เห็นความจำเป็นต้องรวมเลยครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 15:52, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  6. ไม่เห็นด้วย - ความคิดเดียวกับคุณออกตากับคุณ ScorpianPK ครับ --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 16:01, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  7. ไม่เห็นด้วย เช่นเดียวกับคุณ octa และ ScorpianPK --Sry85 18:49, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  8. ไม่เห็นด้วย - ราชาธิปไตยมีหลายประเภท --Horus 20:24, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)

รวมบทความ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กับ ประชาธิปไตย

ส่วนบทความนี้ (ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) หากจะรวมก็น่าจะรวมกับ ประชาธิปไตย ดีกว่า เป็นเรื่องเดียวกัน ไม่สับสน เพราะเป็นประเภทหนึ่งของประชาธิปไตย --- ~ Look-Narm ~ คุย 21:40, 13 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  1. เห็นด้วย ความเห็น - ตามหลักแล้วไม่ควรรวมบทความเพราะจะทำให้ยาวเกินไป อ่านยาก แต่หากจำเป็นต้องรวม ควรพิจารณาไม่ให้ก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้อ่าน ประชาธิปไตยฯควรอยู่กับบทความหลักประชาธิปไตย , ราชาธิปไตยฯควรอยู่กับบทความหลักราชาธิปไตย หากเอาราชาธิปไตยไปอยู่กับประชาธิปไตยทำให้เกิดความสับสันในการเรียกว่าตกลงแล้วคืออะไรกันแน่ --- ~ Look-Narm ~ คุย 09:31, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  2. ไม่เห็นด้วย - ควรทำเป็นเนื้อหาสรุปแล้วโยงมายังบทความนี้จะดีกว่า เพราะดูแล้วบทความนี้มีเนื้อหามาก ทำให้รวมได้ยาก (คุณลูกน้ำก็ใส่เข้ามาจังเลย) --Octra Dagostino 10:30, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  3. ไม่เห็นด้วย - คิดแบบเดียวกับคุณ octahedron80--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 15:54, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  4. ไม่เห็นด้วย - ความคิดเดียวกับคุณออกตากับคุณ ScorpianPK ครับ (แค่คำว่า "ประชาธิปไตย" คำเดียวก็กินความหมายกว้างมากแล้วล่ะครับ มิพักต้องพูดถึงเนื้อหาย่อยอีกเสียด้วยซ้ำ) --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 16:04, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  5. ไม่เห็นด้วย --Sry85 18:49, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  6. ไม่เห็นด้วย
    —— เปิดศาล จิ๊จ๊ะ | ๒๕๕๒ ศก พฤษภาคมมาส จตุทศมสุรทิน, ๑๙:๕๐ นาฬิกา (GMT+7)
  7. ไม่เห็นด้วย - ประชาธิปไตยกับราชาธิปไตยสามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ก็ไม่ใช่รูปแบบเดียวกันอย่างแน่นอน --Horus 20:26, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)

คงหน้าทั้งสองบทความ แต่สรุปย่อเนื้อหาบทความ ข บางส่วนในบทความ ก

วิธีนี้คือคงหน้า "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" (เรียกว่าบทความ "ก") และ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" (เรียกว่าบทความ "ข") ไว้ แต่ให้ความสำคัญในเนื้อหาของบทความแรกมากกว่า โดยสร้างหัวข้อย่อยเกี่ยวกับ "ข" ไว้ในหน้าบทความนั้น ทำสรุปเนื้อหาสำคัญ แล้วทำลิงก์ไปยังบทความหลัก (บทความ "ก") แทน เนื่องจากบทความ "ข" ข้างต้นมีเนื้อหาลงลึกเชิงรายละเอียดมาก และมีเนื้อหาที่เป็นลักษณะย่อยของบทความ "ก" อีกชั้นหนึ่ง --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 15:17, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  1. เห็นด้วย --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 16:07, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT) (ขอยกเลิกโหวตนี้เพราะชงเองโหวตเองท่าจะไม่เหมาะเท่าไหร่ครับ --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 11:49, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT))
  2. เห็นด้วย --- ~ Look-Narm ~ คุย 16:53, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  3. เห็นด้วย --Sry85 18:49, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  4. เห็นด้วย
    —— เปิดศาล จิ๊จ๊ะ | ๒๕๕๒ ศก พฤษภาคมมาส จตุทศมสุรทิน, ๑๙:๕๐ นาฬิกา (GMT+7)
  5. ไม่เห็นด้วย - ถึงแม้ว่าจะทำไปเพื่อยุติความขัดแย้ง แต่ขัดกับหลักการ "วิกิพีเดียไม่เซ็นเซอร์" และ "วิกิพีเดียไม่มีพิธีรีตรอง" ครับ กรุณาดู en:List of types of democracy (หวังว่าในช่วงนี้จะไม่มีการแก้ไขที่เดาออกง่าย ๆ ว่าเป็นใคร) --Horus 20:41, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  6. เห็นด้วย ---- ขอแสดงความเห็นบ้างค่ะ หลังจากตามอ่านมานาน เห็นด้วยกับคุณสุทธิพงษ์ มากที่สุดแล้วค่ะ เท่าที่อ่านทั้งหมด ส่วนตัวไม่ได้มีความรู้ด้านรัฐศาสตร์มากมาย แต่ก็ไม่เห็นความจำเป็นว่าจะต้องรวมบทความทั้งสองเข้าด้วยกัน แค่แต่ละบทความมีเนื้อหาในตัวเองก็พอแล้วค่ะ อีกอย่างที่ยกเอาคำสองคำมาเทียบว่าเหมือน หรือ ต่าง โดยเอาภาษาอังกฤษมาอ้างนั้น ก็เห็นอธิบายกันอยู่แล้ว ว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เป็นระบอบการปกครองแบบไทยๆ เป็นลูกผสม ซึ่งก็ไม่แปลกที่จะไม่มีคำแปลในภาษาอื่น หรือวิกิอื่นเขาไม่ใช้กัน แล้วทำไมต้องไปตามเขาทั้งหมดล่ะคะ ก็เหมือนกับไม่มีศัพท์คำว่า เกรงใจ ในภาษาอังกฤษ แต่คนไทยก็ยึดถือปฏิบัติกันไม่ใช่หรอคะ ...และการคงไว้ทั้งสองบทความ จะเป็นการประนีประนอมเพื่อยุติความขัดแย้งหรือไม่ก็ไ่ม่เห็นแปลก เพราะบทความที่มีการเถียงกันก่อนหน้านี้ ยังสรุปด้วยการเปลี่ยนชื่อบทความ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนจิตใจของคนบางกลุ่มเลย สรุปว่า ก็คงไว้ทั้งสองบทความ แล้วเขียนเนื้อหาทั้งสองบทความให้ชัดเจนในตัวเอง แสดงส่วนที่เหมือน ชี้แจงส่วนที่ต่าง ก็น่าจะโอเคค่ะ คงไม่เปลืองเนื้อที่ของวิกิพีเดียเท่าไหร่กับการมีบทความเพิ่มมาอีก 1 หน้า แต่เท่าที่รู้ หน้าพูดคุยนี้ยาวมากค่ะ (ยังไม่เห็นเปลืองเนื้อที่เลยเนอะ) - -TuMmY- - | พูดคุย 00:07, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  7. ไม่เห็นด้วย - บทความนี้เพิ่งงอกขึ้นมาไม่นานนี้เพราะมีคนบางกลุ่มไม่พอใจที่ในบทความประเทศไทยจะเขียนว่า "ประเทศไทยเป็นประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา" แต่พยายามจะให้ใช้คำว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ให้ได้ ทั้งที่มันก็ความหมายเดียวกันนั่นแหละ (ทีแรกโจมตีเรื่อง "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" แต่พอเจอว่าที่แท้ราชบัณฑิตบัญญัติเอาไว้เอง ก็เปลี่ยนประเด็น) ลองวาดตาราง matrix แกนนึงเป็นรูปแบบรัฐ อีกแกนนึงเป็นระบอบการปกครอง แล้วจิ้มลงไปในตารางซิว่าเราอยู่ตรงไหน มันก็จุดเดียวกันนั่นเอง แล้วทำไมจะต้องทำอะไรให้มันแปลกแยกกับชาวโลก วิกิพีเดียไม่ใช่ประเทศไทย นี่เป็นสารานุกรมของทั้งโลกที่แสดงเนื้อหาในภาษาต่างๆ เท่านั้น ในเมื่อมีนโยบายเรื่องมุมมองสากลอยู่แล้ว ทำไมไม่ทำตาม ถามเอาไว้ข้างล่างก็ไม่มีคนตอบ --Tinuviel | พูดคุย 00:25, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  8. เห็นด้วย - 2T 09:00, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  9. เห็นด้วย ครับ เป็นการประนีประนอม และ ยอมรับในความเหมือนและความแตกต่างของทั้งสองบทความ วงกลม A กับ B ก็เหมือนบทความ ก. กับ ข. ตามรูปครับ
    --Kaew 19:47, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  10. เห็นด้วย --Octra Dagostino 22:03, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)

