ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำบลหนองสามวัง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 748: บรรทัด 748:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
http://nongsamwang.go.th/index.php
http://nongsamwang.go.th/index.php
http://google.com
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:08, 3 มิถุนายน 2561

องค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{อำเภอ}}}
การปกครอง
 • นายกนายอนุกูล สุริยสวัสดิ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด64.9 ตร.กม. (25.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2559)
 • ทั้งหมด10,614 คน
 • ความหนาแน่น158.61 คน/ตร.กม. (410.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{รหัส อปท.}}}
ที่อยู่ที่ทำการที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง หมู่ที่ 5 ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี 12170
โทรศัพท์0 2153 5919-22
โทรสาร0 2153 5923
เว็บไซต์http://nongsamwang.go.th/index.php
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เดิมอดีตจังหวัดธัญบุรี ตำบลที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอหนองเสือ

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพัฒนาทุ่งหลวงรังสิตซึ่งอยู่ระหว่างจังหวัดปทุมธานีกับจังหวัดนครนายก เพราะแต่เดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ทำกินไม่ได้ มีสัตว์ป่านานาชนิด ราษฎรไม่กล้าเข้าไปทำมาหากินเพราะกลัวสัตว์ป่าจะทำร้ายและยิ่งกว่า นั้นลำคลองไม่มี พอถึงหน้าแล้งน้ำก็แห้งขอดเหลือแต่โคลนไม่เหมาะที่จะทำการเกษตร จึงทรงดำริจะพัฒนาทุ่งนี้ให้เจริญ สามารถที่จะ ทำการกสิกรรมได้และจะให้พสกนิกรของพระองค์ได้มีที่ทำกินอยู่อย่างสุขสบาย จึงทรงอนุญาตให้บริษัทขุดคูคลองสยาม ดำเนินการขุดคลอง รังสิตประยูรศักดิ์จากแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือวัดเทียนถวายในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี พุ่งตรงไปยังจังหวัดนครนายก เวลานี้ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ อยู่ในเขตชลประทานมีประตูน้ำระบาย ที่เรียกว่า ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ มีน้ำอุดมสมบูรณ์ทำการเกษตรได้ตลอดปี องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง เดิมเป็นสภาตำบลหนองสามวัง ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล จากกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง หมู่ที่ 5 ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งตำบลหนองสามวัง มีทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ผู้แทนของการบริหารส่วนตำบลในแต่ละแห่งที่มาจากเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกสภา อบต.) และฝ่ายบริหาร (นายก อบต.) ประชาชนได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทางตรง องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยครั้งหลังสุดได้จัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ. 2555 มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 7,397 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 6,226 คน คิดเป็นร้อยละ 84.71 องค์การบริหารส่วนตำบลได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยผ่านกระบวนการเวทีประชาคมผ่านคณะกรรมการหมู่บ้าน และผู้นำท้องถิ่น กลุ่มองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอแผน/โครงการซึ่งตรงกับปัญหาความต้องการที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาส่วนตำบล การแต่งตั้งประชาชนร่วมเป็นกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง และตรวจรับการจ้างในโครงการต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารปี พ.ศ. 2540 โดยคณะผู้บริหารได้ยึดหลักการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลตลอดมา

คณะผู้บริหาร

รายนามผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง

รายนามผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง
ลำดับ
(สมัย)
รายนามนายก รายนามรองนายก เริ่มวาระ
(เริ่มต้นโดย)
สิ้นสุดวาระ
(สิ้นสุดโดย)
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ที่มา
1
(1)
ตำแหน่งกำนัน
(ประธานสภาตำบลยกฐานะ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นประธานกรรมการบริหาร อบต.)
พ.ศ. 2537 2 มีนาคม พ.ศ. 2538
ยกฐานะเป็นอบต.หนองสามวัง
1 ปี 92 วัน ประธานสภาตำบล ยกฐานะ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็น ประธาน กรรมการ บริหาร อบต.
2
(1)
'
'
(ประธานกรรมการบริหาร อบต.)
พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2542
4 ปี 0 วัน
3
(1)
นายมานะ แต่งตั้ง
(ประธานกรรมการบริหาร อบต.)
นายหยวก ประยงค์ (รองประธานกรรมการ) 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 18 กันยายน พ.ศ. 2544
2 ปี 62 วัน
4
(1)
นายมนัส พิมพิสาร 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 17 ตุลาคม พ.ศ. 2548
ครบวาระ
3 ปี 332 วัน กลุ่มหนองสามวัง
5
(ไม่ครบวาระ)
นายอนุกูล สุริยสวัสดิ์ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
(ยุบสภา)
0 ปี 145 วัน หมายเหตุมติสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวังเลือกตั้งผู้บริหารชุดใหม่
6
(ไม่ครบวาระ)
นายมนัส พิมพิสาร นายสำรวย ใจเอื้อเฟื้อ

นายหรวย เพิ่มสุข

4 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
คำสั่งแต่งตั้งจากอำเภอหนองเสือ
ธันวาคมพ.ศ. 2550
ยุบสภาเลือกตั้งทั่วไป
1 ปี 210 วัน แต่งตั้งจากอำเภอหนองเสือ
7
(1)
นายสมบัติ วงค์กวน นายจำเนียร ประยงค์
นายจีระศักดิ์ วงษ์นวม
นายอนุศักดิ์ ช้างงาดี(เลขานายก อบต.)
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 22 มกราคม พ.ศ. 2555
ครบวาระ
3 ปี 355 วัน ██████
กลุ่มพัฒนาหนองสามวัง
8
(1)
นายอนุกูล สุริยสวัสดิ์ นายจำเนียร ประยงค์
นายหยวก ประยงค์
นางสาวชื่นกมล วงค์กวน
(เลขานายก อบต.)
1 มีนาคม พ.ศ. 2555
(วันแถลงนโยบาย)
6 มกราคม พ.ศ. 2559
(ครบวาระ)
อยู่ในตำแหน่งตาม คสช.
(ปัจจุบัน)
5 ปี 274 วัน █████████
กลุ่มปทุมรักไทย
8
(2)
นายอนุกูล สุริยสวัสดิ์ นายจำเนียร ประยงค์
นายหยวก ประยงค์
นางสาวชื่นกมล วงค์กวน
(เลขานายก อบต.)
6 มกราคม พ.ศ. 2559
(อยู่ในตำแหน่งตามคำสั่งคณะนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ)
ปัจจุบัน
(ไม่ใช่ตำแหน่งรักษาการ)
1 มีนาคม 2551 12 ปี 105 วัน █████████
กลุ่มปทุมรักไทย

[1]

รายนามประธานสภา อบต.

