ข้ามไปเนื้อหา

คุรุครันถสาหิพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คุรุ ครันถ์ สาหิบ)
ภาพวาดศาสนิกชนกำลังสวดภาวนาจากคุรุกรันถสาหิบ

คุรุครันถสาหิพ[1] (ละติน: Sri Guru Granth Sahib, ปัญจาบ: ਗੁਰੂ ਗ੍ਰੰਥ ਸਾਹਿਬ; อ่านว่า ศรีกุรุ กรันตะสาหิบะ) หรือบางครั้งในภาษาไทยสะกดว่า "คุรุครันถ์ซาฮิบ"[2] คือคัมภีร์ที่คุรุซิกข์ทั้ง 10 องค์แต่งขึ้นเพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติตนและใช้ชีวิตของชาวซิกข์ ชาวซิกข์ถือให้พระคัมภีร์นี้เป็นศาสดาหนึ่งเดียวตลอดกาล เป็นศาสดาองค์ที่ 11 ต่อจากคุรุศาสดาที่เป็นบุรุษทั้ง 10 พระองค์[3] คุรุครันถสาหิพเริ่มต้นเขียนขึ้นครั้งแรกโดยคุรุอรชุน คุรุองค์ที่ 5 โดยรวบรวมคำสอนและบทสวดจากคุรุองค์ก่อน ๆ ในหนังสือชื่อ "อาทิครันถ์" (Adi Granth) ภายหลังคุรุโควินทสิงห์ คุรุองค์ที่ 10 ได้เพิ่มเติมบทสวด เนื้อหาเข้าไปจนเป็นฉบับที่นับถือกันมาจนปัจจุบัน[4] เรียกว่า "คุรุครันถสาหิพ"[5] หลังคุรุโควินทสิงห์ได้เสียชีวิตลงในปี 1708 บาบา ทีปสิงห์ (Baba Deep Singh) และ ภาอี มณี สิงห์ (Bhai Mani Singh) ได้ร่วมกันเตรียมคัดลอกสร้างคัมภีร์ฉบับนี้จำนวนมากเพื่อที่จะใช้เผยแผ่ต่อไป[6]

เนื้อหาประกอบด้วย 1,430 อัง (ang; หน้า) และ 6,000 ศพัท (śabad; บรรทัด)[7][8] ซึ่งแต่งเป็นทำนองและลักษณะกลอนแบบดนตรีดั้งเดิมของปัญจาบ[9] ในคัมภีร์ทั้งหมดนั้นแบ่งออกเป็น 60 ราคะ (rāga; บท) ซึ่งจะแยกย่อยตามผู้แต่งและความยาวอีกทีหนึ่ง[7] คุรุกรันถสาหิบเขียนโดยใช้อักษรคุรมุขี เป็นภาษาต่าง ๆ ทั้ง ลัห์นดา (ปัญจาบตะวันตก), พรชภาษา, ฆารีโบลี, ภาษาสันสกฤต, สินธี และ ภาษาเปอร์เซีย ซึ่งในภาษาต่าง ๆ นี้จะมีการอ่านที่แตกต่างไปตามสำเนียงอีก ชาวซิกข์จะนำหน้าชื่อคัมภีร์แบบนี้ด้วย "สันตะภาษา" (Sant Basha)[10]

ในคัมภีร์ยังประกอบด้วยธรรมเนียม การปฏิบัติ และการสอนของเทพของอินเดีย (สันตะ; Sant) เช่น รวิทาส, รามานันทะ, กพีระ, นามเทพ และสันตะชาวมุสลิมสององค์ คือ ภคัตภีกัน (Bhagat Bhikan) และ เศกฟารีด[11][12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2552. 734 หน้า. หน้า 224-226. ISBN 978-616-7073-03-3
  2. คุรุทวาราสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา กรุงเทพมหานคร
  3. Keene, Michael (2004). Online Worksheets. Nelson Thornes. p. 38. ISBN 0-7487-7159-X.
  4. Partridge, Christopher Hugh (2005). Introduction to World Religions. p. 223.
  5. Kapoor, Sukhbir. Guru Granth Sahib: An Advance Study. Hemkunt Press. p. 139. ISBN 9788170103219.
  6. Pruthi, Raj (2004). Sikhism and Indian Civilization. Discovery Publishing House. p. 188.
  7. 7.0 7.1 Christopher Shackle and Arvind Mandair (2005), Teachings of the Sikh Gurus, Routledge, ISBN 978-0415266048, pages xvii-xx
  8. Penney, Sue. Sikhism. Heinemann. p. 14. ISBN 0-435-30470-4.
  9. Anna S. King and JL Brockington (2005), The Intimate Other: Love Divine in Indic Religions, Orient Blackswan, ISBN 978-8125028017, pages 359-361
  10. Harnik Deol, Religion and Nationalism in India. Routledge, 2000. ISBN 0-415-20108-X, 9780415201087. Page 22. "(...) the compositions in the Sikh holy book, Adi Granth, are a melange of various dialects, often coalesced under the generic title of Sant Bhasha."
    The Making of Sikh Scripture by Gurinder Singh Mann. Published by Oxford University Press US, 2001. ISBN 0-19-513024-3, ISBN 978-0-19-513024-9 Page 5. "The language of the hymns recorded in the Adi Granth has been called Sant Bhasha, a kind of lingua franca used by the medieval saint-poets of northern India. But the broad range of contributors to the text produced a complex mix of regional dialects."
    Surindar Singh Kohli, History of Punjabi Literature. Page 48. National Book, 1993. ISBN 81-7116-141-3, ISBN 978-81-7116-141-6. "When we go through the hymns and compositions of the Guru written in Sant Bhasha (saint-language), it appears that some Indian saint of 16th century...."
    Introduction: Guru Granth Sahib. "Guru Granth Sahib Ji is written in Gurmukhi script. The language, which is most often Sant Bhasha, is very close to Punjabi. It is well understood all over northern and northwest India and is popular among the wandering holy men. Persian and some local dialects have also been used. Many hymns contain words of different languages and dialects, depending upon the mother tongue of the writer or the language of the region where they were composed."
    Nirmal Dass, Songs of the Saints from the Adi Granth. SUNY Press, 2000. ISBN 0-7914-4683-2, ISBN 978-0-7914-4683-6. Page 13. "Any attempt at translating songs from the Adi Granth certainly involves working not with one language, but several, along with dialectical differences. The languages used by the saints range from Sanskrit; regional Prakrits; western, eastern and southern Apabhramsa; and Sahiskriti. More particularly, we find sant bhasha, Marathi, Old Hindi, central and Lehndi Panjabi, Sgettland Persian. There are also many dialects deployed, such as Purbi Marwari, Bangru, Dakhni, Malwai, and Awadhi."
    Harjinder Singh, Sikhism. Guru Granth Sahib (GGS). "Guru Granth Sahib Ji also contains hymns which are written in a language known as Sahiskriti, as well as Sant Bhasha; it also contains many Persian and Sanskrit words throughout."
  11. Shapiro, Michael (2002). Songs of the Saints from the Adi Granth. Journal of the American Oriental Society. pp. 924, 925.
  12. Parrinder, Geoffrey (1971). World Religions: From Ancient History to the Present. United States: Hamlyn. p. 256. ISBN 978-0-87196-129-7.