ยุทธการที่โบโรดีโน
ยุทธการที่โบโรดีโน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศส | |||||||||
ภาพวาดยุทธการที่มอสโก, วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1812, ค.ศ. 1822 โดย Louis-François Lejeune | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
จักรวรรดิรัสเซีย[2] | |||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
กำลัง | |||||||||
130,000–190,000 men 587 guns[4] |
120,000–160,000 men 624 guns | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
28,000–35,000 dead, wounded and captured[5] [6](inc. 47 generals, 480 officers) | 40,000–45,000 dead, wounded, and captured[6][7] (inc. 23 generals, 211 officers) |
ยุทธการที่โบโรดีโน(รัสเซีย: Бopoди́нcкoe cpaже́ниe, อักษรโรมัน: Borodínskoye srazhéniye; ฝรั่งเศส: Bataille de la Moskova) เป็นการต่อสู้รบ เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1812[8] ในสงครามนโปเลียนในช่วงฝรั่งเศสบุกครองรัสเซีย
การสู้รบครั้งนี้ได้มีทหารร่วมรบประมาณ 250,000 นายและมีการบาดเจ็บและล้มตายอย่างน้อย 70,000 นาย ทำให้โบโรดีโนเป็นวันที่ร้ายแรงที่สุดในสงครามนโปเลียน กองทัพใหญ่(Grande Armée)ของนโปเลียนได้เปิดฉากการโจมตีต่อกองทัพจัรวรรดิรัสเซีย ได้ผลักดันกลับไปยังจุดเริ่มต้นแต่ล้มเหลวในการเอาชนะอย่างเด็ดขาด ทั้งสองกองทัพต่างหมดกำลังลงภายหลังจากการสู้รบและรัสเซียได้ถอนกำลังออกจากสนามรบในวันต่อมา โบโรดีโนได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามครั้งสุดท้ายของรัสเซียในการหยุดยั้งฝรั่งเศสบุกเข้าสู่กรุงมอสโก ซึ่งหนึ่งสัปดาห์ต่อมา อย่างไรก็ตาม, ฝรั่งเศสไม่มีหนทางที่ชัดเจนในการบีบบังคับให้พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ยอมจำนนเพราะกองทัพบกจักรวรรดิรัสเซียไม่ยอมแพ้อย่างเด็ดขาด ส่งผลทำให้ความพ่ายแพ้สูงสุดของการรุกรานของฝรั่งเศส ภายหลังจากการหลบหนีออกจากกรุงมอสโกในเดือนตุลาคม
หลังจากการล่าถอยหลายครั้งของรัสเซียในช่วงแรกของการทัพ บรรดาขุนนางเริ่มตื่นตระหนกเกี่ยวกับการรุกของกองทหารฝรั่งเศสที่กำลังจะมาถึงและบังคับให้พระเจ้าซาร์สั่งปลดผู้บัญชาการแห่งกองทัพบก Michael Andreas Barclay de Tolly มีฮาอิล คูตูซอฟได้รับการแต่งตั้งมาแทนที่เขา ในความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อปกป้องกรุงมอสโก รัสเซียได้ตั้งที่มั่นใกล้กับหมู่บ้านโบโรดีโน ทางตะวันตกของเมือง Mozhaysk พวกเขาสร้างป้อมปราการที่ตำแหน่งที่พวกเขาอยู่และรอให้ฝรั่งเศสเข้าโจมตี ปีกขวาของรัสเซียได้ครอบครองภูมิประเทศการป้องกันในอุดมคติ และดังนั้นฝรั่งเศสพยายามที่จะกดดันรัสเซียให้ออกไปจากสนามรบ
เหตุการณ์ที่สำคัญของการสู้รบครั้งนี้ได้กลายเป็นการต่อสู้นองเลือดสำหรับที่มั่นป้อมแหลม(redoubt) Raevsky ขนาดใหญ่ ใกล้หมู่บ้านโบโรดีโน ฝรั่งเศสได้จัดการเข้ายึดที่มั่นป้อมแหลมจนถึงตะวันบ่ายเสียแล้ว จึงค่อยๆบังคับให้กองทัพรัสเซียที่เหลือล่าถอยกลับเช่นกัน รัสเซียได้พบกับการบาดเจ็บและล้มตายที่ร้ายแรงในช่วงการสู้รบ สูญเสียไปหนึ่งในสามของกองทัพของพวกเขา การสูญเสียของฝรั่งเศสนั้นค่อยข้างหนัก ทำให้เกิดทวีความรุนแรงขึ้นของปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ที่นโปเลียนเผชิญในการทัพ ความเหนื่อยล้าของกองทัพฝรั่งเศส และขาดข้อมูลเกี่ยวกับสภาพของกองทัพรัสเซีย ได้โนมน้าวให้นโปเลียนยังคงอยู่ในสนามรบกับกองทัพของเขา แทนที่จะสั่งให้มีการติดตามไล่ล่าที่ชวนให้นึกถึงการทัพครั้งก่อนหน้านี้
ทหารรักษาพระองค์ของนโปเลียน เพียงหน่วยเดียวบนสนามรบที่ไม่เห็นได้เข้าต่อสู้รบ สามารถสลับเปลี่ยนเข้าปฏิบัติการรบในช่วงเวลาหนึ่ง ในขณะที่ได้ปฏิเสธที่จะมอบหมายให้กับทหารรักษาพระองค์ นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่า พระองค์สูญเสียโอกาสเดียวที่จะทำลายล้างกองทัพรัสเซียและเอาชนะการทัพครั้งนี้
การเข้ายึดครองกรุงมอสโกได้รับชัยชนะอย่างมาก นับตั้งแต่รัสเซียไม่มีความตั้งใจที่จะเจรจากับนโปเลียนเพื่อสันติภาพ ฝรั่งเศสได้เคลื่อนย้ายเมืองหลวงทางจิตวิญญาณของรัสเซียในเดือนตุลาคมและดำเนินการล่าถอยที่ยากลำบากจนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งจุดที่เหลือของกองทัพใหญ่ได้ถูกปลดปล่อยเป็นส่วนใหญ่ รายงานทางประวัติศาสตร์ของการสู้รบครั้งนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาเป็นพวกสนับสนุนฝ่ายฝรั่งเศสหรือฝ่ายรัสเซีย การต่อสู้แบบแตกแยกในหมู่เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสในแต่ละกองทัพก็ได้นำไปสู่ข้อขัดแย้งทางบัญชีและข้อขัดแย้งในบทบาทของเจ้าหน้าที่นายทหารโดยเฉพาะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Several states belonging to the Confederation of the Rhine provided military contingents during this battle: the kingdoms of Bavaria, Westphalia, Württemberg, Saxony and the Grand Duchy of Hesse.
- ↑ Note that although no official flag existed during this period, the tricolour represents the officer sash colours and the Double Eagle represents the Tsar's official state symbol.
- ↑ See the aftermath section
- ↑ Richard K. Riehn, Napoleon's Russian Campaign, John Wiley & Sons, 2005, p. 479.
- ↑ Herman Lindqvist. Napoleon, p. 368, chapter 20, 'The battle of Borodino, the bloodiest of them all'
- ↑ 6.0 6.1 Riehn, p. 255.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSmith 392
- ↑ 26 August in the Julian calendar then used in Russia.