รวมบทความนี้ เข้ากับบทความ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ที่จริงเป็นหัวข้อบนสุดในหัวข้อนี้ แต่เถียงกันไปเถียงกันมาจนออกทะเลไปเรียบร้อยแล้ว จึงขอตั้งใหม่ เหตุผลก็เพราะว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เป็นการประสมกันระหว่างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย กับรูปแบบของรัฐแบบ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ซึ่งเปลี่ยนคำเสียใหม่เป็น "อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข") แต่ไม่ได้มีความหมายเชิงวิชาการในตัวเองในมุมมองสากล (หรือถ้ามีก็โปรดแสดงออกมาด้วย เท่าที่อ่านจนตาแฉะ ไม่มีใครบอกได้เลยว่าสากลโลกเขาใช้คำนี้กัน) เชิญแสดงความเห็นค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 13:40, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  1. เห็นด้วย - เหตุผลกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว --Horus 13:43, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)
    ขอสอบถามนิดครับ หัวข้อนี้ จุดประสงค์ต่างจากหัวข้อ "เสนอหน้ารวมทั้งสองบทความ" ของคุณ Horus ด้านบนยังไงครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:08, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)
    หัวข้อที่คุณ Horus เขียนไว้ มันดูไม่เหมือนหัวข้อเลย และต่อไม่ติดแล้วด้วยเพราะคุยกันออกทะเลไปไหนแล้วไม่รู้ เมื่อช่วงถัดลงมาเป็นการเสนอวิธีรวมหน้าแบบต่างๆ จึงจัดหัวข้อนี้เอาไว้ให้เห็นชัดเป็นทำนองเดียวกันน่ะค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 00:52, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)
    ถ้าไม่ต่างกันผมว่าลองคุยกับคุณ Horus แล้วรวมหัวข้อไว้ด้วยกันเลยก็ได้ครับ เพราะหัวข้อนั้นก็มีคนลงคะแนนไปแล้วอย่างน้อย 4 คน--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 19:29, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)
    แว้ก... เพิ่งเห็น ที่เราพูดนี่หมายถึงตรงข้างบนโน้นนนนน เลยค่ะ ที่คุยกันยาวมากๆ แต่พอคุณทักว่ามีการลงคะแนนไปแล้ว เลยงง (เพราะเราว่าไม่มีหนิ) พอไปไล่ดูดีๆ มีการตั้งลงคะแนนแล้วจริงด้วย งั้นหัวข้อนี้ทำไงดีคะ ลบทิ้งได้หรือเปล่า (ใช้ความพยายามมากเลยอ่ะเนี่ยการอ่านหน้านี้ ธรรมดาไม่ใช่หัวข้อที่ชอบอยู่แล้วด้วย -_-") --Tinuviel | พูดคุย 23:07, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)

วิธีรวมหน้า และตรรกะ

ผมเขียนลงไปในหน้าบทความ ย่อหน้าที่๔ดังนี้

อย่างไรก็ตาม ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจจะถูกเรียกว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" แทน แต่มีความหมายถึงสิ่งเดียวกันคือ Constitution Monarchy [อ้างอิงที่มา]

ตรรกะของการเขียนนี้มาจากหลักการทางคณิศาสตร์และตรรกศาสตร์ง่ายๆว่า ถ้า A = B และ B = C แล้ว ดังนั้น B = C

ในกรณีนี้ ราชบัณฑิตบอกว่า ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ = Constitution Monarchy แต่บางเจ้าบอกว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข = Constitution Monarchy

ดังนั้น ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ = ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไปโดยปริยายด้วยตรรกะนี้แล

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 16:42, 13 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ขอแสดงทัศนะส่วนตัวเล็กน้อยครับ ตามความเข้าใจส่วนตัว + ความรู้ทางรัฐศาสตร์ที่มีอยู่น้อย (มากๆ) ผมคิดว่า คำว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" มันเป็นลักษณะลูกผสมระหว่าง "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" + "ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา" ครับ ไม่ใช้ลักษณะ Constitution Monarchy = "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" เสียทีเดียว (ในบทความเองก็ยังบอกว่าราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมีหลากหลายรูปแบบด้วยครับ) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ สุทธิพงษ์ พื้นแสน (พูดคุยหน้าที่เขียน) 09:51, 13 พฤษภาคม 2552 (ICT)
แต่ประเด็นคือ ทั้งสองตัวต่างบอกว่าเป็น Constitutional Monarchy ทั้งคู่ไงครับ ส่วนรูปแบบของไทยที่ใช้ในเชิงรายละเอียด ย่อมไม่เหมือนที่อื่นอยู่แล้วครับ เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีวัฒนธรรม ประเพณี และที่มาที่ต่างกันครับ อย่าลืมว่าจุดประสงค์ของการเมืองคือเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์และความสงบเรียบร้อบของรัฐ ดังนั้น ย่อมโอนอ่อนตามลักษณะของแต่ละรัฐอยู่แล้วครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 17:01, 13 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • สำหรับดิฉัน มีตรรกะดังนี้ -
  1. ตามหลักแล้วไม่ควรรวมบทความเพราะจะทำให้ยาวเกินไป อ่านยาก
  2. แต่หากจำเป็นต้องรวม ควรพิจารณาไม่ให้ก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้อ่าน ประชาธิปไตยฯควรอยู่กับบทความหลักประชาธิปไตย , ราชาธิปไตยฯควรอยู่กับบทความหลักราชาธิปไตย
  3. หากเอาราชาธิปไตยไปอยู่กับประชาธิปไตยทำให้เกิดความสับสันในการเรียกว่าตกลงแล้วคืออะไรกันแน่
  4. ภาษาไทยมีความละเอียดอ่อน วิกิประเทศไทยควรมุ่งเน้นให้ความรู้แก่คนที่อ่านภาษาไทย
  5. การเอาบทความภาษาอังกฤษมาแปลเป็นสิ่งดี แต่ควรจะสอดคล้องกับบริบทและสังคมไทย
--- ~ Look-Narm ~ คุย 09:36, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ส่วนตัวแล้ว ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไม่มีปัญหาอะไรครับ มีภาษาอื่นๆให้ค้นคว้าเทียบเคียง แสดงว่าเป็นที่ยอมรับในระดับหนึ่ง ตัวปัญหามันอยู่ที่บทความนี้ล่ะ เพราะเราพยายามเขียนกันจากข้อความในรัฐธรรมนูญและสื่อไทยล้วนๆ ไม่มีที่ใช้ในระดับสากลส่วนอื่นของโลกให้เทียบเคียง Choosing between Truth and safety of Lies... 09:47, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เบื่อละ ผมขี้้เกียจยุ่งด้วยละ อยากจะบ้าเทิดทูนประชาธิปไตยกันนัก อยากจะแสดงความเป็นนักรัฐศาตร์กัน ก็ตามสบาย เฮอะ! ภาษาไทยมีควมละเอียดอ่อน พูดจาสมกับเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยชั้นนำจริงจริง เอาหล่ะ ผมจะแย้งตรรกะของคุณให้ฟังแล้วผมจะไม่ยุ่งกับเรื่องนี้อีกแล้ว แค่นี้ก้เรียกว่าผมมาไกลเกินกว่าความตั้งใจส่วนตัวที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมียละ เหตุผลว่าทำไมหน่ะเหรอ ก็ผมเห็นว่าคนไทยเราถูกล้างสมองให้เข้าใจเรื่องการเมียแบบผิดๆมาตลอดไงหล่ะ ฟังละกัน เพราะผมจะไม่ยุ่งอีกละกับเรื่องนี้ แล้วกรุณาอย่ามายุ่งกับผมด้วย

