การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2567
| |||||||||||||
จำนวนทั้งสิ้น 25 จังหวัดที่มีการเลือกตั้ง | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ทั้งสิ้น 25 จังหวัด สืบเนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 25 คน ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ได้รับเลือกตั้ง
[แก้]รูปแบบ | ความหมาย |
---|---|
ดำรงสมาชิกภาพ | |
สิ้นสุดสมาชิกภาพ | |
กกต./ศาลอุทธรณ์ สั่งให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ.ใหม่ |
สี | พรรค |
---|---|
พรรคเพื่อไทย | |
พรรคภูมิใจไทย | |
พรรคพลังประชารัฐ | |
พรรครวมไทยสร้างชาติ |
แยกตามรายภาคตามการแบ่งของราชบัณฑิตยสถาน
จังหวัด | นาม | สังกัด | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|
กำแพงเพชร | สุนทร รัตนากร | กลุ่มกำแพงเพชรสามัคคี | อยู่ระหว่างการรับรองจาก กกต. | ||
ขอนแก่น | วัฒนา ช่างเหลา | กลุ่มศิลาพัฒนา | |||
ชัยนาท | จิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา | ผู้สมัครอิสระ | |||
ชัยภูมิ | สุรีวรรณ นาคาศัย | ผู้สมัครอิสระ | |||
ชุมพร | นพพร อุสิทธิ์ | กลุ่มพลังชุมพร | |||
ตาก | กลุ่ม | อยู่ระหว่างการรับรองจาก กกต. | |||
นครสวรรค์ | พลตำรวจเอก สมศักดิ์ จันทะพิงค์ | กลุ่มนครสวรรค์บ้านเรา | |||
นครศรีธรรมราช | วาริน ชิณวงศ์ | กลุ่มนครเข้มแข็ง | อยู่ระหว่างการรับรองจาก กกต. | ||
ปทุมธานี | ชาญ พวงเพ็ชร์ | พรรคเพื่อไทย | ได้รับใบเหลืองก่อนดำรงตำแหน่งฯ[1] | ||
พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง | กลุ่มคนรักปทุม | เลือกตั้งซ่อม | |||
พะเยา | ธวัช สุทธวงค์ | พรรคเพื่อไทย | |||
พระนครศรีอยุธยา | สมทรง พันธ์เจริญวรกุล | ผู้สมัครอิสระ | |||
พิษณุโลก | มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ | กลุ่มพลังพิษณุโลก | |||
เพชรบุรี | ชัยยะ อังกินันทน์ | กลุ่มรวมใจเพชร | อยู่ระหว่างการรับรองจาก กกต. | ||
เพชรบูรณ์ | อัครเดช ทองใจสด | ผู้สมัครอิสระ | อยู่ระหว่างการรับรองจาก กกต. | ||
ยโสธร | วิเชียร สมวงศ์ | พรรคเพื่อไทย | |||
ระนอง | สีหราช สรรพกุล | กลุ่มระนองก้าวหน้า | |||
ราชบุรี | วิวัฒน์ นิติกาญจนา | กลุ่มพัฒนาราชบุรี | |||
เลย | ชัยธวัช เนียมศิริ | กลุ่มพัฒนา | |||
สุรินทร์ | ธัญพร มุ่งเจริญพร | ผู้สมัครอิสระ | อยู่ระหว่างการรับรองจาก กกต. | ||
สุโขทัย | มนู พุกประเสริฐ | พรรคเพื่อไทย | |||
อ่างทอง | สุรเชษ นิ่มกุล | กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด | |||
อุดรธานี | ศราวุธ เพชรพนมพร | พรรคเพื่อไทย | อยู่ระหว่างการรับรองจาก กกต. | ||
อุตรดิตถ์ | อยู่ระหว่างการรับรองจาก กกต. | ||||
อุทัยธานี | เผด็จ นุ้ยปรี | กลุ่มคุณธรรม | |||
อุบลราชธานี | อยู่ระหว่างการรับรองจาก กกต. |
การเลือกตั้ง
[แก้]เรียงลำดับตามวันที่จัดการเลือกตั้ง
- 31 มีนาคม - เลย
- 23 มิถุนายน - นครสวรรค์ • อ่างทอง
- 30 มิถุนายน - ปทุมธานี ครั้งที่ 1
- 4 สิงหาคม - พะเยา • พระนครศรีอยุธยา • ชัยนาท
- 11 สิงหาคม - ชัยภูมิ
- 18 สิงหาคม - พิษณุโลก
- 1 กันยายน - ราชบุรี
- 22 กันยายน - ชุมพร • ปทุมธานี ครั้งที่ 2
- 6 ตุลาคม - ยโสธร • ระนอง • อุทัยธานี
- 3 พฤศจิกายน - ขอนแก่น • สุโขทัย
- 23 พฤศจิกายน - สุรินทร์
- 24 พฤศจิกายน - นครศรีธรรมราช • เพชรบุรี • อุดรธานี
- 1 ธันวาคม - กำแพงเพชร
- 15 ธันวาคม - ตาก • เพชรบูรณ์
- 22 ธันวาคม - อุตรดิตถ์ • อุบลราชธานี
เลย
[แก้]จัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย สืบเนื่องจากธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยได้ลาออกจากตำแหน่ง[2] โดยมีผู้สมัครทั้งหมด 4 ราย ดังนี้
- หมายเลข 1 ชัยธวัช เนียมศิริ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย สังกัดกลุ่มพัฒนา ซึ่งเป็นสังกัดเดียวกับธนาวุฒิ ได้รับการสนับสนุนจาก พรรคเพื่อไทย และ พรรคภูมิใจไทย
- หมายเลข 2 จีระศักดิ์ น้อยก่ำ ประธานชมรมเครือข่ายผู้ค้าลอตเตอรี่รายย่อยจังหวัดเลย และอดีตผู้สมัคร สส. เลย เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ
- หมายเลข 3 นาวิน วังคีรี ทนายความ
- หมายเลข 4 ชวลิตย์ น้อยดี
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ชัยธวัช เนียมศิริ ได้รับเลือกตั้ง[3] และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรองการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2567[4]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มพัฒนา | ชัยธวัช เนียมศิริ (1) | 119,334 | 51.89 | – | |
อิสระ | จีระศักดิ์ น้อยก่ำ (2) | 99,031 | 43.06 | – | |
อิสระ | นาวิน วังคีรี (3) | 8,544 | 3.72 | – | |
อิสระ | ชวลิตย์ น้อยดี (4) | 3,060 | 1.33 | – | |
ผลรวม | 229,969 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 229,969 | 89.83 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 15,304 | 5.98 | – | ||
บัตรเสีย | 10,738 | 4.19 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 256,011 | 51.15 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 500,509 | 100.00 | — |
นครสวรรค์
[แก้]จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ สืบเนื่องจากพลตำรวจเอก สมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 พลตำรวจเอก สมศักดิ์ จันทะพิงค์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดกลุ่มนครสวรรค์บ้านเรา
หมายเลข 2 ร้อยตํารวจโท ธรัตนชัย เฉลยคามอดีตผู้สมัคร สส.นครสวรรค์ เขต 6 พรรคก้าวไกล สังกัดอิสระ[6][a] (ขาดคุณสมบัติ)- หมายเลข 3 ขนิษฐา ดอกไม้ทอง เจ้าของสำนักงานบัญชี[7]
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พลตำรวจเอก สมศักดิ์ จันทะพิงค์ ได้รับการดำรงตำแหน่งอีกสมัย และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรองการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567[8]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มนครสวรรค์บ้านเรา | พลตำรวจเอก สมศักดิ์ จันทะพิงค์ (1)* | 198,501 | 80.16 | +27.83 | |
อิสระ | ขนิษฐา ดอกไม้ทอง (3) | 49,130 | 19.84 | — | |
อิสระ | ร้อยตํารวจโท ธรัตนชัย เฉลยคาม (2)† | — | — | — | |
ผลรวม | 247,631 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 247,631 | 79.66 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 29,750 | 9.57 | – | ||
บัตรเสีย | 33,461 | 10.76 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 310,842 | 37.59 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 826,864 | 100.00 | — |
อ่างทอง
[แก้]จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2567[9] เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง สืบเนื่องจากสุรเชษ นิ่มกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทองได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 สุรเชษ นิ่มกุล อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง[10] กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า สุรเชษ นิ่มกุล ได้รับการดำรงตำแหน่งอีกสมัย
