ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:อลอยเซีย ซิโตรโดรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อลอยเซีย ซิโตรโดรา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: กะเพรา
Lamiales
วงศ์: วงศ์ผกากรอง
Verbenaceae
สกุล: สกุลอลอยเซีย
Aloysia
Paláu
สปีชีส์: Aloysia citrodora
ชื่อทวินาม
Aloysia citrodora
Paláu
ชื่อพ้อง[1]

Aloysia triphylla (L'Hér.) Britton
Lippia citriodora Kunth
Lippia triphylla (L'Hér.) Kuntze
Verbena triphylla L'Hér.
Zappania citrodora Lam.

เลม่อน เวอร์บีนา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Aloysia citrodora) เป็นสปีชีส์หนึ่งของพืชมีดอกในวงศ์เวอร์บีนามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ชื่อเรียกอื่น ๆ ทั่วไปได้แก่ เลม่อน บีบรัช[2] สเปนและ โปรตุเกสได้นำเข้ามาในยุโรป ในศตวรรษที่ 17 และเพื่อนำมาปลูกเอาน้ำมันจากใบ[3]

เลม่อน เวอร์บีน่า เป็นไม้พุ่มยืนต้นหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก (subshrub) ที่มีความสูงประมาณ 2–3 เมตร (7–10 ฟุต) ใบยาวประมาณ 8 เซนติเมตร (3 นิ้ว) ใบมีปลายแหลมหยาบเล็กน้อยเมื่อสัมผัส และมีกลิ่นเลมอนที่แรงเมื่อขยี้ (จึงเป็นที่มาของชื่อเฉพาะ ภาษาละตินที่ว่า citrodora ซึ่งมีความหมายว่า มีกลิ่นของเลม่อน)[4]

ช่อดอกสีม่วงหรือสีขาวเล็ก ๆ มักออกดอกในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิหรือต้นฤดูร้อน แม้ว่าเลม่อน เวอร์บีน่า ที่เลี้ยงในกระถางอาจไม่ออกดอกก็ตาม เป็นพืชยืนต้นในเขตร้อน[5] แต่ไวต่อความหนาวเย็น โดยจะผลัดใบเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส (32 องศาฟาเรนไฮต์) แม้ว่าไม้ลำต้นจะทนต่ออุณหภูมิถึง −10 องศาเซลเซียส (14 องศาฟาเรนไฮต์)[ ต้องการอ้างอิง ] แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งในช่วงฤดูใบไม้ผลิเพื่อให้ต้นไม้มีรูปร่างเป็นพุ่ม[6] เนื่องจากมีการใช้ประกอบอาหารมากมาย จึงทำให้พืชชนิดนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนและทำการตลาดอย่างกว้างขวางในฐานะพืชสำหรับสวนสมุนไพร

การนำไปใช้

[แก้]
เครื่องดื่มอินคาโคลา (Inca Kola) ที่มีรสชาติเลมอน เวอร์บีน่า [7]

ใบเลม่อน เวอร์บีน่า ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติเลม่อนให้กับอาหารจำพวกปลาและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก เช่น เนื้อและไข่, การหมักผัก, น้ำสลัด, แยม, พุดดิ้ง, โยเกิร์ตกรีก และเครื่องดื่ม ใบยังใช้ทำเครื่องหอม (potpourri) ได้อีกด้วย[5] เลม่อน เวอร์บีน่า ใช้ทำชาสมุนไพร (herbal teas) และเป็นใช้แต่งกลิ่นเหล้าลิเคียว (liqueur)[7] มีการใช้เป็นยาแผนโบราณ (traditional medicine) ในประเทศแถบละตินอเมริกา[7] ในอดีตน้ำมันจะถูกกลั่นด้วยไอน้ำจากใบไม้เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม แต่น้ำมันนี้มีผลข้างเคียงทำให้ผิวแพ้ง่ายและเกิดการระคายเคืองผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี (phototoxic)[8] ในสหภาพยุโรป น้ำมันหอมระเหยจากเวอร์บีน่า (Lippia citriodora Kunth) และสารสกัดอื่น ๆ นอกเหนือจากแบบบริสุทธิ์ ถูกห้ามนำมาใช้เมื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมของน้ำหอม (ข้อบังคับหมายเลข 1223/2009 ภาคผนวก II)[9]