  1. การรวบบทความหน่ะ จริงจริงแล้ว มันไม่จำเป็นเลยด้วยซ้ำเพราะว่า ไอ้สองระบอบที่ว่ามาหน่ะ มันหมายถึง Constitutional Monarchy ตัวเดียวกัน แต่ถ้าอยากจะแตกให้เป็นสองหล่ะก็ ตามสบาย อย่าลืมย้ายไปสอนคณะรัฐศาสตร์ด้วยหล่ะ
  2. "หากจำเป็นต้องรวม" ก่อนจะเขียนออกมานี่ ได้อ่านของผมรึยัง? รึจะยัดความคิดของตัวเองท่าเดียวโดยไม่ฟังคนอื่น ความเป็นประชาธิปไตย ตัวเองยังทำไม่ได้ ยังมีหน้ามาเขียนบทความประชาธิปไตยอีก
  3. สับสน ก็ปรับภาษาของผมไม่ให้มันสับสนสิ แต่หลักการ มันก็แค่นั้นแหละ หรือว่าไม่เข้าใจหลักตรรกศาสตร์ที่ว่า A = Bและ B = C แล้วดังนั้น A = C
  4. "ภาษาไทยมีความละเอียดอ่อน" พูดออกมาได้ คำพูดนี้มันก้เหมือนกับการบอกว่า หลักทางวิศวกรรมโยธา จะต้องโอนอ่อนเปลี่ยนแปลงตามหลักการของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ยังไงอย่างนั้นเลย ใช่อยู่ว่าวิศวกรโยธาจะต้องพยายามออกแบบตามที่สถาปัตยกรออกแบบให้ได้ แต่ไม่ได้แปลว่าจะต้องโยนหลักการและจรรยาบรรณของตัวเองทิ้งเพื่อสถาปัตยกร
    • ถ้ามันเป็นอย่างนั้น ภาควิชาวิศวกรรมโยธาก้คงยุบไปรวมกับคณะสถาปัตย์มาตั้งนานแล้วหล่ะ
      • วิชารัฐศาตร์หน่ะ ก้แค่ถูกถ่ายทอดผ่านการใช้ภาษาต่างๆ รวมทั้งภาษาไทยด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องโยนหลักการของตัวเองทิ้งตามสิ่งที่ภาษาไทยมี
  5. เอาภาษาอังกษฤมาแปลหน่ะดี ใช่ แต่ต้องสอดค้ลองกับสังคมไทย ยังไงคือสอดคล้องหล่ะ จะให้ตามใจใครหล่ะครับ ตามใจตาหงอกผู้จัดเกรียนเหรอครับ แหมๆๆๆ
    • ขอถามว่า ถ้าอาจารย์พบว่าสิ่งที่นักศึุกษาของอาจารย์ส่วนใหญ่เข้าใจหน่ะมันผิด อาจารย์จะทำยังไงหล่ะครับ อธิบายเพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่ถุก หรือเปลี่ยนความคิดตัวเองตามตามความคิดนักศึกษาหล่ะครับ ขอ ประทานโทษ

เอาหล่ะ ผมจบละ ไม่ยุ่งด้วยละ ส่วนใครจะมาด่าผมเรื่องมารยาท ก็ตามสบาย เพราะผมถือหลักการเดียวกับตอนที่คนส่วนใหญ่ของวิกิพีเดียรุมรังแกคนๆนึง ว่า "วิกิพีเดียไม่มีพิธีรีตรอง" และที่ผ่านมา ผมก็อธิบายด้วยดีแล้ว แต่ในเมื่อพูดดีๆแล้วไม่เข้าใจ ก็ขอลองวิะีนี้สักทีก่อนเลิกคุยเรื่องนี้นะครับ ขอให้สนุกกับการสร้าง "สารานุกรมตามใจฉัน"นะครับ

Out! --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 10:49, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ขออภัยที่ทำให้ท่าน ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) หงุดหงิด ขอแค่พื้นที่เล็กๆชี้แจงค่ะ คงจะไม่ไปปรักปรำว่าร้ายใครตรงนี้นะคะ เพราะที่นี่ล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีจิตใจที่ดีในการที่จะร่วมในวิกิทั้งนั้น แต่จะเรียนให้ทราบว่าดิฉันไม่จำเป็นต้องย้ายไปสอนที่รัฐศาสตร์เพราะรับเชิญไปสอนอยู่แล้วและยังสอนรัฐประศาสนศาสตร์ที่สถาบันอื่นด้วย ส่วนตรรกะอื่นๆนั้น ดิฉันยอมรับในความคิดเห็นต่างและมีจุดยืนที่ชัดเจนเสมอมาค่ะ ไม่ได้เจตนาให้ใครยอมทำตาม และให้อิสระทางความคิดค่ะ เป็นตรรกะที่ใช้ในการดำเนินชีวิตปรกติอยู่แล้ว ต่อเรื่องนี้ไม่เคยคิดจะบังคับให้ใครรวมหรือแยกบทความ เพียงแค่นำเสนอบทความอีกบทหนี่งขึ้นมา และชี้ว่ามันมีความลึกและแตกต่างอย่างไร และเสนอว่าหากจะรวม น่าจะรวมอย่างนี้ ถ้าส่วนใหญ่เห็นอย่างไร ก็ตามนั้นค่ะ หวังว่าคงจะเข้าใจ และไม่เอาอคติส่วนตนมาเป็นอารมณ์นะคะ คุณไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน)ขา อิอิ --- ~ Look-Narm ~ คุย 16:36, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ปล.1 ที่ดิฉันเข้ามานำเสนอตรรกะของดิฉันบ้าง ก็เพราะคุณ ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) ทิ้งข้อความเชิญชวนให้มาพูดคุยในประเด็นนี้ไว้ที่หน้าพูดคุยของดิฉันเอง จึงมาตามคำเชิญ พอดีดิฉันคงเข้าใจผิดว่าจริงๆแล้วให้มาอ่านเฉยๆ ม่ะได้ให้มาพูดคุย ก็ขออภัยค่ะ คราวหน้าจะจำไว้อ่ะนะคะ ขออภัยหลายๆค่า...--- ~ Look-Narm ~ คุย 16:41, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ปล.2 เรื่องวิศวกรรมกับสถาปัตยกรรมนั้น เดิมสถาปัตยกรรมอยู่ในคณะวิศวกรรมฯค่ะ ต่อมาจึงในยุคใหม่(70 กว่าปีก่อน) แนวความคิดต่างๆมีความลึกซึ้งและพัฒนาขึ้นมาก สถาปัตยกรรมจึงแยกออกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์มาเป็นคณะใหม่ เดิมคณะสถาปัตยกรรมไม่มีภาควิชา ต่อมา เมื่อ30ปีก่อนได้เกิดความหลากหลายในสาขาวิชา มีความเป็นเฉพาะทางมากขึ้น จึงได้แตกเป็นภาควิชาต่างๆ พัฒนาจนถึงทุกวันนี้ เป็นตัวอย่างให้เกิดความไม่ติดยึดค่ะ หากบางสิ่งจำเป็นต้องแยกออกมา เพราะพัฒนการ/วัฒนธรรมใหม่ เราจะย้อนอดีตเอามารวมไว้ทำไมคะ? --- ~ Look-Narm ~ คุย 17:12, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ขอเสนอวิธีที่พอจะประนีประนอมได้บ้างก็คือ คงทั้งบทความ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไว้ โดยมีการแทรกสาระสำคัญบางประการที่ควรทราบจากบทความ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ไว้ในบทความ "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" ด้วย เพราะเท่าที่ผมสังเกตดู หน้าบทความแรกมีความพยายามที่จะเขียนให้ลงลึกเชิงรายละเอียดมากกว่าตัวบทความหลัง ถ้ายุบบทความใดบทความหนึ่งแล้วรวมเนื้อหาทั้งหมดไว้ด้วยกัน เห็นทีเนื้อหาคงจะยาวยืดมากและขัดต่อมุมมองความเป็นสากลของตัวบทความด้วย (หากจะเอาคำว่า "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นตัวยืนของเนื้อหาบทความนั้น) --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 15:02, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
สนับสนุนความเห็นของคุณสุทธิพงษ์ พื้นแสนในการที่จะคงบทความทั้ง 2 ไว้--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 15:58, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
หลักวิชาการประนีประนอมได้ด้วยเหรอคะ หลักวิชาการโอนอ่อนตามกระแสได้ด้วยเหรอคะ โปรดดูด้วยว่าทำไมบทความแรกจึงมีเนื้อหารายละเอียดมาก ก็พยายามเขียนเข้ามาจังเลย ไม่เห็นไปช่วยพัฒนาบทความหลังให้มันแสดงรายละเอียดให้ครบถ้วนบ้างล่ะ อีกอย่าง มุมมองสากลในบทความ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" คืออะไรคะ นอกจากประเทศไทย ขอลิงก์ไปภาษาอื่นมาดูหน่อยค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 18:13, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เรื่องการประนีประนอมนั้นผมเสนอเฉพาะเกี่ยวกับปัญหาการรวมบทความหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นทางวิชาการนี่นอกเหนือจากนี้เห็นทีผมจะโต้เถียงอะไรด้วยไม่ได้หรอกครับ เพราะผมเองแค่มือสมัครเล่น มีความรู้ไม่พอ แถมดันไม่ได้สนใจเรื่องนี้โดยตรงซะด้วยซี -_-" --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 18:21, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ภาพแสดงให้เห็นรูปแบบการปกครองของรัฐที่ตนกล่าวอ้าง
สีเขียว - รัฐที่ระบุว่าตนปกครองในระบอบประชาธิปไตย
สีแดง - รัฐที่ไม่ระบุว่าตนปกครองในระบอบประชาธิปไตย
เห็นด้วยกับพี่ Tinuviel ครับ และขอกล่าวท้วงติงผู้เขียนบทความนี้ที่นำเนื้อหาส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องมาลงในวิกิพีเดีย โปรดทราบว่า "วิกิพีเดียไม่มีเซ็นเซอร์" และ "วิกิพีเดียไม่มีพิธีรีตรอง" จากการหยิบยกรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็นส่วนใหญ่ ไม่ทราบว่าประเทศที่ปกครองในระบอบเผด็จการอย่าง จีน เวียดนาม ลาว เกาหลีเหนือ ล้วนระบุในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนว่าประเทศของตนปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่ตัวแปรสำคัญที่บ่งบอกว่ารัฐนั้นปกครองในรูปแบบใด --Horus 20:49, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เห็นด้วยครับ "วิกิพีเดียไม่มีเซ็นเซอร์" ดังนั้น จึงควรนำเสนอข้อมูลทั้ง 2 ด้าน กล่าวคือ ด้านหนึ่งระบุว่าประเทศนั้นระบุว่าตัวเองปกครองด้วยระบอบไหน อีกด้านหนึ่งคือ คนอื่นมองการปกครองของประเทศนี้เป็นอะไรครับ ส่วน "วิกิพีเดียไม่มีพิธีรีตรอง" นั้น ต้องการสื่ออะไรเหรอครับ ไม่เข้าใจ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 22:51, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ผมคิดว่า "วิกิพีเดียไม่มีพิธีรีตรอง" หมายความว่า วิกิพีเดียไม่อ้อมค้อม แต่พูดตรง ๆ ครับ --Horus 08:29, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เนื่องจาก "วิกิพีเดียไม่มีพิธีรีตรอง" ดูไม่เกี่ยวกับเนื้หาของบทความ ผมย้ายเรื่องนี้ไปคุยกันต่อที่หน้าพูดคุยกับผมแล้วกันครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 19:33, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เรื่องประโยค "A democratic form of government with the King as head of the state"

