ทางรถไฟสายภูเขาแห่งอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางรถไฟสายภูเขาแห่งอินเดีย
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ที่ตั้งประเทศอินเดีย
รวมถึงแม่แบบ:Numbered list
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (ii), (iv)
อ้างอิง944ter
ขึ้นทะเบียน1999 (สมัยที่ 23)
เพิ่มเติม2005, 2008
พื้นที่89 ha (0.34 sq mi)
พื้นที่กันชน645 ha (2.49 sq mi)
ทางรถไฟสายภูเขาแห่งอินเดียตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
1
1
2
2
3
3
1 = สายดาร์จีลิงหิมาลัย, 2 = สายภูเขานิลคีรี, 3 = สายกาลกา-ศิมลา

ทางรถไฟสายภูเขาแห่งอินเดีย (อังกฤษ: Mountain railways of India) หมายถึงรถไฟสายต่าง ๆ ที่สร้างและวิ่งไปตามภูเขาในประเทศอินเดีย ปัจจุบันทางรถไฟสายภูเขาจำนวนสามสาย ได้แก่ สายดาร์จีลิงหิมาลัย, สายภูเขานิลคีรี และสายกาลกา-ศิมลา ซึ่งได้รับสถานะแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก นอกจากนี้ยังมีสายเขามาเตรันที่อยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกขั้นต้น (Tentative)[1] ทั้งสี่สายที่กล่าวมาเป็นรางรถไฟแบบเกจแคบ และสายนิลคีรียังเป็นรางรถไฟแบบแร็คแห่งเดียวในอินเดีย

ทางรถไฟสายภูเขาบางสาย เช่น สายลุมดิง-พาทารปุระ ได้ถูกปรับเป็นทางรถไฟแบบ 1,676 mm (5 ft 6 in) เกจกว้าง ซึ่งเป็นแบบมาตรฐานของประเทศ บางสาย เช่น สายหุบเขากังครา กำลังอยู่ภายใต้การปรับปรุงเพื่อเป็นแบบเกจกว้าง บางสาย เช่น สายชัมมู-พรมูลละ กำลังก่อสร้างอยู่ และนอกจกานี้ยังมีอีกหลายสายที่อยู่ในระยะวางแผน เช่น ศรีนคร–เลห์, พิลาสปุระ-เลห์, ชัมมู-ปูฉ และ โจตจารธาม โดยทางรถไฟที่สร้างใหม่เหล่านี้จะสร้างด้วยเกจขนาด 1,676 mm (5 ft 6 in) ทั้งสิ้น

อ้างอิง[แก้]

  1. Centre, UNESCO World Heritage. "Mountain Railways of India". whc.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-06-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]