ชเวโบ
ชเวโบ ရွှေဘိုမြို့ | |
---|---|
นคร | |
พิกัด: 22°34′0″N 95°42′0″E / 22.56667°N 95.70000°E | |
ประเทศ | พม่า |
เขต | ภาคซะไกง์ |
จังหวัด | ชเวโบ |
อำเภอ | ชเวโบ |
สถาปนา | 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1752 |
ประชากร (2021) | 88,914 คน |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | พม่า |
• ศาสนา | พุทธเถรวาท |
เขตเวลา | UTC6:30 (เวลามาตรฐานพม่า) |
ชเวโบ (พม่า: ရွှေဘို) เป็นเมืองในภาคซะไกง์ ประเทศพม่า ตั้งอยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 113 กิโลเมตร ระหว่างแม่น้ำอิรวดีกับแม่น้ำมู่ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ประสูติของพระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์โก้นบอง ราชวงศ์สุดท้ายของประเทศพม่า ต่อมาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรในรัชสมัยของพระองค์ระหว่าง ค.ศ. 1752–1760 ณ ค.ศ. 2021 ชเวโบมีประชากร 88,914 คน[1]
ประวัติ
[แก้]ชเวโบเคยเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเรียกว่า มุโซ่โบ (พม่า: မုဆိုးဘို; แปลว่า หัวหน้านายพราน) จนกระทั่ง ค.ศ. 1752 โดยมีจำนวนบ้านประมาณ 300 บ้าน[2] เมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ฮะลี่น นครรัฐปยูโบราณ[3] ต่อมาในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1752 อองเซยะ หัวหน้าหมู่บ้าน สถาปนาราชวงศ์โก้นบองเพื่อต้านทานการรุกรานของกองทัพหงสาวดีที่มีฐานในพม่าตอนล่าง อองเซยะ ผู้ใช้พระนามราชวงศ์เป็นพระเจ้าอลองพญา รวบรวมพันธมิตรหมู่บ้านรอบ ๆ ถึง 46 แห่ง และจัดแนวป้องกัน สร้างป้อมปราการ และขุดคูน้ำรอบมุโซ่โบ พระองค์เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านนี้เป็น ชเวโบ (แปลว่า หัวหน้าทองคำ)[2] หลังจากนั้น 8 ปี พระเจ้าอลองพฐาจึงรวมพม่าเป็นหนึ่ง โดยมีชเวโบเป็นเมืองหลวง
ชเวโบสูญเสียสถานะเมืองหลวงหลังพระเจ้าอลองพญาสวรรคตใน ค.ศ. 1760 พระเจ้ามังลอกทรงย้ายเมืองหลวงไปยังซะไกง์ที่อยู่ใกล้แม่น้ำอิรวดี ถึงกระนั้น ชเวโบยังคงเป็นพื้นที่สำคัญในสมัยโก้นบอง (1752–1885) หลังจากนั้น เจ้าชายมินดงก่อกบฏใน ค.ศ. 1853 ที่เมืองนี้เพื่อโค้นล่มพระเจ้าพุกาม[3]
ชื่อเมือง
[แก้]ชเวโบมีชื่อเสียงจากการมีชื่อนครถึง 5 ชื่อ ดังนี้:[3]
- มุโซ่โบ (မုဆိုးဘို) ชื่อเดิม
- Yadana-Theinhka (ရတနာသိင်္ဃ)[4]
- โก้นบอง (ကုန်းဘောင်)
- Yangyi-Aung (ရန်ကြီးအောင်) และ
- ชเวโบ (ရွှေဘို) ชื่อปัจจุบัน
ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักชื่อเหล่านี้ แต่ชื่อ "အယုစြ်ဇပူရ" กับ "မြေဘုံသာ" ("Ayuhcyajpuur" กับ "Myaybhonesar") แทบไม่มีใครรู้จัก
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของชเวโบ (ค.ศ. 1991–2020, สูงสุด ค.ศ. 2001-2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 36.0 (96.8) |
38.0 (100.4) |
42.0 (107.6) |
44.2 (111.6) |
44.0 (111.2) |
41.5 (106.7) |
39.0 (102.2) |
41.0 (105.8) |
39.0 (102.2) |
39.0 (102.2) |
36.0 (96.8) |
38.1 (100.6) |
44.2 (111.6) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 29.4 (84.9) |
32.4 (90.3) |
35.9 (96.6) |
38.1 (100.6) |
36.5 (97.7) |
34.8 (94.6) |
34.5 (94.1) |
33.6 (92.5) |
33.3 (91.9) |
32.4 (90.3) |
31.1 (88) |
29.1 (84.4) |
33.4 (92.1) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 21.2 (70.2) |
23.8 (74.8) |
27.7 (81.9) |
30.9 (87.6) |
30.7 (87.3) |
30.0 (86) |
29.8 (85.6) |
29.2 (84.6) |
28.9 (84) |
27.6 (81.7) |
24.8 (76.6) |
21.7 (71.1) |
27.2 (81) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 13.1 (55.6) |
15.3 (59.5) |
19.6 (67.3) |
23.7 (74.7) |
24.9 (76.8) |
25.1 (77.2) |
25.0 (77) |
24.8 (76.6) |
24.4 (75.9) |
22.8 (73) |
18.5 (65.3) |
14.3 (57.7) |
20.9 (69.6) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 3.0 (37.4) |
7.0 (44.6) |
10.0 (50) |
11.6 (52.9) |
14.0 (57.2) |
15.0 (59) |
16.0 (60.8) |
15.0 (59) |
15.0 (59) |
13.0 (55.4) |
8.0 (46.4) |
3.0 (37.4) |
3.0 (37.4) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 2.9 (0.114) |
2.3 (0.091) |
6.2 (0.244) |
18.9 (0.744) |
101.5 (3.996) |
105.5 (4.154) |
88.8 (3.496) |
167.2 (6.583) |
159.3 (6.272) |
139.6 (5.496) |
20.5 (0.807) |
3.6 (0.142) |
816.3 (32.138) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 0.4 | 0.4 | 0.7 | 2.3 | 8.0 | 7.7 | 6.8 | 9.9 | 9.9 | 7.9 | 1.8 | 0.6 | 56.4 |
แหล่งที่มา 1: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[5] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Norwegian Meteorological Institute (สูงสุด)[6] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Population of Cities in Myanmar (2021)". worldpopulationreview.com. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ 2.0 2.1 GE Harvey (1925). "Shan Migration (Ava)". History of Burma. London: Frank Cass & Co. Ltd. pp. 219–220.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Bird, George W (1897). "Wanderings in Burma". England: F J Bright & Son. pp. 328, 329, 332.
- ↑ Pe, Hla; Anna J. Allott; John Okell (1963). "Three 'Immortal' Burmese Songs". Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London. Cambridge University Press on behalf of School of Oriental and African Studies. 26 (3): 563. doi:10.1017/s0041977x00070324. JSTOR 611566.
- ↑ "World Meteorological Organization Climate Normals for 1991–2020". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 16 October 2023.
- ↑ "Myanmar Climate Report" (PDF). Norwegian Meteorological Institute. pp. 23–36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 October 2018. สืบค้นเมื่อ 1 December 2018.