การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2557
![]() | |
จำนวนทั้งสิ้น 2 จังหวัดที่มีการเลือกตั้ง | |
---|---|
|
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ทั้งสิ้น 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดเชียงราย
การเลือกตั้ง[แก้]
เรียงลำดับตามวันที่จัดการเลือกตั้ง
นครศรีธรรมราช[แก้]
หลังจากการลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระของ พิชัย บุณยเกียรติ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ได้รับการเลือกตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 3 คน ได้แก่ พิชัย บุณยเกียรติ ผู้สมัครหมายเลข 1 กลุ่มประชาธิปไตย, มาโนช เสนพงศ์ ผู้สมัครหมายเลข 2 กลุ่มประชาธิปัตย์สร้างสรรค์, อิสระ หัสดินทร์ ผู้สมัครหมายเลข 3
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มาโนช เสนพงศ์ ได้รับเลือกตั้งด้วนคะแนนเสียงสูงสุด มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้เพียงร้อยละ 46.14[1][2]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2557 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มประชาธิปัตย์สร้างสรรค์ | มาโนช เสนพงศ์ (2) | 277,580 | 56.09 | ใหม่ | |
กลุ่มประชาธิปไตย | พิชัย บุณยเกียรติ (1) | 193,945 | 39.19 | ![]() | |
อิสระ | อิสระ หัสดินทร์ (3) | 23,363 | 4.72 | ใหม่ | |
ผลรวม | 385,706 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 494,888 | 94.07 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 22,488 | 4.27 | – | ||
บัตรเสีย | 8,720 | 1.66 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 526,096 | 46.14 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 1,140,241 | 100.00 | — |
เชียงราย[แก้]
หลังจากที่ สลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัตน์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ถูกศาลฎีกาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี กรณีถูกร้องเรียนว่า สลักจฤฎดิ์ได้แจกอุปกรณ์เครื่องเล่นเด็ก ขณะหาเสียงเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2547 จึงจำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่แทนสลักจฤฎดิ์ในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยมีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 4 คน ได้แก่ บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ ผู้สมัครหมายเลข 1, รัตนา จงสุทธานามณี ผู้สมัครหมายเลข 2, ยุรพันธ์ เจนพิทักษ์พงศ์ ผู้สมัครหมายเลข 3, และ ชนาธิป เจริญศัสตรารักษ์ ผู้สมัครหมายเลข 4
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงสูงสุด มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งการเลือกตั้งร้อยละ 58.91 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดครั้งสุดท้ายของประเทศไทยก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2557[3][4]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2557 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
เพื่อไทย | บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ (1) | 289,463 | 61.16 | ใหม่ | |
อิสระ | รัตนา จงสุทธานามณี (2) | 176,052 | 37.19 | ![]() | |
อิสระ | ยุรพันธ์ เจนพิทักษ์พงศ์ (3) | 4,233 | 0.89 | ใหม่ | |
อิสระ | ชนาธิป เจริญศัสตรารักษ์ (3) | 3,577 | 0.76 | ใหม่ | |
ผลรวม | 473,325 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 473,325 | 91.15 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 33,608 | 6.47 | – | ||
บัตรเสีย | 12,354 | 2.38 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 519,287 | 58.91 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 881,510 | 100.00 | — |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ""หมอไก่" ผอ.รพ.นครพัฒน์ ลงสมัครนายก อบจ.ได้เบอร์ 3". dailynews. 2017-04-12.
- ↑ ""มาโนช เสนพงศ์" ซิวนายก อบจ.นครศรีฯ ฉลุย ทิ้งคู่แข่งขาดเกือบแสนคะแนน". mgronline.com. 2014-02-24.
- ↑ ""2 หญิง" ชิงนายก อบจ.เชียงราย ตร.รู้งานวิทยุเรียกขาน "ว่าที่นายก"". mgronline.com. 2014-04-08.
- ↑ "พี่สาว 'ยงยุทธ ติยะไพรัช' ซิว นายก อบจ.เชียงราย". www.thairath.co.th. 2014-05-11.