ประธานสภาก่อนหน้าไม่ทราบรายนามตั้งแต่ปี2537 เป็นต้นมา

รายนามประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง
ตำแหน่งประธานสภา
ลำดับ คนที่ สมัยที่ รายนาม ตำแหน่ง ระยะเวลา หมายเหตุ
1 (1)-(2) นายหยวก ประยงค์
นายประวิท พิมพา
นายอำไพ คงมี
ประธานสภา
รองประธานสภา
เลขานุการสภา
19 กันยายนพ.ศ. 2544-17 กรกฎาคมพ.ศ. 2546
(ครบวาระ)
นายหยวก ประยงค์
ปัจจุบันรองนายกอบต.อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่6
2 (3)-(4) นายฐานะ แต่งตั้ง
นายประสิทธิ์ สร้อยระย้า
นายสุชาติ แต่งตั้ง
ประธานสภา
รองประธานสภา
รองประธานสภา
พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2549
(ครบวาระ)
3 (1)-(4) นายประพันธ์ กระจ่างแสง ประธานสภา ไม่ทราบปี
(ครบวาระ)
4 (1)-(4) นายสมบัติ วงค์กวน ประธานสภา ไม่ทราบปี
(ครบวาระ)
อดีตนายกอบต.หนองสามวัง
ปัจจุบัน สจ. จังหวัดปทุมธานี เขต2
5 (1)(4) นายสุเทพ เนื่องวงษ์
นายสุรศักดิ์ สังกรแก้ว
นายปิยะ สุวรรณกิจ
ประธานสภา
รองประธานสภา
เลขานุการสภา
13 มกราคม พ.ศ. 2553
(ครบวาระ)
6 (2) นายสุเทพ เนื่องวงษ์
นายสุรศักดิ์ สังกรแก้ว
นางอนัญญา ลพหงษ์
ประธานสภา
รองประธานสภา
เลขานุการสภา
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
(ครบวาระ)
-
นายกเทศมนตรีตำบลหนองเสือ
-
7 1
(เริ่มพ.ศ. 2555)
(2) นายสุเทพ เนื่องวงษ์
รองประธานสภาไม่ทราบ
ประธานสภา พ.ศ. 2555
(ครบวาระ)
สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 1
8 2 (1)2556 นายกำพล วงษ์กวน
นายมิภล เพิ่มสุข
นายประสงค์ โพธิ์พันธ์
ประธานสภา
รองประธานสภา
เลขานุการสภา
(พ.ศ. 2556-18 มีนาคม พ.ศ. 2557) สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 11
สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 1
สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 10
9 3 (2)2557 นายเฮด ล้ำประเสริฐ
นางสุดใจ เม่งภักดี
นายสุรัญ อ่อนหวาน
ประธานสภา
รองประธานสภา
เลขานุการสภา
(17 มีนาคม พ.ศ. 2557-18 มีนาคม พ.ศ. 2558) สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 10
สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 2
ปลัด อบต.หนองสามวัง
10 5 (2) นายสุเทพ เนื่องวงษ์
รองประธานสภาไม่ทราบ
ประธานสภา 18 มีนาคม พ.ศ. 2558 - 1 ตุลาคม พ.ศ 2560 สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 1
11 6 (1)2560 นายสมชา เอี่ยมปาน

นายพิชัย  คงมี

ประธานสภา
รองประธานสภา
1 ตุลาคม พ.ศ 2560 - ปัจจุบัน

[2] [3]

ปลัด อบต.

ปลัดก่อนหน้าไม่ทราบรายนามตั้งแต่ปี2537 เป็นต้นมา

  • ███ สีฟ้า รักษาการแทนนายก อบต.
  • ███ สีชมพู รักษาการแทนปลัด อบต.
รายนามปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง
ตำแหน่งปลัด
ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง ระยะเวลา หมายเหตุ
1 นายทวีวิทย์ พันธชาติ ปลัด อบต.หนองสามวัง
พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2549
- นายกรณฑ์ วัฒนารักษ์ รองปลัด อบต.หนองสามวัง
███
สมัยสามัญ สมัยที่ 4 ปี2552
สมัยสามัญ สมัยที่ 1 ปี2553
สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1 ปี 52 ครั้งที่ 1/2552
สามัญ สมัยที่ 3 ปี52 ครั้งที่ 1/2552
สมัยสามัญ สมัยที่ 2 ประจำปี 2552 ครั้งที่ 1/2552
สมัยสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2552
- ส.ต.ต.บุญส่ง ทศพร รองปลัด อบต.หนองสามวัง
███
สมัยสามัญ สมัยที่ 2 ปี2553
2 นางอนัญญา ลพหงษ์ ปลัด อบต.หนองสามวัง
███
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2556
(ย้ายออก)
ย้ายมากจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ซึ่งโอน
นายอนุกูล สุริยสวัสดิ์ เข้ารับตำแหน่งนายกอบต.หนองสามวัง
(ผู้บริหารชุดใหม่)
3 นายสุรัญ อ่อนหวาน ปลัด อบต.หนองสามวัง
พ.ศ. 2556-30 มกราคม พ.ศ. 2561 ย้ายมากจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่และย้ายไปดำรงตำแหน่งที่เดิม
- นายสมเกียรติ พบลาภ รองปลัด อบต.หนองสามวัง
30 มกราคม พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน
(รักษาการ)

