พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติ
พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติ 国旗及び国歌に関する法律 | |
---|---|
ตามที่ประกาศในกิจจานุเบกษา (13 สิงหาคม ค.ศ. 1999) | |
ให้สัตยาบัน | 13 สิงหาคม ค.ศ. 1999 |
ที่ตั้ง | ประเทศญี่ปุ่น |
วัตถุประสงค์ | ให้สัตยาบันธงชาติและเพลงชาติแห่งญี่ปุ่น |
พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติ (ญี่ปุ่น: 国旗及び国歌に関する法律; โรมาจิ: Kokki Oyobi Kokka ni Kansuru Hōritsu, ย่อเป็น 国旗国歌法[1]) เป็นกฎหมายที่รับรองธงชาติและเพลงชาติของญี่ปุ่น ก่อนการให้สัตยาบันในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1999 ประเทศญี่ปุ่นไม่มีธงชาติหรือเพลงชาติอย่างเป็นทางการ ธงนิชโชกิ (日章旗, nisshōki) ซึ่งมักเรียกว่า "ธงฮิโนมารุ" (日の丸, hinomaru)[2] เป็นสัญลักษณ์แทนประเทศญี่ปุ่นอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 1870 ขณะที่การใช้ "คิมิงาโยะ" (君が代, kimigayo) เป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยนั้นเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1880
หลังการพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง มีการเสนอแนะให้ตรากฎหมายให้ฮิโนมารุ และคิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การตรากฎหมายดังกล่าวไม่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติจากการคัดค้านของสหภาพครูญี่ปุ่น (Japan Teachers Union) ที่ยืนกรานว่าฮิโนมารุ และคิมิงาโยะ มีความสัมพันธ์กับลัทธิทหารญี่ปุ่น หลังการกระทำอัตนิบาตกรรมของผู้อำนวยการโรงเรียนในฮิโรชิมะต่อข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้ธงชาติและเพลงชาติในพิธีโรงเรียน มีการเสนอให้รับรองทั้งฮิโนมารุ และคิมิงาโยะ อย่างเป็นทางการ
หลังการลงมติของทั้งสองสภา สภานิติบัญญัติผ่านกฎหมายรับรองธงชาติและเพลงชาติในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1999 ประกาศและใช้บังคับในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1999 กฎหมายนี้ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในกฎหมายที่ผ่านโดยสภานิติบัญญัติซึ่งมีการโต้แย้งเป็นอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 อีกทั้งการถกเถียงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายยังทำให้เกิดการแตกแยกของผู้นำพรรคฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (DPJ) และความปรองดองของพรรคฝ่ายรัฐบาล พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) และพรรคร่วมรัฐบาล
มีทั้งปฏิกิริยาที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในบทบัญญัติของกฎหมาย แม้ว่าชาวญี่ปุ่นบางส่วนเห็นด้วยในบทบัญญัติ ผู้คนอีกส่วนรู้สึกว่าบทบัญญัติเป็นการเปลี่ยนแปลงสู่การกลับคืนของความรู้สึกและวัฒนธรรมชาตินิยม กล่าวคือ สภานิติบัญญัติผ่านกฎหมายนี้พอดีกับการเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิอากิฮิโตะ ในบรรดาประเทศที่ญี่ปุ่นยึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง บางส่วนรู้สึกว่าบทบัญญัติของกฎหมายและการถกเถียงเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการทหารและศาลเจ้ายาซูกูนิเป็นเครื่องหมายบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงในประเทศญี่ปุ่นสู่การเมืองฝั่งขวา อีกทั้งมีการคัดค้านในชั้นศาลโดยชาวญี่ปุ่นบางส่วนของข้อบังคับและคำสั่งรัฐบาลที่ออกตามการประกาศของกฎหมายนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ออกโดยคณะกรรมาธิการการศึกษาโตเกียว ผู้ฟ้องร้องมองว่ากฎหมายนี้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น[3][4]
ตัวบทพระราชบัญญัติ
[แก้]พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติรับรองนิชโชกิให้เป็นธงชาติและคิมิงาโยะ เป็นเพลงชาติ รายละเอียดของทั้งสองปรากฏอยู่ในภาคผนวก รวมถึงข้อกำหนดในการพิมพ์ธงและแผ่นโน้ตเพลงคิมิงาโยะ กฎหมายไม่มีบทบัญญัติสำหรับการใช้หรือการดูแลรักษาไม่ให้สัญลักษณ์ทั้งสองเสื่อมไป[5] เป็นเหตุให้หน่วยงานและกระทรวงต่าง ๆ ในระดับชาติและระดับจังหวัดต่างออกข้อบังคับเป็นของตนเอง[6][7][8] หากมีการบรรจุกฎเกี่ยวกับการใช้ธงชาติและเพลงชาติในพระราชบัญญัติ จะส่งผลให้ไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอในการผ่านกฎหมายในสภานิติบัญญัติ[9]
บทบัญญัติของธงชาติ
[แก้]การวาดและการพิมพ์รายละเอียดต่าง ๆ ของธงให้ไว้ในภาคผนวกแรก อัตราส่วนทั้งหมดของธงคือ ความยาว 2 หน่วยต่อความกว้าง 3 หน่วย (2:3) วงกลมรูปจานมีเส้นผ่านศูนย์กลางสามส่วนห้าของความสูงธงอยู่ตรงกลางของธงพอดี[2][10] อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติอนุญาตให้ใช้และพิมพ์ธงที่ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องโดยมีสัดส่วนย่อลงตามประกาศนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 54 ใน ค.ศ. 1870 ซึ่งกำหนดให้ธงมีอัตราส่วนเจ็ดต่อสิบ (7:10) และวงกลมรูปจานสีแดงห่างออกจากจุดศูนย์กลางหนึ่งส่วนร้อยของความยาวธงไปยังทางด้านที่ติดกับเสาธง (hoist)[11] พื้นหลังของธงเป็นสีขาว และวงกลมรูปจานสีแดง แต่สีต่างค่า (color shade) ที่แน่นอนไม่ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ[5] คำอธิบายเพิ่มเติมจากรัฐบาลมีเพียงว่าสีแดงนั้นอยู่ในสีต่างค่าที่เข้มกว่าเท่านั้น[12] ข้อกำหนดที่เผยแพร่โดยกระทรวงป้องกันประเทศใน ค.ศ. 2008 นั้นกำหนดค่าต่างสีของสีแดงในธงชาติ[13] ระหว่างการพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติเกี่ยวกับร่างกฎหมายนี้ มีการเสนอแนะให้เลือกใช้ค่าต่างสีแดงจ้า (赤色, aka iro) หรือเลือกจากถาดสี (color pool) ของมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น[14]
