พลิมัท
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พลิมัท | |
---|---|
เรียงตามเข็มนาฬิกาบนจากบนสุด: เวสต์โฮ, หอคอยสมีตัน, มหาวิทยาลัยพลิมัท, รอยัลวิลเลียมยาร์ด, พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลแห่งชาติ, ถนนเซาท์ไซด์ในย่านบาร์บีกัน | |
สมญา: เมืองมหาสมุทรของบริเตน | |
คำขวัญ: | |
ที่ตั้งของพลิมัทในเดวอนและอังกฤษ | |
พิกัด: 50°22′17″N 4°08′32″W / 50.37139°N 4.14222°W | |
รัฐเอกราช | สหราชอาณาจักร |
ประเทศ | อังกฤษ |
ภูมิภาค | ตะวันตกเฉียงใต้ |
เทศมณฑลทางพิธีการ | เดวอน |
จัดตั้งเป็นนคร | ค.ศ. 1928 |
จัดตั้งเป็นรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียว | ค.ศ. 1998 |
การปกครอง | |
• ประเภท | สภาเมือง |
• องค์กร | สภาเมืองพลิมัท |
• หน่วยบริหาร | NOC |
• นายกเทศมนตรี | แซม ดาวี[3] |
• ศาลาว่าการ | Civic Centre Precinct |
• แขวง | 20 |
• สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | Johnny Mercer (C) Luke Pollard (L) |
พื้นที่[4] | |
• ทั้งหมด | 79.83 ตร.กม. (30.82 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 235 (of 317) |
ความสูงจุดสูงสุด | 155 เมตร (509 ฟุต) |
ความสูงจุดต่ำสุด | 0 เมตร (0 ฟุต) |
ประชากร (กลางปี 2019) | |
• ทั้งหมด | 262,100 คน |
• อันดับ | 62 (of 317) |
• ความหนาแน่น | 3,300 คน/ตร.กม. (8,500 คน/ตร.ไมล์) |
• เดมะนิม | พลิมัทเทียน (ทางการ) เจนเนอร์ (ไม่เป็นทางการ) |
เขตเวลา | UTC0 (GMT) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+1 (BST) |
รหัสไปรษณีย์ | PL1–9 |
รหัสพื้นที่ | 01752 |
เว็บไซต์ | www |
พลิมัท (อังกฤษ: Plymouth) เป็นนครและเป็นเมืองที่มีการปกครองโดยรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวที่อยู่ในมณฑลเดวอนในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ที่อยู่ใกลจากลอนดอนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 310 กิโลเมตร พลิมัธตั้งอยู่ระหว่างปากแม่น้ำพลิมทางตะวันออกและแม่น้ำเทมาร์ทางตะวันตกที่มารวมกันที่พลิมัธซาวนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 พลิมัธมีเทศบาลปกครองเป็นของตนเองที่รวมทั้งพลิมพ์ตัน และพลิมสต็อคที่อยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำพลิม
ประวัติของพลิมัธย้อนไปถึงยุคสัมริดเมื่อมีผู้มาตั้งถิ่นฐานที่เมาท์แบตเต็น บริเวณที่ตั้งถิ่นฐานเจริญขึ้นมาเป็นเมืองค้าขายกับจักรวรรดิโรมันจนมาแทนที่ด้วยหมู่บ้านซัตตันที่เป็นเมืองพลิมัทปัจจุบันที่มีฐานะดีกว่า ในปี ค.ศ. 1620 “Pilgrim Fathers” หรือกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานจากพลิมัธเดินทางไปอเมริกาและไปก่อตั้งอาณานิคมพลิมัท (Plymouth Colony) ในรัฐแมสซาชูเซตส์ปัจจุบัน—ซึ่งเป็นอาณาบริเวณการตั้งถิ่นฐานในอเมริกาที่แห่งที่สองของชาวอังกฤษที่ต่อมาก่อตั้งขึ้นเป็นสหรัฐระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษพลิมัธถูกยึดโดยฝ่ายรัฐสภาและถูกล้อมระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึง ค.ศ. 1646
ตลอดสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรมพลิมัธเจริญขึ้นเป็นเมืองท่าสำคัญที่มีการขนส่งสินค้าขาเข้าและผู้โดยสารจากสหรัฐ และเป็นเมืองที่มีการต่อเรือสำหรับราชนาวีอังกฤษ ซึ่งทำให้กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการทำลายของข้าศึกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังสงครามพลิมัทก็สร้างศูนย์กลางเมืองใหม่แทนส่วนที่ถูกทำลายไประหว่างสงคราม
พลิมัทมีเนื้อที่ 79.29 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2007 พลิมัทมีประชากรทั้งหมดประมาณ 250,700 คน โดยมีความหนาแน่นถัวเฉลี่ยเป็นจำนวน 3,142 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ซึ่งทำให้เป็นเมืองที่มีจำนวนพลเมืองมากเป็นลำดับที่ 15 ของอังกฤษ พลิมัทมีเทศบาลการปกครองเป็นของตนเองและมีตัวแทนในรัฐสภาสามคน เศรษฐกิจในพลิมัทยังคงเป็นการต่อเรือแต่ก็เริ่มเปลี่ยนไปเป็นเศรษฐกิจการบริการตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 และมีมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 11 ในสหราชอาณาจักร และเป็นที่ตั้งของราชนาวีที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก พลิมัธมีเรือข้ามประจำไปยังฝรั่งเศสและสเปนและมีสนามบินนานาชาติ
ระเบียงภาพ
[แก้]-
เนินป้อม
-
ป้อมโบวิแซนด์
-
พลิมัธ
-
พลิมัธซาวนด์
-
ถนนคอร์นวอลล์
-
ศูนย์การค้าเดรคเซอร์คัส
-
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-
สะพานข้ามแม่น้ำเทมาร์
-
เรือข้ามติดต่อกับยุโรป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Brief history of Plymouth". Plymouth City Council. สืบค้นเมื่อ 20 July 2008.
- ↑ Carrington, Henry Edmund (1828). The Plymouth and Devonport guide. Oxford University. p. 1. สืบค้นเมื่อ 5 July 2008.
- ↑ "The Lord Mayor". Plymouth City Council. สืบค้นเมื่อ 2 December 2015.
- ↑ "Standard Area Measurements (2016) for Administrative Areas in the United Kingdom". Office for National Statistics. 1 February 2017. สืบค้นเมื่อ 9 February 2017.