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง พ.ศ. 2567[11] | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด | สุรเชษ นิ่มกุล (1)* | 82,741 | 100.00 | + 43.42 | |
ผลรวม | 82,741 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 82,741 | 79.94 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 14,919 | 14.41 | – | ||
บัตรเสีย | 5,841 | 5.64 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 103,501 | 46.84 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 220,977 | 100.00 | — |
ปทุมธานี ครั้งที่ 1
[แก้]จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สืบเนื่องจากพลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีได้ลาออกจากตำแหน่ง[12] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 ชาญ พวงเพ็ชร์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 3 สมัย สังกัด พรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 2 อธิวัฒน์ สอนเนย อดีตสมาชิกสภา อบจ.ปทุมธานี และอดีตผู้สมัคร สส.ปทุมธานี เขต 7 พรรครวมไทยสร้างชาติ
- หมายเลข 3 พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ปัจจุบันประกอบอาชีพหมอฝังเข็มรักษาคนไข้ที่มูลนิธิมงคล-จงกล ธูปกระจ่าง ลงสมัครในสังกัดกลุ่มคนรักปทุม
- หมายเลข 4 นพดล ลัดดาแย้ม อดีตสมาชิกสภา อบจ.ปทุมธานี และอดีตผู้สมัคร สส.ปทุมธานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี มิถุนายน พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
เพื่อไทย | ชาญ พวงเพ็ชร์ (1)✔ | 203,032 | 47.40 | +4.94 | |
กลุ่มคนรักปทุม | พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง (3)* | 201,212 | 46.97 | -1.28 | |
อิสระ | นพดล ลัดดาแย้ม (4) | 16,983 | 3.97 | – | |
อิสระ | อธิวัฒน์ สอนเนย (2) | 7,122 | 1.66 | – | |
ผลรวม | 428,349 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 428,349 | 90.65 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 32,885 | 6.96 | – | ||
บัตรเสีย | 11,302 | 2.39 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 472,536 | 49.77 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 949,421 | 100.00 | — |
ต่อมา คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติให้ใบเหลืองกับผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้ง ส่งผลให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง
พะเยา
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567[13] เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา สืบเนื่องจาก อัครา พรหมเผ่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 ชัยประพันธ์ สิงห์ชัย อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2563 คณะก้าวหน้า และอดีตผู้สมัคร สส.พะเยา เขต 3 พรรคก้าวไกล ลงสมัครในฐานะกลุ่มพะเยาก้าวไกล
- หมายเลข 2 ธวัช สุทธวงค์ อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และอดีตผู้สมัคร สส.พะเยา เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ พ.ศ. 2562 สังกัด พรรคเพื่อไทย โดยมี อัครา พรหมเผ่า อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาให้การสนับสนุน โดยได้ชี้แจงว่า ตนเองไม่ได้ลงสมัครนายก อบจ.พะเยาในครั้งนี้ แต่ได้มอบให้ อดีตรองนายก อบจ.พะเยา ลงสมัครแทน ส่วนตนเองนั้นจะไปเล่นการเมืองในระดับสูงขึ้นไป หรือการเมืองระดับชาติ[14]
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ธวัช สุทธวงค์ ได้รับการดำรงตำแหน่ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรองการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2567[15]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
เพื่อไทย | ธวัช สุทธวงค์ (2) | 175,128 | 83.41 | — | |
กลุ่มพะเยาก้าวไกล | ชัยประพันธ์ สิงห์ชัย (1) | 34,826 | 16.59 | –14.08 | |
ผลรวม | 209,954 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 209,954 | 89.44 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 14,898 | 6.35 | – | ||
บัตรเสีย | 9,893 | 4.21 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 234,745 | 61.76 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 380,091 | 100.00 | — | ||
เพื่อไทย รักษาที่นั่ง |
พระนครศรีอยุธยา
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567[16] เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สืบเนื่องจาก สมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ลาออกจากตำแหน่ง[17] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้[18]
- หมายเลข 1 วัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ สังกัดกลุ่มก้าวใหม่อยุธยา โดยมี ชริน วงศ์พันธ์เที่ยง สส.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 พรรคก้าวไกล ให้การสนับสนุน
- หมายเลข 2 สมทรง พันธ์เจริญวรกุล อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4 สมัย
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า สมทรง พันธ์เจริญวรกุล ได้รับการดำรงตำแหน่งอีกสมัย และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรองการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2567
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
อิสระ | สมทรง พันธ์เจริญวรกุล (2)* | 245,381 | 68.14 | +1.19 | |
กลุ่มก้าวใหม่อยุธยา | วัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ (1) | 114,746 | 31.86 | — | |
ผลรวม | 360,127 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 360,127 | 54.78 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 17,921 | 2.73 | – | ||
บัตรเสีย | 13,074 | 1.99 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 391,122 | 59.49 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 657,465 | 100.00 | — | ||
อิสระ รักษาที่นั่ง |
ชัยนาท
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท สืบเนื่องจาก อนุสรณ์ นาคาศัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาทได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้[19]
- หมายเลข 1 จิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา อดีตสมาชิกวุฒิสภา และเป็นพี่สาวของนายอนุสรณ์ นาคาศัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท
- หมายเลข 2 ปัญญา ไทยรัตนกุล อดีตนายกเทศมนตรีตำบลหันคา และอดีตผู้สมัคร สส.ชัยนาท เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ ลงสมัครในสังกัดกลุ่มก้าวใหม่ชัยนาท
- หมายเลข 3 สุทธิพจน์ เชื้ออภัยวงษ์ อดีตผู้สมัคร สส.ชัยนาท เขต 2 พรรคก้าวไกล
