ข้ามไปเนื้อหา

งูเขียวหางไหม้ลายเสือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งูเขียวหางไหม้ลายเสือ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Viperidae
วงศ์ย่อย: Crotalinae
สกุล: Trimeresurus
สปีชีส์: T.  purpureomaculatus
ชื่อทวินาม
Trimeresurus purpureomaculatus
(Gray, 1832)
ชื่อพ้อง
  • Trigonocephalus purpureo-maculatus - Gray, 1832
  • Trimesurus purpureus - Gray, 1842
  • Trimesurus carinatus - Gray, 1842
  • C[ryptelytrops]. carinatus - Cope, 1860
  • [Trimesurus] porphyraceus - Blyth, 1861
  • Trimeresurus purpureus - Günther, 1864
  • T[rimeresurus]. carinatus - Theobald, 1868
  • Crotalus Trimeres[urus]. carinatus - Higgins, 1873
  • Trimeresurus purpureomaculatus - Boulenger, 1890
  • Lachesis purpureomaculatus - Boulenger, 1896
  • Trimeresurus purpureomaculatus - M.A. Smith, 1943
  • Trimeresurus purpureomaculatus purpureomaculatus - M.A. Smith, 1943[1]

งูเขียวหางไหม้ลายเสือ หรือ งูพังกา[2] (อังกฤษ: Shore pit viper[3], Mangrove pit viper[4] หรือ Mangrove viper[5]) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง มีพิษรุนแรง เมื่อเข้าใกล้จะสั่นหางขู่และฉกกัดอย่างรวดเร็ว ออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยบนต้นไม้เป็นพุ่มเตี้ยๆ ตามป่าชายเลน หรือตามริมฝั่งคลองที่ติดกับทะเล[2] พบในประเทศอินเดีย (รัฐอัสสัม, หมู่เกาะอันดามัน), ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศพม่า, ประเทศไทย, มาเลเซียตะวันตก, ประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศอินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา)

ลักษณะ

[แก้]

เป็นงูขนาดค่อนข้างใหญ่ หัวโตรูปสามเหลี่ยม คอเล็กกว่าหัวและลำตัว ลำตัวอ้วน หัวและลำตัวมีสีเหลืองค่อนข้างซีด บนหัวมีจุดสีดำกระจายทั่วไป ลำตัวมีลายสีดำเป็นแนวกว้างพาดขวาง ระยะไม่แน่นอนจากคอถึงหาง ข้างลำตัวมีลายสีดำเล็กๆ กระจายทั่วไป ท้องสีขาวขอบเกล็ดสีดำ จากลักษณะของลวดลายและสีบนลำตัว[2] ตัวเมียมีขนาดใหญ่และยาวกว่าตัวผู้ ตัวผู้ยาวประมาณ 66.5 ซม. หางยาว 12.5 ซม. ตัวเมียยาวประมาณ 90 ซม. หางยาว 14 ซม.[6] ออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 7 -14 ตัว[2]

สปีชีส์ย่อย

[แก้]

การเลี้ยง

[แก้]

งูเขียวหางไหม้ลายเสือ ยังเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน แต่ว่าเมื่อเทียบกับงูเขียวหางไหม้ท้องเขียวแล้ว งูเขียวหางไหม้ลายเสือเลี้ยงได้ยากกว่าพอสมควรเนื่องจากกินหนูเป็นอาหารและยังมีนิสัยที่ดุไม่เชื่องเหมือนงูเขียวหางไหม้ท้องเขียว

อ้างอิง

[แก้]
  1. McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 งูพังกา[ลิงก์เสีย] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย
  3. Brown JH. 1973. Toxicology and Pharmacology of Venoms from Poisonous Snakes. Springfield, Illinois: Charles C. Thomas. 184 pp. LCCCN 73-229. ISBN 0-398-02808-7.
  4. Mehrtens JM. 1987. Living Snakes of the World in Color. New York: Sterling Publishers. 480 pp. ISBN 0-8069-6460-X.
  5. U.S. Navy. 1991. Poisonous Snakes of the World. US Govt. New York: Dover Publications Inc. 203 pp. ISBN 0-486-26629-X.
  6. Leviton AE, Wogan GOU, Koo MS, Zug GR, Lucas RS, Vindum JV. 2003. The Dangerously Venomous Snakes of Myanmar, Illustrated Checklist with Keys. Proc. Cal. Acad. Sci. 54 (24): 407-462.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Gray, J. E. 1831 Illustrations of Indian Zoology: chiefly selected from the collection of Major General Hardwicke. Vol. 1, London (1830-1835)
  • Gumprecht,A. 2001 Die Bambusottern der Gattung Trimeresurus Lacépède Teil IV: Checkliste der Trimeresurus-Arten Thailands. Sauria 23 (2): 25-32
  • Gumprecht, A.; Tillack, F.; Orlov, N.L.; Captain, A. & Ryabow, S. 2004 Asian Pit Vipers. Geitje Books, Berlin, 368 pp.
  • Pope,C.H. & Pope, S.H. 1933 A study of the green pit-vipers of southeastern Asia and Malaysia, commonly identified as Trimeresurus gramineus (Shaw), with description of a new species from Peninsular India. Amer. Mus. Nat. Hist. 620: 1-12
  • Whitaker, R. 1978 Birth Record of the Andaman Pit Viper (Trimeresurus Purpureomaculatus ) J. Bombay Nat. Hist. Soc. 75 (1): 233