ขนมไหว้พระจันทร์
ขนมไหว้พระจันทร์ไส้เมล็ดบัว | |
ประเภท | แป้งพาย |
---|---|
มื้อ | ของหวาน |
แหล่งกำเนิด | จีน |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
ส่วนผสมหลัก | เปลือก: มันหมู หรือน้ำมันพืช ไส้: ถั่วแดงหรือเม็ดบัว อาจใส่หรือไม่ใส่ส่วนผสมเพิ่มเติม |
ประมาณ 416 กิโลแคลอรี | |
ขนมไหว้พระจันทร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 月餅 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 月饼 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | yuèbing, yuèbǐng | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ขนมเปี๊ยะพระจันทร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาเวียดนาม | Bánh trung thu | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเขมร | |||||||||||||||||||||||||||||||||
เขมร | នំព្រះច័ន្ |
ขนมไหว้พระจันทร์ (อังกฤษ: Moon Cake; จีนตัวย่อ: 月饼; จีนตัวเต็ม: 月餅; พินอิน: yuè bĭng) เป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง หรือเทศกาลไหว้พระจันทร์ (中秋節) ในคืนวันเพ็ญในเดือน 8 ตามปฏิทินจีน (กันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน)
ขนมไหว้พระจันทร์ เป็นของที่ใช้สำหรับเซ่นไหว้ดวงจันทร์ นับเป็นของสำคัญที่ใช้ในเทศกาลนี้ ลักษณะของขนมมีทรงกลม ลักษณะคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้งนวด แล้วกดใส่แป้นพิมพ์ที่มีลวดลายต่าง ๆ จากนั้นนำไปอบ และเคลือบผิวหน้าด้วยน้ำเชื่อม ภายในบรรจุไส้ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธัญพืชต่าง ๆ อาทิ ทุเรียน, เมล็ดบัว, แมคคาเดเมีย, พุทราจีน เป็นต้น แต่ปัจจุบันก็ได้มีดัดแปลงใส่เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เข้าไป เช่น กุนเชียง, ไข่เค็ม, หมูแฮม, หมูแดง, หมูหยอง เป็นต้น
ความเป็นมาของขนมไหว้พระจันทร์ คือ ในยุคปลายราชวงศ์หยวน ที่ชาวฮั่นถูกปกครองอย่างกดขี่โดยชาวมองโกล ชาวฮั่นเมื่อต้องการจะก่อกบฏต่อต้าน ด้วยการแอบสอดสาส์นไว้ในขนมชิ้นนี้ แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับทุกบ้าน ในสาส์นมีข้อความว่า คืนนี้ในเวลายาม 3 จงสังหารทหารมองโกลพร้อมกัน อันนำมาซึ่งเอกราชของชาวฮั่น จนกลายเป็นประเพณีการรับประทานและไหว้ขนมไหว้พระจันทร์ในปัจจุบัน[1]
ปัจจุบัน ขนมไหว้พระจันทร์ได้มีผู้ผลิตและจำหน่ายมากมายหลายแห่ง ได้มีการดัดแปลงใส่ไส้ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากในอดีตมาก เช่น ช็อคโกแล็ต, ชาเขียว, คัสตาร์ด, อัลมอนด์ เป็นต้น หรือดัดแปลงไปเป็นแบบต่าง ๆ เช่น ดัดแปลงคล้ายขนมโมจิ หรือไอศกรีม[2] และกลายมาเป็นธุรกิจสำคัญที่มีมูลค่าการตลาดและการแข่งขันสูงมากในช่วงเทศกาลนี้ในแต่ละปี[3] [4]
ในมาเลเซีย ขนมไหว้พระจันทร์เรียกว่า กูอิฮ์ บูลัน (kuih bulan) มีหลายไส้เช่นเดียวกับขนมไหว้พระจันทร์ในไทย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ขนมไหว้พระจันทร์ การเลือกซื้อ และเบอร์โทรติดต่อ ร้านขายขนมไหว้พระจันทร์
- ↑ "Swensen's ส่ง'ขนมไหว้พระจันทร์'เปลือกนุ่ม...ไส้เย็นอร่อย". ไทยรัฐ.
- ↑ "5 สุดยอดขนมไหว้พระจันทร์เจ้ายุทธจักร". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ "ขนมไหว้พระจันทร์กับคุณค่าที่เปลี่ยนไป". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ หน้า 24 การศึกษา, ขนมมาเลเซีย ตอนที่ ๓. "องค์ความรู้ ภาษา-วัฒนธรรม" โดย สุมาลี นิมมานุภาพ. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,666: วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560 แรม 14 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา