ข้ามไปเนื้อหา

ภาษายูราร์เทีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษายูราร์เทีย
Vannic
ประเทศที่มีการพูดที่ราบสูงอาร์มีเนีย
ภูมิภาคอูราร์ตู
ยุคยืนยันในศตวรรษที่ 9–6 ก่อนคริสต์ศักราช
ตระกูลภาษา
ฮูร์โร-ยูราร์เทีย
  • ภาษายูราร์เทีย
ระบบการเขียนอักษรรูปลิ่มอัสซีเรียใหม่
รหัสภาษา
ISO 639-3xur
นักภาษาศาสตร์xur
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษายูราร์เทีย เป็นภาษาฮูร์โร-ยูราร์เทียที่สูญหายแล้วที่เคยใช้พูดในอาณาจักรอูราร์ตูโบราณ (Biaini หรือ Biainili ในภาษายูราร์เทีย) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่รอบทะเลสาบวาน และมีตุชปาเป็นเมืองหลวงที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองวานในปัจจุบันบนที่ราบสูงอาร์มีเนีย (ปัจจุบันอยู่ในภูมิภาคอานาโตเลียตะวันออก ประเทศตุรกี)[1] บางคนเชื่อว่ามีผู้ภาษานี้โดยหลักรอบทะเลสาบวานและพื้นที่หุบเขาซาบตอนบน[2] ในขณะที่อีกบางส่วนเชื่อว่ามีผู้พูดภาษานี้จำนวนน้อย ซึ่งประกอบเป็นชนชั้นปกครอง[3]

ภาษายูราร์เทียได้รับการยืนยันครั้งแรกในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช ก่อนที่ไม่มีผู้เขียนหลังรัฐอูราร์เตียล่มสลายใน 585 ปีก่อนคริสต์ศักราช และน่าจะสูญหายเนื่องจากการล่มสลายของอูราร์ตู[4] ภาษานี้ได้มีการติดต่อเป็นเวลานานและภายหลังจึงถูกแทนที่ด้วยภาษาอาร์มีเนียตอนต้น[5][6][7] แม้ว่าตัวอย่างรูปเขียนภาษาอาร์มีเนียแบบแรกจะมีอายุถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ก็ตาม[8]

การจัดจำแนก

[แก้]

ภาษายูร์ราเทียเป็นภาษารูปคำติดต่อและใช้การกเกี่ยวพันซึ่งไม่อยู่ในตระกูลภาษาเซมิติกหรือตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนแต่อยู่ในตระกูลภาษาฮูร์โร-อูราเทีย ภาษานี้เหลือรอดในรูปของจารึกจำนวนมากที่พบในบริเวณอาณาจักรอูราตู เขียนด้วยอักษรรูปลิ่มอัสซีเรียแต่นักวิชาการบางกลุ่มจัดว่าภาษานี้อักษรภาพเป็นของตัวเองเรียกว่าเฮียโรกลิฟแบบยูร์ราเทีย

ภาษายูราร์เทียมีความใกล้ชิดกับภาษาฮูร์เรีย ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในยุคก่อนหน้าและไม่คาบเกี่ยวกัน ประมาณช่วง 2000 ถึง 1200 ปีก่อน ค.ศ. (ผู้พูดภาษาแม่ยังคงเขียนจนกระทั่งประมาณ 1350 ปีก่อน ค.ศ.) ทั้งสองภาษาพัฒนาอย่างเป็นอิสระแก่กันตั้งแต่ประมาณ 2000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นต้นมา[9][10] แม้ว่าภาษายูราร์เทียไม่ได้เป็นภาษาสืบทอดโดยตรงจากภาษาย่อยใด ๆ ของภาษาฮูร์เรีย[11] แต่มีลักษณะบางอย่างที่พัฒนาการร่วมกับภาษาฮูร์เรีย ความใกล้ชิดนี้เป็นไปได้ว่าเกิดจากการมีผู้รู้ภาษายูราร์เทียและภาษาฮูร์เรียทั้งสองภาษา

ความเชื่อมโยงภายนอกกลุ่มภาษาฮูร์โร-ยูราร์เทียยังคงเป็นประเด็นถกเถียง โดยมีการเสนอความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาอื่นหลายแบบ (เช่น กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันออกเฉียงเหนือ, ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือกลุ่มภาษาคอเคซัสใต้) แต่ไม่มีกลุ่มใดที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป[12]

การถอดความ

[แก้]

Friedrich Eduard Schulz นักวิชาการชาวเยอรมันผู้ค้นพบจารึกทะเลสาบวานและจารึกอูราร์ตูใน ค.ศ. 1826 ได้ทำสำเนาจารึกอักษรรูปลิ่มที่ตุชปาจำนวนมาก แต่ไม่ได้พยายามถอดความ[13] สำเนาของ Schulz ที่ตีพิมพ์หลังเสียชีวิตใน ค.ศ. 1840 ใน Journal Asiatique[14] กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการถอดความอักษรรูปลิ่มเมโสโปเตเมียของเอดเวิร์ด ฮินก์ส[15]