ประโยค "A democratic form of government with the King as head of the state" มีการแปลหลากหลายมาก แถมเว็บที่ยกมานั้นก็ไม่ใช่ฉบับแปลอย่างทางการด้วย ซ้ำยังเป็นการแปลร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ ๑ ด้วย

ประโยค "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" นั้นมีการแปลหลายแบบมาก อาทิ

  • ฉบับรัฐสภา ว่า "Thailand adopts a democratic regime of government with the King as Head of State."
  • ฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๑ ว่า "Thailand adopts a democratic regime of government with the King as Head of State."
  • ฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๒ ว่า "a democratic form of government with the King as Head of State." (ดูหน้า ๒)
  • นอกจากนี้ ในหนังสือที่กฤษฎีกาแปลเองยังเคยเห็นใช้ดังต่อไปนี้ด้วย (ไว้จะหาอ้างอิงมานะคะ แต่เคยเห็นจริง ๆ)
    • "a democratic system of government with the King as Head of State."
    • "a government under the democratic system with the King as Head of State."
    • "a democratic system of government with the King as Head."
    • "a democratic system of government with the King as Chef de l'État."

ดังนั้น คิดว่าไม่น่าจะยึดติดกับคำแปลเหล่านี้นะคะ ตัดออกจากบทความได้ยิ่งดีเลย เพราะไม่ใช่สาระสำคัญเลย

—— เปิดศาล จิ๊จ๊ะ | ๒๕๕๒ ศก พฤษภาคมมาส ทวาทศมสุรทิน, ๒๒:๒๔ นาฬิกา (GMT+7)
* สาระแห่งเรื่องนี้คือ Democratic + King as head of state ค่ะ ทุกๆอ้างอิงเหมือนกันหมด นั่นแสดงว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั้นเป็น democracy (ประชาธิปไตย) ไม่ใช่ ราชาธิปไตย (Monarchy) ตามศัพท์ที่เรียกกันใน en wikipedia ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนเป็นเหตุให้ไม่ควรลบสิ่งที่เป็นตัวอรรถาธิบายให้เกิดความกระจ่างขึ้นนะคะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 09:42, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)

อันนี้คุณลูกน้ำยังไม่เข้าใจอีกเหรอครับว่า Monarchy = King as head of state ไม่ได้อธิบายเรื่อง Democratic --Octra Dagostino 10:16, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)

อ่านมาตลอดทั้งหมดนี้ เราว่าทุกคนเข้าใจกันหมดแล้วนะ ว่า "ประเทศไทยเป็นประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย" เหลือคุณลูกน้ำคนเดียวอ่ะที่ไม่ยอมเข้าใจ --Tinuviel | พูดคุย 12:36, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ดิฉันเข้าใจดี และเป็นคนที่อธิบายเป็นคนแรกๆค่ะว่า Monarchy = King as head of state แต่ในประเด็นนี้คือจะบอกว่าศัพท์ภาษาอังกฤษนี้จำเป็นต้องคงไว้ เนื่องจากมีการขยายว่า นอกจาก มี King as head of state แล้วยังเป็น democratic อีกด้วย โปรดทำความเข้าใจประเด็นนิดนึงนะคะก่อนที่จะกล่าวหาว่าคนอื่นไม่เข้าใจอ่ะค่ะ และขออภัยหากเขียนอธิบายจนงงงงงกันไปหมด --- ~ Look-Narm ~ คุย 16:13, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)

....คำว่าราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น เป็นรูปแบบแห่งรัฐหนึ่งที่มี King เป็น head of state (ประมุข)ส่วนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตยนั้น หากมีประมุขเป็นประธานาธิบดี หรือ กษัตริย์ จักรพรรดิ หรือแม้แต่ ราชาธิบดี ฯลฯ ก็ตามก็ย่อมเรียกว่า ระบอบประชาธิปไตย ส่วนราชาธิปไตยไม่ใช่ระบอบการปกครอง เป็นรูปแบบแห่งรัฐ อาจเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (Absolute Monarchy) หรือ ระบอบประชาธิปไตย ก็ได้

— - ~ Look-Narm ~ คุย 16:40, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)