ตราสัญลักษณ์

รวงข้าว หมายถึง การทำนา ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองสามวัง

ผลส้ม หมายสึง การทำสวนส้มอาชีพดั้งเดิมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองสามวัง

ลักษณะที่ตั้ง

ที่ตั้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2538 (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนพิเศษ 6ง วันที่ 3 มีนาคม 2538) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ มีจำนวนหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด 64.9 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 40,312 ไร่

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ห่างจากที่ทำการ อำเภอหนองเสือ ประมาณ 7.5 กิโลเมตร และจังหวัดปทุมธานี 55 กิโลเมตร ระยะทางจากเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ประมาณ 30 กิโลเมตร

ภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง เป็นที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และมีคลองส่งน้ำชลประทานในพื้นที่หลายสายและมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้[4]

ทิศ ติดต่อกับ อำเภอ
ทิศเหนือ ตำบลศาลาครุ ตำบลนพรัตน์ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
ทิศใต้ ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันออก ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
ทิศตะวันตก ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

จำนวนหมู่บ้านมี

เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง มีเขตการปกครองทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ ชื่อกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อหมู่บ้าน ชาย(คน) หญิง(คน) จำนวน(หลังคาเรือน)
หมู่ที่ 1 นายอำนวย งามยิ่ง บ้านหนองดอกปทุม 275 286 172
หมู่ที่ 2 นายอานนท์ ขวัญเมฆ บ้านหนองดอกยายอ่อน 223 235 114
หมู่ที่ 3 นายณรงค์ อ่วมกลิ่น บ้านหนองบอน 321 329 240
หมู่ที่ 4 นายสมาน ประยงค์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านปฏิบัติหน้าที่แทน บ้านหนองงูเหลือม 233 233 139
หมู่ที่ 5 นายสมใจ พิมพา บ้านหนองสามวัง 584 543 268
หมู่ที่ 6 นายเอกชัย บุญเกลี้ยง บ้านหนองสามง่าม 478 527 252
หมู่ที่ 7 นายเหน่ง บ้านหนองบัวหลวง 368 353 160
หมู่ที่ 8 นายภณศักดิ์ วงษ์นวม บ้านหนองสำนัก 459 526 229
หมู่ที่ 9 กำนันดาริส พูลเต่า บ้านหนองทะเล 495 456 209
หมู่ที่ 10 นายดารุด พูลเต่า บ้านหนองบึงใหญ่ 594 581 282
หมู่ที่ 11 นางวันดี สุวงษ์ทอง บ้านหนองนาสนาน 363 376 173
หมู่ที่ 12 นางภัสราภรณ์ ทองบุญดำรง บ้านหนองนาสงวน 330 362 183
หมู่ที่ 13 นายนัฐพงษ์ ผิวอ่อน บ้านหนองดอกโสน 250 226 123
หมู่ที่ อดีตชื่อกำนัน/อดีตผู้ใหญ่บ้าน ชื่อหมู่บ้าน หมายเหตุ
หมู่ที่ 2 นายมนตรี โฉมทรัพย์ บ้านหนองดอกยายอ่อน อดีตผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 5 นายไล้ อาสนะ บ้านหนองสามวัง อดีตผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 4 นายจำเนียร ประยงค์
นายพยูร ประยูร
บ้านหนองงูเหลือม อดีตผู้ใหญ่บ้าน,ปัจจุบันรองนายก อบต.หนองสามวัง
อดีตผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 6 นายหยวก ประยงค์
นายฉลอง บุญเกลี้ยง
บ้านหนองสามง่าม อดีตผู้ใหญ่บ้าน,อดีตประธานสภา,ปัจจุบันรองนายก อบต.หนองสามวัง
อดีตผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 7 นายเหน่ง
นายวิสูตร เอี่ยมปาน
นายฉอ้อน สะใบบาง
บ้านหนองบัวหลวง อดีตผู้ใหญ่บ้านได้รับเลือกมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง
อดีตผู้ใหญ่บ้าน
อดีตผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 8 นายณรงค์ คงมี บ้านหนองสำนัก อดีตผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 13 นายประกิจ แปรงศรี บ้านหนองดอกโสน อดีตผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 11 นายประเสริฐ ปาลิกพัฒน์ บ้านหนองนาสนาน อดีตกำนัน,อดีตผู้ใหญ่บ้าน

ทั้ง 13 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวังทั้งหมด และไม่มีท้องถิ่นอื่นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง แบ่งออกเป็นสามฤดู คือ

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน รวม 4 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 36 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม รวม 4 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 34 องศาเซลเซียส
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือน กุมภาพันธ์ รวม 4 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 36 องศาเซลเซียส

ลักษณะของดิน

พื้นที่บริเวณหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จะเป็นดินเปรี้ยวปนทราย ดินที่มีกรดกำมะถัน (acid sulphate soils) เป็นดินที่มีค่าความเป็นกรด (pH) ต่ำกว่า 4.0 และมีทรายปนทำให้ดินอุ้มน้ำต่ำ แต่ก็ยังสามารถปลูก ผัก ผลไม้ พืชสวนไร่ โดยมีหมอดินเป็นผู้เข้ามาดูแลให้ความรู้เรื่องการปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช ผัก ผลไม้

ลักษณะของแหล่งน้ำ

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง อยู่ในเขตชลประทานมีประตูน้ำระบาย ที่เรียกว่าประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี ส่วนน้ำใต้ดินมีปริมาณน้ำน้อย ส่วนใหญ่แหล่งน้ำในอำเภอหนองเสือ จะเป็นน้ำกร่อย มีตะกอนสนิมเจือปน

การคมนาคม / ขนส่ง / จราจร

ตำบลหนองสามวังอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร (เขตดอนเมือง) ไปทางตะวันออกประมาณ 55 กิโลเมตร การเดินทางในปัจจุบันสะดวก มากทางรถยนต์เส้นทางถนนหลักสาย รังสิต - นครนายก (ทางหลวงหมายเลข 305) และมีถนนสายคลองหลวง - หนองเสือ นอกจากนี้ยังมีถนนเพื่อใช้ในการสัญจรภายในหมู่บ้านชุมชน ซึ่งมีทั้งถนนคอนกรีต ลาดยาง และลูกรัง จำนวน 20 สายซอย