บทบัญญัติของเพลงชาติ
[แก้]เนื้อร้องและโน้ตเพลงของเพลงชาติให้ไว้ในภาคผนวกที่สอง ตัวบทพระราชบัญญัติไม่ได้ให้กิตติประกาศบุคคลผู้ประพันธ์เนื้อร้องหรือเพลงใดเลยแม้แต่คนเดียว แต่โน้ตเพลงให้กิตติประกาศแก่ ฮิโรโมริ ฮายาชิ สำหรับการเรียบเรียงดนตรี[5] อย่างไรก็ตาม หลักฐานชี้ให้เห็นว่า โยชิอิซะ โอกุ และ อากิโมริ ฮายาชิ (บุตรชายของฮิโรโมริ) เป็นผู้ประพันธ์ดนตรี โดยฮิโรโมริใส่ชื่อของเขาลงไปในโน้ตเพลงในฐานะผู้กำกับดูแลของทั้งสองและในฐานะสมุหกรมสังคีตของราชสำนัก[15] มีการประพันธ์ทำนองเสียงประสานแบบอย่างตะวันตกโดย ฟรันทซ์ เอ็กเกิร์ต และนำมาใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1880[16] เนื้อเรื้องบนโน้ตเพลงเขียนด้วยอักษรฮิรางานะและไม่มีการกล่าวถึงเทมโปสำหรับการเรียบเรียงเสียง เพลงชาติเล่นในโหมดโดเรียนด้วยจังหวะซีเต็ม (4/4)[5]
ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ ก่อน ค.ศ. 1999
[แก้]ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ ที่ 16 ของยุคเซ็งโงกุ มีการนำฮิโนมารุ มาใช้อย่างแพร่หลายบนธงกองทัพ[17] ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1870 (27 มกราคม ปีที่สามของเมจิตามปฏิทินญี่ปุ่น) ซึ่งอยู่ในช่วงการฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ ประกาศคณะรัฐมนตรีที่ 57 กำหนดให้ฮิโนมารุ เป็นธงเรือราษฎร์ ฮิโนมารุ เป็นธงชาติตามกฎหมายตั้งแต่ ค.ศ. 1870 ถึง ค.ศ. 1885 แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดธงชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1885 ถึง ค.ศ. 1999 เนื่องจากการทำให้เป็นสมัยใหม่ (modernization) ของคณะรัฐมนตรี ส่งผลให้มีการยกเลิกประกาศก่อนหน้าต่าง ๆ ที่ออกโดยสภาอำมาตย์ (太政官, daijō-kan)[18] อย่างไรก็ตาม ธงทหารของประเทศญี่ปุ่นหลายธงมีการออกแบบที่อิงมาจากฮิโนมารุ รวมถึงธงราชนาวีฉายแสงพระอาทิตย์[19][20] มีการนำฮิโรมารุ มาใช้เป็นแม่แบบของธงญี่ปุ่นอื่น ๆ[21] และมีการสั่งห้ามการใช้ฮิโนมารุ ในช่วงต้นปีของการยึดครองของอเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดดังกล่าวถูกผ่อนคลายในเวลาต่อมา[22][23]
คิมิงาโยะ เป็นหนึ่งในเพลงชาติที่สั้นที่สุดของโลก โดยมีความยาว 11 หน่วยวัดและ 32 อักขระ เนื้อเพลงเขียนขึ้นตามบทกวีวากะที่แต่งในยุคเฮอัง (ค.ศ. 794–1185) และร้องตามทำนองที่เรียบเรียงในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868–1912) ใน ค.ศ. 1869 จอห์น วิลเลียม เฟนตัน หัวหน้าวงดุริยางค์ทหารไอริช ตระหนักได้ว่าประเทศญี่ปุ่นยังไม่มีเพลงชาติเป็นของตนเอง จึงเสนอแนะ อิวาโอะ โอยามะ สมาชิกตระกูลซัตสึมะ ว่าควรมีการแต่งเพลงชาติขึ้น โอยามะตกลงตามคำเสนอแนะและเลือกเนื้อร้องที่จะใช้ในเพลงชาติ[24]
เนื้อร้องของเพลงชาติอาจถูกเลือกให้มีความคล้ายคลึงกับเพลงชาติอังกฤษเนื่องจากอิทธิพลของเฟนตัน[15] หลังจากเนื้อร้องแล้ว โอยามะขอให้เฟนตันประพันธ์ทำนอง นี่คือฉบับแรกของคิมิงาโยะ ซึ่งไม่ได้นำมาใช้เพราะทำนอง "ขาดความเคร่งครึม"[25][26] ใน ค.ศ. 1880 สำนักพระราชวังหลวงประพันธ์ทำนองคิมิงาโยะ ในปัจจุบัน และรัฐบาลกำหนดให้คิมิงาโยะ เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1888[27] จวบจนถึง ค.ศ. 1893 มีการนำคิมิงาโยะ มาใช้ในพิธีการโรงเรียนรัฐบาลหลังความพยายามของกระทรวงศึกษาธิการ[9] ระหว่างการยึดครองญี่ปุ่นของอเมริกัน ผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ได้ออกแนวทางใด ๆ ต่อการห้ามใช้คิมิงาโยะ ของรัฐบาลญี่ปุ่น[28] อย่างไรก็ตาม มีเพียงแค่การเล่นทำนองบทประพันธ์โดยไม่มีการร้องเนื้อเพลงในพิธีทางการเท่านั้น[29]
พื้นหลังของการตรากฎหมาย
[แก้]การกระทำอัตวินิบาตกรรมของผู้อำนวยการโรงเรียนในจังหวัดฮิโรชิมะที่ไม่สามารถแก้ไขข้อพิพาทระหว่างคณะกรรมการโรงเรียนกับคณะครูกรณีการใช้ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ สร้างแรงผลักดันในการเสนอร่างกฎหมาย[30] ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเซระในเซระ อิชิกาวะ โทชิฮิโระ กระทำอัตวินิบาตกรรมในช่วงเย็นก่อนพิธีสำเร็จการศึกษาของเขา[31] คณะกรรมการโรงเรียนจังหวัดฮิโรชิมะร้องขอให้ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกคนรับรองการใช้สัญลักษณ์ทั้งสองในทุกพิธีของโรงเรียน แต่คณะครูที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเซระต่อต้านการปฏิบัติเช่นนี้อย่างขันแข็ง[32][33] อิชิกาวะกระทำอัตวินิบาตกรรมหลังไม่สามารถเอาชนะเสียงสนับสนุนให้แก่คณะครูในปัญหานี้ได้[33]
การกระทำอัตวินิบาตกรรมของอิชิกาวะร่วมด้วยการประท้วงโดยคณะครูในระหว่างพิธีสำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเซระทำให้นายกรัฐมนตรี เคโซ โอบูจิ จากพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) เริ่มร่างกฎหมายเพื่อทำให้ ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์แห่งชาติของญี่ปุ่น[34] เขาตั้งใจจะให้มีการริเริ่มใช้กฎหมายนี้ใน ค.ศ. 2000 แต่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ฮิโรมุ โนนากะ อยากให้ใช้บังคับภายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 ซึ่งตรงกับช่วงการขึ้นครองราชย์สิริราชสมบัติครบ 10 ปีของจักรพรรดิอากิฮิโตะ[35]
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการเสนอร่างกฎหมายให้ฮิโนมารุและ คิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์ทางการ หลังการคืนจังหวัดโอกินาวะแก่ญี่ปุ่นอีกครั้งใน ค.ศ. 1972 และวิกฤตการณ์น้ำมันทั่วโลก ค.ศ. 1973 นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ทานากะ คากูเออิ ให้ไว้เป็นนัยในบทบัญญัติของกฎหมายว่าเขาจะทำให้ทั้งสองสัญลักษณ์นั้นถูกกฎหมายซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มความนิยมของเขาในหมู่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอนุรักษ์นิยมโดยเฉพาะ[36][37] หลังการเสนอของเขา สหภาพครูญี่ปุ่นต่อต้านการใช้เพลงชาติเพราะมัน "คล้ายคลึงกับการสักการะจักรพรรดิ"[36] และถูกมองว่าเป็นการเชื่อมโยงกับแสนยนิยมช่วงก่อนสงคราม แม้ว่าอัตราการอ่านออกเขียนได้ในญี่ปุ่นอยู่ที่ 99% ในขณะนั้น นักเรียนหลายคนไม่รู้ว่า คิมิงาโยะ คืออะไรหรือควรร้องอย่างไร นอกจากการให้โรงเรียนสอนและเล่นเพลง คิมิงาโยะ คากูเออิต้องการนักเรียนเชิญธงชาติขึ้นและอ่านพระราชหัตถเลขาว่าด้วยการศึกษาที่เขียนโดยจักรพรรดิเมจิใน ค.ศ. 1890 ทุกเช้า[36] คากูเออิไม่สำเร็จในการผ่านร่างกฎหมายผ่านสภานิติบัญญัติ[38]
จุดยืนของพรรคการเมือง
[แก้]สนับสนุน
[แก้]พรรคอนุรักษ์นิยมแนวหน้าของญี่ปุ่นอย่าง พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) และ พรรคเสรีนิยม เป็นผู้สนับสนุนหลักของร่างกฎหมาย ค.ศ. 1999 เลขาธิการพรรค โยชิโร โมริ กล่าวในเดือนมิถุนายนปีนั้นว่าชาวญี่ปุ่นได้ยอมรับทั้ง ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์แห่งชาติ หัวหน้าพรรคเสรีนิยม อิจิโร โอซาวะ กล่าวแสดงความเห็นเช่นเดียวกันกับโมริและเชื่อว่ารัฐสภาไม่สามารถสรุปเป็นอื่นได้[9] พรรคโคเมใหม่ (หรือเป็นที่รู้จักว่าพรรครัฐบาลสะอาด; CGP) ที่แต่แรกระแวดระวังข้อต่าง ๆ เกี่ยวกับร่างกฎหมายนี้ แต่ผู้นำพรรคบางส่วนยอมรับถึงข้อเท็จจริงว่าทั้งสองสัญลักษณ์นั้นเป็นที่เห็นชอบโดยประชาชน พวกเขาเชื่อว่าการทำให้ความคิดกลายเป็นกฎหมายนั้นอาจเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ท้ายที่สุด พรรครัฐบาลสะอาดสนับสนุนร่างกฎหมายนี้เพื่อให้ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลของพรรคเสรีประชาธิปไตย[39]
คัดค้าน
[แก้]พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม (SDPJ) และ พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น (CPJ) คัดค้านร่างกฎหมายเพราะทั้งสองสัญลักษณ์แฝงความหมายโดยนัยถึงยุคสงครามและประชาชนไม่ได้รับตัวเลือกให้ยุติปัญหาผ่านการลงประชามติ[35] หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่นกล่าวว่า พรรคจะพึงพอใจกว่าหากมีสัญลักษณ์ใหม่ที่จะแทนประเทศญี่ปุ่นที่เป็นประชาธิปไตยและสงบสุข[9] จุดยืนเดิมที่มีต่อสัญลักษณ์ทั้งสองของพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมเปลี่ยนจากคัดค้านเป็นสนับสนุน เนื่องด้วย นายกรัฐมนตรี โทมิอิจิ มูรายามะ หัวหน้าพรรคสังคมนิยมญี่ปุ่น (ชื่อเดิมของพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม) ยอมรับให้ทั้ง ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนกลับการสนับสนุนจากพรรคเสรีประชาธิปไตยในสภานิติบัญญัติใน ค.ศ. 1994[40]
พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น
[แก้]หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (DPJ) ในขณะนั้น นาโอโตะ คัง กล่าวว่าพรรคของเขาจะต้องสนับสนุนร่างกฎหมายเพราะแต่เดิมทั้งสองสัญลักษณ์นั้นเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นอยู่แล้ว[41] รองเลขาธิการพรรค ยูกิโอะ ฮาโตยามะ เชื่อว่าร่างกฎหมายจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนและความไม่สงบในกลุ่มการเมืองฝั่งซ้ายที่คัดค้านธงชาติและเพลงชาติ[42] พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นเสนอการแก้ไขร่างกฎหมายโดยการกำหนดให้ ฮิโนมารุ เป็นธงชาติ แต่ไม่ให้สถานะพิเศษแก่ คิมิงาโยะ ซึ่งเป็นเพลงชาติทางเลือก ในวันที่ 16 กรกฎาคม พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นตัดสินใจยื่นร่างแก้ไข หากมีการปัดตกไป สมาชิกพรรคจะสามารถลงมติได้อย่างเสรี[43] กลุ่มอื่น ๆ ยื่นร่างกฎหมายของตนเองต่อต้านการตรากฎหมายของรัฐบาล ซึ่งทั้งหมดถูกบอกปัดไปก่อนการลงมติร่างกฎหมายหลักจะเริ่มขึ้น[44]
มติมหาชน
[แก้]สัปดาห์ก่อนการลงมติในราชมนตรีสภา เดอะเจแปนไทมส์ จัดทำการหยั่งเสียงในโตเกียว, โอซากะ และฮิโรชิมะ ผู้ตอบ (respondent) ราว 9 จาก 10 คนเห็นชอบการมี ฮิโนมารุ เป็นธงชาติ และ 6 จาก 10 คน สนับสนุน คิมิงาโยะ เป็นเพลงชาติ โดยรวม ประมาณ 46% เห็นชอบร่างกฎหมาย ผู้ตอบมองฮิโนมารุเป็นธงชาติของญี่ปุ่นและควรมีการสอนประวัติศาสตร์ของธง บางส่วนรู้สึกว่า คิมิงาโยะ ไม่ได้เป็นเพลงชาติที่เหมาะสมสำหรับประเทศญี่ปุ่นในยุคสมัยใหม่ ผู้ตอบคนหนึ่งเสนอให้ใช้เพลง "ซากูระซากูระ" แทน อีกข้อเสนอหนึ่งเห็นว่าควรเก็บทำนองของ คิมิงาโยะ ไว้แต่เปลี่ยนเนื้อร้อง[45]
การหยั่งเสียงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1999 โดย โยมิอูริชิมบุง และการสำรวจมติมหาชนโดยสภาวิจัยญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1999 ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างจากการหยั่งเสียงโดย เดอะเจแปนไทมส์ ในการหยั่งเสียงครั้งก่อนหลังการกระทำอัตวินิบาตกรรมของโทชิฮิโระ 61% รู้สึกว่าสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นควรมี ฮิโนมารุ เป็นธงชาติ และ คิมิงาโยะ เป็นเพลงชาติ ขณะที่ 64% คิดว่าเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะใช้ทั้งสองสัญลักษณ์ในพิธีของโรงเรียนและควรตราให้เป็นกฎหมาย การสำรวจมติมหาชนโดยสภาวิจัยญี่ปุ่นแสดงผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน โดย 68% รู้สคกว่าทั้ง ฮิโนมารุ และ คิมิงาโยะ เป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่น 71% สนับสนุนร่างกฎหมายในสภานิติบัญญัติ ทั้งสองการสำรวจมีผู้ตอบน้อยกว่า 2,000 คน[9] มีผู้ตอบ 15% ที่สนับสนุน ฮิโนมารุ มากกว่า คิมิงาโยะ โดยให้เหตุผลว่าเนื้อร้องของ คิมิงาโยะ มีความเกี่ยวข้องกับจักรพรรดิ[9][26] ทั้งสองการสำรวจชี้ให้เห็นว่าคนรุ่นเก่าจะมีความผูกผันกับสัญลักษณ์ทั้งสองมากกว่า ขณะที่คนรุ่นใหม่แสดงความรู้สึกเชิงลบมากกว่า[9]
การลงมติ
[แก้]สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 ด้วยคะแนนเสียง 403 ต่อ 86[46] กฎหมายจึงส่งต่อไปยังราชมนตรีสภาในวันที่ 28 กรกฎาคม และผ่านในวันที่ 9 สิงหาคม ด้วยคะแนนเสียง 166 ต่อ 71[47] และตราเป็นกฎหมายในวันที่ 13 สิงหาคม[48]
|
|
ปฏิกิริยา
[แก้]ในประเทศ
[แก้]นายกรัฐมนตรี โอบูจิ แสดงท่าทีกระตือรือร้นต่อบทบัญญัติของกฎหมายเพราะมันสร้าง "รากฐานที่ชัดเจนโดยกฎหมายลายลักษณ์อักษร"[51] ของการใช้สัญลักษณ์ทั้งสอง เขารู้สึกว่านี่เป็นก้าวที่สำคัญสำหรับญี่ปุ่นในการ "เข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21"[51] ในงานแถลงข่าววันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของจักรพรรดิอากิฮิโตะ (23 ธันวาคม) พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะออกความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายนี้เนื่องด้วยข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญที่ห้ามออกพระราชดำรัสเรื่องการเมือง[52][53] อย่างไรก็ตาม จักรพรรดิอากิฮิโตะทรงแสดงความไม่พึงพอใจแก่สมาชิกคณะกรรมการศึกษาโตเกียว คูนิโอะ โยเนนางะ ใน ค.ศ. 2004 ที่การบังคับให้คณะครูและนักเรียนแสดงความสรรเสริญธงชาติและเพลงชาตินั้น "ไม่เป็นที่น่าปรารถนา"[53] หัวหน้าสมาพันธ์คณะครูยกย่องกฎหมายนี้โดยเชื่อว่าจะช่วยสั่งสอนให้ประชาชนได้รู้ถึงความเคารพของสัญลักษณ์ประเทศที่เหมาะสม อีกทั้งยังช่วยลดการเกิดเหตุการณ์ระดับนานาชาติอย่างการโห่เพลงชาติของประเทศอื่นโดยชาวญี่ปุ่น กฎหมายยังก่อให้เกิดการประณามจากชาวญี่ปุ่นบางส่วนที่เหยียดหยามการกระทำของประเทศตนเองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พวกเขารู้สึกว่าไม่มีเหตุผลที่จะต้องภูมิใจในธงชาติและเพลงชาติหากรัฐบาลไม่ออกถ้อยแถลงแสดงคำขอโทษอย่างเป็นทางการด้วย "ความสำนึกผิดอย่างถ่องแท้" สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[31][54] ใน ค.ศ. 1999 โอซาวะและคนอื่น ๆ มองว่ากฎหมายนี้เปรียบเสมือนเป็นลางของ "การปฏิวัติไร้เลือด" อันนำไปสู่อนาคตใหม่ที่การปฏิวัติจะเปลี่ยนเอกลักษณ์ของชาติและทำให้ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[54]
ในแวดวงการศึกษาซึ่งมีการถกเถียงเรื่องการใช้สัญลักษณ์ทั้งสองมากที่สุด[55] มีปฏิกิริยาผสมกันทั้งสนับสนุนและคัดค้าน แนวทางการออกหลักสูตรที่ออกโดยกระทรวงศึกษาธิการหลังบทบัญญัติของกฎหมายวางหลักไว้ว่า "ในพิธีเข้ารับการศึกษาและพิธีสำเร็จการศึกษา โรงเรียนต้องเชิญธงญี่ปุ่นขึ้นและให้นักเรียนร้องเพลง "คิมิงาโยะ" (เพลงชาติ) ตามนัยสำคัญของทั้งธงชาติและเพลงชาติ"[56] นอกจากนี้ ข้อคิดเห็นของกระทรวงเกี่ยวกับแนวทางการออกหลักสูตร ค.ศ. 1999 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาระบุว่า "ด้วยความก้าวหน้าของสากลวิวัตน์ (internationalization) ร่วมกับการปลูกฝังความรักประเทศชาติและการตื่นรู้ในการเป็นชาวญี่ปุ่น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่เคารพนับถือธงชาติญี่ปุ่นและ คิมิงาโยะ ก่อนที่เขาจะเติบโตเป็นประชาชนญี่ปุ่นที่ได้รับเคารพในสังคมที่เป็นสากลวิวัตน์"[57]
ในจังหวัดฮิโรชิมะที่ซึ่งโรงเรียนมัธยมปลายเซระตั้งอยู่ ปฏิกิริยาส่วนใหญ่เป็นเชิงลบ เพราะเป็นหนึ่งในสองจังหวัดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามโลกครั้งที่สอง การศึกษาในฮิโรชิมะโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสัญลักษณ์ทั้งสองและจักรพรรดิจึงเอนไปทางการเมืองฝั่งซ้ายเนื่องจากอำนาจของกลุ่มท้องถิ่นอย่างสหพันธ์การปลดแอกบูรากุและสหภาพคณะครูต่าง ๆ[58] ที่นั่นมองบทบัญญัติของกฎหมายว่าเป็น "สิ่งอันน่ารำคาญ" และขัดแย้งกับธรรมเนียมปฏิบัติด้านการศึกษาของจังหวัด อีกทั้งยังมองว่ากฎหมายดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสงครามได้[58]
นานาชาติ
[แก้]โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแผ่นดินใหญ่กล่าวว่าร่างกฎหมายเป็นปัญหาที่ชาวญี่ปุ่นจะต้องแก้ไขด้วยพวกเขาเองเพื่อที่จะขับเคลื่อนประเทศไปในอนาคตอันสงบสุข ในสิงคโปร์ คนรุ่นเก่ายังคงเก็บความรู้สึกที่ไม่ดีต่อสัญลักษณ์ทั้งสอง รัฐบาลฟิลิปปินส์เชื่อว่าญี่ปุ่นจะไม่ห้วนกลับไปสู่ยุคแสนยนิยม อีกทั้งเจตจำนงของกฎหมายยังกำหนดขึ้นเพื่อการสถาปนาสัญลักษณ์ทั้งสองอย่างเป็นทางการเท่านั้น ซึ่งการกระทำนั้นเป็นสิทธิที่รัฐทุกรัฐพึงกระทำได้[9]
ผลสืบเนื่องทางการเมือง
[แก้]ภายใต้ความแตกแยกของเหล่าผู้นำพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น พวกเขาอนุญาตให้สมาชิกพรรคลงมติตามความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (conscience) ของตนเอง ฮาโตยามะก้าวข้ามการคัดค้านที่ตนยึดถือและลงมติเห็นชอบ เช่นเดียวกันกับเลขาธิการพรรคฯ และ สึโตมุ ฮาตะ ขณะที่คังลงมติคัดค้าน นอกจากพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น พรรคอื่น ๆ ต่างลงมติตามมติของพรรคและไม่มีใครไม่ปฏิบัติตามมตินั้น[49] ฮาโตยามะอยากใช้การลงมติเห็นชอบของเขาในการเรียกร้องให้สมาชิกพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นกลับมากลมเกลียวกัน กึ่งหนึ่งของพรรคฯ สนับสนุนร่างกฎหมายนี้ ทำให้จำนวนของผู้ที่คัดค้านร่างกฎหมายนี้ลดน้อยลง และทำให้ร่างกฎหมายนี้ผ่านได้ง่ายยิ่งขึ้น ความแตกแยกของการลงมติของพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นแสดงให้เห็นถึงการขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในพรรค[42][59]
อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในบทบัญญัติร่างกฎหมายคือการร่วมรัฐบาลพรรคเสรีประชาธิปไตยของพรรคเสรีนิยมและพรรครัฐบาลสะอาด ในสภานิติบัญญัติ การรวมตัวระหว่างพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยและพรรคเสรีนิยมทำให้พวกเขาเป็นเสียงข้างมากในสภาล่างแต่ไม่ใช่สภาสูง[9] การนำของพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยทำให้โอซาวะถูกมองว่าเป็นคนทรยศเพราะเขาออกจากพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยไปใน ค.ศ. 1993 แต่พรรคฯ ยังคงต้องการเขาและพรรคของเขาในการก่อตั้งรัฐบาลผสม[50] แม้พรรครัฐบาลสะอาดมีจำนวนที่นั่งค่อนข้างน้อย (52 ที่นั่ง) ในสภาล่างและไม่ได้มีอะไรเหมือนกันกับพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยเชิงนโยบาย ความอยากในการเป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันกระตุ้นให้พรรครัฐบาลสะอาดสนับสนุนพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยในการผ่านร่างกฎหมาย[50] พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยต้องละทิ้งอุดมการณ์พรรค (party platform) เช่น การคัดค้านสัญลักษณ์ทั้งสอง สนธิสัญญาความมั่งคงกับสหรัฐ และการมีอยู่ของกองกำลังป้องกันตนเอง เพื่อร่วมรัฐบาลผสม อย่างไรก็ตาม พรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยไม่ได้เดินหน้าทำตามอุดมการณ์ดั้งเดิมที่พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยให้ไว้ก่อนหน้าการร่วมรัฐบาล ท้ายที่สุด นโยบายเหล่านั้นถูกนำออกจากการอภิปรายนโยบายแห่งชาติไป[60] พรรคเดียวที่ยึดมั่นในท่าทีของตนตลอดการอภิปรายคือพรรคคอมมิวนิสต์ ขณะที่พรรครัฐบาลสะอาด (โคเมใหม่) พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยญี่ปุ่นเปลี่ยนข้างเพื่อสนับสนุนร่างกฎหมาย[61][62]
การเปลี่ยนฝั่งเพื่อลงมติทำให้นักเขียนจากเดอะเจแปนไทมส์ ตั้งคำถามถึงความมีเหตุผลของการเมืองภายในประเทศอันเกี่ยวเนื่องกับบทบัญญัติของร่างกฎหมาย[59] พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายที่มีข้อกังขามากที่สุดที่ผ่านโดยสภานิติบัญญัตินับตั้งแต่กฎหมายว่าด้วยความร่วมมือกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพและปฏิบัติการอื่นในกรอบของสหประชาชาติ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ "กฎหมายความร่วมมือด้านสันติภาพสากล"[59] ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นผูกมัดกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ[63] ซึ่งต่างจากมาตรา 9 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นที่เรียกร้องให้รัฐบาลประณาม "การใช้กำลังในการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศ"[64]
การใช้บังคับและคดีความ
