ไวษโณเทวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระแม่ไวษโณเทวี)
พระแม่ไวษโณเทวี
เทพมารดร, เทพีแห่งภูเขา
เทวรูปพระแม่ไวษโณเทวี แบบประเพณีอินเดียในปัจจุบัน
ชื่ออื่นไวษณวี, ทุรคา, ปารวตี, มหามายา, มาตาราณี, อัมเบ, ตรีกูฏ, ชคัทอัมพา, ภควดี, ศักติ, เศราวาลี, อัมพิกา, ชโยตวาตี, ปาหาธาวาลี
ชื่อในอักษรเทวนาครีवैष्णो देवी
ส่วนเกี่ยวข้องมหาเทวี, ทุรคา, พระปารวตี, พระลักษมี, พระสุรัสวดี, กาลี, มหากาลี
ที่ประทับไวษโณเทวี มณเฑียร, การตะ, ประเทศอินเดีย
พาหนะเสือ, สิงโต
บิดา-มารดารัตนการสาคร (Ratnakarsagar) และ สัมริทธิ (Samriddhi)

ไวษโณเทวีเป็นพระเทวีท้องถิ่นที่ได้รับการยกย่องเป็นเทพมารดร อาทิปราศักติ พระนางคือพลังอีกภาคของไวษณวีและกำเนิดขึ้นจากพลังทั้งสามของของกาลี ลักษมี สุรัสวดีโดยรวมเป็นพลังอำนาจอันไม่ประมาณของพระทุรคา[1] โดยวัดที่เริ่มต้นกำเนิดแห่งพระนางอยู่ในรัฐชัมมูและกัศมีร์ประเทศอินเดีย

ในประเทศไทยเมื่อกระแสความนิยมในเทพเจ้าฮินดูในไทย ด้วยเทวลักษณะของพระนางใกล้เคียงกับเทวลักษณะของพระแม่ทุรคา ผู้ที่ในศรัทธาในเทพเจ้าฮินดูในไทยมักเข้าใจผิดและเรียกพระนางว่า พระแม่อุมาขี่เสือ เช่นเดียวกับความเข้าใจในประติมานวิทยาของเทวลักษณะของเทพเจ้าฮินดูในไทยพระองค์อื่น ๆ เช่น กรณีของพระสทาศิวะที่ถูกเข้าใจผิดเป็นพระตรีมูรติ กรณีของพระแม่สันโดษีที่ถูกเข้าใจผิดเป็นพระแม่อุมาเทวี กรณีของพระแม่ตาราในพุทธแบบวัชรยานที่ถูกเข้าใจผิดเป็นพระแม่อุมาเทวี กรณีของพระแม่โกดิยาร์ที่ถูกเข้าใจผิดเป็นพระแม่คงคา เป็นต้น[2]

การบูชา[แก้]

ในตำนานอภชาวหัน (Abha Chauhan) ระบุว่า พระนางไวษโณเทวี คือภาคหนึ่งของพระนางทุรคาและเป็นหนึ่งเดียวกับ กาลี ลักษมี สุรัสวดี[3] ในขณะที่ตำนาน พิณตจมัน (Pintchman) ระบุว่าพระนางไวษโณเทวี เป็นหนึ่งเดียวกับ พระแม่มหาเทวีผู้เป็นใหญ่[4] และตำนานพิณฑชมันย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าพระนางไวษโณเทวี และ พระนางทุรคา (ซึ่งคือภาคหนึ่งของพระแม่อุมาเทวี ตามคติศาสนาแบบพหุเทวนิยม) ซึ่งผู้ศรัทธามักขนานพระนามของเทวีทั้งสองว่า เศรันวาลี (Sheranwali) "เจ้าแม่ผู้ขี่เสือ (the Lion-rider)"[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Famous Durga temples in India for religiously inclined souls". Times of India. 2 June 2022.
  2. https://mgronline.com/travel/detail/9640000014308
  3. Chauhan 2021, p. 154.
  4. Pintchman 2001, p. 62.
  5. Pintchman 2001, p. 63.