การไฟฟ้า

การให้บริการไฟฟ้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง มีจำนวนประชากร 3,181 ครัวเรือน (ข้อมูลเดือน กันยายน 2559) ครัวเรือน ส่วนใหญ่ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอธัญบุรี และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคองค์รักษ์ จังหวัดนครนายกเพียงเล็กน้อยและปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ได้ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะครบทุกหมู่บ้านทุกซอย

การประปา

ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองสามวัง ได้รับบริการใช้น้ำประปาบาดาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ได้ดำเนินการให้บริการประชาชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ได้ดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อขยายการให้บริการประชาชนในพื้นที่แล้ว จำนวน 24 แห่ง คือ 1. หมู่ที่ 1 บ้านหนองดอกปทุม จำนวน 2 แห่ง

2. หมู่ที่ 2 บ้านหนองดอกยายอ่อน จำนวน 2 แห่ง

3. หมู่ที่ 3 บ้านหนองบอน จำนวน 2 แห่ง

4. หมู่ที่ 4 บ้านหนองงูเหลือม จำนวน 2 แห่ง

5. หมู่ที่ 5 บ้านหนองสามวัง จำนวน 2 แห่ง

6. หมู่ที่ 6 บ้านหนองสามง่าม จำนวน 3 แห่ง

7. หมู่ที่ 7 บ้านหนองบัวหลวง จำนวน 2 แห่ง

8. หมู่ที่ 8 บ้านหนองสำนัก จำนวน 1 แห่ง

9. หมู่ที่ 9 บ้านหนองทะเล จำนวน 3 แห่ง

10. หมู่ที่ 10 บ้านหนองบึงใหญ่ จำนวน 2 แห่ง

11. หมู่ที่ 11 บ้านหนองนาสนาน จำนวน 2 แห่ง

12. หมู่ที่ 12 บ้านหนองนาสงวน จำนวน 2 แห่ง

13. หมู่ที่ 13 บ้านหนองดอกโสน จำนวน 1 แห่ง

ซึ่งขณะนี้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ยังไม่สามารถให้บริการและจ่ายน้ำได้ครอบคลุมทั่วถึงทั้งหมดแต่ยังคงทำการปรับปรุงและขยายการให้บริการแก่ประชาชนต่อไป

การสื่อสารโทรคมนาคม

  • ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขในพื้นที่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวังดำเนินการติดตั้งหอกระจายข่าวไร้สายทางไกล จำนวน 13 หมู่บ้าน ครบถ้วน
  • โทรศัพท์พื้นฐานประมาณร้อยละ 30 ของครัวเรือนภายในตำบล
  • โทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้านยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน[5]

ลักษณะทางสังคม

ประชากรทั้งสิ้น จำนวน 10,006 คน แยกเป็นชาย 4,973 คน หญิง 5,033 คน จำนวน 2,544 ครัวเรือน (ข้อมูลเมื่อเดือนกันยายน 2551 งานทะเบียนอำเภอหนองเสือ) ความหนาแน่นเฉลี่ย 187 คน / ตารางกิโลเมตร

ด้านสาธารณสุข

สถานบริการและบุคลากรด้านสาธารณสุข ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง มีดังนี้

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสามวัง จำนวน 2 แห่ง
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสามวัง หมู่ที่ 7 คลอง 12
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสามวัง หมู่ที่ 4 คลอง 13
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน จำนวน 8 คน

ด้านยาเสพติด

รายงานผู้บำบัดยาเสพติด ปี 2558 โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กิจกรรมส่งเสริม การบำบัด ฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติด ระหว่างวันที่ 16-23 กันยายน 2558 จำนวน 17 คน

ด้านสังคมสงเคราะห์

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ได้ส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และครอบครัวผู้เดือดร้อนที่ประสบสาธารณภัยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ตามความเหมาะสม และสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สนับสนุนครุภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ และอื่น ๆ ตามแผนงาน/โครงการ หรือกิจกรรมที่ประชาชนร้องขอเพื่อพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

ลักษณะทางเศรษฐกิจ

การเกษตรกรรม

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเกือบเต็มพื้นที่ ประมาณ 40,312 ไร่ ผลผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญและที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้แก่ การปลูกข้าว การทำสวนไร่นาผสมผสานและการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังมีประชาชนบางส่วน ประกอบอาชีพรับจ้างบริษัทเอกชน โรงงาน ในและนอกพื้นที่หรือประกอบการค้าขายเพียงเล็กน้อย ซึ่งคำนวณรายได้ของประชากรต่อคน / ปี ประชากรจะมีรายได้เฉลี่ย 25,000 บาท / คน / ปี ( จากข้อมูล จปฐ. ประจำปี 2547 )

การอุตสาหกรรมและการลงทุน

อุตสาหกรรม การประกอบการอุตสาหกรรมในท้องถิ่นส่วนใหญ่ราษฎรในท้องถิ่นไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเองแต่เป็นผู้ประกอบการจากภายนอกที่เข้ามาลงทุนประกอบอุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดย่อย จำนวน ผู้ใช้แรงงานประมาณ 500 - 800 คน - โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 20 แห่ง ประกอบด้วย

1. บริษัท บางกอกยิบซั่มปลาสเตอร์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 9

2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.พี. ลอนดรี้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 12

3. บริษัท เอส เอ อาร์ คอนกรีต จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 11

4. บริษัท เอ็กซ์เพรส ฟู้ด จำกัด โฉนดเลขที่ 1170

5. บริษัท โพรมิเน้นท์ ฟลูอิด คอนโทรลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 12

6. บริษัท โพส แอนด์ พรีคาส จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 5

7. บริษัท แกรนด์เฟรม ดิเวลล็อพเมนท์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 9

8. บริษัท เสถียรพลาสติค แอนด์ ไฟเบอร์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 7

