ชานมไข่มุก
แก้วชานมไข่มุก | |
ชื่ออื่น | ปัวป้า เพิร์ลมิลก์ที ปัวป้ามิลก์ที ปัวป้าที ทาปิโอกาที |
---|---|
มื้อ | เครื่องดื่ม |
แหล่งกำเนิด | ไต้หวัน |
ภูมิภาค | ทั่วโลก โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | ร้อนหรือเย็น |
ส่วนผสมหลัก | แป้งมันสำปะหลัง, นม, ครีมเทียม, ชาชง, น้ำตาล, สารเติมแต่งรสชาติ |
ชานมไข่มุก หรือชื่อในภาษาจีนว่า เจินจูไหน่ฉา (จีน: 珍珠奶茶; พินอิน: zhēnzhū nǎichá) หรือ ปัวป้าไหน่ฉา (จีน: 波霸奶茶; พินอิน: bōbà nǎichá) เป็นเครื่องดื่มที่คิดค้นในประเทศไต้หวันในช่วงปี 1980 ใส่ลูกกลม ๆ ที่ทำมาจากแป้งมันสำปะหลัง คนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า "ไข่มุก" (珍珠)
ประเภทเครื่องดื่ม
[แก้]ชาไข่มุกแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ชารสผลไม้ และ ชานม แต่ก็ยังมีบางร้านค้านำเสนอเมนูแบบผสมเป็น "ชานมรสผลไม้" ในชานมส่วนใหญ่ มักใช้นมผง หรือ ครีมเทียม มีบางสูตรก็ใช้นมสดมาแทนได้เหมือนกัน หรืออาจจะเป็นสูตรน้ำผลไม้ปั่น ไอศกรีมปั่น เพิ่มไข่มุก ร้านเครื่องดื่มส่วนใหญ่ในอเมริกาขาย "นมปั่น" ด้วย ซึ่งหน้าตาก็คล้ายกับชาไข่มุกแต่ไม่มีส่วนประกอบของชาเลย ร้านอาหารเล็ก ๆ บางร้านเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น น้ำผึ้ง อกาเว่ สตีเวีย และ แอสปาร์แตม ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า
ชาไข่มุกสูตรดั้งเดิม ทำมาจากชาไต้หวันร้อน ใส่ไข่มุกที่มาจากแป้งมันสำปะหลัง (粉圓) เม็ดเล็ก ๆ นมข้นหวาน และน้ำเชื่อม (糖漿) หรือน้ำผึ้ง ต่อจากนั้นก็มีสูตรใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ต่างก็ชื่นชอบดื่มแบบเย็นกันมากกว่าดื่มแบบร้อน มีการทดลองเปลี่ยนประเภทของชาที่ใช้อยู่ตลอดเวลา แต่เดิมเริ่มจาก ชาเขียวไข่มุก ซึ่งใช้ ชาเขียว (茉香綠茶) กลิ่นมะลิมาแทนชาแดงที่เคยใช้ เพิ่มขนาดเม็ดไข่มุกให้ใหญ่ขึ้น (波霸/黑珍珠)[1] มีการเพิ่มรสชาติของลูกพีช และผลพลัม ต่อมามีการเพิ่มรสชาติของผลไม้หลากหลายชนิด ในบางสูตร ถึงกับตัดชาออกไป ไม่เหลือส่วนผสมของชาไว้เลย เพื่อคงรสชาติผลไม้ไว้ให้ได้มากที่สุด มีการค้นพบว่า น้ำผลไม้เหล่านี้ ทำให้ไข่มุกเปลี่ยนสี (รวมถึง "เยลลี่ชิ้นเล็ก ๆ " ในเครื่องดื่มพวกทาโฮ คล้าย ๆ เต้าฮวย) เพราะฉะนั้น จึงมีการเลือกสีของไข่มุกให้เข้ากับเครื่องดื่มผลไม้แต่ละชนิด และเพื่อให้ได้รสชาติของชาแดงร้อนหรือชาเขียวที่ดีขึ้น อาจมีการเติมผงสกัด น้ำผลไม้ เนื้อผลไม้ น้ำเชื่อม ลงไป เมื่อใส่รวมกันในกระบอกเชคเกอร์ หรือปั่นรวมกับน้ำแข็งในเครื่องปั่นรวม เพิ่มไข่มุกและส่วนผสมอื่น ๆ (อย่างเช่น วนิลลา น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม หรือ น้ำตาล) ในตอนสุดท้าย
จนถึงวันนี้ ร้านชาไข่มุกเป็นที่นิยมอย่างมาก เช่นเดียวกับบาร์น้ำผลไม้ ในช่วงต้นของยุค 1990 บางร้านค้านิยมใช้แก้วพลาสติกฝาโดม บ้างก็มีเครื่องซีลพลาสติกให้ติดกับแก้ว วิธีการล่าสุดมีเครื่องกระบอกเชคเก้ออัตโนมัติ และซีลแน่นหนาให้มั่นใจว่าจะไม่มีการหกเลอะจนกว่าจะเจาะฝาดื่ม พร้อมกับมีหลอดขนาดใหญ่ที่ใช้ดูดไข่มุกขึ้นมาได้