หลังจากที่ถอดความอักษรรูปลิ่มอัสซีเรียได้ในราวคริสต์ทศวรรษ 1850 สำเนาของ Schulz กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการถอดความภาษายูราร์เทีย ปัจจุบันเป็นที่แน่นอนว่าภาษานี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาที่รู้จักกันอยู่ และการพยายามถอดความโดยใช้ภาษาที่เป็นที่รู้จักกันแล้วในบริเวณนั้น ประสบความล้มเหลว[16] จารึกเหล่านี้ถอดความได้ใน ค.ศ. 1882 โดย A. H. Sayce จารึกที่เก่าที่สุดมีอายุราวสมัยซาร์ดูรีที่ 1 แห่งอูราร์ตู[17]

การถอดความได้ก้าวหน้ามากขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อมีการพบจารึกภาษายูราร์เทีย-อัสซีเรียที่ Kelišin และ Topzawä[16][18][19]

ใน ค.ศ. 1963 มีการตีพิมพ์ไวยากรณ์ภาษายูราร์เทียเขียนโดย G. A. Melikishvili ในรัสเซียและแปลเป็นภาษาเยอรมันใน ค.ศ. 1971 ในคริสต์ทศวรรษ 1970 มีการตีพิมพ์เกี่ยวกับความคล้ายคลึงกับภาษาฮูร์เรียโดย I. M. Diakonoff

คลังข้อมูล

[แก้]
จารึกภาษายูราร์เทียเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มแสดงที่พิพิธภัณฑ์ในเยเรวาน จารึกอ่านได้ว่า: สำหรับเทพเจ้าคาลดี กระเจ้าอาร์กิสติสที่ 1 โอรสแห่งเมนัว สร้างวิหารและป้อมปราการนี้ ข้าป่าวประกาศอิรบูนี (เอเรบูนี) สำหรับความรุ่งเรืองของประเทศแห่งบีอาย (=อูร์ราตู) และสำหรับการยึดครองประเทศลูลุย (=ศัตรู) ด้วยความน่าเกรงขาม ด้วยความยิ่งใหญ่แห่งคาลดี นี่คืออาร์กิสติส โอรสแห่งเมนัว กษัตริย์แห่งบีอายผู้ปกครองเมืองตุชปา

จารึกที่เก่าที่สุดพบในสมัยซาร์ดูรีที่ 1 มีอายุราวปลายศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช[20] และมีจารึกต่อเนื่องมาจนถึงการล่มสลายของอาณาจักรอูราร์ตูในอีกประมาณ 200 ปีต่อมา

มีผู้ค้นพบจารึกที่เขียนด้วยภาษายูราร์เทียประมาณ 200 อันที่อักษรรูปลิ่มมาใช้และดัดแปลง[21]

การเขียน

[แก้]

อักษรรูปลิ่ม

[แก้]

อักษรรูปลิ่มของภาษายูราร์เทียมีมาตรฐานเช่นเดียวกับอักษรรูปลิ่มอัสซีเรียใหม่ แต่ที่ต่างจากของอัสซีเรียคือสัญลักษณ์ 1 ตัวแทนเสียงเดียว เช่น u-gi-iš-ti หมายถึง Uīšdi

เฮียโรกลิฟ

[แก้]

