ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุรพล นิติไกรพจน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎6 ปีที่ตึกโดม: น่าจะคัดลอกมา
Power364 (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับปรุงข้อมูล/เพิ่มการอ้างอิง
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
== ชีวิตส่วนตัว ==
== ชีวิตส่วนตัว ==
สุรพลสมรสกับจรรยา นิติไกรพจน์<ref>[http://news.sanook.com/economic/economic_66813.php จรรยา นิติไกรพจน์ กับ เบเลสซ่าฆสปาชานเมือง ใช้ความต่างสร้างจุดเด่น]</ref> มีบุตรสาว 2 คนคือ พธู นิติไกรพจน์ (ศึกษาอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และ ภัทรา นิติไกรพจน์ (ศึกษาอยู่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
สุรพลสมรสกับจรรยา นิติไกรพจน์<ref>[http://news.sanook.com/economic/economic_66813.php จรรยา นิติไกรพจน์ กับ เบเลสซ่าฆสปาชานเมือง ใช้ความต่างสร้างจุดเด่น]</ref> มีบุตรสาว 2 คนคือ พธู นิติไกรพจน์ (ศึกษาอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และ ภัทรา นิติไกรพจน์ (ศึกษาอยู่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

== 6 ปีที่ตึกโดม ==<ref>“หกปีที่ตึกโดม (Six Years in Thammasat University)”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.</ref>
1. การเปลี่ยนแปลงกายภาพมหาวิทยาลัย : ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารทุกหลังในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ศูนย์ลำปาง ศูนย์พัทยา ก่อสร้างขึ้นใหม่หรือปรับปรุงอาคารเกือบทั้งหมดของศูนย์รังสิต บำรุงรักษา ซ่อมแซมห้องสมุด โรงอาหาร หอพัก ถนน ทางเดินเท้า ทางจักรยาน พื้นที่สาธารณะในทุกศูนย์การศึกษาเพราะมหาวิทยาลัยที่สะอาด เป็นระเบียบ สง่างามและมีทุกสิ่งทุกอย่างเพียบพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและการให้บริการสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการบริหารมหาวิทยาลัย
2. การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการในทุกศูนย์การศึกษา :
• ระหว่างท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิต โยกย้ายกองและสำนักงานทุกสำนักงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดีไปตั้งหน่วยงานหลักที่ศูนย์รังสิต ย้ายสำนักงานสนับสนุนการบริหารงานและการจัดการศึกษาทุกหน่วยไปประจำ ณ ศูนย์รังสิต ใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนระบบริหารงานระหว่างท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตมากกว่า 5 ปีจึงสำเร็จและทำให้พื้นที่สำนักงานสามารถให้บริการและตอบสนองการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
• ศูนย์ลำปางและศูนย์พัทยา จัดระบบงาน วางโครงสร้างหน่วยงาน กำหนดกรอบอัตรากำลังและสร้างขอบเขตความรับผิดชอบ มอบหมายให้มีผู้บังคับบัญชารับผิดชอบโดยตรงในแต่ละระดับ
3. การเปลี่ยนแปลงและกำหนดมาตรฐานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นใหม่ :
• กำหนดนโยบายที่จะไม่มีการจัดการศึกษานอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนอกจากทั้งสี่ศูนย์การศึกษา
• ทบทวนหลักสูตรทั้งหมดทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา จัดให้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทำให้ในปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแรกของประเทศที่มีมาตรฐานครบถ้วนตามเกณฑ์
• กำหนดนโยบายไม่เพิ่มจำนวนรับนักศึกษาปริญญาตรี แต่จะเพิ่มในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยเต็มรูปแบบ
4. การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการจัดการการเรียนการสอน : ปรับปรุงห้องเรียนให้มีอุปกรณ์ครบถ้วน ทันสมัย มีระบบเครือข่ายสัญญาณ มี software ลิขสิทธิ์ใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา พัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
5. การเปลี่ยนแปลงในเรื่องการวิจัย : ขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เพิ่มงบประมาณสนับสนุนการวิจัย สร้างบรรยากาศการยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้ประสบความสำเร็จในการวิจัย จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการวิจัยเป็นหน่วยงานถาวรระดับกองในสำนักงานอธิการบดีและกำหนดให้มีรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยรับผิดชอบส่งเสริมและดูแลงานวิจัย
6. การเปลี่ยนแปลงหน่วยงานบริหารมหาวิทยาลัย :
• จัดระบบงานและกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละงานของสำนักงานอธิการบดีให้ชัดเจน คือ สำนักงานนิติการ สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานประสานศูนย์การศึกษาในภูมิภาค สำนักงานอาคารสถานที่และสำนักงานบริหารการวิจัย
• ปรับเปลี่ยนโครงสร้างสำนักทะเบียนและประมวลผล สถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนา สำนักหอสมุด เพื่อให้สอดคล้องรองรับการพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงการดำเนินภารกิจของมหาวิทยาลัย
7. การปรับปรุงระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยสภามหาวิทยาลัย เพื่อลดปัญหา อุปสรรคและข้อขัดข้องที่มาจากระเบียบข้อบังคับประเภทต่าง ๆ เช่น ข้อบังคับเรื่องการจัดการศึกษา ระเบียบการบริหารจัดการทางการเงิน ระเบียบว่าด้วยการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ระเบียบการบริหารพนักงานมหาวิทยาลัย ระเบียบโครงการบริการสังคม ระเบียบว่าด้วยสวัสดิการ
8. การจัดระบบพัฒนาอาจารย์ประจำอย่างจริงจัง : การพัฒนาอาจารย์และพัฒนาระบบอาจารย์ประจำให้เข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์อย่างเหมาะสม มีจำนวนอาจารย์ที่พอเพียงเป็นการวางรากฐานการพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคตเป็นอย่างดี
9. การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารบุคลากรสายสนับสนุน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีบุคลากรสายสนับสนุนประมาณ 4,600 คน การพัฒนาศักยภาพ กำหนดให้มีเงินเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในอัตราคนละ 2,500 / 1,200 / 800 บาทต่อเดือน วางระบบประเมินประสิทธิภาพและสร้างความก้าวหน้าที่ชัดเจน มีผลต่อการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร
10. การกำหนดแนวทางในเรื่องการประเมินมาตรฐานการศึกษา : ประกาศให้ปี 2550 เป็นปีแห่งคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ตามมติสภามหาวิทยาลัย จัดตั้งหน่วยงานดูแลรับผิดชอบประสานการปฏิบัติของฝ่ายต่าง ๆ ในเรื่องการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเป็นการเฉพาะ กำหนดให้มีผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายมาตรฐานการศึกษา กำหนดให้มีคณะกรรมการดูแลรับผิดชอบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่มีอธิการบดีเป็นประธาน ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับคะแนนประเมินคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในระดับดีมากตลอด 3 ปีติดต่อกัน (พ.ศ.2550-2552) และได้รับการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของประเทศสามลำดับแรกต่อเนื่องกัน 3 ปี (พ.ศ.2549 -2551)จากผลการปฏิบัติราชการประเมินโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
11. การเปลี่ยนแปลงระบบหอพักนักศึกษาและหอพักบุคลากร : ให้มีการก่อสร้างหอพักขนาดใหญ่ 4 อาคารในที่ดินของมหาวิทยาลัย ณ ศูนย์รังสิต ภายใต้ชื่อโครงการ TU-Dome Residential Complex (เรียกย่อ ๆ ว่า TU-Dome) ก่อสร้างอาคารหอพักบุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพิ่มขึ้น 2 หลังในปี 2553 และ 2554 ปรับปรุงระบบบริหารจัดการหอพักให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มศูนย์อาหาร ร้านค้าให้บริการ ทางเดินที่มีหลังคาคลุมตลอดแนว
12. การปรับปรุงคุณภาพชีวิตในมหาวิทยาลัย : จัดให้มีโรงอาหารศูนย์สุขศาสตร์แห่งที่ 2 เพิ่มร้านสะดวกซื้อในมหาวิทยาลัย จัดตั้งธนาคารกรุงไทยสาขาธรรมศาสตร์รังสิต ปรับปรุงและพัฒนาห้องน้ำทุกอาคารที่มหาวิทยาลัยดูแลให้สะอาด มีสุขอนามัยที่ดี
13. การกำหนดนโยบายในเรื่องสภาพแวดล้อมที่ดี : รณรงค์การคัดแยกขยะ การนำของใช้แล้วมาทำประโยชน์โดยจัดตั้งธนาคารขยะขึ้นที่ศูนย์รังสิตทำให้เป็นกรณีศึกษาต้นแบบของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รณรงค์งดใช้ภาชนะโฟมใส่อาหาร การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก รณรงค์ให้ศูนย์รังสิตเป็นมหาวิทยาลัยใช้จักรยาน (Bicycle Campus)
14. การปรับระบบการจราจรและการเดินทางระหว่างศูนย์การศึกษา : ทำสัญญาใหม่กำหนดให้ผู้ประกอบการเดินรถตู้ปรับอากาศระหว่างท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตใช้เชื้อเพลิง NGV ควบคุมราคาค่าโดยสารในอัตราเที่ยวละ 40 บาท จัดวางระบบและเริ่มให้บริการรถตู้โดยสารระหว่างศูนย์รังสิตกับสถานี BTS หมอชิต, ศูนย์รังสิตกับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค
15. การเปลี่ยนแปลงระบบสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษา : สนับสนุนจุดเด่นที่เป็นลักษณะเฉพาะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีกิจกรรมนักศึกษาที่เข้มแข็ง หลากหลายและสามารถสร้างจิตสำนึกในการทำงานหรือทำประโยชน์ให้แก่คนอื่น ๆ หรือต่อสังคมโดยก่อสร้างอาคารกิจกรรมนักศึกษา 3 ชั้นที่ศูนย์รังสิต จัดตั้งเครือข่ายนักศึกษาอาสาสมัครเป็นการถาวร ปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการจัดตั้งชุมนุมและชมรมของนักศึกษา ประกาศให้ปี 2553 เป็นปีแห่งกิจกรรมนักศึกษา
16. การกำหนดแนวทางในการสร้างจิตสำนึกความเป็นธรรมศาสตร์ : จัดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิที่ศูนย์รังสิต เป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามินอกพื้นที่ภัยพิบัติเป็นศูนย์กลางของอาสาสมัคร ศูนย์กลางของจิตอาสาและความเอื้ออาทรต่อผู้อื่นของประชาคมธรรมศาสตร์ จัดสร้าง “หอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เพื่อรวบรวมประวัติศาสตร์ ความภาคภูมิใจและเกียรติยศของมหาวิทยาลัย จัดสร้างลานโดมที่หลังตึกโดมท่าพระจันทร์ ปรับปรุงลานปรีดีด้านหน้าตึกโดม สร้างธรรมจักรที่ศูนย์ลำปางและศูนย์รังสิต จัดโครงการ “วันแรกพบ” สำหรับนักศึกษาใหม่ จัดกิจกรรม “ธรรมศาสตร์ทำนา” ที่ศูนย์รังสิตเพื่อให้ประชาคมธรรมศาสตร์ได้รับรู้และเรียนรู้อาชีพเกษตรกรและเส้นทางการผลิตเมล็ดข้าว