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า จิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา ได้รับการดำรงตำแหน่ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรองการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2567
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
อิสระ | จิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา (1) | 63,485 | 52.78 | – | |
อิสระ | สุทธิพจน์ เชื้ออภัยวงษ์ (3) | 45,202 | 37.58 | – | |
กลุ่มก้าวใหม่ชัยนาท | ปัญญา ไทยรัตนกุล (2) | 11,597 | 9.64 | – | |
ผลรวม | 120,284 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 120,284 | 89.80 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 7,814 | 5.83 | – | ||
บัตรเสีย | 5,854 | 4.37 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 133,952 | 51.92 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 258,002 | 100.00 | — | ||
อิสระ รักษาที่นั่ง |
ชัยภูมิ
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567[20] เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ สืบเนื่องจาก อร่าม โล่ห์วีระ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้[21]
- หมายเลข 1 สุรีวรรณ นาคาศัย ภรรยา สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ สส.ชัยภูมิ เขต 3 พรรคภูมิใจไทย
- หมายเลข 2 จารุวรรณ จังหวะ อดีต ส.อบจ.ชัยภูมิ เขตอำเภอหนองบัวแดง และเป็นพี่สาว กาญจนา จังหวะ สส.ชัยภูมิ เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ
- หมายเลข 3 อร่าม โล่ห์วีระ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 1 สมัย บิดาของอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคพลังประชารัฐ
- หมายเลข 4 ว่าที่ร้อยตรี พสิษฐ์ คำชัย ทนายความ
- หมายเลข 5 วรวุฒิ ประภามณฑล อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ อำเภอเมืองชัยภูมิ เขต 3
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า สุรีวรรณ นาคาศัย ได้รับการดำรงตำแหน่ง
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
อิสระ | สุรีวรรณ นาคาศัย (1) | 210,103 | 42.96 | — | |
อิสระ | อร่าม โล่ห์วีระ (3)* | 178,129 | 36.42 | –20.35 | |
อิสระ | จารุวรรณ จังหวะ (2) | 94,198 | 19.26 | — | |
อิสระ | วรวุฒิ ประภามณฑล (5) | 4,673 | 0.96 | — | |
อิสระ | ว่าที่ร้อยตรี พสิษฐ์ คำชัย (4) | 1,998 | 0.41 | — | |
ผลรวม | 489,101 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 489,101 | 94.03 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 12,512 | 2.41 | – | ||
บัตรเสีย | 18,539 | 3.56 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 520,152 | – | |||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 100.00 | — | |||
อิสระ รักษาที่นั่ง |
พิษณุโลก
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก สืบเนื่องจาก มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกได้ลาออกจากตำแหน่ง[22] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก สังกัดกลุ่มพลังพิษณุโลก
- หมายเลข 2 เศรษฐา กิตติจารุรัตน์ อดีต สจ.เขตอำเภอเมืองพิษณุโลก และอดีตผู้สมัคร สส.พิษณุโลก เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ ในปี พ.ศ. 2562
- หมายเลข 3 สิริพรรณ คุณประจักษ์นุกูล นักธุรกิจ และอดีตสมาชิกพรรคก้าวไกล ลงสมัครในกลุ่มก้าวใหม่พิษณุโลก โดยมีปดิพัทธ์ สันติภาดา อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีตสส.พิษณุโลก รวมทั้ง ศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ สส.พิษณุโลก เขต 5 พรรคก้าวไกล ให้การสนับสนุน นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก คณะก้าวหน้า และ พรรคประชาชน อีกด้วย
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ได้รับการดำรงตำแหน่ง
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มพลังพิษณุโลก | มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ (1)* | 214,519 | 64.56 | +16.20 | |
กลุ่มก้าวใหม่พิษณุโลก | สิริพรรณ คุณประจักษ์นุกูล (3) | 104,163 | 31.35 | — | |
อิสระ | เศรษฐา กิตติจารุรัตน์ (2) | 13,579 | 4.09 | — | |
ผลรวม | 332,261 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 332,261 | 91.88 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 15,613 | 4.32 | – | ||
บัตรเสีย | 13,768 | 3.81 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 361,642 | 53.33 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 677,923 | 100.00 | — |
ราชบุรี
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2567[23] เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี สืบเนื่องจาก วิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีได้ลาออกจากตำแหน่ง[24] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 ชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ ผู้สมัครสังกัด พรรคประชาชน[25] เดิมชัยรัตน์สังกัด พรรคก้าวไกล ซึ่งนับว่าเป็นผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนเดียวของพรรคก้าวไกลที่ลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นทางการก่อนที่พรรคจะถูกยุบ และเป็นผู้สมัครคนแรกของพรรคประชาชนที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง
- หมายเลข 2 วิวัฒน์ นิติกาญจนา อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี สังกัดกลุ่มพัฒนาราชบุรี
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า วิวัฒน์ นิติกาญจนา ได้รับการดำรงตำแหน่ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรองการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567[26]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มพัฒนาราชบุรี | วิวัฒน์ นิติกาญจนา (2)* | 242,297 | 58.01 | –7.20 | |
ประชาชน | ชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ (1) | 175,353 | 41.99 | — | |
ผลรวม | 417,650 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 417,650 | 91.71 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 21,250 | 4.67 | – | ||
บัตรเสีย | 16,500 | 3.62 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 455,400 | 67.31 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 676,526 | 100.00 | — |
ชุมพร
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2567[27] เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สืบเนื่องจาก นพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพรได้ลาออกจากตำแหน่ง[28] โดยมีผู้สมัครเพียงคนเดียว ดังนี้
- หมายเลข 1 นพพร อุสิทธิ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สังกัดกลุ่มพลังชุมพร[29]
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นพพร อุสิทธิ์ ได้รับการดำรงตำแหน่ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรองการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มพลังชุมพร | นพพร อุสิทธิ์ (1)* | 156,141 | 100.00 | +55.26 | |