ในไต้หวันทุกวันนี้ ผู้คนเรียกเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า "เจินจู ไหน่ฉา" กันติดปาก ("zhēn zhū nǎi chá") หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เจินไหน่ ("zhēn nǎi") คนจีนส่วนมากก็เรียกแบบนี้ แต่ชื่อภาษาอังกฤษของเครื่องดื่มชนิดนี้คือ "บับเบิล ที" หรือ "ปัวป้า ที"
ความหลากหลาย
[แก้]ความหลากหลายของส่วนผสมในชาไข่มุกนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของชา โดยส่วนมาก จะใช้ชาประเภทที่ต่างกัน เช่น ชาแดงชนิดต่าง ๆ ชาเขียว หรือแม้เต่กาแฟ ชาที่นิยมคือ ชาอูหลง และเอิร์ลเกรย์ ส่วนชามะลิก็เป็นชาที่นิยมกันมากอยู่แล้ว ชนิดอื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันคือ ยฺวิ้นเยิ้ง ค้นพบในฮ่องกง ประกอบไปด้วยชาแดงครึ่งหนึ่ง และกาแฟครึ่งหนึ่ง บ้างนิยมผสมนมลงไป หรือถ้าเป็นชาที่ชงใหม่ ๆ จะได้เป็นรสชาติของชาอ่อน ๆ มาแทน
นมที่ผสมลงไปนั้นไม่ถือว่าเป็นส่วนผสมหลัก แต่ก็พบว่าหลายสูตรใส่ผสมลงไปด้วย บางร้านใช้ครีมเทียมเป็นส่วนผสมที่ใช้แทนนม แทนที่จะใช้น้ำนมจริง ๆ เพราะชาวเอเชียตะวันออกส่วนมากแพ้น้ำตาลแล็กโทสในนม เหตุผลอื่น ๆ ก็คือ ราคาถูกกว่า หาได้ง่ายกว่า วันหมดอายุนานกว่านมแท้ ๆ[2] ในประเทศฝั่งตะวันตก มีการใช้น้ำนมถั่วเหลืองมาผสมแทนสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากนมวัว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เครื่องดื่มมีรสชาติและหน้าตาต่างกันไป
นอกจากนั้น บางสูตรยังใส่รสชาติต่าง ๆ เพิ่มลงไปในชาไข่มุก ที่นิยมกันคือผลไม้ต่าง ๆ เช่น สตรอเบอร์รี แอปเปิลเขียว เสาวรส มะม่วง มะนาว แตงโม องุ่น ลิ้นจี่ ลูกพีช สับปะรด แคนตาลูป ฮั่นนี่ดิว กล้วย อาโวคาโด มะพร้าว กีวี และ ขนุน ส่วนผสมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผลไม้ที่นิยม เช่น เผือก พุดดิ้ง ช็อคโกแลต กาแฟ มอคค่า บาร์เล่ย์ งา อัลมอนด์ ขิง ลาเวนเดอร์, กุหลาบ, คาราเมล และ ไวโอเล็ต ,ทุเรียน ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะนิยมในเครื่องดื่มที่ไม่ใส่นมเท่านั้น เนื่องจากกรดในน้ำผลไม้จะทำให้นมแข็งตัวตกตะกอน
ชาไข่มุกบางสูตรนำส่วนผสมแต่ละอย่างมาใส่รวมกัน หลาย ๆ ร้านชาในอเมริกา มีเมนูผสมมากมายให้ลูกค้าเลือกสรร บางร้านใส่กาแฟ หรือผสมแล้วปั่นให้ด้วย
เม็ดมันสำปะหลัง (ปัวป้า) ในชาไข่มุกให้ความรู้สึกเคี้ยวหนึบหนับ ในหลาย ๆ สูตรมีการเพิ่มส่วนผสมบางอย่างเข้าไปเพื่อเพิ่มรสชาติให้กับเครื่องดื่ม เช่น ไข่มุกสีเขียว:มีการเพิ่มรสชาเขียวเข้าไปเล็กน้อย ปรับให้เคี้ยวง่ายกว่าไข่มุกแบบเดิม เยลลี่ตัดออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตัดเป็นรูปดาว รูปสี่เหลี่ยม ทำเป็นลายทาง เพิ่มสีและรสชาติต่าง ๆ เข้าไป เช่น วุ้นมะพร้าว, บุก ลิ้นจี่ หญ้า มะม่วง และ ชาเขียว การทำเป็นสีรุ้งจะใช้ผลไม้ผสมกับผงบุก ทำให้งอได้และเคี้ยวกรุบกรอบมากกว่าไข่มุกแบบเดิม ส่วน ถั่วอาซูกิ หรือ ถั่วเขียวบด รวมถึง เครื่องต่าง ๆ ที่นิยมใช้ราดหน้าขนมหวานช่วยเพิ่มรสชาติและความกลมกล่อมได้เป็นอย่างดี ในร้านชาทั่ว ๆ ไป จะมีการใส่ ว่านหางจระเข้ พุดดิ้งไข่ (คัสตาร์ดพุดดิ้ง) สาคู หรือ เผือกที่ปั้นเป็นลูกกลมชิ้นเล็ก ๆ ด้วย
เนื่องจากชาไข่มุกเป็นที่นิยมมาก จึงมีการผลิต "ชานมปัวป้าสำเร็จรูป" ออกวางจำหน่ายด้วย ชาหนึ่งซองประกอบด้วยซองชาแดงสำหรับหนึ่งที่ (พร้อมนมผงและน้ำตาลในซอง)
ร้านชาไข่มุกส่วนใหญ่จะมีเมนูที่หลีกเลี่ยงส่วนผสมของชาหรือกาแฟ ส่วนมากจะเป็นเครื่องดื่มประเภทที่ปั่นรวมกับน้ำแข็ง เรียกว่า สโนว์ บับเบิล อาจมีการนำส่วนผสมอื่น ๆ ที่ใส่ในชาไข่มุกมาผสมรวมลงไปก็ได้ จะได้เป็นเครื่องดื่มที่มีหน้าตาเหมือนเกล็ดหิมะ แต่ความเย็นในเครื่องดื่มจะทำให้เม็ดไข่มุกแข็งตัวมากขึ้น จะทำให้ใช้หลอดดูดไม่ขึ้นและเคี้ยวลำบาก ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มประเภทเกล็ดหิมะใส่ไข่มุก จะต้องรีบดื่มให้ไวกว่าเครื่องดื่มประเภทชาไข่มุกธรรมดา
ในบางร้านจะใส่วุ้นมะพร้าวแทนการใส่เม็ดไข่มุกที่ทำมาจากมันสำปะหลัง เพราะมีประโยชน์มากกว่า วุ้นมะพร้าวนี้มีเส้นใยอาหารมาก มีคอเลสเตอรอลและไขมันเพียงเล็กน้อย ส่วนมากจะนิยมหั่นวุ้นมะพร้าวเป็นเส้นบาง ๆ เพื่อให้ง่ายสำหรับการใช้หลอดดูดขึ้นมา[3]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ชาไข่มุกพบครั้งแรกในประเทศไต้หวัน ช่วงยุค 1980
ร้านชาชุน ฉุ่ยถังในเมืองไถจง น่าจะเป็นร้านแรกที่คิดค้นเมนูชาไข่มุกขึ้นมา เมื่อปี 1988 ขณะที่กำลังประชุมอยู่นั้น คุณหลินชิ่วฮุย (ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์) ได้เทขนมหวานชิ้นเล็ก ๆ ลงไปในชา[4] ทุกคนในห้องประชุมเห็นว่าน่าสนใจ จึงทำออกมาขาย ปรากฏว่า ยอดขายดีมาก ทำลายสถิติเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ[4] บ้างก็ว่า ชาไข่มุกน่าจะมีที่มาจากร้านชาหานหลิน ที่เมืองไถหนาน ประเทศไต้หวัน ของนายถัวซ่งเหอ เขาใส่เม็ดสาคูสีขาวลงไปในชา ทำให้มันเหมือนไข่มุก เป็นที่มาของคำว่า "ชาไข่มุก" หลังจากนั้นไม่นาน หานหลินเปลี่ยนสีสาคูจากสีขาวเป็นสีดำแบบที่นิยมกันในปัจจุบัน ช่วงปี 1990 เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2012 ร้านแมคคาเฟ่ของแมคโดนัลด์ สาขาในประเทศเยอรมันและออสเตรียเริ่มจำหน่ายชาไข่มุก มีให้เลือกหลากหลายทั้งชาแดง ชาเขียว และชาขาว, เลือกได้ทั้งแบบผสมและไม่ผสมนม รวมถึงน้ำเชื่อมผลไม้รสต่าง ๆ สามารถสรรสร้างเมนูใหม่ ๆ ได้มากกว่า 250 แบบ[5]
ชนิดของชาไข่มุก
[แก้]- 泡沫紅茶 (พินอิน: pàomò hóngchá) : "ชาแดงโฟม" แปลตรงตัวตามภาษาจีนก็คือ ชาที่มีฟอง ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ชาโฟม แต่ชื่อนี้ไม่เป็นที่นิยมในเอเชียเท่าไหร่นัก ในหลาย ๆ ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาจีนเป็นหลัก จะเรียกว่า "ชาบับเบิล"[6] เครื่องดื่มชนิดนี้ไม่ได้ใส่เม็ดสาคูลงไป คำว่า ฟอง/ไข่มุก ได้มาจากการผสมชาร้อน ๆ หรือชาอุ่น ๆ (ใช้ชาแดง) กับน้ำเชื่อมหรือน้ำตาล เทน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ลงไปรวมกันในกระบอกเชคเกอร์ อาจจะเขย่าด้วยเครื่องหรือเขย่าด้วยมือก็ได้ ทำให้เกิดโฟมฟองขึ้นที่ผิวบนของชา ส่งผลให้ได้รสชาติที่นุ่มลิ้น
- 泡沫奶茶 (พินอิน: pàomò nǎichá) : "ชานมโฟม" ชาชนิดนี้ก่อนเสิร์ฟต้องเขย่า วิธีการเหมือน "ชาแดงมีฟอง"
- 珍珠奶茶 or 珍奶 for short) (พินอิน: zhēnzhū nǎichá) : "ชานมเพิร์ล" มักเรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า ชานมบับเบิล คำว่า "เพิร์ล/ไข่มุก" หมายถึง เม็ดสาคูเล็ก ๆ ขนาด 1/12 นิ้วที่ใส่ในเครื่องดื่ม ถึงแม้จะมีบางเมนูเปลี่ยนมาใช้เม็ดสาคูที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 1/4 นิ้ว แต่ก็ยังใช้ชื่อ "ชานมเพิร์ล"เหมือนเดิม[1]
- 波霸奶茶 (พินอิน: bōbà nǎichá) : "ชานมบับเบิล" หรือที่เรียกกันว่า ชานมปัวป้า ชื่อนี้สื่อถึงขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ ซึ่งก็คือ เม็ดสาคูขนาดใหญ่ 1/4นิ้ว[1]
- 黑珍珠奶茶 (พินอิน: hēi zhēnzhū nǎichá) : "ชานมแบล็กเพิร์ล" ตั้งแต่มีการทำเม็ดสาคูขนาดใหญ่ 1/4นิ้วขึ้นมา มีการแยกเฉพาะเม็ดสาคูมาวางจำหน่ายในชื่อ "แบล็กเพิร์ล" (黑珍珠) ซึ่งเป็นที่นิยมมาก มีอีกชื่อหนึ่งคือ "ปัวป้า" (波霸) แต่ไม่ค่อยใช้กันเท่าไหร่นัก
- (奶) 茶珍珠 (พินอิน: (nǎi) chá zhēnzhū) : "ชา (นม) เพิร์ล" (ไม่นิยมใช้ชื่อนี้)
- 泡泡茶 (พินอิน: pào pào chá) : หรือ 珍珠奶茶 หมายถึง "ชาบับเบิล" ใช้กันในประเทศสิงคโปร์
สุขภาพ
[แก้]เมื่อก่อน เคยมีการรายงานว่า เม็ดสาคู, นมผง และน้ำเชื่อมรสผลไม้ มีส่วนผสมของสารปรุงแต่งต้องห้าม ในเดือนพฤษภาคม ปี 2011 ฟู้ดสแกนดอล ในไต้หวันตีแผ่เรื่องราวของ DEHP (สารเสริมสภาพพลาสติก) (สารเคมีพลาสติไซเซอร์ที่มีสารก่อมะเร็ง) ที่พบในสารกันบูดในเครื่องดื่มและน้ำเชื่อมรสผลไม้ต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกนอกประเทศ และใช้ในร้านชาไข่มุกทั่วโลก DEHP (สารเสริมสภาพพลาสติก) นี้มีผลกับระดับฮอร์โมนในร่างกาย[7][8] ช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2011 กระทรวงสาธารณสุขของประเทศมาเลเซีย นายเลียว เทียงไหล ประกาศให้บริษัทที่จำหน่าย "น้ำเชื่อมรสสตอเบอร์รี่" (หนึ่งในส่วนผสมที่ใช้ในชาไข่มุกบางเมนู) หยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เนื่องจากทดสอบแล้วพบว่า มีสารก่อมะเร็งดังกล่าวปะปนอยู่[9]
ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2012 นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยอาเคิน (RWTH) ในประเทศเยอรมันได้ทำการวิเคราะห์ส่วนผสมของชาไข่มุกเพื่อหาสารอาจที่ก่อให้เกิดการแพ้ ผลการตรวจสอบ พบว่า มีส่วนผสมของ สไตรีน, อะซีโตฟีโนน และ สารที่ผ่านกรรมวิธีการเติมโบรมีน[10][11] หนังสือพิมพ์ในประเทศเยอรมัน Rheinische Post ตีพิมพ์บทวิเคราะห์ดังกล่าว ส่งผลให้ตัวแทนในประเทศเยอรมันของทางไต้หวันต้องออกมาแถลงการณ์ กล่าวว่า จะมีการตรวจสอบอาหารทุกประเภทในไต้หวันอย่างละเอียด[12] ต่อมา ในเดือนกันยายน องค์การอาหารและยาของไต้หวันได้ออกมาแจ้งผลการวิเคราะห์รอบสองซึ่งผ่านการควบคุมโดยองค์กรประเทศเยอรมัน พบว่า ชาไข่มุกของไต้หวันปลอดจากสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่พบส่วนผสมของโลหะหนัก หรือสารอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด[13]