ภาษายูราร์เทียบางส่วนเขียนด้วยเฮียโรกกลิฟแบบอนาโตเลียที่ใช้กับภาษาลูเวีย นอกจากนั้นยังมีเฮียโรกลิฟเป็นของตัวเองด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Læssøe, Jørgen (1963). People of Ancient Assyria: Their Inscriptions and Correspondence. Routledge & Kegan Paul. p. 89. ISBN 978-1-01-366139-6.
  2. Wilhelm, Gernot (2008). "Urartian". ใน Woodard, Roger D. (บ.ก.). The Ancient Languages of Asia Minor. p. 105. Neither its geographical origin can be conclusively determined, nor the area where Urartian was spoken by a majority of the population. It was probably dominant in the mountainous areas along the upper Zab Valley and around Lake Van.
  3. Zimansky, Paul (1995). "Urartian Material Culture As State Assemblage: An Anomaly in the Archaeology of Empire". Bulletin of the American Schools of Oriental Research: vol. 299–300: 103–115. doi:10.2307/1357348. ISSN 0003-097X. JSTOR 1357348. S2CID 164079327. Although virtually all the cuneiform records that survive from Urartu are in one sense or another royal, they provide clues to the existence of linguistic diversity in the empire. There is no basis for the a priori assumption that a large number of people ever spoke Urartian. Urartian words are not borrowed in any numbers by neighboring peoples, and the language disappears from the written record along with the government
  4. Wilhelm, Gernot (2008). "Urartian". ใน Woodard, Roger D. (บ.ก.). The Ancient Languages of Asia Minor. p. 106. We do not know when the language became extinct, but it is likely that the collapse of what had survived of the empire until the end of the seventh or the beginning of the sixth century BCE caused the language to disappear.
  5. Petrosyan, Armen (2010). "The Armenian Elements in the Language and Onomastics of Urartu". Aramazd: Armenian Journal of Near Eastern Studies.
  6. Mallory, J.P.; Adams, Douglas Q., บ.ก. (1997). Encyclopedia of Indo-European culture. London: Fitzroy Dearborn Publishers. p. 30. ISBN 978-1-884964-98-5. OCLC 37931209. Armenian presence in their historical seats should then be sought at some time before c 600 BC; ... Armenian phonology, for instance, appears to have been greatly affected by Urartian, which may suggest a long period of bilingualism.
  7. Diakonoff, Igor M. (1968). "The Pre-history of the Armenian People". Attalus: sources for Greek & Roman history.
  8. Clackson, James P. T. (2008). "Classical Armenian". ใน Woodard, R. D. (บ.ก.). The languages of Asia Minor. p. 125. The extralinguistic facts relevant to the prehistory of the Armenian people are also obscure. Speakers of Armenian appear to have replaced an earlier population of Urartian speakers (see Ch. 10) in the mountainous region of Eastern Anatolia. The name Armenia first occurs in the Old Persian inscriptions at Bīsotūn dated to c. 520 BCE (but note that the Armenians use the ethnonym hay [plural hayk‘] to refer to themselves). We have no record of the Armenian language before the fifth century CE. The Old Persian, Greek, and Roman sources do mention a number of prominent Armenians by name, but unfortunately the majority of these names are Iranian in origin, for example, Dādrši- (in Darius’ Bīsotūn inscription), Tigranes, and Tiridates. Other names are either Urartian (Haldita- in the Bīsotūn inscription) or obscure and unknown in literate times in Armenia (Araxa- in the Bīsotūn inscription).
  9. Wilhelm, Gernot (1982). Grundzüge der Geschichte und Kultur der Hurriter (ภาษาเยอรมัน). Wissenschaftliche Buchgesellschaft. p. 5. ISBN 978-3-534-08151-6.
  10. Wilhelm, Gernot (2008). "Urartian". ใน Woodard, Roger D. (บ.ก.). The Ancient Languages of Asia Minor. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 105–123. ISBN 978-0-521-68496-5.
  11. Academic American Encyclopedia. p. 198.
  12. Wilhelm, Gernot (2008). "Hurrian". ใน Woodard, Roger D. (บ.ก.). The Ancient Languages of Asia Minor. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 81–104. ISBN 978-0-521-68496-5.
  13. Noonan, John (มีนาคม–เมษายน 1973). "Van!". Saudi Aramco World. Vol. 24 no. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ธันวาคม 2013.
  14. Schulz, Fr., บ.ก. (1840). "Mémoire sur le lac du Van et ses environs". Journal Asiatique. 3. 9: 257–323. + 8 plates.
  15. Hincks, Edward (1847). "On the Inscriptions at Van". The Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland. 9: 387–449. JSTOR 25207642.
  16. 16.0 16.1 Götze, Albrecht (1930). Verstreute Boghazköi-Texte. Marburg.
  17. Department of Ancient Near Eastern Art (ตุลาคม 2004). "Urartu". Heilbrunn Timeline of Art History. New York: The Metropolitan Museum of Art.
  18. Götze, Albrecht (กันยายน 1935). "Some Notes on the Corpus Inscriptionum Chaldicarum". Journal of the American Oriental Society. 55 (3): 294–302. doi:10.2307/594831.
  19. Friedrich, Johannes (1933). Einführung ins Urartäische. Grammatischer Abriss und ausgewählte Texte mit sprachlichen Erläuterungen (Microform) (ภาษาเยอรมัน). Leipzig: J.C. Hinrichs. OCLC 318181164.
  20. Piotrovskiĭ, Boris Borisovich (1967). Urartu: the kingdom of Van and its art. New York: F.A. Praeger. p. 65.
  21. Bromiley, Geoffrey William (1995). The international standard Bible encyclopedia: Q-Z (Reprint ed.). Eerdmans Pub Co. p. 234. ISBN 0-8028-3784-0.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Маргарит Левоновна Хачикян: "Урартский язык", in Древние реликтовые языки Передней Азии, Языки мира, Институт языкознания, 2010 (ในภาษารัสเซีย)
  • C. B. F. Walker: Reading the Past: Cuneiform, British Museum Press, 1996, ISBN 0-7141-8077-7
  • J. Friedrich: "Urartäisch", in Handbuch der Orientalistik I, ii (1–2): 31–53, Leiden, 1969
  • Gernot Wilhelm: "Urartian", in R. Woodard (ed.), The Cambridge Encyclopedia of the World’s Ancient Languages, Cambridge, 2004
  • Vyacheslav V. Ivanov: "Comparative Notes on Hurro-Urartian, Northern Caucasian and Indo-European", UCLA, 1996
  • Mirjo Salvini: Geschichte und Kultur der Urartäer, Wissenschaftliche Buchgesellschaft, Darmstadt, 1995
  • Jeffrey J. Klein, "Urartian Hieroglyphic Inscriptions from Altintepe", Anatolian Studies, vol. 24 (1974): 77–94

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]