ความเห็นผมนั้น ราชาธิปไตยนั้นแปลตามตัวว่า "การปกครองโดยพระราชา" ซึ่งเท่าที่ผมเรียนรู้มานั้นผมรู้จักแค่ 2 คำ คือ "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" อันหมายถึง พระราชามีอำนาจการปกครองแบบเด็ดขาด เบ็ดเสร็จ รวมศูนย์อำนาจที่องค์พระราชาเท่านั้น (ของฝรั่งอ้างเอา Devine Right เป็นเครื่องมือ ของไทยอ้างเอาอะไรผมไม่พูด เพราะความรู้มีไม่พอ) ซึ่งราชาธิปไตยแบบนี้เป็นราชาธิปไตยเป็นราชาธิปไตยที่หลายคนเข้าใจกัน อีกอันก็คือคำว่า "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" ซึ่งเป็นข้อความเจ้าปัญหาในตอนนี้ ตามความเห็นผม คำนี้หมายถึงรูปแบบรัฐซึ่งมีพระราชาเป็นประมุข (ตามความหมายตรงตัวของคำว่า "ราชาธิปไตย") แต่ถูกจำกัดอำนาจไว้ด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถใช้อำนาจตามอำเภอใจได้อย่างในระบบแรก และมีสถาบันอื่นในระบบการเมืองเป็นเครื่องมือถ่วงดุลในการใช้อำนาจของพระราชา ตัวนี้ต่างหากครับคือสาระสำคัญของคำนี้ ทั้งนี้คำว่า "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" ยังแยกย่อยได้อีกหลายลักษณะ ซึ่งในแบบของไทยนี้ก็เป็นแบบย่อยแบบหนึ่งเช่นกันที่เอา "ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา" มาใช้เป็นลูกผสม เพื่อให้มีการปกครองในลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นในสังคมไทยครับ (ซึ่งก็คือ "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" นี่แหละ) ถือว่าเป็นลักษณะที่น่าจะเรียกว่าประนีประนอมได้อีกอย่างหนึ่งในการเมืองไทย
ท้ายนี้ขอพาดพิงประวัติศาสตร์เล็กน้อย ถ้าสมมติว่าในการปฏิวัติ 2475 คณะราษฎรเกิดต้องการแตกหักกับราชวงศ์ รูปแบบของรัฐที่ออกมาย่อมกลายเป็นสาธารณรัฐ ตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ ในโลกอย่างมิต้องสงสัย แต่คำว่า "สาธารณรัฐ" นั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นชื่อ "ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย" แบบหนึ่ง เป็นแต่เพียงชื่อ "รูปแบบรัฐ" ที่ให้คนทั่วไปมีช่องทางเลือกประชาชนด้วยกันเองเป็นผู้ปกครองรัฐเท่านั้น เพราะสาธารณรัฐที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการนั้นก็มีอยู่ในโลกนี้ด้วยเช่นกัน ซ้ำบางสาธารณรัฐที่มีอยู่ทุกวันนี้ก็ไม่ใช่รัฐเอกราช แต่เป็นเมืองขึ้นของรัฐขนาดใหญ่ที่มีชื่ออื่นอีกทีหนึ่ง เช่น ในรัสเซีย ซึ่งมีสาธารณรัฐปกครองตนเองหลายสิบสาธารณรัฐ เป็นต้น
ย้ำนะครับว่า "ราชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องเป็นแบบสมบรูณาญาสิทธิราชย์เพียงแบบเดียว" และในทางกลับกัน "ประชาธิปไตยก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ในแบบสาธารณรัฐเพียงแบบเดียว" เช่นกัน
ส่วนเรื่องรวมบทความนั้น วิธีที่พอจะประนีประนอมได้บ้างก็คือ คงทั้งบทความ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไว้ โดยมีการแทรกสาระสำคัญบางประการที่ควรทราบจากบทความ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ไว้ในบทความ "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" ด้วย เพราะเท่าที่ผมสังเกตดู หน้าบทความแรกมีความพยายามที่จะเขียนให้ลงลึกเชิงรายละเอียดมากกว่าตัวบทความหลัง ถ้ายุบบทความใดบทความหนึ่งแล้วรวมเนื้อหาทั้งหมดไว้ด้วยกัน เห็นทีเนื้อหาคงจะยาวยืดมากและขัดต่อมุมมองความเป็นสากลของตัวบทความด้วย (หากจะเอาคำว่า "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นตัวยืนของเนื้อหาบทความนั้น) --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 14:46, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)


การใช้อำนาจของราชา

มีคนพูดถึงคำว่า ราชาธิปไตย คือ "การปกครองโดยพระราชา" หรือ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระราชา ถ้าว่ากันทางเทคนิค ประเทศไทยก็น่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ

เพียงแต่ว่า ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ นั้น พระราชาทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านตัวแทน (ผู้สนองพระราชโองการ) คือ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล

กล่าวคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล

เพียงแต่ในกรณีของไทยปัจจุบัน ในส่วนของการสรรหาผู้สนองพระราชโองการ ก็มีการผสมกระบวนการแบบประชาธิปไตยเข้ามามากขึ้น คือ

  1. รัฐสภาส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยในส่วนของสภาผู้แทนมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ส่วนวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง
  2. คณะรัฐมนตรีก็มีจากทั้งที่ผ่านการเลือกตั้ง และไม่ผ่านการเลือกตั้ง
  3. ส่วนทางยุติธรรมนั้น ยังใช้ระบบคัดสรรแต่งตั้งทั้งหมด (ยังไม่มีระบบเช่นการเลือกตั้งอัยการประจำเมือง)

(ข้อ 1 และ 2 นี้เดิมรัฐธรรมนูญ 2540 เคยกำหนดไว้ว่าจะต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่รัฐธรรมนูญ 2550 ได้เปลี่ยนเป็นอย่างปัจจุบันนี้ครับ) --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.131.217.34 (พูดคุย | ตรวจ) 10:16, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)

โดยสรุปแล้ว ถ้าว่ากันโดยหลักการใช้อำนาจอธิปไตยนี้ จึงไม่ผิดที่จะเรียกว่าระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญครับ เพราะไม่ว่าการคัดเลือกผู้สนองพระราชโองการจะมีลักษณะอย่างไร พระราชาก็เป็นทางผู้ใช้อำนาจอยู่เช่นเดิมครับ

203.131.217.34 17:13, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)

นั่นมันทางนิตินัยค่ะ ที่ให้กษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจ โดยพฤตินัยแล้ว คนใช้อำนาจตัวจริงคือคนที่รับสนองโองการกษัตริย์นั่นเอง และคนรับสนองโองการนี้จะเป็นผู้รับผิดชอบกิจการต่าง ๆ ที่เป็นไปตามโองการนั้น จึงเป็นที่มาของคำว่าว่า "The King can do no wrong" ("กษัตริย์ไม่อาจทำผิดได้") ซึ่งประโยคนี้มาจากเต็ม ๆ ว่า "The King can do no wrong, for the King can do nothing" ("กษัตริย์ไม่อาจทำผิดได้ เพราะกษัตริย์ไม่อาจทำอะไรได้ หรือเพราะกษัตริย์ไม่ได้ทำอะไรเลย")

ประเทศประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐนั้น จริง ๆ แล้วกษัตริย์จะต้องทำหน้าที่แต่ในทางพิธีการเท่านั้น กษัตริย์จะต้องทำตามที่มีผู้แนะนำและยินยอมให้ทำเท่านั้น เช่นตามที่รัฐธรรมนูญไทยบอกว่า กษัตริย์ตราพระราชบัญญัติตามที่รัฐสภาแนะนำและยินยอมให้ทำ กษัตริย์ปลดรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีแนะนำ หรือกษัตริย์ยุบสภาผู้แทนราษฎรตามที่นายกรัฐมนตรีแนะนำ ("The King can do nothing") ดังนั้น จริง ๆ แล้วคนที่แนะนำก็คือคนที่ทำเองนั่นเอง เพราะการปกครองทุกอย่างนั้นจะต้องเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะดำเนินการผ่านผู้แทน และมีกษัตริย์เป็นตัวเชื่อมโยงให้เป็นไปโดยเรียบร้อยเท่านั้น เช่นที่เป็นในประเทศอังกฤษที่เป็นต้นแบบของประชาธิปไตยในเวลานี้ ไม่ใช่ว่ากษัตริย์สามารถมีอำนาจมีอิทธิพล ("moral authority") มากมายจนกระทบหลาย ๆ ส่วนของประชาชนเช่นที่เป็นอยู่ในไทย ณ เวลานี้ จึงทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจ "ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข" ไขว้เขวไป

นอกจากนี้ ในรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นฉบับปัจจุบัน จักรพรรดิเป็นแค่สัญลักษณ์ของประเทศและเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีแห่งชนในชาติเท่านั้น ไม่ใช่ประมุขแห่งรัฐ และจักรพรรดิจะทำอะไรไม่ได้เลย เว้นแต่ที่รัฐธรรมนูญกำหนดเป็นข้อ ๆ เอาไว้ เช่น เป็นประธานในพิธีกรรมต่าง ๆ, ไปเปิดและปิดประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ฯลฯ

อย่างไรก็ดี ขณะนี้อยู่ในห้องสมุด และเปิดดูในสารานุกรมบริทันนิกา ["Monarchy" (1998). The New Encyclopædia Britannica. (15th Edition). USA : Encyclopædia Britannica, Inc. pp. 224-245. ISBN 0-85229-633-0.] บอกว่า

"Monarchy is a form of government in which one person is the souvereign. The word derives from the Greek "monarchia", the rule of one. The Greek, however, distinguished the legitimate one-man government of monarchy from the illegitimate one-man dictatorship of dispotism or tyranny. In the latter system the ruler rules in his own interest rather than in that of the governed. In a monarchy, in its pure (and original) form, the ruler combined in his person the supreme authority and power in legislation as well as administration and adjudication.."

