มีพาศน์ โปตระนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มีพาศน์ โปตระนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475
เสียชีวิต14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (90 ปี)
ศาสนาพุทธ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนติบัณฑิตยสภา
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

มีพาศน์ โปตระนันทน์ เป็นนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย และอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา มีพาศน์เป็นผู้เขียนบทความเกี่ยวกับกฎหมายและวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยในหนังสือพิมพ์ต่างๆหลายฉบับ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ที่สนับสนุนให้ประเทศไทยใช้นโยบายทางเศรษฐกิจแบบเสรี โดยต้องการให้รัฐบาลเปิดให้ประเทศไทยมีการแข่งขันทางการค้าแบบเสรีอย่างแท้จริง หรือเสรีอย่างสูงสุด

ประวัติ[แก้]

มีพาศน์ โปตระนันทน์ (ชื่อภาษาอังกฤษ Meepahd Potranandana / Potranun) เกิดวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 บุตรคนที่ 9 ของพระยาสุนทรลิขิต (ประจำกระทรวงธรรมการ, นักเรียนทุนรัฐบาลสมัยรัชกาลที่ 5 จบจากวิทยาลัยแห่งเมืองบาดท์ (Bath) สหราชอาณาจักร) และคุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยม จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.22 ที่ 1 รุ่น ชวน หลีกภัย, มีชัย ฤชุพันธุ์), เนติบัณฑิตไทย, ปริญญา LL.M. จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด Stanford University สหรัฐอเมริกา และได้รับประกาศนียบัตรการสัมมนาชั้นสูงจากมหาวิทยาลัยเซ้าเทอร์นเมโธดิสต์ (SMU) สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ มีพาศน์เคยได้รับการตกลงจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ที่จะให้ทุนไปทำปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมิชิแกนเคยตอบรับเข้าเป็น Candidate ปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์

มีพาศน์เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา รองอธิบดีศาลอุทธรณ์ภาค 1 หัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา หัวหน้าศาลประจำกระทรวง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่

นอกจากนี้ มีพาศน์เคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ อาจารย์ผู้บรรยายพิเศษคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบัน มีพาศน์เป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ ชั้นปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักวิชาการด้านนโยบายเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง กฎหมาย ฯลฯ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 66 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]