ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลนครชุม (อำเภอเมืองกำแพงเพชร)

พิกัด: 16°28′28.4″N 99°29′47.1″E / 16.474556°N 99.496417°E / 16.474556; 99.496417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลนครชุม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Nakhon Chum
วัดพระบรมธาตุเจดียาราม
ตำบลนครชุมตั้งอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร
ตำบลนครชุม
ตำบลนครชุม
พิกัด: 16°28′28.4″N 99°29′47.1″E / 16.474556°N 99.496417°E / 16.474556; 99.496417
ประเทศไทย
จังหวัดกำแพงเพชร
อำเภอเมืองกำแพงเพชร
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด68.5 ตร.กม. (26.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[2]
 • ทั้งหมด17,381 คน
 • ความหนาแน่น253.74 คน/ตร.กม. (657.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 62000
รหัสภูมิศาสตร์620105
เว็บไซต์www.nakhonchum.go.th
(เว็บไซต์ ทต.นครชุม)
www.nakhonchum-kpp.go.th
(เว็บไซต์ อบต.นครชุม)
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครชุม เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปิง และอยู่ตรงข้ามกับตัวเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันมีประชากรทั้งหมด 17,381 คน[2] เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย อาทิ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม วัดซุ้มกอ วัดเจดีย์กลางทุ่ง เป็นต้น และยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรอีกด้วย สมัยก่อนเมืองนครชุมเคยเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย แต่ต่อมาได้ถูกทิ้งร้าง เพราะผู้คนได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ฝั่งเมืองกำแพงเพชร[3]

ประวัติ

[แก้]

เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณที่สร้างในสมัยก่อนอาณาจักรสุโขทัย สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นเมื่อก่อนพุทธศักราช 1800 และมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงในสมัยอาณาจักรสุโขทัย เมืองนครชุมเจริญถึงขีดสุดในช่วงสมัยการครองราชย์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไทย) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสุโขทัยพระองค์ที่ 6 เมื่อคราที่พระองค์ได้เสด็จมาที่เมืองนครชุม พระองค์ได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากลังกา และสถาปนาพระศรีมหาโพธิ์ไว้ ณ เมืองนครชุมแห่งนี้ด้วย[4]

ราวพุทธศักราช 2000 เกิดน้ำกัดเซาะกำแพงเมือง และโรคไข้ป่าระบาด ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับอาณาจักรสุโขทัย ถูกผนวกเป็นอาณาจักรเดียวกับกรุงศรีอยุธยา ทำให้เมืองนครชุมเริ่มหมดความสำคัญลง ผู้คนจึงอพยพข้ามแม่น้ำปิงมาตั้งถิ่นฐานทางฝั่งตะวันออก หรือเมืองกำแพงเพชรแทน เมืองนครชุมจึงเป็นเมืองร้างในเวลายาวนานกว่าสามร้อยปี

เมื่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการอพยพชาวลาวเวียงจันทน์ประมาณหนึ่งร้อยครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองนครชุมแห่งนี้ ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "บ้านปากคลอง" โดยแบ่งเป็นบ้านปากคลองเหนือ บ้านปากคลองกลาง และบ้านปากคลองใต้ ตอนนี้ยังไม่มีใครรู้จักเมืองนครชุม จนกระทั่งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ได้มาค้นพบเมืองนครชุมอีกครั้ง และฟื้นฟูเมืองนครชุมขึ้น พร้อมกับวัดพระบรมธาตุ ต่อมาเมื่อทราบว่าบ้านปากคลองนี้คือเมืองนครชุม จึงกลับมาเรียกว่าตำบลนครชุมดังแต่โบราณ[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลนครชุมมีที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงและตัวเมืองกำแพงเพชร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 351 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 68.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 42,812.5 ไร่ ตำบลนครชุมมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้ [5]

การปกครอง

[แก้]

หมู่บ้าน

[แก้]

พื้นที่ตำบลนครชุมมีประชากรทั้งหมด 17,381 คน โดยแบ่งเป็นประชากรชายทั้งหมด 8,301 คน และประชากรหญิงทั้งหมด 9,080 คน (เดือนธันวาคม 2564) แบ่งการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่บ้านในตำบลนครชุม[2]
หมู่ที่ ชื่ออักษรไทย ชื่ออักษรโรมัน
1 บ้านวังยาง Ban Wang Yang
2 บ้านหัวยาง Ban Hua Yang
3 บ้านปากคลองใต้ Ban Pak Khlong Tai
4 บ้านปากคลองกลาง Ban Pak Khlong Klang
5 บ้านนครชุม Ban Nakhon Chum
6 บ้านสว่างอารมณ์ Ban Sawang Arom
7 บ้านทุ่งสวน Ban Thung Suan
8 บ้านคลองแม่ลายเหนือ Ban Khlong Mae Lai Nuea
9 บ้านทุ่งเศรษฐี Ban Thung Setthi
10 บ้านโนนม่วง Ban Non Muang
11 บ้านหวังใหม่ Ban Wang Mai
12 บ้านเนินสำราญ Ban Noen Sam Ran
13 บ้านป่ามะม่วง Ban Pa Mamuang

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่ตำบลนครชุมอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนครชุม เป็นเทศบาลขนาดกลาง ครอบคลุมพื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลนครชุม ได้แก่ หมู่ที่ 4, 5 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 3 และ 6 มีขนาดพื้นที่ 3.5 ตารางกิโลเมตร [1] มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 6,829 คน โดยแบ่งเป็นประชากรชายทั้งหมด 3,192 คน และประชากรหญิงทั้งหมด 3,637 คน แต่เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลนครชุม และจึงมีการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลในปี พ.ศ. 2542[6]
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครชุมในส่วนที่อยู่นอกเขตเทศบาล ขนาดพื้นที่ 65 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 10,552 คน โดยแบ่งเป็นประชากรชายทั้งหมด 5,109 คน และประชากรหญิงทั้งหมด 5,443 คน

การคมนาคม

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

ระดับอุดมศึกษา

[แก้]
ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

โรงเรียนมัธยมศึกษาและประถมศึกษา

[แก้]
  • โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านทุ่งเศรษฐี
  • โรงเรียนบ้านทุ่งสวน
  • โรงเรียนบ้านโนนม่วง
  • โรงเรียนสาธิต
  • โรงเรียนสาธิตวัดพระบรมธาตุ
  • โรงเรียนอนุบาลเมืองกำแพงเพชร (บ้านนครชุม)

สถานที่สำคัญ

[แก้]

พื้นที่ตำบลนครชุมมีสถานที่สำคัญหลายแห่ง ดังนี้

วัดพระบรมธาตุเจดียาราม (นครชุม)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ส่วนวิจัยและพัฒนาระบบรูปแบบและโครงสร้าง. สำนักพัฒนาระบบรูปแบบและโครงสร้าง. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. รายชื่อเทศบาลตำบล จํานวน 1,838 แห่ง. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/upload/service/2011/9/156.pdf. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2565.
  2. 2.0 2.1 2.2 "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร". สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย.
  3. 3.0 3.1 "ฐานข้อมูลท้องถิ่นกำแพงเพชร-ตาก : เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง". สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
  4. สันติ อภัยราช. ประวัติวัดพระบรมธาตุนครชุม. เข้าถึงได้จาก: http://sunti-apairach.com/book/book1pdf/booksec1_014.pdf. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2565.
  5. "อาณาเขตติดต่อ : องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม". องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม. จังหวัดกำแพงเพชร.
  6. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]