ผู้ใช้:Phaisit16207/กระบะทราย 6

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพรวม[แก้]

นโปเลียนได้กระทำการยึดอำนาจใน ค.ศ. 1799 ก่อให้เกิดเผด็จการทหาร[1] โดยมีข้อคิดเห็นอยู่หลายประการเกี่ยวกับวันและเวลา ที่จะใช้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามนโปเลียนอย่างเป็นทางการ วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1803 มักถูกนำไปใช้ เมือบริเตนและฝรั่งเศสยุติช่วงเวลาแห่งสันติภาพ ที่เป็นเพียงแค่ระยะเวลาสั้น ๆ ระหว่าง ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1814 เพียงเท่านั้น[2] สงครามนโปเลียนเริ่มต้นด้วยสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม ซึ่งเป็นสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งแรก ต่อกรกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่หนึ่ง ภายหลังจากที่นโปเลียนขึ้นมาเป็นผู้นำของฝรั่งเศส

บริเตนได้ยุติสนธิสัญญาอาเมียงและได้ประกาศสงครามกับฝรั่งเศส เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1803 ในบรรดาสาเหตุอยู่หลายประการ หนึ่งในนั้นคือการเปลี่ยนแปลงของนโปเลียนต่อระบบในยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะในสวิตเซอร์แสนด์ เยอรมนี อิตาลีและเนเธอร์แลนด์ นักประวัติศาสตร์อย่าง เฟรเดอริค คากาน ได้ออกมาให้เหตุผลว่า บริเตนรู้สึกโกรธเคือง โดยเฉพาะกับการอ้างสิทธิ์ของนโปเลียนที่มีการควบคุมสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ ชาวบริติชยังรู้สึกดูถูกเหยียดหยาม เมื่อนโปเลียนได้กล่าวว่า "ดินแดนของพวกเขา ไม่สมควรที่จะมีสิทธิ์มีเสียงในกิจของยุโรป" ถึงแม้ว่าพระเจ้าจอร์จที่ 3 จะทรงเป็นผู้คัดเลือกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ก็ตาม ในส่วนของรัสเซียนั้น รัสเซียตัดสินใจที่จะเข้าแทรกแซงสวิตเซอร์แลนด์ เป็นการบ่งชี้ว่านโปเลียนไม่ได้มองหาข้อแก้ไขอย่างสันติ เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างนโปเลียน กับชาติมหาอำนาจในยุโรปอื่น ๆ [2]

บริเตนบังคับให้รีบปิดล้อมทะเลของฝรั่งเศส เพื่อให้ฝรั่งเศสขาดแคลนทรัพยากร นโปเลียนจึงได้ทำการตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อบริเตน และพยายามที่จะกำจัดพันธมิตรภาคพื้นทวีปของบริเตน เพื่อทำลายพันธมิตรที่จะต่อต้านนโปเลียน โดยที่ระบบดังกล่าวถูกเรียกว่า ระบบภาคพื้นทวีป ในขณะเดียวกัน ก็มีการก่อตั้งสันนิบาตกองกำลังไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดขึ้น เพื่อขัดขวางการปิดล้อมทางทะเลของบริเตนและการบังคับใช้การค้าเสรีกับฝรั่งเศส บริเตนจึงตอบโต้ด้วยการยึดกองเรือเดนมาร์กเพื่อเป็นการทำลายสันนิบาต และในเวลาต่อมาบริเตนได้ครอบครองอำนาจเหนือทะเล ทำให้บริเตนสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างอิสระ แต่นโปเลียนกลับได้รับชัยชนะในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ซึ่งเป็นการบังคับให้จักรวรรดิออสเตรียออกจากสงคราม และทำการยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการ ซึ่งภายในเวลาไม่กี่เดือน ปรัสเซียได้ทำการประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส ก่อให้เกิดสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ สงครามครั้งนี้จบลงด้วยความย่อยยับของปรัสเซีย ปรัสเซียได้รับความพ่ายแพ้และถูกยึดครองดินแดนภายใน 19 วัน นับตั้งแต่เริ่มการทัพ ต่อมานโปเลียนสามารถเอาชนะรัสเซียที่ฟรีดลันด์ ซึ่งสามารถสร้างรัฐบริวารที่มีอำนาจในยุโรปตะวันออก และทำให้สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่สิ้นสุดลง

ในขณะเดียวกัน การที่โปรตุเกสปฏิเสธที่จะเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีปและความล้มเหลวของสเปนในการรักษาระบบดังกล่าว นั่นจึงทำให้นำไปสู่สงครามคาบสมุทร และสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าก็ได้ปะทุขึ้น ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองสเปนและสถาปนาราชอาณาจักรบริวารสเปน ซึ่งทำให้ความเป็นพันธมิตรระหว่างทั้งสองสิ้นสุดลง ในเวลาไม่นาน บริเตนก็ได้มีส่วนร่วมอย่างใหญ่หลวงในสงครามที่สู้รบกันคาบสมุทรไอบีเรีย ในขณะที่ความพยายามของบริเตนในการยึดเมืองแอนต์เวิร์ปนั้นล้มเหลว นโปเลียนได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์ในคาบสมุทรไอบีเรีย ฝรั่งเศสสามารถเอาชนะสเปนและขับไล่บริเตนให้ออกจากคาบสมุทร ออสเตรียซึ่งกระตือรือร้นกับการกอบกู้ดินแดนที่สูญเสียไปในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม ก็ได้รุกรานรัฐบริวารของฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในยุโรปตะวันออก นโปเลียนสามารถเอาชนะสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าที่วากรัม

