ฉบับร่าง:สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นศาสตร์ที่บูรณาการทางการบริหารและพระพุทธศาสนาร่วมกัน ตามปณิธานล้นเกล้ารัชกาลที่ห้า

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการจัดการภาครัฐ และเข้าไปเป็นส่วนสนับสนุนการบริหาร พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการบริหารและการจัดการให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยสาขารัฐประศาสนศาสตร์ สังกัดอยู่ในภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งมีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ จำนวนมากนับแต่อดีต จนกระทั่งปัจจุบัน

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อดีตองค์อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในขณะที่ดำรงตำแหน่งได้ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาหลักสูตร รวมทั้งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ด้วย

ความเป็นมา[แก้]

พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี รูปปัจจุบัน ซึ่งขณะนั้นเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ในราชทินนาม พระราชปริยัติกวี,รศ.ดร. เป็นผู้มีส่วนต่อการขับเคลื่อนให้เกิดสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพล สุยะพรหม เป็นผู้ริเริ่มนำหลักสูตรทางรัฐประศาสนศาสตร์[1] มาเปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในระดับปริญญาโท และเอกตั้งแต่ปี 2549 -ปัจจุบัน ซึ่งเปิดสอนในระดับปริญญาตรี โท เอก โดยในสมัยนั้น พระเดชพระคุณพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. ยังเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และ พระเดชพระคุณ พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส และกรรมการมหาเถรสมาคม) ยังดำรงตำแหน่งเป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยอยู่ได้นำเข้าเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยและ ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย เป็นที่เรียบร้อยถือว่าเป็นจุดกำเนิดของหลักสูตรทางรัฐประศาสนศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางด้านการจัดการศาสตร์สมัยใหม่อันได้แก่ศาสตร์ทางการบริหารรัฐกิจ, การบริหารองค์กร,นโยบายสารารณะ,การคลัง, การบริหารทรัพยากรมนุษย์ กับการบูรณาการหลักการทางพระพุทรศาสนา เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความทันสมัยทางวิชาการของศาสตร์ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ สอดคล้องกับพระปณิรานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น เพื่อเป็นที่ศึกษาพระไตรปีฎก และวิชาชั้นสูง อีกทั้งสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองทั้งในปัจจุบันและอนาคต อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน[2]

ชื่อปริญญา[แก้]

พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (พธ.บ เอกบริหารรัฐกิจ)

รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ)

พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตร์ (พธ.ม.)

พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ (พธ.ด.)

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตร์ (ปร.ด.)

ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[แก้]

1.นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

2. นายปิยะ ปะตังทา ประธานศาลปกครองสูงสุด

3. นายอภิรัต ศิรินาวิน อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคมหาชน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554

4.พล.อ.ดร. รุจ กสิวุฒิ วุฒิสมาชิก

วิทยากรผู้บรรรยายในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

นับแต่จัดการศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ได้เชิญวิทยากรและผู้บรรยายพิเศษมาเสริมความรู้และส่งเสริมความรู้ให้กับนิสิตผู้เรียนจำนวนมาก อันประกอบด้วยนักธุรกิจ การเมือง นักบริหาร เป็นต้น โดยในแต่ละช่วงปีได้มีเชิญผู้มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ อาทิ

1. พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กรรมการมหาเถรสมาคม

2.พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

3.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี วิทยากรบรรยายพิเศษ

4.พล.ต.เอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตอธิบดีกรมตำรวจ วิทยากรบรรยายพิเศษ

5.กร ทัพพะรังสี อดีตรองนายกรัฐมนตรี วิทยากรบรรยายพิเศษ

6.ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง[3][4]

7.ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์[5]

8.ศ.ดร.กฤช เพิ่มทันจิตต์

9.ศ.ดร.พล.ต.ท.(หญิง) นัยนา เกิดวิชัย

10.รศ.ดร. สมาน งามสนิท [6] อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2518 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สนใจและเชี่ยวชาญงานทางด้านการสื่อสาร เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี สื่อการสื่อสารต่าง ๆ เป็นต้น มีประสบการณ์ในการแสดงละคร และภาพยนตร์หลายเรื่อง

11.ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี วิทยากรบรรยายพิเศษ

12.ศ. ร.ท. ดร. บรรจบ บรรณรุจิ ราชบัณฑิต

อ้างอิง[แก้]

  1. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา. (2559). 1 ทศวรรษรัฐประศาสนศาสตร์. ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  2. หลักสูตรบัณฑิตศึกษา. (2559). 1 ทศวรรษรัฐประศาสนศาสตร์. ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  3. บุญทัน ดอกไธสง. (2559). รัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนโลก. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  4. บุญทัน ดอกไธสง. (2562). รัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนโลก 2. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  5. ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ สังคมวิทยา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๕๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