ตำบลราชกรูด
ตำบลราชกรูด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Ratchakrut |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ระนอง |
อำเภอ | เมืองระนอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 152.41 ตร.กม. (58.85 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 9,810 คน |
• ความหนาแน่น | 64.36 คน/ตร.กม. (166.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 85000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 850102 |
เทศบาลตำบลราชกรูด | |
---|---|
พิกัด: 9°45′25.3″N 98°35′31.3″E / 9.757028°N 98.592028°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ระนอง |
อำเภอ | เมืองระนอง |
จัดตั้ง | • 5 กรกฎาคม 2516 (สภาตำบลราชกรูด) • 2539 (อบต.ราชกรูด) • 15 กรกฎาคม 2551 (ทต.ราชกรูด) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 152.41 ตร.กม. (58.85 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[1] | |
• ทั้งหมด | 9,810 คน |
• ความหนาแน่น | 203.49 คน/ตร.กม. (527.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05850106 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 68/8 หมู่ที่ 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000 |
เว็บไซต์ | www |
ราชกรูด เป็นหนึ่งในเก้าตำบลของอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานระนอง[2] มีพื้นที่ใน 3 อุทยานแห่งชาติ 1 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 เขตสงวนชีวมณฑลโลก คือ อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว[3][4] อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง[5] อุทยานแห่งชาติแหลมสน[6] เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน[7] และพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนองซึ่งมีสวนรุกขชาติป่าชายเลน[8]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลราชกรูดมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหงาว (อำเภอเมืองระนอง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลปากทรง (อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร) และตำบลกะเปอร์ (อำเภอกะเปอร์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลม่วงกลวง (อำเภอกะเปอร์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับน่านน้ำในเขตตำบลเกาะพยาม (อำเภอเมืองระนอง)
ประวัติ
[แก้]ตำบลราชกรูดเดิมขึ้นกับหัวเมืองกระบุรี มีฐานะทางการปกครองในสมัยนั้นเป็นแขวง ราษฎรมีการตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มบ้านบริเวณปากคลองซึ่งจะเป็นท่าเรือของชาวบ้าน เพราะการคมนาคมเดินทางโดยทางเรือ ซึ่งมีหลายท่าเรือเป็นชุมชนเดิม ตามประวัติที่เล่าต่อกันมา ว่ามีพ่อค้าชาวอินเดีย มีลูกเรือเป็นชาวเขมร ลาว เดินเรือสินค้าทำการค้าขายกับพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย โดยใช้เส้นทางผ่านจากอำเภอหลังสวนโดยเดินเท้าข้ามภูเขามาถึงบริเวณท่าเรือและเรียกพื้นที่แถวนี้ว่า "ราชกูฎ" ซึ่งแปลว่ายอดเขาเจ้า เพราะมียอดเขาสูงคือเขาพ่อตาโชงโดง และต่อมาชาวบ้านที่อพยพมาเรียกเพี้ยนมาเป็นบ้าน "ราชกรูด"
บ้างก็ว่ากันว่า พื้นที่ตั้งของตลาดราชกรูดปัจจุบันนั้นเดิมมีต้นมะกรูดต้นใหญ่อยู่ใจกลาง ผู้คนส่วนใหญ่เรียกว่า "ท่าต้นกรูด" และต่อมาเมื่อมีคนอพยพมาอาศัยมากขึ้น โดยใช้เส้นทางเรือเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีต้นกรูดเป็นจุดเริ่มต้นเดินทาง ต่อมาได้มีนายทุนจากจังหวัดภูเก็ตมาสำรวจแร่ดีบุก พัฒนาเส้นทางการขนส่ง จนพัฒนาเป็นถนนเพชรเกษมตัดผ่านกลางตำบล การเรียกชื่อบ้านท่ากรูด ก็เพี้ยนมาเรื่อย ๆ จนเรียกกันปัจจุบันว่า "ราชกรูด"[9]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลราชกรูดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 | บ้านละออง | (Ban La-ong) | ||
หมู่ที่ 2 | บ้านล่าง | (Ban Lang) | ||
หมู่ที่ 3 | บ้านราชกรูด | (Ban Ratchakrut) | ||
หมู่ที่ 4 | บ้านห้วยน้ำใส | (Ban Huai Nam Sai) | ||
หมู่ที่ 5 | บ้านนกงาง | (Ban Nok Ngang) | ||
หมู่ที่ 6 | บ้านคลองของ | (Ban Khlong Khong) | ||
หมู่ที่ 7 | บ้านห้วยปลิง | (Ban Huai Pling) | ||
หมู่ที่ 8 | บ้านขจัดภัย | (Ban Khachat Phai) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลราชกรูด มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลตำบลราชกรูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราชกรูดทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลราชกรูดที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2516[10] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลราชกรูดใน พ.ศ. 2539[11]
เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลราชกรูดมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น จึงได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลราชกรูด[12] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และมีผลในวันที่ 25 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลราชกรูดประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 9,810 คน แบ่งเป็นชาย 5,371 คน หญิง 4,439 คน (เดือนธันวาคม 2564)[13] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 5 จาก 9 ตำบลในอำเภอเมืองระนอง
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2564[14] | พ.ศ. 2563 [15] | พ.ศ. 2562[16] | พ.ศ. 2561[17] | พ.ศ. 2560[18] | พ.ศ. 2559[19] | พ.ศ. 2558[20] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ห้วยปลิง | 2,518 | 2,496 | 2,456 | 2,397 | 2,391 | 2,343 | 2,348 |