ทางเคมี

[แก้]

สารเคมีหลักที่แยกได้ในน้ำมัน เลม่อน เวอร์บีน่า ได้แก่ ซิทรัล (citral) ประมาณ 30–35% เนรอล (nerol) และ เจอรานิออล[10] สารสกัดจาก เลม่อน เวอร์บีน่า ยังประกอบด้วยสารเวอร์บาสโคไซด์ด้วย (verbascoside) เนื่องจากพืชมีสารพฤกษเคมี หลายชนิดที่อาจทำหน้าที่เป็นซับสเตรต สำหรับเอนไซม์เกี่ยวกับเมแทบอลิซึมของยา เลม่อน เวอร์บีนา จึงอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาได้ (herb-drug interactions)[7] อย่างไรก็ตาม น้ำมันเลมอน เวอร์บีน่า ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย (GRAS) โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา เมื่อใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่น[11] [12]

ชื่อพ้อง

[แก้]

ชื่อพ้องของ เลม่อน เวอร์บีน่า คือ Verbena triphylla L'Hér[13] Verbena citriodora Cav. - Lippia triphylla[13] และ Lippia citriodora[13]

เชิงอรรถและรายการอ้างอิง

[แก้]
  1. "อลอยเซีย ซิโตรโดรา". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). {{citation}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  2. Armada, J.; A. Barra (1992). "On Aloysia Palau (Verbenaceae)". Taxon. 41 (1): 88–90. doi:10.2307/1222497. JSTOR 1222497.
  3. Margaret Joan Roberts (2000). Margaret Roberts' A–Z Herbs: Identifying Herbs, How to Grow Herbs, the Uses of Herbs. Struik. p. 51. ISBN 978-1-86872-499-4.
  4. Harrison, Lorraine (2012). RHS Latin for gardeners. United Kingdom: Mitchell Beazley. p. 224. ISBN 9781845337315.
  5. 5.0 5.1 "Aloysia citriodora - Plant Finder". www.missouribotanicalgarden.org. สืบค้นเมื่อ 16 June 2019.
  6. "Lemon Verbena" (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). Australian Broadcasting Corporation. 21 May 2005. สืบค้นเมื่อ 16 June 2019.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Bahramsoltani, Roodabeh; Rostamiasrabadi, Pourouchista; Shahpiri, Zahra; Marques, André M.; Rahimi, Roja; Farzaei, Mohammad Hosein (August 2018). "Aloysia citrodora Paláu (Lemon verbena): A review of phytochemistry and pharmacology". Journal of Ethnopharmacology. 222: 34–51. doi:10.1016/j.jep.2018.04.021. PMID 29698776.
  8. Groom, Nigel (บ.ก.). The new perfume handbook (2nd ed.). Blackie Academic & Professional. p. 344. ISBN 9780751404036.
  9. "Regulation (EC) No 1223/2009 of the European Parliament and of the Council of 30 November 2009 on cosmetic products". EUR-Lex. สืบค้นเมื่อ 2 June 2020.
  10. Lawless, J., The Illustrated Encyclopedia of Essential Oils, ISBN 1-85230-661-0 [ต้องการเลขหน้า]
  11. "Substances Added to Food (formerly EAFUS)". US Food and Drug Administration. 22 April 2019.
  12. "Substances Added to Food (formerly EAFUS)". US Food and Drug Administration. 22 April 2019.
  13. 13.0 13.1 13.2 "ITIS Standard Report Page: Aloysia citrodora". www.itis.gov. สืบค้นเมื่อ 16 June 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Aloysia citrodora ที่วิกิสปีชีส์