การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2547

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2004

← ค.ศ. 2000 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 ค.ศ. 2008 →
ผู้ใช้สิทธิ60.1% (มีสิทธิเลือกตั้ง)[1]
 
ผู้ได้รับเสนอชื่อ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช จอห์น เคร์รี
พรรค พรรครีพับลิกัน พรรคเดโมแครต
รัฐเหย้า รัฐเท็กซัส รัฐแมสซาชูเซตส์
คู่สมัคร ดิก เชนีย์ จอห์น เอ็ดวาร์ด
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 286[2] 251[2][3]
รัฐที่ชนะ 31 19 + ดี.ซี.
คะแนนเสียง 62,040,610 59,028,444
% 50.7% 48.3 %

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี
สีแดง แสดงถึงรัฐที่บุช/เชนีย์ ชนะ
สีน้ำเงิน แสดงถึงรัฐที่เคร์รี/เอ็ดวาร์ดชนะ

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก่อนการเลือกตั้ง

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
พรรครีพับลิกัน

ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
พรรครีพับลิกัน

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2547 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 55 และมีขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช และรองประธานาธิบดีดิก ชีนีย์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน ถูกรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง โดยเอาชนะจอห์น เคร์รี สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแมสซาชูเซตส์ และจอห์น เอ็ดเวิร์ด สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐนอร์ทแคโรไลนา ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตไปได้ นี่เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งสุดท้ายตั้งแต่ปี 2531 ที่ผู้สมัครพรรครีพับลิกันชนะคะแนนมหาชน (และครั้งสุดท้ายที่ผู้สมัครพรรคเดโมแครตแพ้คะแนนมหาชน) และเป็นครั้งสุดท้ายตั้งแต่ปี 2527 ที่ประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่จากพรรครีพับลิกันถูกรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง เนื่องจากผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมีจำนวนสูงขึ้น ผู้สมัครทั้งสองพรรคทำลายสถิติคะแนนมหาชนของเรแกนเมื่อยี่สิบปีก่อน ในขณะนั้น บุชได้รับ 62,040,610 เสียง ซึ่งเป็นคะแนนมหาชนที่มากที่สุดในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ก่อนสถิติจะถูกทำลายโดยบารัก โอบามาในสี่ปีถัดมา บุชเป็นเพียงประธานาธิบดีคนเดียวที่ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สองหลังจากแพ้คะแนนมหาชนในสมัยแรก

บุชและชีนีย์ถูกเลือกให้เป็นแคนดิเดตโดยไม่มีผู้ท้าชิง อดีตผู้ว่ารัฐเวอร์มอนต์ ฮาวเวิร์ด ดีน เป็นตัวเต็งในช่วงแรกของการเลือกตั้งไพรมารี่ของพรรคเดโมแครต แต่เคร์รีชนะการเลือกตั้งไพรมารีในหลายรัฐในเดือนมกราคม และชนะการเลือกตั้งไพรมารี่ของพรรคเดโมแครตในเดือนมีนาคมหลังชนะในหลายไพรมารี่มาเรื่อย ๆ เคร์รีเลือกเอ็ดเวิร์ดที่ลงสมัครในการเลือกตั้งไพรมารี่เหมือนกันเป็นแคนดิเดตรองประธานาธิบดี

ความนิยมของบุชพุ่งสูงขึ้นหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายนในปี 2544 แต่ก็ลดลงอย่างมากจนถึงปี 2548 นโยบายการต่างประเทศเป็นประเด็นหลักในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสงครามต่อต้านการก่อการร้ายและการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 ของรัฐบาลบุช บุชสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเองเป็นผู้นำเด็ดขาดและโจมตีเคร์รีว่าเป็นพวก "จุดยืนเอนไปมา" ("flip-flopper") เคร์รีวิจารณ์การทำสงครามอิรักของบุช (ถึงแม้ว่าเคร์รีจะโหวตให้บุชบุกอิรักก็ตาม) ประเด็นต่าง ๆ ภายในประเทศมีการดีเบตเช่นกัน ซึ่งมีประเด็นเศรษฐกิจและงาน ระบบสาธารณสุข การทำแท้ง การสมรสเพศเดียวกัน และการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนมนุษย์

บุชชนะไปอย่างฉิวเฉียดในคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง และได้รับคะแนนมหาชน 50.7% บุชชนะในรัฐทางใต้และในรัฐภูเขาทั้งหมด และชนะในรัฐ swing state อย่างโอไฮโอ ไอโอวา และนิวเม็กซิโก (โดยไอโอวาและนิวเม็กซิโกโหวตให้พรรคเดโมแครตเมื่อสี่ปีก่อน) ถึงแม้ว่าเคร์รีพลิกเอาชนะรัฐนิวแฮมป์เชอร์ได้ บุชก็ยังชนะการเลือกตั้งและได้รับคะแนนคณะผู้เลือกตั้งและคะแนนมหาชนมากกว่าเมื่อปี 2543 นี่เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรกตั้งแต่ปี 2531 ที่แคนดิเดตได้รับคะแนนมหาชนเกิน 50% มีบางประเด็นในกระบวนการการเลือกตั้งที่ดูมีปัญหา แต่ก็ไม่หนักเท่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2543 บุชชนะในรัฐฟลอริด้าไป 5% (บุช 52.10% เคร์รี่ 47.09%) ซึ่งทำได้ดีกว่าเมื่อสี่ปีก่อนที่ชนะไปแค่ 0.009% (บุช 48.847% กอร์ 48.838% - มีการฟ้องร้องต่อศาลซึ่งทำให้ผลการเลือกตั้งต้องถูกตัดสินโดยศาลสูงสุดสหรัฐใน Bush v. Gore) บุชเป็นรีพับลิกันคนสุดท้ายที่ชนะในรัฐโคโลราโด เนวาดา นิวเม็กซิโก และเวอร์จิเนีย ในขณะที่เคร์รีเป็นแคนดิเดตที่แพ้คนสุดท้ายที่ชนะในรัฐมิชิแกน เพนซิลเวเนีย และวิสคอนซินในการเลือกตั้งประธานาธิบดี

อ้างอิง[แก้]

  1. "2004 General Election Turnout Rates". George Mason University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-09. สืบค้นเมื่อ December 13, 2012.
  2. 2.0 2.1 "FEDERAL ELECTIONS 2004: Election Results for the U.S. President, the U.S. Senate and the U.S. House of Representatives" (PDF). Federal Election Commission. May 2005. สืบค้นเมื่อ November 20, 2012.
  3. One Minnesota elector voted for John Edwards for both President and Vice President. During the counting of the vote in Congress, Rep. Stephanie Tubbs Jones (D-Ohio) and Sen. Barbara Boxer (D-Calif.) raised objections to the Ohio Certificate of Vote alleging that the votes were not regularly given. Both houses voted to override the objection, 74 to 1 in the Senate and 267 to 31 in the House of Representatives. See 2004 Presidential Election Results from the National Archives and Records Administration.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Official candidate websites[แก้]

Election maps and analysis[แก้]

State-by-state forecasts of electoral vote outcome[แก้]

Controversies[แก้]

Election campaign funding[แก้]

Campaign ads[แก้]