ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดียภาษาไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: เพิ่มยูอาร์แอล wikipedia.org
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล เว็บไซต์
อิอิ{{กล่องข้อมูล เว็บไซต์
| name = [[ไฟล์:Wikipedia's W.svg|16px|ภาพสัญลักษณ์ของวิกิพีเดีย]] วิกิพีเดียภาษาไทย
| name = [[ไฟล์:Wikipedia's W.svg|16px|ภาพสัญลักษณ์ของวิกิพีเดีย]] วิกิพีเดียภาษาไทย
| logo = [[ไฟล์:Wikipedia-logo-v2-th.svg|135px|ตราสัญลักษณ์ของวิกิพีเดียภาษาไทย]]
| logo = [[ไฟล์:Wikipedia-logo-v2-th.svg|135px|ตราสัญลักษณ์ของวิกิพีเดียภาษาไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:28, 18 ธันวาคม 2561

อิอิ

ภาพสัญลักษณ์ของวิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาไทย
ตราสัญลักษณ์ของวิกิพีเดียภาษาไทย
ภาพจับหน้าหลักวิกิพีเดียภาษาไทย
โฮมเพจวิกิพีเดียภาษาไทย
ประเภทโครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ต
ภาษาที่ใช้ได้ภาษาไทย
เจ้าของมูลนิธิวิกิมีเดีย
สร้างโดยชุมชนวิกิภาษาไทย
ยูอาร์แอลth.wikipedia.org
เชิงพาณิชย์ไม่ใช่
ลงทะเบียนไม่จำเป็น

วิกิพีเดียภาษาไทย เป็นรุ่นภาษาไทยของวิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์เสรี เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ปัจจุบันมี 165,641 บทความ (เวลาจริง) เป็นวิกิพีเดียที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 53 วิกิพีเดียภาษาไทยมีขนาด 754 เมกะไบต์[1]

วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ภาษาไทยแห่งที่สองที่ถูกสร้างขึ้น[ต้องการอ้างอิง] โดยก่อนหน้านี้มีสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ความต่างของวิกิพีเดียคือ เนื้อหาถูกสร้างขึ้นโดยผู้ใช้หลายคน และแจกจ่ายได้เสรีภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 และสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ในขณะที่สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนสงวนลิขสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาตไม่เสรี[2]

วิกิพีเดียภาษาไทยมีการย่อหน้าให้สอดคล้องกับลักษณะเอกสารภาษาไทย ซึ่งแตกต่างจากวิกิพีเดียภาษาอื่น ยืนยันตัวตอนอยู่ไทยแลนด์

ข่าว

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554 มีข่าวว่า จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า มอบหมายให้กสท โทรคมนาคมนำเงิน 10.7 ล้านบาทจ้างแปลบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ 3 ล้านบทความเป็นภาษาไทย โดยใช้เทคโนโลยี Statistical Machine Translation เนื้อหาที่แปลแล้วจะอยู่บน www.asiaonline.com[3]

วันที่ 11 ตุลาคม 2555 ดีแทคเปิดบริการวิกิพีเดียซีโร่ (Wikipedia Zero) ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเปิดตัวครั้งแรกในงานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู (Educa 2012)[4]

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2556 มีรายงานว่า มีผู้เข้าไปแก้ไขเนื้อหาบทความกรมสอบสวนคดีพิเศษ อ้างว่า ธาริต เพ็งดิษฐ์ ถึงแก่กรรมแล้ว และแก้ไขชื่อเป็น "ธาริตสีดวง" มีผลงาน "เป่านกหวีด" ฝ่ายธาริตกล่าวว่าจะไม่ฟ้องร้อง[5]

