ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชลัญจกรประจำรัชกาล"
→พระราชลัญจกรประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม) |
|||
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 1]]''' เป็นรูปปทุม[[อุณาโลม]] มีอักขระ "อุ" แบบอักษรขอมอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้าย[[สังข์]]ทักษิณาวรรต (สังข์เวียนขวา) อยู่ในกรอบ[[ลายกนก]] เริ่มใช้คราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ [[พ.ศ. 2328]]
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 2]]''' เป็นรูป[[ครุฑ]]ยุด[[นาค]] เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" ตามความหมายของวรรณคดีไทย คือ พญาครุฑซึ่งในเทพนิยายเทวกำเนิด เป็นเทพองค์หนึ่งที่ทรงมหิทธานุภาพยิ่ง แต่ยอมเป็นเทพพาหนะสำหรับ[[พระนารายณ์]] ปกติอยู่ที่วิมานฉิมพลี ดังนั้นทรงพระกรุณาให้ใช้รูปครุฑยุดนาค เป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ แทนพระบรมนามาภิไธย
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 3]]''' เป็นรูป[[ปราสาท]] เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ทับ" หมายความว่า ที่อยู่ หรือเรือน ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้สร้างรูปปราสาท เป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ แทนพระบรมนามาภิไธย
พระราชลัญจกรทั้ง 3 องค์นี้เดิมเป็นเพียงพระราชสัญลักษณ์ที่ปรากฏในที่ต่างๆ เช่น เงินพดด้วง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชลัญจกรเหล่านี้ขึ้นเพื่ออุทิศถวายพระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์เมื่อ [[พ.ศ. 2425]] ตราทั้งหมดเป็นตรากลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร
ภาพ:Logo06.gif|พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 6
</gallery>
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 4]]''' เรียกว่า พระราชลัญจกร[[พระมหาพิชัยมงกุฎ|พระมหามงกุฎ]] ลักษณะเป็นรูปกลมรี ลายกลางเป็นรูป[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]] อันเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "[[มงกุฎ]]" ซึ่งเป็นศิราภรณ์สำคัญของพระมหากษัตริย์ อยู่ในเครื่องเบญจราชกุธภัณฑ์ มี[[ฉัตร]]บริวารตั้งขนาบข้างที่ริมขอบทั้งสองข้าง มีพานทองสองชั้นวางพระแว่นสุริยกานต์หรือ[[เพชร]]ข้างหนึ่ง สมุดตำราข้างหนึ่ง รูปพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรนี้มาจากฉายาเมื่อทรงผนวชว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากเหตุที่ได้ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทาง[[อักษรศาสตร์]]และ[[ดาราศาสตร์]] องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 6.8 เซนติเมตร
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 5]]''' เรียกว่า พระราชลัญจกรพระเกี้ยวยอด ลักษณะเป็นรูปพระจุลมงกุฎ (หรือ[[พระเกี้ยว]]) เปล่งรัศมีประดิษฐ์บนพานแว่นฟ้า เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลความหมายว่าเป็นศิราภรณ์ชนิดหนึ่งอย่าง
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 6]]''' เรียกว่า พระราชลัญจกร[[วชิระ|พระวชิระ]] เป็นรูปวชิราวุธ เปล่งรัศมีเป็นสายฟ้า ประดิษฐ์บนพานแว่นฟ้าตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบบัวตั้งอยู่สองข้าง เป็นสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" ซึ่งหมายถึง สายฟ้าอันเป็นเทพศาสตรา
<gallery>
ภาพ:Logo07.gif|พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 7
|