ข้ามไปเนื้อหา

งูเหลือม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งูเหลือม
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีนถึงปัจจุบัน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
อันดับ: กิ้งก่าและงู
Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
Serpentes
วงศ์: วงศ์งูเหลือม
Pythonidae
สกุล: Malayopython
Malayopython
(Schneider, 1801)[2]
สปีชีส์: Malayopython reticulatus
ชื่อทวินาม
Malayopython reticulatus
(Schneider, 1801)[2]
ชื่อพ้อง
รายชื่อ
  • Boa reticulata
    Schneider, 1801
  • Boa rhombeata
    Schneider, 1801
  • Boa phrygia
    Shaw, 1802
  • Coluber javanicus
    Shaw, 1802
  • Python schneideri
    Merrem, 1820
  • Python reticulatus
    Gray, 1842
  • Python reticulatus
    Boulenger, 1893
  • Morelia reticulatus
    Welch, 1988
  • Python reticulatus
    Kluge, 1993[2]
  • Broghammerus reticulatus
    — Hoser, 2004[3][4]
  • Malayopython reticulatus
    Reynolds et al., 2014[5]

งูเหลือม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Malayopython reticulatus) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูขนาดใหญ่ ลำตัวยาวเฉลี่ยประมาณ 3.5-6 เมตร จัดเป็นงูที่ยาวที่สุดของโลกซึ่งตัวที่ยาวที่สุดยาวถึง 9.6 เมตร ถูกจับได้เมื่อปี ค.ศ. 1917 ที่ เกาะซีลิเบท เป็นหมู่เกาะแห่งหนึ่งในมาเลเซีย[6] โดยมีความยาวกว่างูอนาคอนดา (Eunectes murinus) ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ แต่มีน้ำหนักน้อยกว่า อาจจะหนักน้อยกว่างูอนาคอนดาได้ถึงครึ่งเท่าตัว[6]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อวิทยาศาสตร์ของงูเหลือม คือ reticulatus เป็นภาษาละตินหมายถึง "เหมือนแห" หรือ "ร่างแห" อันหมายถึงลวดลายบนตัวงู ที่มองดูคล้ายร่างแห อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษด้วย [7]

ลักษณะทั่วไป

[แก้]

ปากมีขนาดใหญ่และฟันแหลมคม ขากรรไกรแข็งแรงมากและสามารถถอดขากรรไกรในการกลืนเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ได้[8] เกล็ดบริเวณลำตัวตั้งแต่ปลายหัวจรดปลายหางมีสีเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ำตาล พื้นของตัวสีน้ำตาลแดง มีลายแบ่งเป็นวงมีหลายสี ที่บริเวณส่วนหัวมีเส้นสีดำขนาดเล็กเรียวยาว เรียกว่า "ศรดำ" จนเกือบถึงปลายปาก หัวเด่นแยกออกจากคออย่างชัดเจน ปลายหางยาวแหลม เกล็ดเรียบเรียงเป็นแถวได้ระหว่าง 69 ถึง 74 แถวที่บริเวณกลางลำตัว เกล็ดทวารเป็นแผ่นเดี่ยว

พฤติกรรม

[แก้]

จัดในอยู่ประเภทงูไม่มีพิษ เลื้อยช้า ๆ และอาจดุตามสัญชาตญาณเมื่อมีศัตรู ออกหากินกลางคืน หากินทั้งบนบกและในน้ำ อาศัยนอนตามโพรงดินโพรงไม้ในที่มืดและเย็น หลาย ๆ วันจึงจะออกหากินครั้งหนึ่ง งูเหลือมกินสัตว์แทบทุกชนิดโดยมักดักซุ่มรอเหยื่อบนต้นไม้ เมื่อได้จังหวะจะทิ้งตัวลงมารัดเหยื่อยจนขาดอากาศหายใจ มีสีและลายกลืนไปกับธรรมชาติ สืบพันธุ์คล้ายงูหลาม (Python bivittatus) แต่มีระยะฟักไข่ 3 เดือน ลูกงูที่ออกจากไข่มีความยาวประมาณ 55 เซนติเมตร กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น นกหรือหนู หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางเช่น เก้ง, กวาง, สุนัข, กระต่าย, หนู, ไก่, เป็ด รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานด้วยกันเองขนาดกลาง เช่น ตัวเงินตัวทอง, ตะกวด[9] จึงมักมีรายงานอยู่เสมอ ๆ ว่าเข้าไปแอบกินสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ในเวลากลางคืน อีกทั้งมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย[10] [11] อาศัยอยู่ได้ในป่าทุกประเภท ชอบอาศัยในที่ชื้น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ปัจจุบันถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[12]