== เกียรติประวัติ ==
== เกียรติประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:17, 9 ตุลาคม 2562

สุรพล นิติไกรพจน์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ก่อนหน้ารศ.ดร.นริศ ชัยสูตร
ถัดไปศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
ศาสนาพุทธ

ศาสตราจารย์ สุรพล นิติไกรพจน์ กรรมการอิสระ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช[1]กรรมการในคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ[2] ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด วิสาหกิจกรุงเทพมหานคร [3] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการสามัญองค์กรอิสระ อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ และ อดีตประธานคณะกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน)

ประวัติ

การศึกษา

สุรพล นิติไกรพจน์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเลยพิทยาคมและสำเร็จการศึกษาสาขานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบการศึกษาเนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 35 จากสำนักศึกษาอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา Diplôme d’études approfondies de droit public จากมหาวิทยาลัย Strasbourg III ประเทศฝรั่งเศส Doctorat de l’Université Robert Schuman de Strasbourg (mention très honorable) มหาวิทยาลัย Robert Schuman ฝรั่งเศส ประกาศนียบัตรการอบรมหลักสูตร สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์นานาชาติ “การกระจายอำนาจ และ การปกครองท้องถิ่น” (IIAP.) กรุงปารีส, ฝรั่งเศส ได้รับปริญญาดูษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย Soka ประเทศญี่ปุ่น และ ประกาศนียบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2553(ปรอ. 23)

สมัยเป็นนักศึกษาเคยทำกิจกรรมในพรรคแสงธรรม องค์การนักศึกษา และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนักศึกษาร่วมรุ่นกับ สมคิด เลิศไพฑูรย์, อภิชาติ ดำดี, วสันต์ ภัยหลีกลี้, วิฑูรย์ นามบุตร, นพดล ปัทมะ, อัญชลี วานิช เทพบุตร และบุญสม อัครธรรมกุล[4]