9. บริษัท เอกอภิวัฏฏ์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 5

10. นายเกรียงไกร ศุภนันตฤกษ์ ทำกระเป๋าจากหนังสัตว์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8

11. บริษัท ไทยเลมอน ฟู้ดส์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 1

12. บริษัท ฤทธา จำกัด ทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ตั้งอยู่หมู่ที่ 8

13. บริษัท รังสิต-คลอง 12 อุตสาหกรรมไม้ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 8

14. บริษัท เอพิส จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 9

15. นายพรชัย ธโนปจัยสิทธิ ประกอบถังกรองน้ำ ตั้งอยู่หมู่ที่ 12

16. บริษัท เอส.เอ็ม.โอเชี่ยนกรุ๊ป จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 10

17. บริษัท ริเวอร์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 8

18. บริษัท พูนธนาทรัพย์ เฟอร์นิเจอร์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 2

19. นายมงคล วัฒนาแก้วศรีเพ็ชร วงกบ ประตู หน้าต่าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8

20. บริษัท ตั้งหลัก จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 2

การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีการประกอบธุรกิจหลายประเภท ได้แก่

  • ร้านขายของเบ็ดเตล็ด จำนวน 106 แห่ง
  • ร้านอาหาร จำนวน 11 แห่ง
  • ปั้มน้ำมัน จำนวน 26 แห่ง
  • สนามกอล์ฟ จำนวน 1 แห่ง
  • หมู่บ้านจัดสรร จำนวน 4 แห่ง
  • ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น หมู่ที่ 5 จำนวน 1 แห่ง

ลักษณะทางการศึกษา

มหาวิทยาลัย

1. มหาวิทยาลัยมหิดลสอง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล(เปิดคณะเดียว) ปัจจุบันเป็น โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี [6]

การศึกษา

ประชาชนส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ มีสถานศึกษาภายในตำบล ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 6 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง ได้แก่

1. โรงเรียนวัดธรรมราษฎร์เจริญผล หมู่ที่ 6

2. โรงเรียนวัดโปรยฝน หมู่ที่ 11

3. โรงเรียนคลองสิบสาม (ผิวศรีราษฎร์บำรุง)หมู่ที่ 4

4. โรงเรียนนิกรราษฎร์บูรณะ ( เหราบัตย์อุทิศ )หมู่ที่ 2

5. โรงเรียนชุมชนประชานิกรอำนวยเวทย์หมู่ที่ 8

6 โรงเรียนราษฎร์สงเคราะห์วิทยาหมู่ที่ 9

7. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองสามวัง หมู่ที่ 4

8. โรงเรียนพุทธารักษ์ ( เอกชน )

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหาส่วนตำบลหนองสามวัง

ศาสนา

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและอิสลามตามลำดับ มีสถานประกอบพิธี ทางศาสนา จำนวน 6 แห่ง ดังนี้

1. วัดธรรมราษฎร์เจริญผล

2. วัดสุนทริการาม

3. วัดโปรยฝน

4. มัสยิดอีกอมาตุ้ลอิสลาม

5. มัสยิดญันนาตุ้ลมู่ฮายีรีน

6. มัสยิดอัซซอลีฮีน

ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม

สถานที่จัดงานประเพณีสรงน้ำพระที่วัดทุกวัดภายในตำบลหนองสามวัง รดน้ำขอพรผู้สูงอายุจัดที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวังมีการละเล่นต่างๆ ของรางวัล อาหารเครื่องดื่มฟรี

  • การตักบาตรพระร้อย เป็นประเพณีของชาวพุทธที่ทำกันในเทศกาลออกพรรษา โดยการนำอาหารคาวหวานไปตักบาตร
  • การแข่งขันรถการเกษตร

[7]

การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

องค์การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ได้ทำการจัดงานการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แห่งประเทศไทย เป็นครั้งแรก ภายใต้การบริหารโดย นายอนุกูล สุริยสวัสดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง

การจัดงานการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการจัดตรงกับงานวัดธรรมราษฎร์เจริญผล เป็นครั้งแรก

ฤดูกาล

การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่1 (วันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558)

ตางรางการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ตามฤดูกาล
ปีการแข่งขัน ฤดูการ ประเภท ก. ชิงถ้วยพระราชทานฯ ประเภท ข. ประเภท ค
วันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ครั้งที่1 ทีมเรือพรพระแก้ว วัดพระนอนจักรสีห์ฯ จังหวัดสิงห์บุรี ชนะเลิศ
เจ้าแม่ทองคำ จังหวัดนครนายกรองชนะเลิศที่1
พรพระพิฆเนศ จังหวัดฉะเชิงเทรารองชนะเลิศที่2
สาวเมืองเพชร-กระทิงแดง จังหวัดเพชรบุรีรองชนะเลิศที่4
เยาวชนพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
สาวเมืองนนท์ จังหวัดนนทบุรี
สักสกุลชัย จังหวัดราชบุรี
พญาเตชิต จังหวัดกาญจนบุรี
เทพภควิช์ จังหวัดขอนแก่น
สิงห์เวียงสา จังหวัดน่าน
ศรพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
จ้าวนาง จังหวัดปราจีนบุรี

สถานที่จัดงาน

คลอง13 หน้าวัดธรรมราษฎร์เจริญผล,สวนเฉลิมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสวนเฉลิมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

การแข่งขันรถการเกษตร

การแข่งขันรถการเกษตรการแข่งขันรถการเกษตรจัดขึ้นโดยการ นายอนุกูล สุริยสวัสดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ซึ่งตรงกับวันที่รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ซึ่งจัดการแข่งกันในปีแรก และมีการประสันเครื่องเสียงรถยนต์ในตอนกลางคืนอีกด้วยชื่องาน CARAUDIO SHOW

