ตำบลเกาะพยาม
ตำบลเกาะพยาม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Ko Phayam |
![]() | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ระนอง |
อำเภอ | เมืองระนอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 42.21 ตร.กม. (16.30 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 1,223 คน |
• ความหนาแน่น | 28.97 คน/ตร.กม. (75.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 85000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 850109 |
![]() |
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม | |
---|---|
พิกัด: 9°44′37.2″N 98°25′16.7″E / 9.743667°N 98.421306°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 9°44′37.2″N 98°25′16.7″E / 9.743667°N 98.421306°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | ระนอง |
อำเภอ | เมืองระนอง |
จัดตั้ง | • 26 กันยายน 2529 (สภาตำบลเกาะพยาม)888 • 19 ธันวาคม 2546 (อบต.เกาะพยาม) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 42.21 ตร.กม. (16.30 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[1] | |
• ทั้งหมด | 1,223 คน |
• ความหนาแน่น | 28.97 คน/ตร.กม. (75.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06850112 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 4 หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000 |
เว็บไซต์ | kohphayam |
![]() |
เกาะพยาม เป็นหนึ่งในเก้าตำบลของอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดระนอง มีพื้นที่ใน 1 อุทยานแห่งชาติ 1 เขตสงวนชีวมณฑลโลก ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง (เดิมชื่ออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม)[2] และพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตำบลเกาะพยามมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับน่านน้ำของตำบลปากน้ำ (อำเภอเมืองระนอง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับน่านน้ำของตำบลม่วงกลวง (อำเภอกะเปอร์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับน่านน้ำของตำบลหงาวและตำบลราชกรูด (อำเภอเมืองระนอง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามัน

ประวัติ[แก้]
เกาะพยามเดิมเรียกว่า "เกาะพิยาม" ซึ่งมาจากคำว่า พอยาม หมายถึง การเดินทางไป เกาะพยามพอยามจึงจะถึงเกาะ (ประมาณ 4 ชั่วโมง) และเรียกกันต่อมาว่า "เกาะพยาม" และจากคำบอกเล่าของชาวบ้านบนเกาะพยาม มาจากคำว่า พยายาม เพราะในสมัยก่อนการเดินทางมาเกาะพยามเป็นไปด้วยความลำบาก ต้องอาศัยโดยสารมากับเรือประมงของชาวบ้าน ซึ่งคาดไม่ได้ว่าจะไปจะมาเมื่อใด การเดินทางยากลำบากสมกับชื่อว่า "เกาะพยาม" เดิมประชากรที่อาศัยอยู่บนเกาะส่วนใหญ่เป็นไทยมุสลิม ใน พ.ศ. 2500 สำเภา ศิริสัมพันธ์ ได้รับสัมปทานการเลี้ยงหอยมุกจากรัฐบาล ได้ใช้พื้นที่เกาะพยามเพาะเลี้ยงหอยมุก (ฟาร์มมุก) และอพยพคนอาศัยอยู่เดิมไปอยู่ที่บ้านช้างแหก หมู่ที่ 8 ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จึงเป็นสาเหตุที่เกาะพยามไม่มีคนมุสลิมอาศัยอยู่เลย ต่อมาสัมปทานหอยมุกเลิกกิจการ เริ่มมีผู้คนอพยพเข้ามาจากเกาะสมุยและเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2529 ได้มีการแยกหมู่บ้าน 2 หมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งอยู่ท่ามกลางทะเลอันดามันของตำบลปากน้ำ ได้แก่ ท้องที่หมู่ 5 บ้านเกาะพยาม และท้องที่หมู่ 7 บ้านเกาะช้าง (ในขณะนั้น) มาตั้งขึ้นเป็นตำบล และตั้งชื่อตามหมู่เกาะว่า "ตำบลเกาะพยาม"[3] ท้องที่ตำบลเกาะพยามจึงมีฐานะเป็นตำบลลำดับที่ 9 ของอำเภอเมืองระนองจนถึงปัจจุบัน เกาะพยามมีความหลากหลายทางระบบนิเวศ มีสัตว์ต่าง ๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น นกเงือก นกอินทรี ลิง หมูป่า อีกทั้งมีหาดทรายสีขาวและน้ำทะเลสวยใส เหมือนกับเกาะสมุยเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน บนเกาะพยามมีสถานีอนามัย โรงเรียน และวัดซึ่งมีอุโบสถตั้งอยู่ในทะเลอยู่บริเวณท่าเรือของเกาะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ห่างจากปากน้ำระนองประมาณ 33 กิโลเมตร


การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
ตำบลเกาะพยามแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน ได้แก่
|
![]() |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่ตำบลเกาะพยามมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพยามทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลเกาะพยามที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2529[ต้องการอ้างอิง] และได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยามในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2546[4] เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับสามในประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยามเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดตั้งรูปแบบพิเศษ เนื่องจากมีเงื่อนไขของจำนวนประชากรไม่ถึงเกณฑ์ (2,000 คนขึ้นไป)[5] ซึ่งปกติจะทำให้ต้องยุบเข้ากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง แต่ขณะนั้นสภาตำบลเกาะพยามมีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลเกาะพยามอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้