เนื่องด้วยความโกรธเคืองของสหรัฐต่อการกระทำของกองเรือบริเตน นั่นจึงทำให้สหรัฐประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักร ในชื่อสงคราม ค.ศ. 1812 แต่สหรัฐกลับไม่ได้เป็นพันธมิตรของฝรั่งเศส และด้วยความคับข้องใจเกี่ยวกับการปกครองโปแลนด์ ประกอบกับการที่รัสเซียถอนตัวออกจากระบบภาคพื้นทวีป จึงนำไปสู่การรุกรานรัสเซียโดยนโปเลียนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1812 การรุกรานในครั้งนี้ถือว่าเป็นหายนะอย่างไม่ลดละสำหรับนโปเลียน ด้วยกลยุทธ์ผลาญภพ การถอยทัพเข้าไปในดินแดนลึกของรัสเซีย ความล้มเหลวทางกลยุทธ์ของฝรั่งเศส และการเริ่มต้นฤดูหนาวของรัสเซีย จึงทำให้นโปเลียนต้องถอยทัพพร้อมกับความสูญเสียอย่างมหาศาล นโปเลียนต้องประสบกับความพ่ายแพ้ที่เพิ่มมากขึ้น เมื่ออำนาจของฝรั่งเศสที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรียถูกทำลายลงในยุทธการที่บิตอเรีย ในฤดูร้อนของปีถัดมา และสหสัมพันธมิตรครั้งใหม่ก็ได้เริ่มต้นสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หก

ฝ่ายสหสัมพันธมิตรสามารถเอาชนะนโปเลียนที่ไลพ์ซิช ซึ่งทำให้พระองค์ทรงสูญเสียพระอำนาจ และในท้ายที่สุด พระองค์ก็ทรงสละราชสมบัติในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1814 ฝ่ายของผู้ชนะในสงครามได้เนรเทศนโปเลียนไปยังเกาะเอลบา และทำการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง นโปเลียนสามารถหลบหนีออกจากเกาะเอลบาได้ใน ค.ศ. 1815 โดยได้ทำการรวบรวมการสนับสนุน เพื่อให้มีมากพอสำหรับการล้มล้างราชาธิปไตยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 อันก่อให้เกิดสหสัมพันธมิตรครั้งที่เจ็ด และเป็นครั้งสุดท้ายที่ต่อกรกับนโปเลียน นโปเลียนพ่ายแพ้อย่างราบคาบที่วอเตอร์ลู และพระองค์ก็ทรงสละราชสมบัติอีกครั้งในวันที่ 22 มิถุนายน นโปเลียนได้ยอมวางอาวุธต่อกองกำลังบริเตนที่รอชฟอร์ในวันที่ 15 กรกฎาคม และถูกเนรเทศไปยังเกาะเซนต์เฮเลนาอันห่างไกลเป็นการถาวร สนธิสัญญาปารีสได้รับการลงนามในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อันเป็นการยุติสงครามนโปเลียนอย่างเป็นทางการ

ราชาธิปไตยบูร์บงได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง และผู้ชนะในสงครามก็ได้ริเริ่มการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาขึ้น เพื่อฟื้นฟูสันติภาพให้กับทวีปยุโรป และอันเป็นผลมาจากสงครามโดยตรง จึงทำให้ราชอาณาจักรปรัสเซียได้กลายเป็นมหาอำนาจในทวีปยุโรป[3] ในขณะที่บริเตนใหญ่ซึ่งมีราชนาวีที่เทียบเท่าไม่ได้ และเป็นจักรวรรดิที่กำลังเติบโต ก็ได้กลายเป็นมหาอำนาจที่ครอบครองโลก อันเป็นจุดเริ่มต้นของสันติภาพของบริเตน (Pax Britannica)[4] The Holy Roman Empire was dissolved, and the philosophy of nationalism that emerged early in the war contributed greatly to the later unification of the German states, and those of the Italian peninsula. The war in Iberia greatly weakened Spanish power, and the Spanish Empire began to unravel; Spain would lose nearly all of its American possessions by 1833. The Portuguese Empire shrank, with Brazil declaring independence in 1822.[5]

The wars revolutionised European warfare; the application of mass conscription and total war led to campaigns of unprecedented scale, as whole nations committed all their economic and industrial resources to a collective war effort.[6] Tactically, the French Army redefined the role of artillery, while Napoleon emphasised mobility to offset numerical disadvantages,[7] and aerial surveillance was used for the first time in warfare.[8] The highly successful Spanish guerrillas demonstrated the capability of a people driven by fervent nationalism against an occupying force.[9] Due to the longevity of the wars, the extent of Napoleon's conquests, and the popularity of the ideals of the French Revolution, the ideals had a deep impact on European social culture. Many subsequent revolutions, such as that of Russia, looked to the French as their source of inspiration,[10][11] while its core founding tenets greatly expanded the arena of Human rights and shaped modern political philosophies in use today.[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jones 1994, pp. 193–194.
  2. 2.0 2.1 Kagan 2007, pp. 42–43.
  3. Dwyer, Philip G. (4 February 2014). The Rise of Prussia 1700–1830. ISBN 9781317887034. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
  4. Ferguson, Niall (2004). Empire, The rise and demise of the British world order and the lessons for global power. Basic Books. ISBN 0-465-02328-2.
  5. Keen & Haynes 2012, chpt. 8.
  6. Bell 2007, p. 51.
  7. Geoffrey Wawro (2002). Warfare and Society in Europe, 1792–1914. Routledge. p. 9. ISBN 9780203007358. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2015. สืบค้นเมื่อ 18 June 2015.
  8. Palmer 1941, pp. 81–83.
  9. Tone 1996, pp. 355–382แม่แบบ:Too many pages.
  10. Shlapentokh 1997, pp. 220–228.
  11. Palmer, Colton & Kramer 2013, pp. 81–83.
  12. Desan, Hunt & Nelson 2013, pp. 3, 8, 10.