ณรงค์ หนานโฮ๊ะ นิยมไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ณรงค์ หนานโฮ๊ะ นิยมไทย
ป.ม., ท.ช.
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 3 เมษายน พ.ศ. 2486 (80 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรค ประชาธิปัตย์ (? - 2540) และ (? - ปัจจุบัน)
ความหวังใหม่ (2540-2545)
ไทยรักไทย (2545-2547)
ต้นตระกูลไทย (2547-2548)
ศาสนา พุทธ

นายณรงค์ หนานโฮ๊ะ นิยมไทย[1] (ชื่อรอง หนานโฮ๊ะ) หรือที่รู้จักกันในนาม "หนานโฮ๊ะ" อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ หลายสมัย นักจัดรายการวิทยุ ผู้สื่อข่าวท้องถิ่น[2][3] ที่นำเสนอข่าวในรูปแบบภาษาถิ่นเหนือ (คำเมือง)

ประวัติ[แก้]

นายณรงค์ นิยมไทย เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายนพ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายพลอย นางสุคำ นิยมไทย[1] เขาจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[4] จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสันทราย (กศน.)

ปัจจุบันนายณรงค์ พักอาศัยอยู่ที่ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

งานการเมือง[แก้]

นายณรงค์ เคยเป็น สจ. 3 สมัย รวม 15 ปี ต่อมาเข้าสู่งานการเมืองระดับชาติโดยลงสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคชาติไทย รวมทีมกับนายสุรพันธ์ ชินวัตร และนางเยาวลักษณ์ ชินวัตร แต่เขาและนางเยาวลักษณ์ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 ต่อมาได้รับเลือกสมัยที่สอง ในการเลือกตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535[6] แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 กลับไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 จึงย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้คะแนนเป็นรองนายยงยุทธ สุวภาพ จากพรรคประชาธิปัตย์ นายทวีศักดิ์ สุภาศรี จากพรรคไทยรักไทย และนายเจริญ เชาวน์ประยูร อดีต ส.ส. จากพรรคราษฎร[7][8] ซึ่งต่อมาพรรคความหวังใหม่ได้ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 นายณรงค์ก็ได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้คะแนนเป็นลำดับที่ 4 ได้คะแนน 54,516 คะแนน

ในปีเดียวกันเขาย้ายไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน และสุดท้ายจึงย้ายมาร่วมงานการเมืองกับนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคต้นตระกูลไทย และเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งในส่วนของภาคเหนือ[9] แต่ไม่นานพรรคต้นตระกูลไทยก็ยุบไปรวมกับพรรคชาติไทย[10] จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 นายณรงค์ จึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่ เขต 4 ในนามพรรคความหวังใหม่ และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคอีกด้วย[11] แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้

นายณรงค์ นิยมไทย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ครม.50) ปฏิบัติหน้าที่ประจำตัว นายปรีชา มุสิกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ

นายณรงค์ มีบทบาทในฝ่ายนิติบัญญัติ อาทิ เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องพม่ากักตัวเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย เมื่อปี พ.ศ. 2535[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. “สังคมดาว ข่าว 25 น.” วันที่ 21 เมษายน 2562
  3. “สังคมดาว ข่าว 25 น.” วันที่ 2 มกราคม 2563เชียงใหม่นิวส์
  4. พระปกเกล้า,สถาบัน. ฐานข้อมูลการเลือกตั้งนายก อบจ. สถาบันพระปกเกล้า : กรุงเทพ. 2547
  5. รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529
  6. สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่
  7. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  8. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
  9. ต้นตระกูลไทยในเวทีเหนือ พิสูจน์กระแสชูวิทย์ชูหนานโฮ๊ะ
  10. "หนานโฮะ" ชายผู้อกหักจากชูวิทย์
  11. ""หนานโฮ๊ะ"จวก"เจ๊แดง"นำฮ.หลวงหาเสียง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-06-07.
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/137/11997.PDF
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๔๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