ผลรวม | 156,141 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 156,141 | 81.56 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 27,564 | 14.34 | – | ||
บัตรเสีย | 8,547 | 4.45 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 192,252 | 47.95 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 400,968 | 100.00 | — |
ปทุมธานี ครั้งที่ 2
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2567[30] เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีครั้งที่สองในปีเดียวกัน สืบเนื่องจาก ชาญ พวงเพ็ชร์ ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีที่ได้รับเลือกตั้งในรอบที่ผ่านมา ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติให้ใบเหลือง เหตุจัดเลี้ยงและมหรสพเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้ตัวเองนั้น เป็นเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งนายก อบจ.ปทุมธานี ในรอบที่ผ่านมานั้น มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม[31]
ซึ่งในกรณีที่ถูกใบเหลืองและต้องเลือกตั้งใหม่ ผู้สมัครเดิมจะเข้าสู่การเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง โดยมีผู้สมัครดังต่อไปนี้
- หมายเลข 1 ชาญ พวงเพ็ชร์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 3 สมัย สังกัด พรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 2 อธิวัฒน์ สอนเนย อดีตสมาชิกสภา อบจ.ปทุมธานี และอดีตผู้สมัคร สส.ปทุมธานี เขต 7 พรรครวมไทยสร้างชาติ
- หมายเลข 3 พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ปัจจุบันประกอบอาชีพหมอฝังเข็มรักษาคนไข้ที่มูลนิธิมงคล-จงกล ธูปกระจ่าง ลงสมัครในสังกัดกลุ่มคนรักปทุม
- หมายเลข 4 นพดล ลัดดาแย้ม อดีตสมาชิกสภา อบจ.ปทุมธานี และอดีตผู้สมัคร สส.ปทุมธานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ได้รับการดำรงตำแหน่ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรองการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567[32]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มคนรักปทุม | พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง (3)✔ | 187,975 | 57.77 | +10.80 | |
เพื่อไทย | ชาญ พวงเพ็ชร์ (1)* | 120,007 | 36.88 | -10.52 | |
อิสระ | นพดล ลัดดาแย้ม (4) | 9,736 | 2.99 | -0.97 | |
อิสระ | อธิวัฒน์ สอนเนย (2) | 7,675 | 2.36 | +0.70 | |
ผลรวม | 325,393 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 325,393 | 90.97 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 25,044 | 7.00 | – | ||
บัตรเสีย | 7,258 | 2.03 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 357,695 | 37.52 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 953,302 | 100.00 | — |
ยโสธร
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร สืบเนื่องจาก วิเชียร สมวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567[33] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 วิเชียร สมวงศ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร สังกัด พรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 2 สพรั่งศักดิ์ สิงหา อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
- หมายเลข 3 ทำจริง เจจริงใจ (ชื่อเดิม สมหวัง จำปาหอม) ทนายความ อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2563 และอดีตผู้สมัคร สส.ยโสธร เขต 1 พรรคมัชฌิมาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2550 และ พรรคเพื่อนเกษตรไทย ในปี พ.ศ. 2554 ลงสมัครในสังกัดกลุ่มประชาชนรักยโสธร
- หมายเลข 4 หน่ำ จึงเป็นสุข อดีตเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2547
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
เพื่อไทย | วิเชียร สมวงศ์ (1)* | 169,068 | 89.56 | +34.30 | |
กลุ่มประชาชนรักยโสธร | ทำจริง เจจริงใจ (3) | 9,518 | 5.04 | +2.02 | |
อิสระ | สพรั่งศักดิ์ สิงหา (2) | 5,921 | 3.14 | — | |
อิสระ | หน่ำ จึงเป็นสุข (4) | 4,274 | 2.26 | — | |
ผลรวม | 188,781 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 188,781 | 88.10 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 18,071 | 8.43 | – | ||
บัตรเสีย | 7,432 | 3.47 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 214,285 | 50.20 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 426,868 | 100.00 | — | ||
เพื่อไทย รักษาที่นั่ง |
ระนอง
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง สืบเนื่องจาก ธนกร บริสุทธิญาณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนองได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2567[34] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 ธนกร บริสุทธิญาณี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง สังกัดกลุ่มรวมพลังระนอง โดยมีการสนับสนุนจาก พรรคพลังประชารัฐ
- หมายเลข 2 สีหราช สรรพกุล อดีตผู้ใหญ่บ้านเกาะคณฑี ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง สังกัดกลุ่มระนองก้าวหน้า โดยมีการสนับสนุนจาก คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง และ สส.ระนอง เขต 1 พรรคภูมิใจไทย
- หมายเลข 3 คุณัญญา สองสมุทร ทนายความ และอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ลงสมัครในสังกัดกลุ่มระนองก้าวไกล
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มระนองก้าวหน้า | สีหราช สรรพกุล (2) | 34,600 | 55.41 | – | |
กลุ่มรวมพลังระนอง | ธนกร บริสุทธิญาณี (1)* | 24,654 | 39.49 | –14.52 | |
กลุ่มระนองก้าวไกล | คุณัญญา สองสมุทร (3) | 3,184 | 5.10 | – | |
ผลรวม | 62,438 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 62,438 | 89.53 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 4,670 | 6.70 | – | ||
บัตรเสีย | 2,635 | 3.78 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 69,743 | 50.10 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 139,215 | 100.00 | — |
อุทัยธานี
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี สืบเนื่องจาก เผด็จ นุ้ยปรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานีได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567[35][36] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 เผด็จ นุ้ยปรี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี 4 สมัย สังกัดกลุ่มคุณธรรม โดยมีการสนับสนุนจาก ชาดา ไทยเศรษฐ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า เผด็จ นุ้ยปรี ได้รับการดำรงตำแหน่ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรองการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567[37]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มคุณธรรม | เผด็จ นุ้ยปรี (1)* | 108,243 | 100.00 | – | |
