คริส โปตระนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คริส โปตระนันทน์
หัวหน้าพรรคเส้นด้าย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
(1 ปี 67 วัน)
ก่อนหน้าสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
(พรรคพลเมืองไทย)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 เมษายน พ.ศ. 2531 (36 ปี)
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–2566)
เส้นด้าย (2566–ปัจจุบัน)
บุพการี
ญาติ
  • พระยาสุนทรลิขิต (ปู่)
  • คุณหญิงระเบียบ โปตระนันทน์ (ย่า)
ศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
วิชาชีพนักการเมือง
นักกฎหมาย
อาจารย์

คริส โปตระนันทน์ (เกิด 7 เมษายน พ.ศ. 2531) เป็นทนายความและนักการเมืองชาวไทย หัวหน้าพรรคเส้นด้าย ผู้ก่อตั้งกลุ่มเส้น-ด้ายเป็นหนึ่งในผู้ร่วมจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่[1] ในปี 2564 คริสก่อตั้งกลุ่ม "เส้น-ด้าย" เพื่อจัดการปัญหาวิกฤตการณ์โควิด[2]

ประวัติ[แก้]

คริสเป็นบุตรชายของมีพาศน์ โปตระนันทน์กับวีณา วราโชติเศรษฐ์ คริสเป็นหลานปู่ของพระยาสุนทรลิขิต(ประจำกระทรวงธรรมการ, นักเรียนทุนรัฐบาลสมัยรัชกาลที่ 5 จบจากวิทยาลัยแห่งเมืองบาดท์ (Bath) สหราชอาณาจักร) และคุณหญิงระเบียบ และหลานตาของสุรัช วราโชติเศรษฐ์ ซึ่งจบการศึกษาจากประเทศจีนและสุนีย์ คริสจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนอุดมวิทยา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง และใช้เวลาเพียงสามปีครึ่งในการเรียนชั้นปริญญาตรีที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยม) สาขากฎหมายมหาชน ขณะศึกษาคริสได้รับเลือกตั้งเป็นประธานองค์กรนักศึกษากฎหมายแห่งเอเชีย[3] (Asian Law Students' Association) และรองหัวหน้านิสิตคณะนิติศาสตร์ฯ

คริสสอบผ่านเนติบัณฑิตไทยในรุ่นที่ 63 หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาเศรษฐศาสตร์จนได้ปริญญา Graduate Diploma of Economics เกียรตินิยม (Merit) จากมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม (University of Nottingham) จากนั้นได้รับทุนฟุลไบรท์ (Fulbright)ไปทำปริญญา LL.M. ด้าน Antitrust Law and Economics จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา[4]

การทำงาน[แก้]

งานวิชาการ[แก้]

คริสเคยเป็นผู้ช่วยวิจัยที่สถาบันพระปกเกล้า และนักวิชาการรับเชิญ (Visiting Scholar) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษในหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต วิชากฎหมายป้องกันการผูกขาดที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และเคยได้รับเชิญสอนวิชา TU101 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบันยังคงเป็นอาจารย์พิเศษ ภาควิชากฎหมายมหาชนที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย

งานเขียน[แก้]

คริสเขียนบทความเชิงวิพากษ์ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ กฎหมาย, การเมือง, ประชาธิปไตย, เศรษฐกิจ ในหลาย ๆ ประเด็น เช่น เชื่อในการแข่งขันเสรีและเศรษฐกิจแบบตลาดที่รัฐไม่เข้าไปแทรกแซง[5] และเป็นหนึ่งในผู้ต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอยโดยใช้การวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีเกม [6] ในส่วนของวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2548 นั้น คริสตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุเกิดจากการที่รัฐไทยใช้ระบบรัฐรวมศูนย์อำนาจ เชื่อว่าการกระจายอำนาจจะเป็นทางออกของปัญหาการเมืองในปัจจุบัน[7][8]

นอกจากนี้เขาเสนอว่า สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีรายได้นิติบุคคลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนต้องถูกยกเลิกเนื่องจากก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการ[9] งานเขียนในปัจจุบันยังคงเป็นแนววิพากษ์สังคม

งานการเมือง[แก้]

มหาวิทยาลัย[แก้]

คริสรับหน้าที่ทำพาเหรดล้อการเมืองในของฝั่งจุฬา คริสและเพื่อนนิสิตต้องเผชิญกับการเซ็นเซอร์ของผู้บริหารในจุฬาฯ เนื่องจากต้องการวิพากษ์ทหารที่คุมการเมืองไทย[10]