ตางรางการแข่งขันรถการเกษตร
ตามฤดูกาล
ปีการแข่งขัน ฤดูการ ประเภทรถเพลาท้ายรวมเครื่อง ประเภทรถเพลาท้ายเครื่องสแตนดาร์ด ประเภทเครื่องยนต์ไม่เกิน120ซีซี ประเภทเครื่องยนต์ไม่เกิน140ซีซี ประเภทเครื่องยนต์ไม่เกิน160ซีซี ประเภทรถเต๋า
10 - 11 เมษายน พ.ศ. 2557 การแข่งขันรถการเกษตรสัมพันธ์ ครั้งที่ 1 ที่มหมู่3 (ชนะเลิศอันดับ1)
ทีม อบต.ประสม (รองชนะเลิศอันดับ1)
ทีม อบต.ประสม (รองชนะเลิศอันดับ1) ทีมงานเจ้าพ่อสิงห์ (ชนะเลิศอันดับ1)
ทีมไม่แพ้แต่ก็เหมือน(หมู่8)(รองชนะเลิศอันดับ1)
ทีมไม่แพ้แต่ก็เหมือน(หมู่8)(รองชนะเลิศอันดับ2)
ทีม อบต.ประสม (ชนะเลิศอันดับ1)
ทีมไม่แพ้แต่ก็เหมือน(หมู่8) (รองชนะเลิศอันดับ1)
ทีมไม่แพ้แต่ก็เหมือน(หมู่8) (รองชนะเลิศอันดับ2)
ทีม อบต.ประสม (ชนะเลิศอันดับ1)
ทีมลูกนายกโบ้ (รองชนะเลิศอันดับ1)
ทีม อบต.ประสม (รองชนะเลิศอันดับ2)
ทีมหมู่10 (ชนะเลิศอันดับ1)
ทีมหมู่13 (รองชนะเลิศอันดับ1)
ทีมหมู่8 (รองชนะเลิศอันดับ2)
รถเกียร์ชาวบ้านคานใหญ่รวมเครื่อง รถเกียร์ชาวบ้านคานเล็กรวมเครื่อง รถเกียร์โอเพ่นรวมเครื่อง รถจิ้งเหลนแตะเดี่ยวโอเพ่น รถเพลาท้ายรวมเครื่อง -
8-10 เมษายน พ.ศ. 2558 การแข่งขันรถการเกษตรสัมพันธ์ ครั้งที่2
8-10 เมษายน พ.ศ. 2559 การแข่งขันรถการเกษตรสัมพันธ์ ครั้งที่ 3
12 มีนาคม พ.ศ. 2560 การแข่งขันรถการเกษตรสัมพันธ์ ครั้งที่ 4

[8]

หมายเหตุ

ประเภทรถเต๋า การแข่งขันโดยการไม่เข้าเกียร์ปล่อยให้รถขับไปเรื่อยๆ คันไหนเข้าเส้นชัยช้ากว่าเป็นผู้ชนะ รถเพลาท้ายรวมเครื่องและหมายเหตุรถเกียร์ชาวบ้านล้อหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 13 นิ้ว และล้อหลังไม่ต่ำกว่า 14 นิ้ว และเป็นรถที่ใช้งานได้

สถานที่จัดงาน

ทุ่งนาติดถนนรังสิต-หนองเสือ คลอง13 ตรงข้ามกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง (การแข่งขันรถการเกษตร ครั้งที่ 1- ครั้งที่2) ทุ่งนาติดถนนเลียบคลอง12 ข้างโรงงานรักษ์น้ำมะนาว (การแข่งขันรถการเกษตร ครั้งที่ 3- ปัจจุบัน)

แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้

ถนนดอกคูน

  • ‪ที่ตั้ง‬ : ระหว่างคลอง13 และคลอง12 ถนนเส้นทางหนองเสือ-บางขัน ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังปทุมธานี
  • ‎ประวัติ‬ : ถนนบริเวณดังกล่าวข้างทางปลูกด้วยต้นคูนบริเวณสองฝั่งไหล่ถนน เมื่อถึงช่วงหรือฤดูออกดอกสองฝั่งถนนก็จะเหลืองอร่ามไปด้วยดอกของต้นคูน
  • ‎ท่องเที่ยว‬ : ถนนดอกคูน เหมาะสำหรับการขับรถ ปั่นจักยานเพื่อชมวิวของดอกคูน และการถ่ายภาพกับดอกคูนที่สวยตลอดข้างทาง
  • ‎สงกรานต์‬ : ถนนดอกคูนได้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 19 เมษายน 2559 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง เป็นปีแรก มีอุโมงน้ำบริเวณหน้า อบต.

ตลาดน้ำบัวหลวง

เพจแหล่งท่องเที่ยว ที่นี่ ณ ตำบลหนองสามวัง

ศูนย์เรียนรู้บัวหลวง

โดยการสืบสานปณิธานพ่อหลวงสร้างศูนย์เรียนรู้บัวหลวงตามรอยพ่อหลวงอยู่อย่างพอเพียงแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงและเขตปริมณฑลได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมและทัศนศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพของแต่ละพื้นที่ในแต่ละครัวเรือน ศูนย์เรียนรู้บัวหลวงตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ก่อสร้างมาได้ประมาณปีเศษโดยภายในศูนย์นั้นปลูกไม้ยืนต้นและพืชล้มรุกหลากหลายพันธุ์ชนิดซึ่งตอนนี้เราก็พร้อมแล้วที่จะรับนักท่องเที่ยวซึ่งเรามีผลไม้อยู่อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นส้มเขียวหวาน ขนุน ข้าวโพด ดอกมะลิ ฝรั่งไร้เมล็ด ผักบุ้ง ผักกระเฉด ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว พริก และพืชผักสวนครัวอีกมากมาย

