วากะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โคกินวากาชู เป็นประชุมบทนิพนธ์ช่วงต้น (ราว ค.ศ. 900) ของวากะ ซึ่งกำหนดรูปแบบของกวีนิพนธ์ญี่ปุ่น[1]

วากะ (ญี่ปุ่น: 和歌โรมาจิWaka; บทกวีญี่ปุ่น) เป็นประเภทของกวีนิพนธ์ในวรรณกรรมญี่ปุ่นคลาสสิก แม้ว่าวากะ ในภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่จะเขียนว่า 和歌 ก็ตาม ในอดีตเขียนว่า 倭歌 (倭, wa; ชื่อญี่ปุ่นเก่า) หรือในอีกชื่อคือ ยามาโตะ-อูตะ (大和歌, yamato-uta)

โดยดั้งเดิม วากะ มีฉันทลักษณ์หลายรูปแบบ เช่น ทังกะ (短歌, tanka; "กวีสั้น"), โชกะ (長歌, chōka; "กวียาว"), เซโดกะ (旋頭歌, sedōka; "กลอนจำ") และ คาตาอูตะ (片歌, katauta; "กวีแยกส่วน")[2] สามฉันทลักษณ์สูญหายไปในช่วงยุคเฮอังตอนต้น และโชกะ สาบสูญไปไม่นานหลังจากนั้น ด้วยเหตุนี้ คำว่าวากะ จึงหมายถึงเพียงแค่ทังกะ[3][4]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • บทกวีแห่งความตาย (Death poem) – บทกวีแห่งความตายญี่ปุ่น (jisei) ที่ส่วนใหญ่ใช้ฉันทลักษณ์ของวากะ
  • อูตาไกฮาจิเมะ (Utakai Hajime) – สันนิบาตบทกวีวากะ ครั้งแรกของปี จัดขึ้นโดยจักรพรรดิ
  • อิโรฮะ (Iroha) – ชุดตัวหนังสือพยางค์ญี่ปุ่นเก่าในฉันทลักษณ์บทกวีมาตรา 7-5
  • คิมิงาโยะ – เพลงชาติญี่ปุ่นที่ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นโดยใช้วากะ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10

อ้างอิง[แก้]

  1. Brocade by Night: ‘Kokin Wakashu’ and the Court Style in Japanese Classical Poetry (ภาษาอังกฤษ). Stanford University Press. October 1985. p. 1. ISBN 978-0-8047-6645-6.
  2. Britannica Kokusai Dai-Hyakkajiten entry for "Waka".
  3. Sato, Hiroaki and Watson, Burton. From the Country of Eight Islands: An Anthology of Japanese Poetry. Columbia University Press, ISBN 978-0-231-06395-1 p.619
  4. Digital Daijisen dictionary entry for "waka": "Poetry unique to Japan, written since ancient times, and used in contrast with kanshi. A general name for various types of poetry including chōka, tanka, sedōka and kata-uta, which are composed in lines of 5 and 7 on. From the Heian period on the word came to refer primarily to tanka. Also called yamato-uta."