พรรคอนาคตใหม่[แก้]

ในการประชุมใหญ่จัดตั้งพรรคอนาคตใหม่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ได้แนะนำคริสต่อผู้เข้าร่วมประชุมว่าคริสจะเป็นคนที่ทำนโยบายด้านเศรษฐกิจของพรรค

ในการเลือกตั้ง ในปี 2562 คริสเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกรุงเทพมหานคร เบอร์ 8 ในเขต 6 ซึ่งประกอบไปด้วย เขตราชเทวี เขตพญาไท เขตจตุจักร (เฉพาะแขวงจตุจักรและจอมพล) โดยได้คะแนน 23,980 คะแนน[11] การลงเลือกตั้งครั้งนี้ของคริสได้รับการพูดถึงในโซเชียลอย่างมากว่า เป็นการทำงานการเมืองแบบใหม่ที่เน้นเข้าถึงประชาชนทั้งในพื้นที่และออนไลน์ โดยเขามีเอกลักษณ์ในการทำไลฟ์หาเสียงตามแคมเปญของเค้าในโซเชียลมีเดีย[12] ล่าสุดเขาได้ทำแคมเปญหาเสียง "888 : หาเสียงผ่าเมือง" โดยคริส เบอร์ 8 ชวนสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่ออันดับที่ 8 ผู้เชี่ยวชาญด้านการคมนาคม โดยธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจเป็นคนเดินมาส่งทั้งสองขึ้นรถเมล์สาย 8 ด้วยตนเอง เพื่อพูดคุยและแก้ไขเรื่องการขนส่งมวลชนและการจราจรในกทม.

ในปี 2563 พรรคอนาคตใหม่ได้ประกาศจะผลักดันร่างกฎหมายสุราก้าวหน้าเพื่อปลดล็อกอุตสาหกรรมสุราพื้นบ้านจากการผูกขาดของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ โดยคริส โปตระนันทน์ รับหน้าที่ในการร่างกฎหมายนี้ร่วมกับเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และทีมงานคนอื่น ๆ ของพรรคอนาคตใหม่[13]

พรรคเส้นด้าย[แก้]

พรรคพลเมืองไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[14][15] ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกคริส อดีตผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่พร้อมกับเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็นพรรคเส้นด้าย[16]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งใน เขตเลือกตั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร (พญาไท ดินแดง) แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[17]

งานในรัฐสภา[แก้]

คริส โปตระนันทน์ ได้รับการแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการประจำคณะกรรมาธิการวิสามัญการพิจารณาขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส)[18] ที่ปรึกษาประจำอนุกรรมาธิการ การฝึกอบรม สัมมนา ประชาสัมพันธ์ ค่าจ้างเหมาบริการ  ค่าจ้างที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี  ค่าเช่า ค่าใช้จ่าย การเดินทางไปราชการต่างประเทศ  งบดำเนินงาน  งบเงินอุดหนุน งบรายจ่ายอื่น ๆ และทุนหมุนเวียน[19] กรรมาธิการประจำคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย[20] อนุกรรมาธิการปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบประจำคณะที่ 2[21] ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการแรงงาน[22]

กิจกรรมทางสังคม[แก้]

คริสจับมือร่วมกับพี่ชาย “อัพ VGB” ได้จัดตั้งกลุ่มประชาชนอาสาในนาม “เส้น-ด้าย (Zen-Dai)” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรือประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ประสบปัญหาการเดินทางอย่างปลอดภัยในการเข้ารับการตรวจรักษา โดยร่วมมือกับกุลเชษฐ วัฒนผล ซึ่งเป็นพี่ชายของกุลทรัพย์ วัฒนผล หรือ “อัพ VGB” เกมเมอร์ รุ่นบุกเบิก ที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันเวลา[23]

ในนาม "เส้นด้าย" คริสและเพื่อน ๆ ร่วมกันสร้างองค์กรอาสาที่มีสมาชิกกว่า 100 คนทั่วกทม. 200 กว่าคนทั่วประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2564 ทำการช่วยเหลือกว่า 2,602 คน รวมถึงรับส่งผู้ป่วยเข้าสถานพยาบาลกว่า 2,200 เที่ยว ช่วยคนได้กว่า 1,500 คน พากลุ่มเสี่ยงไปตรวจเชิงรุกอีกกว่า 1,000 คน รวมไปถึงการช่วยเหลือและบรรเทาผู้เสี่ยงต่าง ๆ[24]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