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2557 ดีแทคเปิดตัวกิจกรรม "เพิ่มพูนความรู้ให้สังคมไทยกับวิกิพีเดีย" เชิญชวนให้พนักงานแปลบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยตั้งเป้าช่วยสร้างบทความภาษาไทย 5,000 เรื่อง จำนวนชั่วโมงอาสารวมกว่า 10,000 ชั่วโมง ด้านทวีธรรม ลิมปานุภาพ ผู้ประสานงานอาสาสมัครวิกิพีเดียในประเทศไทย กล่าวว่า วิกิพีเดียภาษาไทยยังมีบทความน้อยมากเมื่อเทียบกับวิกิพีเดียภาษาอื่น และบทความส่วนใหญ่ยังสั้นและข้อมูลไม่ครบถ้วน นอกจากนี้ ยังมีอาสาสมัครน้อยมากเมื่อเทียบกับประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ การที่มีอาสาสมัครเพิ่มขึ้นจะทำให้วิกิพีเดียภาษาไทยสามารถบริหารเนื้อหาให้มีคุณภาพทัดเทียมวิกิพีเดียในประเทศที่พัฒนาแล้ว[6]

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 มีข่าวว่า วิกิพีเดียภาษาไทยระบุชื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีก่อนหน้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติเลือก[7]

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2557 ช่วงบ่าย มีรายงานว่าเมื่อเข้ายูอาร์แอลวิกิพีเดียภาษาไทยแล้ว หน้าจอปรากฏข้อความจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระบุว่า "มีเนื้อหาและข้อมูลที่ไม่เหมาะสม" เครือข่ายที่ไม่สามารถเข้าถึงได้มี 3BB[1][1] และทรู แต่ยังสามารถเข้าได้ทางยูอาร์แอล https ตลอดจนรุ่นสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่[8][9]

สถิติ

สถิติวิกิพีเดียภาษาไทย
จำนวนบัญชีผู้ใช้ จำนวนบทความ จำนวนไฟล์ จำนวนผู้ดูแลระบบ
480,168 165,641 21,025 17
ขนาดบทความทั้งหมด ขนาดบทความเฉลี่ย บทความที่ใหญ่กว่า 2KB ค่าเฉลี่ยการเข้าถึงบทความ
791.1 MB 35.1 KB 47% 42.4 ครั้ง/บทความ/เดือน

การเข้าใช้

แหล่งของการเข้าชม (มิถุนายน 2561)
ที่มา
ไทย ไทย
  
94.9%
สหรัฐ สหรัฐ
  
1.5%
ลาว ลาว
  
0.8%
อื่น ๆ
  
2.8%

เว็บไซต์วิกิพีเดีย (รวมทุกภาษา) เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้จากประเทศไทยเข้ามากเป็นอันดับที่ 8[10] โดยการจัดอับดับของอเล็กซา และเมื่อเทียบกับวิกิพีเดียภาษาอื่น ๆ วิกิพีเดียภาษาไทยมีผู้ใช้ทั่วโลกเข้ามากเป็นอันดับที่ 19[11] จากฐานข้อมูลสถิติของวิกิมีเดีย

จากการสำรวจด้วยแบบสอบถามโดย มนัสชล หิรัญรัตน์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในราว พ.ศ. 2549-2550 จากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้วิกิพีเดียภาษาไทยและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทย 400 คน ร้อยละ 80 เปิดดูวิกิพีเดียภาษาไทยอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง และร้อยละ 48 เปิดอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง โดยร้อยละ 54 เข้าสู่เว็บไซต์โดยตรง (ผ่านทางที่อยู่ th.wikipedia.org) และร้อยละ 51 เข้าผ่านทางเสิร์ชเอนจิน (หนึ่งคนสามารถตอบได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง) และมีประมาณร้อยละ 27 ที่ตอบว่าเคยมีส่วนร่วมในการปรับปรุงเนื้อหาในวิกิพีเดียภาษาไทย[12]

ใน พ.ศ. 2555 มีการเปิดเผยคำค้นที่มีผู้ค้นหามากที่สุด พบว่าคำค้นสามอันดับแรกที่มีผู้ค้นหาในวิกิพีเดียภาษาไทยมากที่สุด ได้แก่ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เศรษฐกิจพอเพียงและประเทศไทยตามลำดับ[13]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 มี 5,704 บัญชีที่มีการแก้ไขอย่างน้อย 10 ครั้ง มีบัญชีที่แก้ไขมากกว่า 5 ครั้งในเดือนนั้น 347 บัญชี และแก้ไขมากกว่า 100 ครั้ง 52 บัญชี[14]

