งูดินบ้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งูดินบ้าน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Typhlopidae
สกุล: Ramphotyphlops
สปีชีส์: R.  braminus
ชื่อทวินาม
Ramphotyphlops braminus
(Daudin, 1803)
ชื่อพ้อง
  • Eryx braminus Daudin, 1803
  • [Tortrix] Russelii Merrem, 1820
  • Typhlops braminus Cuvier, 1829
  • Typhlops Russeli Schlegel, 1839
  • Argyrophis truncatus Gray, 1845
  • Argyrophis Bramicus Gray, 1845
  • Eryx Bramicus Gray, 1845
  • Tortrix Bramicus Gray, 1845
  • Onychocephalus Capensis A. Smith, 1946
  • Ophthalmidium tenue Hallowell, 1861
  • T[yphlops]. (Typhlops) inconspicuus Jan, 1863
  • T[yphlops]. (Typhlops) accedens Jan, 1863
  • T[yphlops]. accedens Jan & Sordelli, 1864
  • Typhlops (Typhlops) euproctus Boettger, 1882
  • Typhlops bramineus Meyer, 1887
  • Tortrix russellii Boulenger, 1893
  • Typhlops russellii Boulenger, 1893
  • Typhlops braminus Boulenger, 1893
  • Typhlops accedens Boulenger, 1893
  • Typhlops limbrickii Annandale, 1906
  • Typhlops braminus var. arenicola Annandale, 1906
  • [Typhlops braminus] var. pallidus Wall, 1909
  • Typhlops microcephalus Werner, 1909
  • Glauconia braueri Sternfeld, 1910
  • [Typhlops] braueri Boulenger, 1910
  • Typhlopidae braminus Roux, 1911
  • Typhlops fletcheri Wall, 1919
  • Typhlops braminus braminus Mertens, 1930
  • Typhlops braminus Nakamura, 1938
  • Typhlops pseudosaurus Dryden & Taylor, 1969
  • Typhlina (?) bramina McDowell, 1974
  • Ramphotyphlops braminus Nussbaum, 1980[1]

งูดินบ้าน หรือ งูดินธรรมดา (อังกฤษ: Brahminy blind snake, Common blind snake; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ramphotyphlops braminus) เป็นงูดินชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Typhlopidae

ลำตัวเรียวยาวและกลมสม่ำเสมอตลอดความยาวลำตัว ส่วนของหัวกว้างเท่ากับลำตัว ส่วนปลายของหัวมน หางสั้นมากและส่วนปลายของหางมีหนามแข็ง ตาเล็กมากแต่มองเห็นได้ชัดเจน ผิวหนังลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กปกคลุมและพื้นผิวเกล็ดเรียบเป็นมัน เกล็ดรอบลำตัวในแนวกึ่งกลางตัว จำนวน 20 เกล็ด [2]

ลำตัวสีน้ำตาลดำหรือสีดำ ด้านท้องสีจางกว่าด้านหลังเล็กน้อย ส่วนปลายของหัวช่องเปิดรูก้น และหาง มีสีจางกว่าสีลำตัว มีความยาวจากปลายปากจนถึงรูก้น 132 มิลลิเมตร ส่วนหางยาว 2 มิลลิเมตร[2]

อาศัยอยู่ในชั้นหน้าดินที่ดินมีลักษณะร่วนซุยตามพื้นล่างของป่าบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง หรือหลบซ่อนตัวอยู่ใต้กองไม้ที่เปื่อยผุพัง และส่วนมากเป็นบริเวณที่มีปลวกอาศัยอยู่ ปรกติมักพบลำพังตัวเดียว แต่ถ้าเป็นขอนไม้ใหญ่ที่เปื่อยผุพังอาจอยู่รวมกันหลายตัว พื้นผิวของเกล็ดลำตัวที่ เรียบเป็นมันช่วยให้การเลื้อยไปในดินร่วนซุยรวดเร็วมากขึ้น แต่เมื่อมาอยู่บนพื้นผิวดินจะเลื้อยช้า และใช้ส่วนปลายของหางที่มีหนามแข็งยึดพื้นผิวดินไว้แล้วส่ายหัวและลำตัวไปในทิศทางที่ต้องการ มักขึ้นมาอยู่บนพื้นดินภายหลังที่ฝนตกหนัก มีรายงานพบว่ามีการเกิดโดยไร้การปฏิสนธิ และสมาชิกทุกตัวเป็นตัวเมียทั้งหมด[2]

พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์, เซเชลส์, โซมาเลีย, แทนซาเนีย, แคเมอรูน, คูเวต, จีน, ญี่ปุ่น, เนปาล, ปากีสถาน, ศรีลังกา, พม่า, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์ จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  2. 2.0 2.1 2.2 Brahminy Blind Snake at the Florida State Museum of Natural History. Accessed 30 August 2007.
  3. Whitaker R. 1978. Common Indian Snakes: A Field Guide. Macmillan India Limited.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ramphotyphlops braminus ที่วิกิสปีชีส์