รายชื่อรางวัลและการถูกเสนอชื่อ
ปี รางวัล หน่วยงานมอบรางวัล ผล
2564 Prime Minister Award: Innovation for Crisis สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้รับรางวัล[25]
2566 COVID-19 Social Media Award Unite Health ได้รับการเสนอชื่อ[26]

อ้างอิง[แก้]

  1. 'ธนาธร' เปิดตัว 'พรรคอนาคตใหม่' ชูประชาธิปไตย-การเมืองไม่ผูกขาด-อำนาจเป็นของ ปชช.
  2. "คริส โปตระนันทน์ จับมือพี่ชาย "อัพ VGB" ตั้งกลุ่ม "เส้นด้าย" รับส่งผู้ป่วยโควิด-19". www.sanook.com/news.
  3. เยาวชนไทยเจ๋งอีก นั่งประธานองค์กรนศ.กฎหมายเอเชีย
  4. Fulbright Students to Learn About the U.S. Civil Rights Movement
  5. มองต่างมุมกับคำพิพากษายึดทรัพย์และสัมปทานโทรศัพท์มือถือ
  6. เกมนิรโทษกรรม เกมที่ไม่ขำของประชาชน
  7. Limited Government : แผนการ(บางข้อ)ของสุเทพที่จะจัดการระบอบทักษิณได้ชะงัด (1)
  8. Limited Government : แผนการ(บางข้อ)ของสุเทพที่จะจัดการระบอบทักษิณได้ชะงัด (2)
  9. วิเคราะห์นโยบายฯ โดย คริส และ พิษการตลาดประชานิยมฯ โดย ศัลยา
  10. “คริส โปตระนันทน์” ล้อการเมืองในรั้วจุฬาฯ วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเผด็จการทหาร
  11. เปิดคะแนน 4 อันดับพรรคโดนใจคนกรุงเบียดหลักร้อย 3 เขต
  12. สัมภาษณ์พิเศษ : คริส โปตระนันทน์ ขอปักธง‘อนค.’ชิง ส.ส.กทม.
  13. "พรรคอนาคตใหม่ ย้ำ อุตสาหกรรมเหล้า-เบียร์ ไทย ต้องไม่ผูกขาด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-24. สืบค้นเมื่อ 2020-02-24.
  14. "สัมพันธ์" ทิ้ง "พรรคพลเมืองไทย" ศิลัมพา เตรียมลงส.ส.เขตกับพรรคใหญ่
  15. "สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์" พาลูกสาว “ศิลัมพา" ซบ “รทสช.” หนุน "บิ๊กตู่" นั่งนายกฯ "เอกนัฎ" เตรียมลงใต้ ถก "บ้านใหญ่เมืองนราฯ" หวังกวาดยก4เขต
  16. "รทสช."มีส.ส.เพิ่ม หลัง "ศิลัมพา" เข้าสังกัด - ส่ง "พลท." ให้ "คริส" ดูแล
  17. เลือกตั้ง 2566 : ‘คริส โปตระนันทน์’ จาก ‘คุณหนู’ ผู้มีเส้นสาย สู่ ‘พรรคเส้นด้าย’ เป้าหมายทลายการใช้เส้น
  18. "วีรกร"นั่งปธ.ค่าโง่ทางด่วน จ่อเรียกผู้เกี่ยวข้องให้ข้อมูล 23 ก.ค.นี้
  19. ที่ปรึกษาประจำอนุกรรมาธิการ การฝึกอบรม สัมมนา ประชาสัมพันธ์ ค่าจ้างเหมาบริการ
  20. กรรมาธิการประจำคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
  21. อนุกรรมาธิการปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบประจำคณะที่ 2
  22. ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการแรงงาน
  23. matichon (2021-04-27). "'คริส' จับมือ พี่ชายอัพ VGB ตั้ง 'กลุ่มเส้นด้าย' ช่วยรับ-ส่งผู้ป่วยโควิด-19 เข้าถึงภาครัฐ". มติชนออนไลน์.
  24. Admin (2021-07-28). "เส้นด้าย จิตอาสาช่วยผู้ป่วยโควิด….กำลังจะถึงทางตันและหมดกำลัง". Brand Buffet (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  25. มอบรางวัลเชิดชูเกียรติ ผู้พัฒนานวัตกรรมสู้โควิด MCOT
  26. ขอเชิญชวนคนไทยร่วมโหวต 9 คนไทย ชิงรางวัลระดับโลก Covid-19 Social Media Awards 2023 mgronline

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]