แปลก็คือ "ราชาธิปไตย เป็นรูปแบบหนึ่งของการปกครองซึ่งมีบุคคลเพียงคนเดียวเป็นองค์อธิปัตย์ คำ "monarchy" นี้มาจากคำในภาษากรีกว่า "monarchia" แปลว่า การปกครองโดยบุคคลหนึ่งคน อย่างไรก็ดี ในสมัยกรีกนั้น การปกครองโดยบุคคลเพียงคนเดียวแบบราชาธิปไตยซึ่งมีความชอบธรรม แตกต่างจากการปกครองโดยบุคคลเพียงคนเดียวแบบเผด็จการหรือทรราชซึ่งไร้ความชอบธรรม เพราะการปกครองแบบอย่างหลังนั้น ผู้ปกครองดำเนินการปกครองโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของผู้ใต้ปกครอง ตามรูปแบบที่แท้จริงและดั้งเดิมของราชาธิปไตยนั้น ในประเทศที่ปกครองแบบนี้ ผู้ปกครองทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุด และอำนาจในการนิติบัญญัติ ตลอดจนอำนาจในการปกครอง และอำนาจในทางตุลาการด้วย... บลา ๆ ๆ (แล้วก็ร่ายยาวเกี่ยวกับความเป็นมา วิวัฒนาการ และประเภทต่าง ๆ ของ "ราชาธิปไตย" สนใจไปค้นดูได้)"

ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่า "ราชาธิปไตย" และ "ประชาธิปไตย" กล่าวถึงระบอบการปกครองเหมือนกัน แต่ "ราชาธิปไตย" อาจมุ่งเน้นที่ตัวประมุขแห่งรัฐ ขณะที่ "ประชาธิปไตย" มุ่งเน้นปรัชญาอันเป็นไปเพื่อประชาชนมากกว่าจะเน้นตัวประมุขแห่งรัฐ ในขณะที่ทางวิชาการนั้นไม่มีการเรียก "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เว้นแต่ในประเทศไทย โดยเฉพาะระยะหลัง ๆ ที่เริ่มบ้าคลั่งประชาธิปไตย ชาตินิยม และกษัตริยนิยมมากขึ้น ๆ มีการกล่าวถึงโดยไม่รู้ว่าความหมายที่แท้จริงคืออะไร ของบางกลุ่มประชาธิปไตยคือ นาย ก จะเอา นาย ก กลับมาปกครองอีกครั้ง ขณะที่อีกกลุ่มไม่เอา นาย ก และอีกด้านหนึ่งของความเป็นจริงคือ ไม่ได้สนใจว่าจะประชาธิปไตย สังคมนิยม หรือเผด็จการ ขอแค่ "มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เป็นพอ อะไรก็ได้ทั้งนั้น

—— เปิดศาล จิ๊จ๊ะ | ๒๕๕๒ ศก พฤษภาคมมาส จตุทศมสุรทิน, ๑๙:๔๖ นาฬิกา (GMT+7)
"ระบอบเผด็จการทหารอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ครับ (ปัจจุบัน) --Horus 20:44, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
จริงๆ น่าจะมีนโยบายอีกข้อว่า "วิกิพีเดียไม่ประชด" นะ -_-" --Tinuviel | พูดคุย 22:08, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
(เพิ่มเติม) ...และให้กล้าๆ หน่อยครับ อยากเขียนก็เอาข้อความนั้นใส่ในบทความเลย, อย่าลืมแหล่งอ้างอิง ธวัชชัย 22:12, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ไม่ได้หรอกครับ เราต้องรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของไทยให้คงอยู่ชั่วกาลนาน (เหอะ ๆ) --Horus 22:13, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • จริง ๆ แล้วมีแหล่งอ้างอิงและข้อมูลพร้อมสรรพนะ แต่เวลาที่เขียนแล้วกระทบกระทั่ง K และครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ หรือเป็นเรื่องทางการศึกษาหรือไม่อย่างไรก็ตาม ชอบมีคนมาลบออก เอาไปซ่อน และทำลายทิ้งทุกที จะต้องมีแต่เรื่องเยินยอด้านเดียว (propraganda) เท่านั้นที่เผยแพร่ได้ ฉะนั้น โดยส่วนตัวแล้วก็ไม่ได้หวังอะไรมากมายกับประชาธิปไตยในประเทศไทยหรอกค่ะ เพราะมันไม่มีที่ให้หวังแล้ว ขนาดเพลงยังมีเลย "ไอ้หวังตายแน่ ตายแน่ไอ้หวัง" 55+ เกี่ยวไหม...
—— เปิดศาล จิ๊จ๊ะ | ๒๕๕๒ ศก พฤษภาคมมาส จตุทศมสุรทิน, ๒๒:๒๒ นาฬิกา (GMT+7)

อันใดอันหนึ่ง

หากหาข้อสรุปไม่ได้ ให้ตัดสินว่าควรจะลบอันไหนทิ้ง เพราะเท่าที่ดู เหมือนเป็นเถียงกันมากกว่าการเสนอความคิดเห็น เผลอๆอาจจะบานปลายก็เป็นได้

--Mahatee 13:19, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)

กำลังมีการตัดสินใจกันอยู่ครับ คุณจะร่วมโหวตไหมล่ะ --Horus 13:34, 15 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ประเทศไทยควรจะมีระบอบเดียวตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบอกไว้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขครับ แล้วก็วงเล็บไว้ว่า(constitutional monarchy) ส่วนที่ราชบัณฑิตแปลไว้มันจะทำให้คนมาเถียงกันก็ไม่ต้องใส่ลงไป ดีไหมครับ สรุปว่าประเทศไทยปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(constitutional monarchy)

ไม่เป็นเช่นนั้นครับ เพราะถ้าคุณถือตามหลักรัฐธรรมนูญทุกอย่าง ประเทศบางประเทศที่เป็นเผด็จการก็ยังถือว่าเป็นประชาธิปไตยได้ด้วยซ้ำ (กรุณาดูแผนภาพด้านบนประกอบ) สิ่งที่ผมต้องการจะกล่าวก็คือ รัฐธรรมนูญไม่ใช่ตัวแปรหลักที่ระบุว่ารัฐนั้นปกครองในรูปแบบใด รวมไปถึงข้อเท็จจริงที่ว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นไม่เคยระบุเอาไว้ในหนังสือเรียนรัฐศาสตร์หรอกครับ และถึงจะมี ผมก็สามารถบอกไว้เลยว่า การปกครองรูปแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเลยแม้แต่น้อยครับ --Horus 23:40, 23 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เป็นกลาง

ขอทำความเข้าใจกับความหมาย

เนื่องจากอ่านทั้ง 2 บทความ (คือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กับ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) พบว่ามีเนื้อหาที่ขัดแย้งกันเอง ไม่ทราบว่าอันไหนถูกกันแน่

  1. จาก ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บอกว่า "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจจะถูกเรียกว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" แทน แต่มีความหมายถึงสิ่งเดียวกันคือ constitution monarchy" พร้อมกับมีการระบุแหล่งอ้างอิง 2 แหล่ง (ข้อนี้คือบอกว่า เหมือนกัน)
  2. จาก ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บอกว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความแตกต่างจาก รัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แบบปรมิตตาญาสิทธิราชย์ และแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ใช้" (ข้อนี้คือบอกว่า ไม่เหมือนกัน)