ผลรวม | 108,243 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 108,243 | 88.38 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 8,798 | 7.18 | – | ||
บัตรเสีย | 5,434 | 4.44 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 122,475 | 47.59 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 257,377 | 100.00 | — |
ขอนแก่น
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567[38] เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น สืบเนื่องจาก พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567[39] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 วัฒนา ช่างเหลา อดีตเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานสโมสรฟุตบอลขอนแก่น ยูไนเต็ด และอดีต สส.ขอนแก่น เขต 2 พรรคภูมิใจไทย ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ลงสมัครในสังกัดกลุ่มศิลาพัฒนา
- หมายเลข 2 พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
- หมายเลข 3 โตบูรพา สิมมาทัน อดีตผู้สมัคร สส.ขอนแก่น เขต 1 พรรคเสรีรวมไทย ลงสมัครในสังกัดกลุ่มวันนี้เพื่อขอนแก่น
หมายเลข 4 ณัฏฐ์ ก้อนคำ อดีตผู้สมัคร สส.ขอนแก่น เขต 8 พรรคประชาธิปัตย์(ขาดคุณสมบัติ)
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า วัฒนา ช่างเหลา ได้รับการดำรงตำแหน่ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรองการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มศิลาพัฒนา | วัฒนา ช่างเหลา (1) | 330,922 | 49.89 | — | |
อิสระ | พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ (2)* | 289,908 | 43.71 | –5.54 | |
กลุ่มวันนี้เพื่อขอนแก่น | โตบูรพา สิมมาทัน (3) | 42,431 | 6.40 | — | |
อิสระ | ณัฏฐ์ ก้อนคำ (4)† | — | — | — | |
ผลรวม | 663,261 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 663,261 | 91.84 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 33,339 | 4.62 | – | ||
บัตรเสีย | 25,558 | 3.54 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 722,158 | 50.29 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 1,436,069 | 100.00 | — |
สุโขทัย
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย สืบเนื่องจาก มนู พุกประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัยได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567[40] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 มนู พุกประเสริฐ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย สังกัด พรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 2 โด่ง แสวงลาภ ทนายความ, นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเมืองเชลียง อดีตผู้สมัคร สส.สุโขทัย เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2562 และอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ (ลาออกปี พ.ศ. 2563)
- หมายเลข 3 วศินภัทร์ กิตตินันท์พาณิช อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำขาว และอดีตผู้สมัคร สส.สุโขทัย เขต 2 พรรคก้าวไกล ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคประชาชน ลงสมัครในนามกลุ่มก้าวเปลี่ยนสุโขทัย[41]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
เพื่อไทย | มนู พุกประเสริฐ (1)* | 142,523 | 66.28 | +5.93 | |
อิสระ | โด่ง แสวงลาภ (2) | 40,267 | 18.73 | – | |
กลุ่มก้าวเปลี่ยนสุโขทัย | วศินภัทร์ กิตตินันท์พาณิช (3) | 32,232 | 14.99 | – | |
ผลรวม | 215,022 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 215,022 | 89.27 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 16,373 | 6.80 | – | ||
บัตรเสีย | 9,482 | 3.94 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 240,877 | 50.92 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 473,091 | 100.00 | — | ||
เพื่อไทย รักษาที่นั่ง |
สุรินทร์
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ สืบเนื่องจาก พรชัย มุ่งเจริญพร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567[42] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 ธัญพร มุ่งเจริญพร อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ภรรยา ปกรณ์ มุ่งเจริญพร สส.สุรินทร์ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย
- หมายเลข 2 พรชัย มุ่งเจริญพร อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และอดีตผู้สมัคร สส.สุรินทร์ เขต 1 พรรคมัชฌิมาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2550 และอดีตผู้สมัคร สส.สุรินทร์ เขต 7 พรรคภูมิใจไทย ในปี พ.ศ. 2562 ลงสมัครในสังกัดกลุ่มสุรินทร์รวมใจ
- หมายเลข 3 นัทธมน ศิริวัฒนวานิช (เดิมชื่อ: นัฐมล สมบูรณ์เทอดธนา) อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ อดีตสส.สุรินทร์ เขต 4 พรรคชาติไทย ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[43]
- หมายเลข 4 ภัทรพล หงษ์สูง อดีตผู้สมัคร สส.สุรินทร์ เขต 5 พรรคประชาธิปไตยใหม่
- หมายเลข 5 ฉลอง สัตตรัตนามัย ทนายความ และอดีตผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองสุรินทร์
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2567[44][45] | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
อิสระ | ธัญพร มุ่งเจริญพร (1) | 222,724 | 41.56 | – | |
กลุ่มสุรินทร์รวมใจ | พรชัย มุ่งเจริญพร (2)* | 211,625 | 39.48 | –22.53 | |
อิสระ | นัทธมน ศิริวัฒนวานิช (3) | 81,605 | 15.23 | – | |
อิสระ | ฉลอง สัตตรัตนามัย (5) | 15,504 | 2.89 | – | |
อิสระ | ภัทรพล หงษ์สูง (4) | 4,509 | 0.84 | – | |
ผลรวม | 535,967 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 535,967 | 93.46 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 16,859 | 2.94 | – | ||
บัตรเสีย | 20,628 | 3.60 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 573,454 | 52.93 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 1,083,351 | 100.00 | — |
นครศรีธรรมราช
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช สืบเนื่องจาก กนกพร เดชเดโช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 กนกพร เดชเดโช อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ลงสมัครในนามกลุ่มพลังเมืองนคร โดยได้รับการสนับสนุนจาก ชัยชนะ เดชเดโช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- หมายเลข 2 วาริน ชิณวงศ์ นักธุรกิจด้านการเกษตร และอดีตประธานหอการค้าจังหวัดและคณะกรรมการหอการค้าแห่งประเทศไทย[46] ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ลงสมัครในนามกลุ่มนครเข้มแข็ง
- หมายเลข 3 อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ อดีต สส.นครศรีธรรมราช เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ ลงสมัครในนามกลุ่มนครก้าวหน้า