[แก้]เมื่อสภานิติบัญญัติผ่านร่างกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโอบูจิ และข้าราชการคนอื่น ๆ กล่าวว่ากฎหมายนี้ไม่มีเจตนารมณ์ในการบังคับให้ใช้ธงชาติและเพลงชาติในชีวิตประจำวัน[65] อย่างไรก็ตาม แนวทางการออกหลักสูตร ค.ศ. 1999 โดยกระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศหลังกฎหมายมีผลใช้บังคับบัญญัติว่า "ในพิธีเข้ารับการศึกษาและพิธีสำเร็จการศึกษา โรงเรียนจะต้องเชิญธงญี่ปุ่นขึ้นสู่ยอดเสาและให้นักเรียนร้องเพลงคิมิงาโยะเพื่อระลึกถึงความสำคัญของธงชาติและเพลงชาติ"[56]
ใน ค.ศ. 2003 มีการนำข้อบังคับไปใช้ในโตเกียว ส่วนหนึ่งของข้อบังคับบัญญัติไว้ว่า คณะกรรมการหรือบุคคลากรทางการศึกษาต้องจดบันทึกรายชื่อครูที่ไม่ยืนหรือร้องเพลงชาติ และจะต้องมีการจัดให้ธงชาติหันหน้าเข้าหานักเรียนในระหว่างพิธี มาตรการคว่ำบาตรมีตั้งแต่ตำหนิโทษ เข้าอบรมการศึกษาใหม่ หักเงินเดือน สั่งให้ระงับการปฏิบัติหน้าที่ หรือการไล่ออก มาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนโดย ชินตาโร อิชิฮาระ ผู้ว่าราชการโตเกียว[66][67]
เมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดฟูกูโอกะวัดและให้คะแนนความดังของเสียงนักเรียนที่เปล่งออกมาขณะร้องเพลงคิมิงาโยะในแต่ละโรงเรียน แต่โตเกียวเป็นคณะกรรมการโรงเรียนคณะเดียวที่ออกบทลงโทษเป็นวงกว้างหากไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ[53] คณะกรรมการศึกษาธิการโตเกียวระบุว่า มากกว่า 400 คนถูกลงโทษนับตั้งแต่ ค.ศ. 2004[68]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 麻生内閣総理大臣記者会見 [Prime Minister Aso Cabinet Press Conference] (ภาษาญี่ปุ่น), Office of the Prime Minister of Japan, 2009-07-21, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-04, สืบค้นเมื่อ 2010-01-14
- ↑ 2.0 2.1 Basic / General Information on Japan, Consulate-General of Japan in San Francisco, 2008-01-01, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007, สืบค้นเมื่อ 2009-11-19
- ↑ "Teachers lose compensation suit over national flag, anthem issue", Japan Today: Japan News and Discussion, 2010-01-28, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31 [ลิงก์เสีย]
- ↑ "National anthem lawsuit rejected", The Windsor Star, 2011-02-15, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31 [ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Act on National Flag and Anthem 1999
- ↑ Regarding the Treatment of the National Flag and Anthem 1999
- ↑ Regarding the Treatment of the National and Prefectural Flags 2003
- ↑ プロトコール [Protocol] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น), Ministry of Foreign Affairs, February 2009, pp. 5–10, สืบค้นเมื่อ 2010-01-13
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 9.8 Itoh, Mayumi (July 2001), "Japan's Neo-Nationalism: The Role of the Hinomaru and Kimigayo Legislation", Japan Policy Research Institute Working Paper, 79, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-02, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
- ↑ Takenaka 2003, pp. 68–69
- ↑ Prime Minister's Proclamation No. 57 1870
- ↑ National Flag & National Anthem, Cabinet Office, Government of Japan, 2006, สืบค้นเมื่อ 2010-01-02
- ↑ Defense Specification Z 8701C (DSPZ8701C) (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น), Ministry of Defense, 1973-11-27, p. 6, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-20, สืบค้นเมื่อ 2009-07-09
- ↑ 第145回国会 国旗及び国歌に関する特別委員会 第4号 [145th Meeting of the Diet, Discussion about the bill Law Regarding the National Flag and National Anthem] (ภาษาญี่ปุ่น), National Diet Library, 1999-08-02, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-19, สืบค้นเมื่อ 2010-02-01
- ↑ 15.0 15.1 Joyce, Colin (2005-08-30), "Briton who gave Japan its anthem", The Daily Telegraph, สืบค้นเมื่อ 2010-10-21
- ↑ National Flag and Anthem (PDF), Japanese Ministry of Foreign Affairs, 2000, p. 3, สืบค้นเมื่อ 2009-12-11
- ↑ Turnbull 2001
- ↑ Cripps, D (1996), "Flags and Fanfares: The Hinomaru Flag and Kimigayo Anthem", ใน Goodman, Roger; Ian Neary (บ.ก.), Case Studies on Human Rights in Japan, London: Routledge, pp. 77–78, ISBN 978-1-873410-35-6, OCLC 35294491,
In 1870 the [Hinomaru] was designated as the national flag by means of a 'declaration (fukoku) by the Council of State (Daijō-kan太政官). In 1871, however, the Council was reorganized and the legislative function entrusted to the Left Chamber (Sa-in). Finally in 1885 the Council was replaced by a modern cabinet, with the result that the Council's declarations were abolished.