แต่เท่าที่ทราบมา และจากที่อ่านบทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ Absolute Monarchy ซึ่งเป็นคนละหัวข้อกับ Constitution Monarchy อยู่แล้ว (สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่ได้เป็นรูปแบบหนึ่งของ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่ได้มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญ) ดังนั้นประโยคหลังในข้อ 2 ข้างต้น จึงไม่น่าจะถูก ส่วน ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ แปลไม่ออก และหาในกูเกิ้ลไม่เจอ มันเกิดมาแต่ใดไม่อาจทราบได้ ผู้เชี่ยวชาญช่วยอธิบายหน่อยค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 23:30, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญอาจเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชหรือประชาธิปไตยก็ได้ครับ (เพราะกล่าวถึงแต่ว่ามีราชา + มีรัฐธรรมนูญเท่านั้น) ส่วนรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยหรือเผด็จการไม่ได้บอก ดังนั้นปช. พป. จึงอยู่ในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญหมดทั้งเซตเลยไงครับ (เรียนมาเหมือนกันนะเนี่ย) --Horus 23:34, 16 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • เพิ่มเติม เรื่องนี้ลามไปถึงหน้าอื่นที่มีข้อความราชาธิปไตยอีกด้วย ดังตัวอย่างเช่น ลิงก์นี้ครับ [1] --115.67.245.9 20:42, 18 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เอาป้ายแจ้งลบออก

  • ขออนุญาตเอาป้ายแจ้งลบ-เพราะนั่งเทียนเขียน ออกนะคะ เนื่องจากบทความได้อภิปรายจบไปแล้ว และไม่มีเนื้อหาว่านั่งเทียนเพิ่มเข้ามา มีแต่อ้างอิงที่สอดคล้องกับเนื้อหาเพิ่มขึ้น ค่อนข้างเป็นการแจ้งโดยไม่เหมาะสมและ bias ของผู้แจ้งค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 10:43, 3 ตุลาคม 2552 (ICT)

ขออนุญาตคงชื่อบทความ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ไว้

  • ขออนุญาตคงชื่อบทความ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ไว้ เพราะมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากรัฐธรรมนูญ ฯลฯ และในที่ต่างๆ เช่นที่อ้างอิงไว้จากสิ่งตีพิมพ์จากราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น หากเอาออกไปเหมือนไม่มีคำนี้อยู่คงไม่ถูกต้อง หากแก้ไขกรุณาใส่เหตุผลด้วยค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 16:42, 23 มีนาคม 2553 (ICT)
  • ผมพอจะเข้าใจว่าคุณนำมาจากแหล่งอ้างอิงของไทย ซึ่งผมก็คงบทความนี้ไว้ตามที่คุณต้องการแล้ว ทางที่ดีคืออย่าลามไปประเทศอื่น อีกทั้งผมไม่เห็นพบที่ไหนเลยที่เรียกการปกครองของประเทศอื่นอย่างนี้ --Horus | พูดคุย 20:50, 24 มีนาคม 2553 (ICT)
  • ประเทศเหล่านั้นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยใช่ไหม? และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขใช่ไหม? คุณจะให้ประเทศเหล่านั้นระบุเรียกในรัฐธรรมนูญเป็นภาษาไทย ว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" หรือคะ? งงไม่เข้าใจตรรกะจริงๆค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 08:38, 25 มีนาคม 2553 (ICT)
  • ครับ และผมก็คิดว่าคุณน่าจะเข้าใจ "ประชาธิปไตย" ที่ว่านี้คือ "ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา" ใช่ไหมครับ และมี "พระมหากษัตริย์เป็นประมุข" แสดงว่ามันต้องเป็น "ราชาธิปไตย" ประเภทหนึ่งอย่างแน่นอน (">ราชาธิปไตย พจนานุกรม ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน; Merriam-Webster) ทีนี้ ราชาธิปไตยก็จะมีสองประเภท ส่วนใหญ่แล้วประเทศที่เป็นราชาธิปไตยอยู่ในปัจจุบันจะปกครองแบบ "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" คือ พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ประมุขฝ่ายบริหาร เรื่องง่าย ๆ แค่นี้ ไม่น่าข้องใจกันเลยนะครับ --Horus | พูดคุย 20:22, 27 มีนาคม 2553 (ICT)

สงสัยเรื่องการใช้คำ

ประทานโทษนะครับ ผู้เขียนมีความเกี่ยวข้องอะไรกับราชบัณฑิตหรือเปล่าครับ ทางหน่วยงานเขามีศัพท์บัญญัติทางวิชาการอยู่แล้วก็ไปปรับเปลี่ยนของเขาเสียอีก ถ้าคุณข้องใจว่ามี "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" จริง ๆ หรือเปล่า เดี๋ยวผมก็จะได้ใส่แหล่งอ้างอิงให้ --Horus | พูดคุย 23:20, 29 มีนาคม 2553 (ICT)

  • ศัพท์บัญญัตินั้นผิดพลาดค่ะ เขามีหมายเหตุให้ตรวจเช็คกับราชบัณฑิต และได้ตรวจเช็คแล้ว ส่วนดิกชันนารีอีกแหล่งอ้างอิงก็ใช้ และมีความเป็นปัจจุบันและเข้าใจง่ายกว่า --- ~ Look-Narm ~ คุย
ถึงคุณจะบอกว่าศัพท์บัญญัติผิดพลาด แต่ถ้าผมอ้างจากหนังสือรัฐศาสตร์แท้ ๆ มา ก็ขอให้คุณยอมรับด้วยก็แล้วกัน เพราะนี่เป็นหลักวิชาของเขา ไม่ใช่วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ อีกประการหนึ่งคำว่า "ราชาธิปไตย" ไม่เคยได้ยินเลยเหรอไงครับ --Horus | พูดคุย 23:37, 29 มีนาคม 2553 (ICT)

คุณลูกน้ำครับ ลิงก์มันก็ไปบทความเดียวกัน คุณจะเปลี่ยนคำให้ยุ่งยากทำไม --octahedron80 23:25, 29 มีนาคม 2553 (ICT)

  • เพราะมีอย่างน้อยสองแหล่งอ้างอิง โดยเฉพาะดิกชันนารี (ที่พวกคุณพยายามลบออกไป)ได้ใช้คำนี้ค่ะ โทรถามราชบัณฑิตแล้วเขาก็บอกว่าให้ใช้คำนี้ค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 23:32, 29 มีนาคม 2553 (ICT)

งั้นก็ใส่ลงไปทั้งสองไม่ได้หรือครับ ทำไมต้องเลือกเฉพาะแหล่งเดียว มันจะไม่เป็นกลางนะครับ Longdo ก็ใช่ว่าจะน่าเชื่อถือ เพราะเป็นพจนานุกรมที่ร่วมกันสร้างเหมือนวิกิ--octahedron80 23:33, 29 มีนาคม 2553 (ICT)

    • ตามสบายค่ะ แต่ไม่เห็นด้วยกับผู้ที่พยายามลบอ้างอิง ในขณะที่ถามหาอ้างอิง --- ~ Look-Narm ~ คุย 23:36, 29 มีนาคม 2553 (ICT)
ในอ้างอิงที่ 3 ก็ใช้ "ราชาธิปไตย" แต่เป็น "ราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ"??? --Horus | พูดคุย 23:44, 29 มีนาคม 2553 (ICT)

ความสับสนของคนที่นี่

ข้อความต่อไปนี้ ข้าพเจ้าเป็นคนเขียนเอง

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (อังกฤษ: democratic form of government with the King as Head of State[1]) เป็นชื่อเรียกระบอบการปกครองในประเทศไทย ที่รวมเอาทั้งรูปแบบการปกครอง (อังกฤษ: form of government) ประเภทประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา (อังกฤษ: parliamentary democracy) กับรูปแบบรัฐ (อังกฤษ: form of state) ประเภทการปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (อังกฤษ: constitutional monarchy[2][3] ) ไว้ในคำเดียวกัน โดยมีการใช้คำ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เช่นนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 แล้ว[4] ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ที่มีการปกครองรูปแบบเดียวกัน เช่น ออสเตรเลีย เบลเยียม กัมพูชา แคนาดา เดนมาร์ก ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร ภูฏาน ฯลฯ จะเรียกแยกระหว่างรูปแบบรัฐและรูปแบบการปกครอง[ต้องการอ้างอิง]