การกระจายพันธุ์

[แก้]

พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่หมู่เกาะนิโคบาร์ , พม่า, ไทย, ลาว และกัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี, เกาะชวา, เกาะลูซอน และหลายหมู่เกาะในหมู่เกาะฟิลิปปินส์

งูเหลือมเผือก

ปัจจุบันถือเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นของสหรัฐอเมริกา โดยมีการพบในอุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์[11] เชื่อว่าถูกนำเข้ามาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน เช่นเดียวกับงูหลาม ได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะในตัวที่สีและลวดลายแปลกไปจากทั่วไปหรือสีกลายเป็นสีเผือกซึ่งมีราคาขายที่แพงมาก ซึ่งงูเหลือมเมื่อเทียบนิสัยกับงูหลามหรืองูเหลือมชนิดอื่น ๆ แล้ว ดุร้ายกว่ามาก เลี้ยงให้เชื่องได้ยาก

หมายเหตุ

[แก้]

ได้มีการศึกษาด้านวิวัฒนการของงูเหลือม พบว่างูเหลือมและงูเหลือมติมอร์ (P. timoriensis[13]) มีความแตกต่างทางพันธุกรรมไปจากงูในสกุล Python ชนิดอื่น ๆ จึงเห็นควรว่าควรแยกสกุลออกมาต่างหากเป็น Malayopython[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Stuart, B.L.; Thy, N.; Chan-Ard, T.; Nguyen, T.Q.; Grismer, L.; Auliya, M.; Das, I. & Wogan, G. (2018). "Broghammerus reticulatus". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T183151A1730027. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T183151A1730027.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. 2.0 2.1 McDiarmid, R. W.; Campbell, J. A.; Touré, T. A. (1999). Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, Volume 1. Washington: Herpetologists' League. ISBN 9781893777002.
  3. Hoser, R. (2003). "A Reclassification of the Pythoninae Including the Descriptions of Two New Genera, Two New Species, and Nine New Subspecies. Part I". Crocodilian - Journal of the Victorian Association of Amateur Herpetologists. 4 (3): 31–37.
  4. Raymond T. Hoser. "The taxonomy of the snake genus Broghammerus Hoser, 2004 revisited, including the creation of a new subgenus for Broghammerus timoriensis (Peters, 1876)" (PDF). Australasian Journal of Herpetology. 16: 19–26. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09. สืบค้นเมื่อ 26 March 2022.
  5. ชนิด Malayopython reticulatus ที่ The Reptile Database www.reptile-database.org.
  6. 6.0 6.1 Wood, Gerald (1983). The Guinness Book of Animal Facts and Feats. ISBN 978-0-85112-235-9.
  7. Gotch AF. 1986. Reptiles – Their Latin Names Explained. Poole, UK: Blandford Press. ISBN 0-7137-1704-1.
  8. "ลักษณะของงูเหลือม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-02. สืบค้นเมื่อ 2007-04-24.
  9. "ตะลึง!เจอ'เหลือมยักษ์'ผัวเมีย เขมือบตัวเงินตัวทอง". ไทยรัฐ. 27 November 2014. สืบค้นเมื่อ 20 December 2014.
  10. "งูเหลือมพม่าหลุดจากที่ขังรัดเด็ก 2 ขวบตายคาห้องนอน". คมชัดลึก. 3 July 2009. สืบค้นเมื่อ 20 December 2014.[ลิงก์เสีย]
  11. 11.0 11.1 งูเหลือมพม่าในอุทยานแห่งชาติ Everglades
  12. "สถานะปัจจุบันของงูเหลือม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-02. สืบค้นเมื่อ 2007-04-24.
  13. Rawlings, L.H., Rabosky, D.L., Donnellan, S.C. & Hutchinson, M.N. (2008). "Python phylogenetics: inference from morphology and mitochondrial DNA". Biological Journal of the Linnean Society. 93 (3): 603. doi:10.1111/j.1095-8312.2007.00904.x.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reyn01

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]