ประสบการณ์การทำงาน

​- ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2547 – 2553 ​- เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2544 - 2547 ​- ประธานคณะกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2552 - 2554 ​- ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและกรรมการอิสระบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2552 – 2555 ​- ประธานคณะกรรมการบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร) พ.ศ. 2557 - 2559 ​- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 – 2551 ​- ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2551

รางวัลที่ได้รับ

- รางวัลพระราชทานเรียนดี “ทุนภูมิพล” ในฐานะผู้สำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนสูงสุดของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2524 - รางวัลโครงการวิจัยดีเด่นด้านนโยบายสาธารณะ คณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. 2538 - รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมสาขานิติศาสตร์ ประจำปี 2541 จากสภาวิจัยแห่งชาติ - รางวัลชมเชยผลงานวิจัยสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปี 2543 จากสภาวิจัยแห่งชาติ - รางวัลชมเชยผลงานวิจัยสาขาการศึกษา ประจำปี 2544 จากสภาวิจัยแห่งชาติ - “บุคคลแห่งปี 2545” ในฐานะนักกฎหมายตัวอย่างจากกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (31 ธค. 2545) - รางวัลชมเชยผลงานวิจัย ประจำปี 2547 จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ - รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2547 สาขานิติศาสตร์ จากสภาวิจัยแห่งชาติ - รางวัลผู้บริหารข้าราชพลเรือนดีเด่น ครุฑทองคำ ประจำปี 2549 จากสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย

ชีวิตส่วนตัว

สุรพลสมรสกับจรรยา นิติไกรพจน์[5] มีบุตรสาว 2 คนคือ พธู นิติไกรพจน์ (ศึกษาอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และ ภัทรา นิติไกรพจน์ (ศึกษาอยู่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

== 6 ปีที่ตึกโดม ==[6]

   1. การเปลี่ยนแปลงกายภาพมหาวิทยาลัย : ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารทุกหลังในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ศูนย์ลำปาง ศูนย์พัทยา ก่อสร้างขึ้นใหม่หรือปรับปรุงอาคารเกือบทั้งหมดของศูนย์รังสิต บำรุงรักษา ซ่อมแซมห้องสมุด โรงอาหาร หอพัก ถนน ทางเดินเท้า ทางจักรยาน พื้นที่สาธารณะในทุกศูนย์การศึกษาเพราะมหาวิทยาลัยที่สะอาด เป็นระเบียบ สง่างามและมีทุกสิ่งทุกอย่างเพียบพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและการให้บริการสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการบริหารมหาวิทยาลัย

2. การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการในทุกศูนย์การศึกษา : • ระหว่างท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิต โยกย้ายกองและสำนักงานทุกสำนักงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดีไปตั้งหน่วยงานหลักที่ศูนย์รังสิต ย้ายสำนักงานสนับสนุนการบริหารงานและการจัดการศึกษาทุกหน่วยไปประจำ ณ ศูนย์รังสิต ใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนระบบริหารงานระหว่างท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตมากกว่า 5 ปีจึงสำเร็จและทำให้พื้นที่สำนักงานสามารถให้บริการและตอบสนองการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น • ศูนย์ลำปางและศูนย์พัทยา จัดระบบงาน วางโครงสร้างหน่วยงาน กำหนดกรอบอัตรากำลังและสร้างขอบเขตความรับผิดชอบ มอบหมายให้มีผู้บังคับบัญชารับผิดชอบโดยตรงในแต่ละระดับ 3. การเปลี่ยนแปลงและกำหนดมาตรฐานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นใหม่ : • กำหนดนโยบายที่จะไม่มีการจัดการศึกษานอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนอกจากทั้งสี่ศูนย์การศึกษา • ทบทวนหลักสูตรทั้งหมดทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา จัดให้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทำให้ในปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแรกของประเทศที่มีมาตรฐานครบถ้วนตามเกณฑ์ • กำหนดนโยบายไม่เพิ่มจำนวนรับนักศึกษาปริญญาตรี แต่จะเพิ่มในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยเต็มรูปแบบ 4. การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการจัดการการเรียนการสอน : ปรับปรุงห้องเรียนให้มีอุปกรณ์ครบถ้วน ทันสมัย มีระบบเครือข่ายสัญญาณ มี software ลิขสิทธิ์ใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา พัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ 5. การเปลี่ยนแปลงในเรื่องการวิจัย : ขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เพิ่มงบประมาณสนับสนุนการวิจัย สร้างบรรยากาศการยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้ประสบความสำเร็จในการวิจัย จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการวิจัยเป็นหน่วยงานถาวรระดับกองในสำนักงานอธิการบดีและกำหนดให้มีรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยรับผิดชอบส่งเสริมและดูแลงานวิจัย 6. การเปลี่ยนแปลงหน่วยงานบริหารมหาวิทยาลัย : • จัดระบบงานและกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละงานของสำนักงานอธิการบดีให้ชัดเจน คือ สำนักงานนิติการ สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานประสานศูนย์การศึกษาในภูมิภาค สำนักงานอาคารสถานที่และสำนักงานบริหารการวิจัย • ปรับเปลี่ยนโครงสร้างสำนักทะเบียนและประมวลผล สถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนา สำนักหอสมุด เพื่อให้สอดคล้องรองรับการพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงการดำเนินภารกิจของมหาวิทยาลัย 7. การปรับปรุงระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยสภามหาวิทยาลัย เพื่อลดปัญหา อุปสรรคและข้อขัดข้องที่มาจากระเบียบข้อบังคับประเภทต่าง ๆ เช่น ข้อบังคับเรื่องการจัดการศึกษา ระเบียบการบริหารจัดการทางการเงิน ระเบียบว่าด้วยการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ระเบียบการบริหารพนักงานมหาวิทยาลัย ระเบียบโครงการบริการสังคม ระเบียบว่าด้วยสวัสดิการ 8. การจัดระบบพัฒนาอาจารย์ประจำอย่างจริงจัง : การพัฒนาอาจารย์และพัฒนาระบบอาจารย์ประจำให้เข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์อย่างเหมาะสม มีจำนวนอาจารย์ที่พอเพียงเป็นการวางรากฐานการพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคตเป็นอย่างดี 9. การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารบุคลากรสายสนับสนุน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีบุคลากรสายสนับสนุนประมาณ 4,600 คน การพัฒนาศักยภาพ กำหนดให้มีเงินเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในอัตราคนละ 2,500 / 1,200 / 800 บาทต่อเดือน วางระบบประเมินประสิทธิภาพและสร้างความก้าวหน้าที่ชัดเจน มีผลต่อการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร 10. การกำหนดแนวทางในเรื่องการประเมินมาตรฐานการศึกษา : ประกาศให้ปี 2550 เป็นปีแห่งคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ตามมติสภามหาวิทยาลัย จัดตั้งหน่วยงานดูแลรับผิดชอบประสานการปฏิบัติของฝ่ายต่าง ๆ ในเรื่องการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเป็นการเฉพาะ กำหนดให้มีผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายมาตรฐานการศึกษา กำหนดให้มีคณะกรรมการดูแลรับผิดชอบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่มีอธิการบดีเป็นประธาน ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับคะแนนประเมินคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในระดับดีมากตลอด 3 ปีติดต่อกัน (พ.