- หมายเลข 4 สัณหพจน์ สุขศรีเมือง อดีต สส.นครศรีธรรมราช เขต 2 และอดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[47] ลงสมัครในนามกลุ่มนครก้าวใหม่
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มนครเข้มแข็ง | วาริน ชิณวงศ์ (2) | 328,823 | 51.93 | – | |
พลังเมืองนคร | กนกพร เดชเดโช (1)* | 294,835 | 46.56 | –1.87 | |
กลุ่มนครก้าวใหม่ | สัณหพจน์ สุขศรีเมือง (4) | 10,869 | 1.72 | – | |
กลุ่มนครก้าวหน้า | อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ (3) | 3,657 | 0.58 | – | |
ผลรวม | 638,184 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 638,184 | 94.44 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 21,666 | 3.21 | – | ||
บัตรเสีย | 15,879 | 2.35 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 675,729 | 55.81 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 1,210,834 | 100.00 | — |
เพชรบุรี
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี สืบเนื่องจาก ชัยยะ อังกินันทน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรีได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2567 โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 ชัยยะ อังกินันทน์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี และสามี ธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ สส. เพชรบุรี เขต 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ ลงสมัครในสังกัดกลุ่มรวมใจเพชร
- หมายเลข 2 กฤษณ์ แก้วอยู่ อดีต สส.เพชรบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ และอดีตผู้สมัคร สส.เพชรบุรี เขต 1 พรรคภูมิใจไทย
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มรวมใจเพชร | ชัยยะ อังกินันทน์ (1)* | 170,171 | 74.63 | –25.37 | |
อิสระ | กฤษณ์ แก้วอยู่ (2) | 57,854 | 25.37 | – | |
ผลรวม | 228,025 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 228,025 | 91.34 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 12,002 | 4.81 | – | ||
บัตรเสีย | 9,623 | 3.85 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 249,650 | 64.41 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 387,618 | 100.00 | — |
อุดรธานี
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี สืบเนื่องจาก วิเชียร ขาวขำ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ[48] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 คณิศร ขุริรัง อดีตประธานสภาทนายความจังหวัดอุดรธานี 2 สมัยและอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัด พรรคประชาชน[49]
- หมายเลข 2 ศราวุธ เพชรพนมพร อดีต สส.อุดรธานี 4 สมัย สังกัด พรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 3 ดนุช ตันเทอดทิตย์ อดีตหัวหน้าพรรครวมพลัง, อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอุดรธานี, และอดีตแกนนำ กปปส.อุดรธานี ลงสมัครในสังกัดกลุ่มวิถีใหม่
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
เพื่อไทย | ศราวุธ เพชรพนมพร (2) | 327,487 | 53.39 | – | |
ประชาชน | คณิศร ขุริรัง (1) | 268,675 | 43.80 | – | |
กลุ่มวิถีใหม่ | ดนุช ตันเทอดทิตย์ (3) | 17,224 | 2.81 | – | |
ผลรวม | 613,386 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 613,386 | 94.82 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 14,550 | 2.25 | – | ||
บัตรเสีย | 18,945 | 2.93 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 646,881 | 52.16 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 1,240,166 | 100.00 | — | ||
เพื่อไทย รักษาที่นั่ง |
กำแพงเพชร
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร สืบเนื่องจาก สุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 สุนทร รัตนากร อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ลงสมัครในสังกัดกลุ่มกำแพงเพชรสามัคคี
- หมายเลข 2 ธานันท์ หล่าวเจริญ อดีตผู้สมัคร สส.กำแพงเพชร เขต 4 พรรคเพื่อไทย ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคประชาชน ลงสมัครในสังกัดกลุ่มประชาชนฅนกำแพงเพชร
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มกำแพงเพชรสามัคคี | สุนทร รัตนากร (1)* | 167,255 | 76.16 | +6.74 | |
กลุ่มประชาชนฅนกำแพงเพชร | ธานันท์ หล่าวเจริญ (2) | 52,365 | 23.84 | – | |
ผลรวม | 219,620 | 100.00 | — | ||
บัตรดี | 219,620 | 86.77 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 20,001 | 7.90 | – | ||
บัตรเสีย | 13,497 | 5.33 | – | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | 253,118 | 45.08 | – | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 561,463 | 100.00 | — |
ตาก
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก สืบเนื่องจาก ณัฐวุฒิ ทวีเกื้อกูลกิจ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตากได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 อัจฉรา ทวีเกื้อกูลกิจ อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก ลงสมัครในนามกลุ่มพัฒนาตาก
- หมายเลข 2 พันตำรวจโท อนุรักษ์ จิรจิตร อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคประชาชน ลงสมัครในนามกลุ่มคนพันธุ์ตาก
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มพัฒนาตาก | อัจฉรา ทวีเกื้อกูลกิจ (1) | – | |||
กลุ่มคนพันธุ์ตาก | พันตำรวจโท อนุรักษ์ จิรจิตร (2) | – | |||
ผลรวม | 100.00 | — | |||
บัตรดี | – | ||||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | – | ||||
บัตรเสีย | – | ||||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | – | ||||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 100.00 | — |
เพชรบูรณ์
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ สืบเนื่องจาก อัครเดช ทองใจสด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 อัครเดช ทองใจสด อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์
- หมายเลข 2 ธิปไตย แสงรัก อดีตผู้สมัคร สส.เพชรบูรณ์ เขต 4 พรรคภูมิใจไทย
- หมายเลข 3 จิรวิทย์ แก้วกำพล อดีตข้าราชการ
หมายเลข 4 เจริญศักดิ์ โพธิ์ศรีชัย ครีเอเตอร์[50](ขาดคุณสมบัติ)
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
อิสระ | อัครเดช ทองใจสด (1)* | – | |||
อิสระ | ธิปไตย แสงรัก (2) | – | |||
อิสระ | จิรวิทย์ แก้วกำพล (3) | – | |||
อิสระ | เจริญศักดิ์ โพธิ์ศรีชัย (4)† | — | — | — | |
ผลรวม | 100.00 | — | |||
บัตรดี | – | ||||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | – | ||||
บัตรเสีย | – | ||||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | – | ||||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 100.00 | — |
อุตรดิตถ์