ด้านบริการและให้ความรู้

เมื่อนักท่องเที่ยวได้เข้ามาเที่ยวชมเราจะจัดบุคลากรบรรยายให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวสามารถนำความรู้เหล่านี้กลับไปเพาะปลูกผักสวนครัวในบ้านที่มีพื้นที่น้อยซึ่งสามารถประหยัดรายได้ให้อีกทางหนึ่งซึ่งนอกจากจะมาเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติแล้วยังสามารถทำให้นักท่องเที่ยวนั้นได้มีทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพเพิ่มรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวตามแนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนนายอนุกูล ฯ ยังกล่าวเสริมต่ออีกว่าโครงการดังกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีโดยนายชาญ พวงเพ็ชร์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีมอบนโยบายให้นายสาคร อำภิน รองนายกจัดสรรงบประมาณจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ดังกล่าวเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพต่างๆเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวตามแนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนทั้ง 7 อำเภอได้แก่อำเภอเมือง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา อำเภอหนองเสือโดยได้นำชาวบ้านทั้ง 7 อำเภอไปศึกษาดูงานตามแนวพระเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและการจัดโครงการดังกล่าวนี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนพึ่งพาตนเองได้บนวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมทั้งช่วยลดปัญหาการว่างงานของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี โดยการเชิญชวนประชาชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในหมู่ที่ 7ต.หนองสามวัง อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานีเพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานีตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงรวมทั้งมุ่งส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนและได้เรียนรู้วิถีชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนและการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรในจังหวัดปทุมธานีในการศึกษาดูงานพร้อมทั้งท่องเที่ยวทัศนศึกษาในครั้งนี้เพื่อนำกลับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งนำความรู้ต่างๆจากการศึกษาดูงานแล้วพร้อมทั้งเที่ยวชมนำกลับไปทำในด้านเกษตรปลูกใช้ในครัวเรือนได้อีกต่อไปสำหรับโครงการท่องเที่ยวดังกล่าวนี้เป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้พ่อ แม่ พี่น้อง ที่เข้ามาเที่ยวชมศูนย์เรียนรู้ทุ่งบัวหลวงตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำกลับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ในการทำเกษตรแบบพอเพียงและสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี

ผลิตภัณฑ์หมู่บ้าน

ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น ม.5[9] [10]

ข้อมูลส่วนประชาชน

สำนักงานปลัด

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลและราชการที่มิได้กำหนดให้เป็น หน้าที่ของส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะ งานธุรการ งานสารบรรณการจัดทำทะเบียนสมาชิก สภาองค์การบริหาร ส่วนตำบลคณะกรรมการบริหารฯ งานพิมพ์ดีด งานอินเทอร์เน็ตตำบล งานการเจ้าหน้าที่งานการประชุม งานการข้อบังคับตำบล งานนิติการ งานรัฐพิธี งานประชาสัมพันธ์งานจัดทำแผนพัฒนาตำบลงานการจัดทำข้อบังคับงบประมาณ ประจำปีงานขออนุมัติ ดำเนินการตามข้อบังคับงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม งานนิเทศการศึกษา งานจัดการศึกษา งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผล งานบริการและบำรุงสถานศึกษา งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่งเสริมกิจการศาสนาประเพณี ศิลปวัฒนธรรม งานกิจการเด็กและเยาวชน งานกีฬาและสันทนาการ งานสวัสดิการสังคม งานพัฒนาชุมชน งานจัดระเบียบ ชุมชน งานสังคมสงเคราะห์ งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน งานพัฒนาสตรีและเยาวชน งานสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและสตรี งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของ ส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการราชการ ของ องค์การบริหารส่วนตำบล แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 6 งาน คือ

งานบริหารทั่วไป

มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ งานธุรการ สารบรรณ การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการบริหารฯ งานทะเบียนยานพาหนะ งานพิมพ์ดีด งานการ เจ้าหน้าที่ งานการประชุม งานรัฐพิธี งานกิจการสภา อบต. งานเลือกตั้ง งานตรวจสอบภายใน งานควบคุมและ ส่งเสริมการท่องเที่ยว งานรักษาความปลอดภัยและความสะอาดสำนักงาน และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

งานนโยบายและแผน

มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานวิชาการ งานนโยบายของ องค์การบริหารส่วนตำบล งานจัดทำแผนพัฒนา ตำบล 3 ปี และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล 5 ปี งานการข้อบังคับตำบลด้านงบประมาณ งานสารสนเทศระบบ คอมพิวเตอร์ และ งานอินเทอร์เน็ตตำบล งานรวบรวมข้อมูลและสถิติทางเทคนิคและวิชาการทุกประเภท งานประชาสัมพันธ์

งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน

มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานสวัสดิการสังคม งานพัฒนาชุมชน งานจัดระเบียบชุมชน งานสังคมสงเคราะห์ งานพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน งานพัฒนาสตรีและเยาวชน งานสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและสตรี

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสาธารณสุขชุมชน งานส่งเสริมสุขภาพอนามัย งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ การควบคุมแมลงและพาหะนำโรค งานรักษาความสะอาดเก็บ รวบรวมและขนถ่ายขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

งานกฎหมายและคดี

มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานกฎหมายและนิติกรรม งานการดำเนินการทางคดีขององค์การบริหารส่วนตำบล งานศาลปกครอง งานร้องเรียน ร้องทุกข์และอุทธรณ์ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานช่วยเหลือฟื้นฟู งานกู้ภัย

ส่วนการคลัง

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การเงิน การเบิกจ่ายการฝากเงินการเก็บรักษาเงินการตรวจเงินการหักภาษี เงินได้และนำส่งภาษี การตัดโอนเงินเดือนรวบรวมสถิติเงิน ได้ประเภทต่าง ๆ การรายงานเงินคงเหลือประจำวัน งานขอ อนุมัติเบิกเงินตัดปีและขอขยายเวลาเบิกจ่าย งาน จัดทำงบและแสดงฐานะทางการเงิน งบทรัพย์สิน หนี้สิน งบโครงการเงิน สะสมงานจัดทำบัญชีทุกประเภทงานทะเบียนคุมเงินรายได้-รายจ่าย งานจัดเก็บรายได้และพัฒนารายได้ การจัดหาผล ประโยชน์ จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน งานจัดทำ/ตรวจสอบบัญชีและการรับเงินในกิจการประปา งานจัดเก็บขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล รวมถึงงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมายโดยแบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 4 งาน คือ

