ลายกระหนก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ลายกนก)
ลายกระหนกสามตัว

ลายกระหนก เป็นลายพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญของลายไทยในงานจิตรกรรมไทย มีพื้นฐานจากสามเหลี่ยมชายธง (สามเหลี่ยมมุมฉาก) อาจมีตัวเดียว หรือหลายตัวก็ได้ มักมีฐานมุมแหลมหันไปทางเดียวกัน โดยมีขนาดและสัดส่วนที่แตกต่างกันไป ลายกระหนกที่สำคัญ ได้แก่ กระหนกสามตัว กระหนกเปลว กระหนกใบเทศ จากนั้นก็เป็นกระหนกผักกูด กระหนกกอ เป็นต้น

ความหมาย[แก้]

ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า กระหนก หมายถึงลวดลาย แต่จะสะกดว่า กนก ก็ได้ด้วย, กนก หมายถึงทอง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงอธิบายใน พระนิพนธ์สาส์นสมเด็จ ว่า "กนก" คงใช้เรียกตู้ลายทอง (ตู้ลายรดน้ำ) แล้วเข้าใจผิดไปว่า ลวดลายนั้นเป็น "กนก"

บ่อเกิดแห่งลายไทย[แก้]

ลายไทยมีบ่อเกิดมาจากธรรมชาติ ได้แก่

  • ดอกบัว
  • ดอกมะลิ
  • ดอกชัยพฤกษ์
  • ใบฝ้ายเทศ
  • ผักกูด
  • ตาอ้อย
  • เถาวัลย์
  • กาบไผ่
  • เปลวไฟ
  • ฯลฯ

กำเนิดของลายกระหนก และกระหนกสามตัว[แก้]

ต้นแบบของลายกระหนก มาจากหางไหล ซึ่งเป็นลายที่มาจากลักษณะของเปลวไฟ

กระหนกสามตัวเป็นแม่ลาย ถือเป็นแม่แบบของกระหนกทั้งหลาย

ประเภทของลายกระหนก[แก้]

ลายกระหนกแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ดังนี้คือ

  • กระหนกเปลว
  • กระหนกใบเทศ
  • กระหนกผักกูด
  • กระหนกนารี
  • กระหนกหางหงส์
  • กระหนกลายนาค
  • กระหนกช่อลายต่าง ๆ

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • โพธิ์ ใจอ่อนน้อม คู่มือลายไทย โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน พ.ศ. 2522.
  • พระเทวาภินิมมิต สมุดตำราลายไทย โรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. 2530. ISBN 974-0038-44-1
  • สันติ เล็กสุขุม กระหนกในดินแดนไทย สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2539. ISBN 974-7120-30-5

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]