ข้ามไปเนื้อหา

องค์การบริหารส่วนตำบลหงาว

พิกัด: 9°51′04.3″N 98°37′09.3″E / 9.851194°N 98.619250°E / 9.851194; 98.619250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การบริหารส่วนตำบลหงาว
น้ำตกหงาวในอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว สายน้ำมาจากบึงมรกตซึ่งในอดีตมีการทำเหมืองแร่
น้ำตกหงาวในอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว สายน้ำมาจากบึงมรกตซึ่งในอดีตมีการทำเหมืองแร่
อบต.หงาวตั้งอยู่ในจังหวัดระนอง
อบต.หงาว
อบต.หงาว
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหงาว
พิกัด: 9°51′04.3″N 98°37′09.3″E / 9.851194°N 98.619250°E / 9.851194; 98.619250
ประเทศ ไทย
จังหวัดระนอง
อำเภอเมืองระนอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด55.33 ตร.กม. (21.36 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[1]
 • ทั้งหมด6,944 คน
 • ความหนาแน่น125.50 คน/ตร.กม. (325.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06850110
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 9 หมู่ที่ 1 ถนนเพชรเกษม ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000
เว็บไซต์www.ngao-ranong.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

องค์การบริหารส่วนตำบลหงาว เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 3–5 และครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1–2 ของตำบลหงาว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหงาว) ในอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลหงาวใน พ.ศ. 2516[2] และได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหงาวใน พ.ศ. 2540[3] ใน พ.ศ. 2564 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลหงาวมีประชากรทั้งหมด 6,944 คน

องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดระนองตั้งอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว โดยเดินเลียบสายน้ำผ่านผืนป่าดงดิบไปประมาณ 500 เมตร จะถึงน้ำตกชั้นล่างสุดซึ่งสายน้ำไหลตกมาจากหน้าผาชัน ยามหน้าฝนสายน้ำจะไหลหลากอาบผาหิน ส่วนหน้าแล้งเหลือเพียงสายน้ำเล็กๆ บริเวณน้ำตกหงาวนี้ เป็นแหล่งที่พบปูชนิดใหม่ของโลก คือ ปูเจ้าฟ้า[4] และมีพรรณไม้ที่น่าสนใจ คือ โกมาสุม หรือ เอื้องเงินหลวง ซึ่งออกดอกในช่วงเดือนตุลาคม–ธันวาคม และเป็นที่ตั้งของ "ภูเขาหญ้า" เป็นภูเขาที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นมีแต่ต้นหญ้าปกคลุมแนวเขาที่ทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ภูเขาที่เต็ม ไปด้วยหญ้าต่างสีต่างวันเวลาและเนินเขางดงาม ในช่วงฤดูแล้งภูเขาหญ้าจะแปรเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวยิ่งในช่วงในตกใหม่ๆอาจมีโอกาสได้แห่งของสายหมอกฝนลอยไปมา จึงนิยมเรียกกันว่า "ภูเขาหญ้าสองสี"

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-07-03. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  4. สารคดีข่าว, นิตยสารสารคดี มิถุนายน พ.ศ. 2533, หน้า 38

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]