ประชากร[แก้]
พื้นที่ตำบลเกาะพยามประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 2 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 1,223 คน แบ่งเป็นชาย 612 คน หญิง 611 คน (เดือนธันวาคม 2564)[6] เป็นตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดในอำเภอเมืองระนอง
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2564[7] | พ.ศ. 2563 [8] | พ.ศ. 2562[9] | พ.ศ. 2561[10] | พ.ศ. 2560[11] | พ.ศ. 2559[12] | พ.ศ. 2558[13] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เกาะพยาม | 866 | 855 | 850 | 848 | 825 | 821 | 772 |
เกาะช้าง | 357 | 350 | 348 | 342 | 304 | 288 | 289 |
รวม | 1,223 | 1,205 | 1,198 | 1,190 | 1,129 | 1,109 | 1,061 |
รายชื่อเกาะในเขตตำบล[แก้]
ตำบลเกาะพยามมีเกาะหลักคือ เกาะช้าง (พื้นที่ 20.217 ตารางกิโลเมตร) และเกาะพยาม (พื้นที่ 16.868 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับ 2 และ 3 ในจังหวัดระนอง รองจากเกาะทรายดำ ของตำบลหงาว และเกาะเล็ก ๆ อีก 20 เกาะ ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง ทุกเกาะมีพื้นที่รวม 42.221 ตารางกิโลเมตร[14]
ที่ | ชื่อเกาะ | ตำบล | พื้นที่
(ตร.กม.)[15] |
หน่วยงานรับผิดชอบ[15] |
---|---|---|---|---|
1 | นุ้ย | เกาะพยาม | 0.002 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
2 | ขี้นก | เกาะพยาม | 0.004 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
3 | ต้นไม้ | เกาะพยาม | 0.005 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
4 | ลูกปลาย | เกาะพยาม | 0.005 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
5 | ลูกสินไห | เกาะพยาม | 0.006 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
6 | โพธิ์น้อย | เกาะพยาม | 0.008 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
7 | ปริง | เกาะพยาม | 0.045 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง |
8 | คัน | เกาะพยาม | 0.050 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
9 | โคม | เกาะพยาม | 0.051 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
10 | ไฟไหม้ | เกาะพยาม | 0.058 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง |
11 | หม้อ | เกาะพยาม | 0.122 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง |
12 | ขาม | เกาะพยาม | 0.182 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
13 | ทะลุ | เกาะพยาม | 0.237 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง |
14 | ตาวัวดำ | เกาะพยาม | 0.266 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
15 | โพธิ์ | เกาะพยาม | 0.282 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
16 | ลมราบ | เกาะพยาม | 0.321 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
17 | ไร่ | เกาะพยาม | 0.408 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง |
18 | หลาม | เกาะพยาม | 0.416 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม |
19 | ตาครุฑ | เกาะพยาม | 1.109 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง |
20 | สน | เกาะพยาม | 1.559 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง |
21 | พยาม | เกาะพยาม | 16.868 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง |
22 | ช้าง | เกาะพยาม | 20.217 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประชากรในเขตอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองหัวเขียว และป่าคลองเกาะสุย ป่าเกาะช้าง ป่าคลองหินกอง และป่าคลองม่วงกลวง และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลปากน้ำ ตำบลหงาว ตำบลเกาะพยาม และตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (96 ก): 20–22. วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (166 ง): (ฉบับพิเศษ) 108-109. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2529
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (ตอนพิเศษ 146 ง): 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 2022-07-03. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546
- ↑ การจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ข้อมูลเกาะรายจังหวัด - เกาะในจังหวัดระนอง". สืบค้นเมื่อ March 18, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 15.0 15.1 "เกาะในประเทศไทย - ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". km.dmcr.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)