และเห็นว่ามีการพยายามเปลี่ยนกลับไปกลับมากันหลายรอบ ดังนั้น ขออธิบายโดยคร่าวดังต่อไปนี้

๑. ประเทศมีหลายรูปแบบแล้วแต่จะจำแนก ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้จำแนกที่นิยมที่สุดมี ๒ ประเภท คือ เกณฑ์ "รูปแบบการปกครอง" (form of government) กะ เกณฑ์ "รูปแบบรัฐ" (form of state)

๒. รูปแบบการปกครอง คือ วิธีที่รัฐใช้ปกครอง เช่น ประชาธิปไตย (democracy), เผด็จการ (dictatorship), สังคมนิยม (socialism)

๓. รูปแบบรัฐ คือ ประเภทของรัฐซึ่งส่วนใหญ่จำแนกโดยที่มาหรือลักษณะของประมุขแห่งรัฐ เช่น รัฐที่ประมุขมาจากการสืบทอดในเฉพาะกลุ่มบุคคล เรียก "ราชาธิปไตย" (monarchy), มาจากการเลือกตั้งโดยสาธารณชน เรียก "สาธารณรัฐ" (republic)

๔. โดยเฉพาะราชาธิปไตยนั้นแบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ

(๑) ราชาธิปไตยที่มีกฎหมายสูงสุดมาจำกัดอำนาจของประมุข เรียก "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" (constitutional monarchy) แต่คำ "constitutional monarchy" ไม่แปลว่า "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" อย่างแน่นอน

(๒) ราชาธิปไตยที่ประมุขมีอำนาจสุดขอบโลก เรียก "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" (absolute monarchy)

(๓) ขอให้สังเกตว่า คำว่า "monarchy" หมายถึง รูปแบบ, ส่วน "monarch" หมายถึง คน

๕. ส่วนรูปแบบการปกครองประเภท "ประชาธิปไตย" นั้นก็มีหลายแขนงหลายแผนก เช่น ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน แบบมีรัฐสภา แบบโดยตรง แบบโดยคดโดยอ้อม อะไรก็ว่ากันไป

๖. ทีนี้ ในรัฐทั้งหลายย่อมมีการประสมกันระหว่างรูปแบบการปกครอง (form of government) กับ รูปแบบรัฐ (form of state) เช่น

(๑) สาธารณรัฐ (รูปแบบรัฐ) + ประชาธิปไตย (รูปแบบการปกครอง) = สาธารณรัฐประชาธิปไตย

(๒) สหพันธรัฐ (รูปแบบรัฐ) + สังคมนิยม (รูปแบบการปกครอง) = สหพันธรัฐสังคมนิยม

(๓) ราชาธิปไตย (รูปแบบรัฐ) + ประชาธิปไตย = ราชอาณาจักรประชาธิปไตย (ยังนึกไม่ออกว่าทางการเรียกอะไร)

๖. ซึ่งโดยปรกติ แล้วในรัฐธรรมนูญของแต่ละประเภทจะเขียนว่า ประเทศตนใช้การปกครองรูปแบบอะไร และระบุว่าไม่ระบุบ้างว่ามีรูปแบบประเทศเป็นอะไร เพราะถึงอย่างไรก็มีหมวดว่าด้วยประมุขของรัฐอยู่แล้ว เช่น

(๑) ญี่ปุ่น ไม่มีประมุขแห่งรัฐ ประเทศนี้จึงเรียก "ญี่ปุ่น" เฉย ๆ ไม่มีจักรวรรดิ ราชอาณาจักร อะไร

(๒) รัฐธรรมนูญเยอรมัน (Basic Law for the Federal Republic of Germany) ว่า "มาตรา ๒๐ (หลักการพื้นฐานว่าด้วยความสงบเรียบร้อยแห่งรัฐ และสิทธิต่อต้าน). (๑) สหพันธรัฐเยอรมนีเป็นสหพันธรัฐที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นสังคม." ("Article 20 (Basic principles of state order, right to resist). (1) The Federal Republic of Germany is a democratic and social federal state.") จะเห็นการประสมกันระหว่างรูปแบบรัฐ คือ สหพันธรัฐ และรูปแบบการปกครอง คือ ประชาธิปไตยเชิงสังคม (บวกสังคมนิยม)

(๓) รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส มาตรา ๑ ว่า "ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐอันแบ่งแยกมิได้ เป็นฆราวาส เป็นประชาธิปไตย และเป็นสังคม..." ("France shall be an indivisible, secular, democratic and social Republic...") = รูปแบบรัฐ คือ สาธารณรัฐ + รูปแบบการปกครอง คือ ประชาธิปไตยเชิงสังคม (บวกสังคมนิยม)

๗. ในลักษณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญของไทยก็ระบุไว้ในลักษณะเดียวกับหลาย ๆ ประเทศข้างต้น แต่ดูเหมือนจะเขียนผิดที่ตรงที่ไปรวมเป็นรูปแบบการปกครองกระจุกเดียวหมด ("ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข") ซึ่งที่ว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" (democratic form of govenment with the King as Head of State) = รูปแบบรัฐ คือ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy หรือที่กล่าวว่า "อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" นั้นแล) + รูปแบบการปกครอง คือ ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary democracy) ดังนั้น บทความนี้ใช้ชื่อว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ก็ชอบแล้ว ถ้าจะให้เกี่ยวกับประเทศไทยแต่อย่างเดียว แต่หากจะให้เป็นสากล ต้องแยกเปลี่ยนทางไปยังบทความ "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" และ "ประชาธิปไตย"

๘. ทางแก้ ก็คือ

(๑) เราจะต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้ โดยแยกรูปแบบรัฐและรูปแบบการปกครองออกจากกัน หรือ

(๒) เข้าชื่อกันขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้บัญญัติเหมือน ๆ กับประเทศอื่น ๆ เขาเสียว่า "ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรที่่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย" ก็จะสิ้นเรื่อง (แต่ดูเหมือนมีบางคนอยากได้คำ "อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ให้คงอยู่เป็นอย่างมาก)

ดังนั้น ข้อความข้างต้นสำหรับบทความนี้จึงขอให้เขียนไว้แบบนั้นเถิด ชอบแล้ว.

—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๓.๓๐, ๐๓:๑๒ นาฬิกา (ICT)

อะไรคือปัญหาของบทความนี้

ไม่เข้าใจแก้กันไปมาหลายรอบ บทความนี้มีปัญหาอะไร บทความนี้อยู่ใน หมวดหมู่:คำศัพท์การเมืองไทย ไว้ใช้เรียกประเทศที่มีการปกครองในระบอบราชาธิปไตย+ประชาธิปไตย หรือว่าประเทศไทยไม่ปรากฏว่ามีการใช้คำที่ว่านี้อยู่จริง จากด้านบนก็ได้ข้อสรุปให้มีการคงอยู่ของบทความนี้แล้ว แล้วมันมีปัญหาอะไร? เกิดจากอะไร?--58.8.99.131 00:39, 30 มีนาคม 2553 (ICT)

"บทความนี้อยู่ใน หมวดหมู่:คำศัพท์การเมืองไทย ไว้ใช้เรียกประเทศที่มีการปกครองในระบอบราชาธิปไตย+ประชาธิปไตย หรือว่าประเทศไทยไม่ปรากฏว่ามีการใช้คำที่ว่านี้อยู่จริง" หมายความว่าอะไรครับ ถ้าผมเข้าใจตรงนี้แล้วจะได้ตอบ --Horus | พูดคุย 12:31, 30 มีนาคม 2553 (ICT)
  1. Office of the Council of State of Thailand. (2007). Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550 (2007). [Online]. Available: <link>. (Accessed: 25 March 2010).
  2. Longdo Dictionary
  3. วารสารราชบัณฑิตยสถาน บทความเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ดูภาพประกอบ)
  4. ไทย_พุทธศักราช_๒๕๕๐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, วิกิซอร์ซ