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ สืบเนื่องจาก ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2567[51] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ ลงสมัครในสังกัดกลุ่มรักอุตรดิตถ์บ้านเรา
- หมายเลข 2 โปรย สมบัติ อดีตผู้สมัคร สส.อุตรดิตถ์ เขต 1 พรรคไทยสร้างไทย
- หมายเลข 3 สหวิช อภิชัยวิศรุตกุล อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์[52] ลงสมัครในสังกัดกลุ่มคนรักอุตรดิตถ์
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
กลุ่มรักอุตรดิตถ์บ้านเรา | ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา (1)* | – | |||
อิสระ | โปรย สมบัติ (2) | – | |||
กลุ่มคนรักอุตรดิตถ์ | สหวิช อภิชัยวิศรุตกุล (3) | – | |||
ผลรวม | 100.00 | — | |||
บัตรดี | – | ||||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | – | ||||
บัตรเสีย | – | ||||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | – | ||||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 100.00 | — |
อุบลราชธานี
[แก้]จัดขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี สืบเนื่องจาก กานต์ กัลป์ตินันท์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2567[53] โดยมีผู้สมัครทั้งหมดดังนี้
- หมายเลข 1 กานต์ กัลป์ตินันท์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี สังกัด พรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 2 สิทธิพล เลาหะวนิช อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี สังกัด พรรคประชาชน
- หมายเลข 3 จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล ที่ปรึกษาพรรคไทรวมพลัง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา พรรคเพื่อแผ่นดิน (พ.ศ. 2550)
- หมายเลข 4 อธิปไตย ศุ้ย ศรีมงคล ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคไทรวมพลัง
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2567 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พรรค | ผู้สมัคร | คะแนนเสียง | % | ± | |
เพื่อไทย | กานต์ กัลป์ตินันท์ (1)* | – | |||
ประชาชน | สิทธิพล เลาหะวนิช (2) | – | |||
อิสระ | จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล (3) | – | |||
อิสระ | อธิปไตย ศุ้ย ศรีมงคล (4) | – | |||
ผลรวม | 100.00 | — | |||
บัตรดี | – | ||||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | – | ||||
บัตรเสีย | – | ||||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | – | ||||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | 100.00 | — |
หลังการเลือกตั้ง
[แก้]หลังการเลือกตั้ง มีการร้องเรียนผู้สมัครนายก อบจ. ที่ได้รับเลือกตั้ง รวมถึงการวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
รูปแบบ | ความหมาย |
---|---|
กกต./ศาลอุทธรณ์ สั่งให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ.ใหม่ | |
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง-ดำเนินคดีอาญา | |
เพิกถอนสิทธิสมัคร-ดำเนินคดีอาญา |
ลำดับ | นาม | จังหวัด | คำร้อง และข้อกล่าวหา | มติ กกต. | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | สุรเชษ นิ่มกุล | อ่างทอง | ใช้งบจัดเลี้ยง แจกของก่อนลาออก 90 วัน[54] | ||
2 | ชาญ พวงเพ็ชร์ | ปทุมธานี | จัดเลี้ยงและมหรสพเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้ตัวเอง | กกต. มีมติไม่รับรองผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา และสั่งให้เลือกตั้งซ่อม | |
3 | วิวัฒน์ นิติกาญจนา | ราชบุรี | การซื้อเสียง[55] |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เดิมมีตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว สส.ของพรรค แต่เพื่อให้เป็นไปตามมติของพรรคก้าวไกล ที่จะไม่ส่งผู้สมัครชิงตำแหน่งนายก อบจ.นครสวรรค์ และผู้ที่มีตำแหน่งในพรรคไม่อาจลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ จึงลาออกจากตำแหน่งเพื่อมาลงสมัครในนามส่วนตัว
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "กกต.สั่งเลือกตั้งใหม่ อบจ.ปทุมธานี "ชาญ พวงเพ็ชร์" โดนใบเหลือง". 2024-08-27.
- ↑ "นายก อบจ.เลย (นายกอาร์ท) ขอลาออกจากตำแหน่ง". อปท.นิวส์. 2024-02-07.
- ↑ "อดีตผู้ว่าฯ เลย "ชัยธวัช เนียมศิริ" ชนะขาด ได้นั่งเก้าอี้นายก อบจ.เลยสมใจ". mgronline.com. 2024-04-01.
- ↑ กกต.ประกาศรับรอง ‘ชัยธวัช เนียมศิริ’ อดีตผู้ว่าฯ นั่งนายกอบจ.เลย
- ↑ เคาะ 23 มิ.ย. เลือกตั้งใหม่ นายก อบจ.นครสวรรค์ เริ่มรับสมัคร 13 พ.ค. หลัง สมศักดิ์ ลาออก
- ↑ ""รองหมู" ไขก๊อก พ้นอกก้าวไกล ลงสมัครอิสระ ชิง อบจ.ปากน้ำโพ คว้าเบอร์ 2". www.thairath.co.th. 2024-05-14.
- ↑ "สมัครนายอบจ.นครสวรรค์ 3 คน กกต.อบจ.นครสวรรค์ เปิดรับสมัคร ผู้ที่มีความประสงค์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นนายกอบจ.นครสวรรค์ 5 วัน มีสมัคร 3 คน". khupandin.com.
- ↑ "กกต.รับรองผลนายกอบจ. นครสวรรค์ กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งนายกอบจ. นครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ เป็นนายกอบจ. นครสวรรค์". www.khupandin.com.
- ↑ ไทม์ไลน์เลือกตั้ง นายก อบจ.อ่างทอง หลัง ‘กำนันตี๋’ ทิ้งเก้าอี้ หย่อนบัตร 23 มิ.ย.
- ↑ "รับสมัครนายก อบจ.อ่างทอง กองเชียร์แห่ให้กำลังใจผู้สมัครคึกคัก". mgronline.com. 2024-05-13.
- ↑ "นับคะแนนแล้ว 100% นายกตี๋ สุรเชษ ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อ่างทอง ได้ 8.2 หมื่นเสียง". matichon.co.th. 2024-06-23.
- ↑ "ด่วน บิ๊กแจ๊ส ไขก๊อกนายก อบจ.ปทุมฯ เผยนัดลาออก 3 จว. เหตุช่วยปชช.ไม่ได้". www.thairath.co.th. 2024-05-02.
- ↑ "(คลิป) นายก อบจ.พะเยา-น้อง "ผู้กองธรรมนัส" ลาออกอีกจังหวัด กกต.จัดเลือกตั้งใหม่ต้นสิงหาฯ นี้". mgronline.com. 2024-06-18.
- ↑ บรรยากาศการรับสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา
- ↑ "กกต.ไฟเขียวรับรองผลเลือกนายกอบจ. 3 จังหวัด ชัยนาท-อยุธยา-พะเยา". matichon.co.th.
- ↑ "เคาะ 4 ส.ค.67 เลือกตั้ง 'นายก อบจ.อยุธยา' แทนตำแหน่งที่ว่าง หลัง 'ซ้อสมทรง' ชิงลาออก". matichon.co.th. 2024-06-20.
- ↑ "ซ้อสมทรง ลาออก นายก อบจ.อยุธยา น้ำตาซึมกลางวงประชุม จับตาบิ๊กแจ๊สโมเดล". matichon.co.th. 2024-06-15.
- ↑ ศึกชิงเก้าอี้นายกอบจ.อยุธยา คึกคัก! ‘ซ้อสมทรง’ ลงสมัครคว้าเบอร์ 2 ด้าน ‘นายกอุ๊’ ได้เบอร์ 1
- ↑ จังหวัดชัยนาท มีผู้สมัครลงชิงเก้าอี้ นายก อบจ.ชัยนาท 3 คน หลังปิดรับสมัคร
- ↑ "เปิดประวัติ "อร่าม โล่ห์วีระ" บ้านใหญ่ชัยภูมิ คอนเนคชั่น แน่น แต่งตัวพร้อม รอป้องกันแชมป์ นายกฯ อบจ.ชัยภูมิ อีกสมัย ภายหลังดีลลับการเมืองใหญ่". mgronline.com. 2024-06-29.
- ↑ "เสือเฒ่า "อร่าม" ลับลวงคนกันเอง "บ้านในป่า" ชิงนายก อบจ.ชัยภูมิ". komchadluek. 2024-07-08.
- ↑ "ลาออกอีกจังหวัด! นายก อบจ.พิษณุโลกทิ้งเก้าอี้ก่อนครบวาระ อ้างเลี่ยงกฎ 180 วันกระทบค่าใช้จ่ายหาเสียง". mgronline.com. 2024-06-20.