- ↑ Self-Defense Forces Law Enforcement Order 1954
- ↑ JMSDF Flag and Emblem Rules 2008
- ↑ 郵便のマーク (ภาษาญี่ปุ่น), Communications Museum "Tei Park", คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2007, สืบค้นเมื่อ 2010-02-06
- ↑ Yoshida, Shigeru (1947-05-02), Letter from Shigeru Yoshida to General MacArthur dated May 2, 1947 (ภาษาญี่ปุ่น), National Diet Library, สืบค้นเมื่อ 2007-12-03
- ↑ MacArthur, Douglas (1947-05-02), Letter from Douglas MacArthur to Prime Minister dated May 2, 1947, National Archives of Japan, สืบค้นเมื่อ 2009-12-10
- ↑ Aura Sabadus (2006-03-14), "Japan searches for Scot who modernised nation", The Scotsman, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16, สืบค้นเมื่อ 2007-12-10
- ↑ Hongo, Jun (2007-07-17), "Hinomaru, 'Kimigayo' express conflicts both past and future", The Japan Times, สืบค้นเมื่อ 2010-10-28
- ↑ 26.0 26.1 National Flag and Anthem (PDF), Japanese Ministry of Foreign Affairs, 2000, p. 2, สืบค้นเมื่อ 2009-12-11
- ↑ Boyd 2006, p. 36
- ↑ Goodman 1996, p. 81
- ↑ Itoh 2003, p. 206
- ↑ Aspinall 2001, p. 126
- ↑ 31.0 31.1 "Vote in Japan Backs Flag and Ode as Symbols", The New York Times, 1999-07-23, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
- ↑ Lall 2003, pp. 44–45
- ↑ 33.0 33.1 Hood 2001, pp. 66–67
- ↑ Wong, So Fei (2007-11-01), Reframing Futoko in Japan – A Social Movement Perspective (PDF), School of Social Sciences – The University of Adelaide, p. 174, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-10, สืบค้นเมื่อ 2011-06-04
- ↑ 35.0 35.1 Itoh 2003, p. 209
- ↑ 36.0 36.1 36.2 "Education: Tanaka v. the Teachers", Time, 1974-06-17, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2011, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
- ↑ Goodman 1996, pp. 82–83
- ↑ Okano 1999, p. 237
- ↑ Itoh 2003, p. 208
- ↑ Stockwin 2003, p. 180
- ↑ 国旗国歌法制化についての民主党の考え方 [The DPJ Asks For A Talk About the Flag and Anthem Law] (ภาษาญี่ปุ่น), Democratic Party of Japan, 1999-07-21, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-16, สืบค้นเมื่อ 2010-01-17
- ↑ 42.0 42.1 Itoh 2003, pp. 209–10
- ↑ 国旗国歌法案への対応決める/「国旗だけを法制化」修正案提出・否決なら自由投票 [Responding to determine the national flag and anthem bill / "flag legislation only" amendment submitted; free vote if rejected] (ภาษาญี่ปุ่น), Democratic Party of Japan, 1999-07-16, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17, สืบค้นเมื่อ 2010-01-18
- ↑ 国旗・国歌法案、衆院で可決 民主党は自主投票 [National flag and anthem bill passed in the House of Representatives; DPJ free vote] (ภาษาญี่ปุ่น), Democratic Party of Japan, 1999-07-22, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17, สืบค้นเมื่อ 2010-01-18
- ↑ "Public favors flag over anthem, poll shows", The Japan Times, 1999-08-05, สืบค้นเมื่อ 2010-10-14
- ↑ 第145回国会 本会議 第47号 [145th Session of the Diet, plenary meeting No. 47] (ภาษาญี่ปุ่น), National Diet Library, 1999-07-22, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-14, สืบค้นเมื่อ 2010-01-17
- ↑ 本会議投票結果: 国旗及び国歌に関する法律案 [Plenary vote: Act on National Flag and Anthem] (ภาษาญี่ปุ่น), House of Councillors, 1999-08-09, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
- ↑ 議案審議経過情報: 国旗及び国歌に関する法律案 [Deliberation Information: Act on National Flag and Anthem] (ภาษาญี่ปุ่น), House of Representatives, 1999-08-13, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-23, สืบค้นเมื่อ 2010-01-17
- ↑ 49.0 49.1 Itoh 2003, p. 210
- ↑ 50.0 50.1 50.2 Itoh 2003, p. 211
- ↑ 51.0 51.1 Statement of Prime Minister Keizo Obuchi, Ministry of Foreign Affairs, 1999-08-09, สืบค้นเมื่อ 2010-01-28
- ↑ Press Conference on the occasion of His Majesty's Birthday (1999), The Imperial Household Agency, 1999-12-23, สืบค้นเมื่อ 2010-01-28
- ↑ 53.0 53.1 53.2 "Tokyo's Flag Law: Proud Patriotism, or Indoctrination?", The New York Times, 2004-12-17, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31
- ↑ 54.0 54.1 McCormack 2001, p. xvii
- ↑ Weisman, Steven R. (1990-04-29), "For Japanese, Flag and Anthem Sometimes Divide", The New York Times, สืบค้นเมื่อ 2010-01-02
- ↑ 56.0 56.1 学習指導要領における国旗及び国歌の取扱い [Handling of the flag and anthem in the National Curriculum] (ภาษาญี่ปุ่น), Hiroshima Prefectural Board of Education Secretariat, 2001-09-11, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22, สืบค้นเมื่อ 2009-12-08
- ↑ 小学校学習指導要領解説社会編,音楽編,特別活動編 [National Curriculum Guide: Elementary social notes, Chapter music Chapter Special Activities] (ภาษาญี่ปุ่น), Ministry of Education, 1999-09-17, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-19
- ↑ 58.0 58.1 Murakami, Asako (1999-08-09), "Flag-anthem law no end to controversy", The Japan Times, สืบค้นเมื่อ 2011-02-13
- ↑ 59.0 59.1 59.2 Williams 2006, p. 91
- ↑ Reed 2003, pp. 27–28
- ↑ Itoh 2003, p. 212
- ↑ Amyx 2003, p. 43
- ↑ International Peace Cooperation Headquarters, Cabinet Office, Government of Japan, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-17, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
- ↑ Constitution of Japan Article 9
- ↑ "Politicians, Teachers and the Japanese Constitution: Flag, Freedom and the State", Japan Focus, 2007, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31
- ↑ Tabuchi, Hiroko (2009-03-26), "Japanese Court Rejects Teachers' Suit Over Flag", The New York Times, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31
- ↑ "Teachers in Japan fight being forced to sing national anthem", Los Angeles Times, 2011-02-06, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31
- ↑ Akiko Fujita (2011-02-14), "Japanese Teachers Fight Flag Salute, National Anthem Enforcement", ABC News International, สืบค้นเมื่อ 2011-05-31
งานอ้างอิง
[แก้]- หนังสือ
- Amyx, Jennifer; Drysdale, Peter (2003), Japanese Governance: Beyond Japan Inc., Routledge, ISBN 978-0-415-30469-6
- Aspinall, Robert W. (2001), Teachers' Unions and the Politics of Education in Japan, State University of New York Press, ISBN 978-0-7914-5050-5
- Boyd, Richard; Ngo, Tak-Wing (2006), State Making in Asia, Routledge, ISBN 978-0-415-34611-5
- Goodman, Roger; Neary, Ian (1996), Case Studies on Human Rights in Japan, Routledge, ISBN 978-1-873410-35-6
- Hebert, David G. (2011), "National Identity in the Japanese School Band", Wind Bands and Cultural Identity in Japanese Schools, Landscapes: the Arts, Aesthetics, and Education, vol. 9, Springer, pp. 239–250, doi:10.1007/978-94-007-2178-4_16, ISBN 978-94-007-2178-4
- Hood, Christopher (2001), Japanese Education Reform: Nakasone's Legacy, Routledge, ISBN 978-0-415-23283-8
- Itoh, Mayumi (2003), The Hatoyama Dynasty: Japanese Political Leadership Through the Generations, Palgrave Macmillan, ISBN 978-1-4039-6331-4
- Lall, Marie; Vickers, Edward (2003), Education as a Political Tool in Asia, Routledge, ISBN 978-0-415-45259-5
- McCormack, Gavan (2001), The Emptiness of Japanese Affluence, M. E. Sharpe, ISBN 978-0-7656-0768-3
- Okano, Kaori; Tsuchiya, Motonori (1999), Education in Contemporary Japan, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-62686-6
- Reed, Steven (2003), Japanese Electoral Politics: Creating a New Party System, Routledge, ISBN 978-0-415-31140-3
- Stockwin, James (2003), Dictionary of the Modern Politics of Japan, Routledge, ISBN 978-0-415-15170-2
- Takenaka, Yoshiharu (2003), 知っておきたい国旗・旗の基礎知識 [Flag basics you should know] (ภาษาญี่ปุ่น), Gifu Shimbun, ISBN 978-4-87797-054-3
- Turnbull, Stephen; Howard Gerrard (2001), Ashigaru 1467–1649, Osprey Publishing, ISBN 978-1-84176-149-7[ลิงก์เสีย]
- Williams, David; Kersten, Rikki (2006), The Left in the Shaping of Japanese Democracy, Routledge, ISBN 978-0-415-33435-8
- บทกฎหมาย
- 明治3年太政官布告第57号 [Prime Minister's Proclamation No. 57] (ภาษาญี่ปุ่น), Government of Nara Prefecture, 1870-02-27, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08, สืบค้นเมื่อ 2010-02-06
- Constitution of Japan, Official Website of the Prime Minister of Japan and His Cabinet, 1946-11-03, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-09, สืบค้นเมื่อ 2010-10-13
- 自衛隊法施行令 [Self-Defense Forces Law Enforcement Order] (ภาษาญี่ปุ่น), Government of Japan, 1954-06-30, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-07, สืบค้นเมื่อ 2008-01-25
- 国旗及び国歌に関する法律 (法律第百二十七号) [Act on National Flag and Anthem, Act No. 127] (ภาษาญี่ปุ่น), Government of Japan, 1999-08-13, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-21, สืบค้นเมื่อ 2010-02-06
- 国旗及び国歌の取扱いについて [Regarding the Treatment of the National Flag and Anthem] (ภาษาญี่ปุ่น), Police of the Hokkaido Prefecture, 1999-11-18, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-06, สืบค้นเมื่อ 2010-01-14
- 国旗及び県旗の取扱いについて [Regarding the Treatment of the National and Prefectural Flags] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น), Police of Kanagawa Prefecture, 2003-03-29, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-04, สืบค้นเมื่อ 2010-10-22
- 海上自衛隊旗章規則 [JMSDF Flag and Emblem Rules] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น), Ministry of Defense, 2008-03-25, สืบค้นเมื่อ 2009-09-25
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Legislation history (ในภาษาญี่ปุ่น)