งานการเงิน

มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การเงิน การเบิกจ่าย การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน การตรวจเงิน งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน การหักภาษีเงินได้และนำส่งภาษี การตัดโอนเงินเดือน งานเก็บรักษาเงิน งานขออนุมัติเบิกเงินตัดปี และขอขยายเวลาเบิกจ่าย รายงานเงิน คงเหลือประจำวัน

งานบัญชี

มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานจัดทำบัญชีทุกประเภท งานทะเบียนคุมเงินรายได้-รายจ่าย รวบรวมสถิติเงินได้ ประเภทต่าง ๆ งานจัดทำงบและแสดงฐานะการเงิน งบทรัพย์สิน หนี้สิน งบโครงการเงินสะสม

งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานจัดเก็บรายได้และพัฒนารายได้ งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมการจัดหา ผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน งานจัดทำ/ตรวจสอบบัญชี และการรับเงินในกิจการประปา และงานจัดเก็บขยะมูล ฝอยและสิ่งปฏิกูล งานควบคุม กิจการค้าและค่าปรับ งานทะเบียนควบคุมและเร่งรัดรายได้

งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี งานพัสดุ งานขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง งานทะเบียนเบิกจ่าย วัสดุครุภัณฑ์และยานพาหนะ

ส่วนโยธา

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานสำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ถนน อาคาร สะพาน แหล่งน้ำ ฯลฯ งานการประมาณการค่าใช้จ่ายตามโครงการ งานควบคุมอาคาร งานก่อสร้าง งานผังเมือง งานซ่อมบำรุงทาง อาคาร สะพาน แหล่งน้ำ งานควบคุมการก่อสร้าง งานซ่อมบำรุงในกิจการประปา จัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. รวมถึงงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 3 งาน คือ

งานก่อสร้าง

มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานก่อสร้างและบูรณะถนน งานก่อสร้างและบูรณะสภาพและ โครงการพิเศษ งานระบบข้อมูลและแผนที่เส้นทางคมนาคม งานบำรุงรักษาเครื่องจักรและยานพาหนะ

งานออกแบบควบคุมอาคารและผังเมือง

มีหน้าที่และความรับผิดชอบ งานสถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์ งานวิศวกรรม งานการประมาณการค่าใช้จ่าย โครงการ งานควบคุมการก่อสร้างอาคารงานบริการข้อมูลและหลักเกณฑ์ งานสำรวจและแผนที่ งานวางผังพัฒนาเมือง งานควบคุมทางผังเมือง งานจัดรูปที่ดินและฟื้นฟูเมือง

งานประสานสาธารณูปโภค

มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานประสานสาธารณูปโภคและกิจการประปา งานขนส่งและวิศวกรรมจราจร งานระบายน้ำ งานจัดตำแต่งสถานที่

ส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

มีหน้าที่รับผิดชอบ งานบริหารวิชาการศึกษา งานเทคโนโลยีทางการศึกษา งานจัดการศึกษา งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผล งานบริการและบำรุงสถานศึกษา งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานกิจการเด็กและเยาวชน งานกีฬาและสันทนาการ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของประชาชน การสนับสนุนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และทรัพย์สินต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา จัดสถานที่เพื่อการศึกษา ส่งเสริมทำนุบำรุงรักษา ไว้ซึ่งศิลปะประเพณี ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีท้องถิ่น วัฒนธรรมด้านภาษา การดำเนินชีวิตส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬา การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

งานบริหารการศึกษา

  • งานบริหารงานบุคคล
  • งานบริหารทั่วไป
  • งานบริหารการศึกษา
  • งานวางแผนและสถิติ
  • งานการเงินและบัญชี

งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

  • งานกิจการศาสนา
  • งานส่งเสริมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม
  • งานกิจการเด็กและเยาวชน
  • งานกีฬาและนันทนาการ

ส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมโรค การสุขาภิบาลอื่นๆ ตามแผนการสาธารณสุข และข้อบังคับตำบล การวางแผน การสาธารณสุข การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับ สาธารณสุข งานเฝ้าระวังโรค งานเผยแพร่ฝึกอบรม การให้สุขศึกษา การจัดทำงบประมาณตามแผนงานสาธารณสุข งานด้านสิ่งแวดล้อม การให้บริหารสาธารณสุข การควบคุม การฆ่าสัตว์ จำหน่ายเนื้อสัตว์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ


งานอนามัยและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้

  • งานสุขาภิบาลทั่วไป
  • งานสุขาภิบาลโรงงาน
  • งานสุขาภิบาลอาหารและสถานประกอบการ
  • งานอาชีวอนามัย
  • งานควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • งานส่งเสริม เผยแพร่กิจกรรมด้านการควบคุมมลพิษและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • งานควบคุมมลพิษ
  • งานศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • งานติดตามตรวจสอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
  • งานธุรการประจำส่วนสาธารณสุข
  • งานจัดทำเอกสารประกอบฎีกาประจำส่วน
  • งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

งานส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้

  • งานอนามัยชุมชน งานสาธารณสุขมูลฐาน
  • งานสุขศึกษา
  • งานควบคุมมาตรฐานอาหารน้ำ งานป้องกัน รักษา และบำบัดยาเสพติด
  • งานรักษาและพยาบาล
  • งานชันสูตรสาธารณสุข
  • งานเภสัชกรรม
  • งานทันตกรรม
  • งานสัตวแพทย์
  • งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

งานรักษาความสะอาด มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้

  • งานรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ
  • งานควบคุมสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
  • งานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
  • งานกำจัดมูลฝอยและน้ำเสีย
  • งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

งานควบคุมโรค มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้

  • งานเฝ้าระวังโรคระบาด
  • งานระบาดวิทยา
  • งานป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยคน แมลง และสัตว์
  • งานเกี่ยวกับการป้องกันรักษาโรคเอดส์
  • งานจัดทำเสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ด้านการป้องกันและระงับโรคติดต่อ
  • งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน

อ้างอิง

http://nongsamwang.go.th/index.php http://google.com