ในเดือนพฤษภาคม ปี 2013 องค์การอาหารและยาของไต้หวันออกแถลงการณ์เรื่อง การตรวจพบกรดมาเลอิก (สารปรุงแต่งอาหารที่ยังไม่ผ่านการรับรอง) ในอาหารบางประเภทรวมถึงเม็ดไข่มุกสาคู[14] ทั้งนี้ หน่วยงานตรวจสอบอาหารของประเทศสิงคโปร์ได้ทำการทดสอบ และตรวจพบเจอสารดังกล่าวในเม็ดไข่มุกสาคูของบางร้านค้า และในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบด้วยเช่นกัน[15]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิงอื่นๆ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "珍珠奶茶的製作方法 (pearls)". Crystalpalace.poempalace.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-29. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
- ↑ Chao, Julie (12 December 1999). "Taiwan tapioca tea on tap". San Francisco Examiner.
- ↑ "Healthier Bubble Tea". Five by Fifty - Asian Consumer Intelligence. 17 March 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-03. สืบค้นเมื่อ 2014-06-29.
- ↑ 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อchang12
- ↑ "McDonald's Launches Bubble Tea Line In German Restaurants". Huffingtonpost.com. 11 June 2012.
- ↑ "Yes411 全球華人首選生活資訊網 - 加拿大黃頁". Yes411.com. 19 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-24. สืบค้นเมื่อ 2014-06-29.
- ↑ Yi-yu, Juan; Yi-chia, Wei; Su-ching, Hung (29 May 2011). "FOOD SCARE WIDENS:Tainted additives used for two decades: manufacturer". Taipei Times.
- ↑ "167 food ingredient suppliers affected by toxic contamination: DOH". Focus Taiwan News Channel. 26 May 2011.
- ↑ Lee Yen Mun (17 June 2011). "Taiwanese syrup used in bubble tea found to be DEHP contaminated". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-19. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
- ↑ Bubble Tea under Surveillance in Germany SGS SafeGuard Bulletin, Retrieved 09/20/2012
- ↑ "Bubble tea 'contains all sorts of crap'". The Local. 22 August 2012.
- ↑ "Tests rebut claims about carcinogenic German bubble tea". Taipei Times. 11 September 2012.
- ↑ "'Reckless' report has hurt Taiwanese bubble tea industry: supplier". Central News Agency. 28 September 2012.
- ↑ "Taiwan recalls food products due to unapproved food additive" (PDF). Agri-Food & Veterinary Authority of Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-16. สืบค้นเมื่อ 2014-06-29.
- ↑ "Recall of starch-based products from Taiwan due to maleic acid" (PDF). Agri-Food & Veterinary Authority of Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-08. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Bubble tea