ขนาด

จำนวนบทความ

ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษาไทยมีทั้งหมด 1,097,276 หน้า โดยเป็นบทความ 165,641 หน้า ส่วนที่เหลือเป็นหน้าโครงการ แม่แบบ วิธีใช้ หน้าพิเศษ และหน้าอภิปราย

จำนวนผู้ลงทะเบียน

ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้ว 480,168 บัญชี เป็นผู้ดูแล 17 บัญชี อัตราส่วนผู้ใช้ต่อผู้ดูแลเท่ากับประมาณ 28,244 : 1

จำนวนสื่อภาพและเสียง

ปัจจุบันมีจำนวนไฟล์ภาพและสื่อทั้งหมด 21,025 ไฟล์ ไม่รวมภาพที่เชื่อมโยงมาจากวิกิมีเดียคอมมอนส์

จำนวนการแก้ไข

ปัจจุบันมีการแก้ไขทั้งหมดรวม 11,611,046 ครั้ง หรือ 10.582 ครั้งต่อหนึ่งหน้าโดยเฉลี่ย

การประเมินคุณภาพภายใน

โดยรวมวิกิพีเดียใช้การควบคุมคุณภาพภายในซึ่งใช้จัดระเบียบการสนับสนุนและพัฒนาเนื้อหาแก่ผู้ใช้ พิสัยการประเมินควบคุมคุณภาพเริ่มจากการประเมินขั้น "โครง" ซึ่งจากนั้นจะมีการขัดเกลาและพัฒนาเป็น "พอใช้" และ "ดี" ตามลำดับ กระทั่งถึงมาตรฐานคุณภาพที่ประเมินภายในสูงสุดในขั้น "บทความคัดสรร" ในบรรดา 80,000 กว่าบทความในเดือนมิถุนายน 2557 มี 110 บทความที่เป็นบทความคัดสรร (ประมาณ 0.0013 % ของทั้งหมด)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Wikipedia Statistics Thai. สืบค้นเมื่อ 7-6-2014.
  2. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
  3. "ไอซีทีรับลูกบรอดแบนด์นายกฯ ลั่น 8ม.ค.เว็บไทยติดเบอร์2โลก". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2014-06-25.
  4. "ดีแทคผุด 'วิกิพีเดียซีโร่' สืบค้นข้อมูลผ่านมือถือ หนุน นร.-ครูใช้". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2015-12-14.
  5. "มือดีแก้เนื้อหา'ดีเอสไอ'ในวิกิพีเดีย อ้าง'ธาริต'ตายแล้ว". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2014-06-06.
  6. "อาสาสมัครต่อยอดคลังความรู้ เพิ่มบทความภาษาไทยบนวิกิพีเดีย". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2014-06-06.
  7. Thai Wikipedia jumps gun to name Prayuth 29th PM of Thailand
  8. ICT บล็อกเว็บสารานุกรมเสรี 'วิกิพีเดียภาษาไทย' ระบุ “เนื้อหาไม่เหมาะสม"
  9. ชาวเน็ตงง เปิดเว็บวิกิพีเดียไทย เจอโดนบล็อก
  10. อเล็กซา Top Sites in Thailand, เรียกดู 11 มีนาคม พ.ศ. 2555
  11. อเล็กซา Wikipedia Statistics, เรียกดู 29 มาราคม 2013
  12. มนัสชล หิรัญรัตน์. สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทยและการสื่อสารความรู้สู่สาธารณะ. วิทยานิพนธ์ นศ.ม. (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต วารสารสนเทศ). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  13. "วิกิพีเดีย"เผยท็อป 10 คำค้นแห่งปี "เฟซบุ๊ก"แชมป์ภาษาอังกฤษ "อาเซียน"อันดับ1ภาษาไทย
  14. "Wikipedia Statistics - Chart Thai". Stats.wikimedia.org. สืบค้นเมื่อ 2014-07-04.

แหล่งข้อมูลอื่น