ศ.2550-2552) และได้รับการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของประเทศสามลำดับแรกต่อเนื่องกัน 3 ปี (พ.ศ.2549 -2551)จากผลการปฏิบัติราชการประเมินโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 11. การเปลี่ยนแปลงระบบหอพักนักศึกษาและหอพักบุคลากร : ให้มีการก่อสร้างหอพักขนาดใหญ่ 4 อาคารในที่ดินของมหาวิทยาลัย ณ ศูนย์รังสิต ภายใต้ชื่อโครงการ TU-Dome Residential Complex (เรียกย่อ ๆ ว่า TU-Dome) ก่อสร้างอาคารหอพักบุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพิ่มขึ้น 2 หลังในปี 2553 และ 2554 ปรับปรุงระบบบริหารจัดการหอพักให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มศูนย์อาหาร ร้านค้าให้บริการ ทางเดินที่มีหลังคาคลุมตลอดแนว 12. การปรับปรุงคุณภาพชีวิตในมหาวิทยาลัย : จัดให้มีโรงอาหารศูนย์สุขศาสตร์แห่งที่ 2 เพิ่มร้านสะดวกซื้อในมหาวิทยาลัย จัดตั้งธนาคารกรุงไทยสาขาธรรมศาสตร์รังสิต ปรับปรุงและพัฒนาห้องน้ำทุกอาคารที่มหาวิทยาลัยดูแลให้สะอาด มีสุขอนามัยที่ดี 13. การกำหนดนโยบายในเรื่องสภาพแวดล้อมที่ดี : รณรงค์การคัดแยกขยะ การนำของใช้แล้วมาทำประโยชน์โดยจัดตั้งธนาคารขยะขึ้นที่ศูนย์รังสิตทำให้เป็นกรณีศึกษาต้นแบบของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รณรงค์งดใช้ภาชนะโฟมใส่อาหาร การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก รณรงค์ให้ศูนย์รังสิตเป็นมหาวิทยาลัยใช้จักรยาน (Bicycle Campus) 14. การปรับระบบการจราจรและการเดินทางระหว่างศูนย์การศึกษา : ทำสัญญาใหม่กำหนดให้ผู้ประกอบการเดินรถตู้ปรับอากาศระหว่างท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตใช้เชื้อเพลิง NGV ควบคุมราคาค่าโดยสารในอัตราเที่ยวละ 40 บาท จัดวางระบบและเริ่มให้บริการรถตู้โดยสารระหว่างศูนย์รังสิตกับสถานี BTS หมอชิต, ศูนย์รังสิตกับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค 15. การเปลี่ยนแปลงระบบสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษา : สนับสนุนจุดเด่นที่เป็นลักษณะเฉพาะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีกิจกรรมนักศึกษาที่เข้มแข็ง หลากหลายและสามารถสร้างจิตสำนึกในการทำงานหรือทำประโยชน์ให้แก่คนอื่น ๆ หรือต่อสังคมโดยก่อสร้างอาคารกิจกรรมนักศึกษา 3 ชั้นที่ศูนย์รังสิต จัดตั้งเครือข่ายนักศึกษาอาสาสมัครเป็นการถาวร ปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการจัดตั้งชุมนุมและชมรมของนักศึกษา ประกาศให้ปี 2553 เป็นปีแห่งกิจกรรมนักศึกษา 16. การกำหนดแนวทางในการสร้างจิตสำนึกความเป็นธรรมศาสตร์ : จัดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิที่ศูนย์รังสิต เป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามินอกพื้นที่ภัยพิบัติเป็นศูนย์กลางของอาสาสมัคร ศูนย์กลางของจิตอาสาและความเอื้ออาทรต่อผู้อื่นของประชาคมธรรมศาสตร์ จัดสร้าง “หอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เพื่อรวบรวมประวัติศาสตร์ ความภาคภูมิใจและเกียรติยศของมหาวิทยาลัย จัดสร้างลานโดมที่หลังตึกโดมท่าพระจันทร์ ปรับปรุงลานปรีดีด้านหน้าตึกโดม สร้างธรรมจักรที่ศูนย์ลำปางและศูนย์รังสิต จัดโครงการ “วันแรกพบ” สำหรับนักศึกษาใหม่ จัดกิจกรรม “ธรรมศาสตร์ทำนา” ที่ศูนย์รังสิตเพื่อให้ประชาคมธรรมศาสตร์ได้รับรู้และเรียนรู้อาชีพเกษตรกรและเส้นทางการผลิตเมล็ดข้าว

เกียรติประวัติ

การดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/040/4.PDF
  2. http://www.moe.go.th/websm/2016/jan/037.html
  3. http://www.thanakom.co.th/thanakom/
  4. มติชน. (2552). สมคิด เลิศไพฑูรย์ ผู้ชายคิดบวก. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
  5. จรรยา นิติไกรพจน์ กับ เบเลสซ่าฆสปาชานเมือง ใช้ความต่างสร้างจุดเด่น
  6. “หกปีที่ตึกโดม (Six Years in Thammasat University)”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๓
  8. ราชกิจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2550 เล่ม 124 ตอนที่ 18ข วันที่ 5 ธันวาคม 2550
  9. ราชกิจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘ )(กระทรวงศึกษาธิการ (ต่อ)) เล่ม 122 ตอนที่ 22ข วันที่ 3 ธันวาคม 2548
  10. ราชกิจานุเบกษา B/013/015_3/2.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา(กระทรวงศึกษาธิการ (ต่อ)) เล่ม 125 ตอนที่ 13ข วันที่ 25 มิถุนายน 2551


ก่อนหน้า สุรพล นิติไกรพจน์ ถัดไป
รองศาสตราจารย์ ดร.นริศ ชัยสูตร
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(26 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553)
ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์