ละออง | 1,891 | 1,935 | 1,965 | 1,973 | 1,821 | 1,681 | 1,244 |
ขจัดภัย | 1,250 | 1,211 | 1,188 | 1,179 | 1,153 | 1,168 | 1,142 |
นกงาง | 1,010 | 1,008 | 1,025 | 1,015 | 1,004 | 1,003 | 987 |
คลองของ | 959 | 971 | 977 | 984 | 999 | 956 | 946 |
ราชกรูด | 943 | 966 | 982 | 972 | 988 | 985 | 1,001 |
ห้วยน้ำใส | 701 | 702 | 708 | 699 | 702 | 689 | 676 |
ล่าง | 538 | 527 | 534 | 546 | 538 | 532 | 545 |
รวม | 9,810 | 9,816 | 9,835 | 9,765 | 9,596 | 9,357 | 8,889 |
สถานที่สำคัญ
[แก้]- สถานีตำรวจภูธรราชกรูด จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ตั้งสถานีตำรวจภูธรตำบลในกองบังคับการตำรวจภูธร 10 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2528 โดยให้ยกเลิกความในลำดับที่ 25 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องตั้งสถานีตำรวจภูธร (สถานีตำรวจภูธรหงาว จังหวัดระนอง) ฉบับลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515[21] ยุบสถานีตำรวจภูธรหงาวและตั้งสถานีตำรวจภูธรราชกรูดขึ้นแทน[22] มีอำนาจการสอบสวน 2 ตำบล คือ ตำบลราชกรูดและตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง[23] ปัจจุบันสถานีตำรวจภูธรราชกรูดตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ฝั่งลงไปจังหวัดพังงา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2014-07-20.
- ↑ "กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑,๒๐๐ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ [กำหนดให้ป่าละอุ่น และป่าราชกรูด ในท้องที่ตำบลบางแก้ว ตำบลละอุ่นใต้ ตำบลบางพระใต้ ตำบลละอุ่นเหนือ ตำบลบางพระเหนือ อำเภอละอุ่น ตำบลทรายแดง ตำบลบางนอน ตำบลหาดส้มแป้น ตำบลบางริ้น ตำบลหงาว ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง และตำบลกะเปอร์ ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เป็นป่าสงวนแห่งชาติ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (58 ก): (ฉบับพิเศษ) 11-12. วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2530
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าละอุ่น ป่าราชกรูด และป่าเขาน้ำตกหงาว ในท้องที่ตำบลบางแก้ว ตำบลละอุ่นใต้ ตำบลละอุ่นเหนือ ตำบลบางพระเหนือ ตำบลในวงเหนือ ตำบลในวงใต้ อำเภอละอุ่น ตำบลหาดส้มแป้น ตำบลบางริ้น ตำบลหงาว ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง และ ป่าทุ่งระยะ ป่านาสัก ป่าเขาตังอา ป่าคลองโชน ป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรง ในท้องที่ตำบลช่องไม้แก้ว ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี ตำบลนาขา ตำบลวังตะกอ ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน และตำบลปังหวาน ตำบลพระรักษ์ ตำบลพะโต๊ะ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (44 ก): 13–15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08. วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองหัวเขียว และป่าคลองเกาะสุย ป่าเกาะช้าง ป่าคลองหินกอง และป่าคลองม่วงกลวง และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลปากน้ำ ตำบลหงาว ตำบลเกาะพยาม และตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (96 ก): 20–22. วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหาดแหลมสน และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง ตำบลม่วงกลวง ตำบลกะเปอร์ ตำบลบางหิน ตำบลนาคา ตำบลกำพ่วน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (135 ก): (ฉบับพิเศษ) 24-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08. วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2526
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าละแม ป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรง ในท้องที่ตำบลพระรักษ์ ตำบลพะโต๊ะ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ ตำบลทุ่งคาวัด ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และบริเวณที่ดินป่าละอุ่น ป่าราชกรูด และป่ากะเปอร์ ในท้องที่ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง ตำบลกะเปอร์ ตำบลม่วงกลวง ตำบลเชี่ยวเหลียง ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): (ฉบับพิเศษ) 35-37. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง : คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง (Ranong Biosphere Reserve)". กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
- ↑ "เทศบาลตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง : ประวัติและความเป็นมาของเทศบาล". เทศบาลตำบลราชกรูด. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-08. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบลราชกรูด เป็นเทศบาลตำบล". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งสถานีตำรวจภูธรตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (38 ง): 633–641. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2515
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งสถานีตำรวจภูธรตำบลในกองบังคับการตำรวจภูธร ๑๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (150 ง): (ฉบับพิเศษ) 10-12. วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2528
- ↑ "ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจความรับผิดชอบหรือ เขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรภาค ๑ ถึง ๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (ตอนพิเศษ 139 ง): 1–3. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550