- ↑ "ประกาศ เรื่อง ให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี". ratchaburipao.go.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "บ้านใหญ่โอ่งมังกร ขยับ 'กำนันตุ้ย' ไขก๊อก 'นายก อบจ.ราชบุรี' ลงต่ออีกสมัย". bangkokbiznews. 2024-07-12.
- ↑ "'ณัฐพงษ์' นำทัพ สส.ประชาชน ช่วย 'ชัยรัตน์' หาเสียงชิงนายก อบจ.ราชบุรี". bangkokbiznews. 2024-08-10.
- ↑ เช็กเลย! กกต.รับรองผลเลือกตั้งท้องถิ่น 21 เก้าอี้ กำนันตุ้ย เฮ นั่งนายกอบจ.ราชบุรี
- ↑ "ประกาศ เรื่องให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร". องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร (อบจ.ชุมพร).
- ↑ "ลาออกก่อนครบวาระ! "นายกโต้ง" นายก อบจ.ชุมพร อ้างอยู่ไปก็ทำงานช่วยประชาชนไม่ได้ เตรียมลงสู้ศึกสมัยหน้า". mgronline.com. 2024-08-01.
- ↑ "'นพพร อุสิทธิ์' สมัครชิงนายกอบจ.ชุมพรอีกสมัย หวังสานต่อนโยบายลุล่วง". matichon.co.th. 2024-08-17.
- ↑ "กกต.ให้เลือกตั้งนายก อบจ.ปทุมธานีใหม่ คาด 22 ก.ย.นี้". Thai PBS.
- ↑ "กกต.สั่งเลือกตั้งใหม่ อบจ.ปทุมธานี "ชาญ พวงเพ็ชร" โดนใบเหลือง". Thai PBS.
- ↑ "กกต.ประกาศรับรอง "บิ๊กแจ๊ส" นั่งนายก อบจ.ปทุมธานีแล้ว". Thai PBS.
- ↑ "วิเชียร สมวงศ์ ลาออกนายก อบจ.ยโสธร อีกคน อ้างเหตุกฎ 180 วัน พร้อมลงชิงทวงเก้าอี้เดิม". matichon.com. 2024-08-30.
- ↑ "นายก อบจ.ระนอง ลาออกก่อนครบวาระ กลับมาสมัครใหม่ ป้องกันเก้าอี้ เลือกตั้ง 6 ต.ค". matichon.com. 2024-09-02.
- ↑ "กางแผนเลือกตั้งใหม่นายก อบจ.อุทัยธานี คาด "มนัญญา-น้องชาดา" ลงสนามด้วย". mgronline.com. 2024-08-28.
- ↑ "มนัญญาถอนตัวชิงนายกฯ อุทัยธานี มีข้อแม้ เผด็จ-นุ้ยปรี ต้องขอโทษเรื่องบาดหมางในอดีต". mgronline.com. 2024-09-03.
- ↑ "กกต.รับรองแล้ว ผลเลือกตั้ง "เผด็จ นุ้ยปรี" เป็นนายก อบจ.อุทัยธานี แล้ว". matichon.co.th.
- ↑ ประกาศผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เรื่อง ให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
- ↑ ""พงษ์ศักดิ์" ยื่นใบลาออก "นายกอบจ.ขอนแก่น" เตรียมจัดเลือกตั้งใหม่". เนชั่นทีวี. 2024-09-13.
- ↑ "มนู พุกประเสริฐ ลาออกนายก อบจ.สุโขทัย กลับมาสมัครใหม่แล้ว มั่นใจรักษาแชมป์ได้". matichon.co.th. 2024-09-30.
- ↑ "พรรคส้มถอย! ปชน.ไม่ส่งชิงนายก อบจ.สุโขทัย เปิดทางด้อมลงแข่งอิสระ". mgronline.com. 2024-10-04.
- ↑ พรชัย มุ่งเจริญพร ยื่นลาออกนายก อบจ.สุรินทร์ อีกคน แจงกับผู้ว่าฯ ไม่ได้มีปัญหาอะไร
- ↑ bunthit (2024-11-11). "ศึก อบจ.สุรินทร์ "ทักษิณ" รุกเมืองช้างชนเด็ก "เนวิน" ค่ายแดงลับลวงพราง". www.komchadluek.net.
- ↑ ผลคะแนนเลือกตั้ง นายก อบจ.สุรินทร์
- ↑ [https://www.facebook.com/100063520780144/posts/pfbid0WmyA22viNuyK7BaS2vhBwfSmfDuAmtBhwKma4DyNy32YGmDeNaXPg5zsXt5vNHajl/?app=fbl ผลคะแนนการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ กรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ (อย่างไม่เป็นทางการ)]
- ↑ กองบก (2022-10-13). ""สนธิรัตน์" ลงพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเปิดตัว "วาริน ชิณวงศ์" ผู้แทนพรรคสร้างอนาคตไทย". The Thai Press.
- ↑ "พปชร. เลือดไหลอีก สัณหพจน์ อดีตส.ส.เมืองคอน ไขก๊อกสมาชิกพรรค". matichon.co.th. 2024-07-19.
- ↑ "'ชัยยะ-วิเชียร' ลาออก 'นายก อบจ.' รวมปี 67 มี 17 คนไขก๊อกก่อนครบวาระ". bangkokbiznews. 2024-09-26.
- ↑ "ไม่สนเป็นเมืองหลวงบางพรรค! ปชน.ส่ง 'คณิศร' ชิงนายก อบจ.อุดรฯ". bangkokbiznews. 2024-10-10.
- ↑ "ลุงโทนี คนดัง สวมชุดทรัมป์ สู้ศึกชิง นายก อบจ.เพชรบูรณ์ เทเงินเก็บจ่ายค่าสมัคร". matichon. 2024-10-08.
- ↑ ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา ลาออกนายก อบจ.อุตรดิตถ์ ก่อนครบวาระไม่ถึง 2 เดือน
- ↑ ‘อดีตรองผู้ว่าฯอุตรดิตถ์’ ท้าชิงเก้าอี้นายกอบจ. อัด ชัยศิริ ทำเพื่อตัวเอง ไม่อยู่ให้ครบเทอม ต้องเปลืองงบเลือกตั้ง 2 ครั้ง
- ↑ กานต์ กัลป์ตินันท์ ลาออก นายก อบจ.อุบล ขออาสาลงชิงอีกสมัย หวังสานต่องานเดิม
- ↑ "มาแล้ว เรื่องร้องเรียนผู้สมัครนายก อบจ.อ่างทอง ยื่นเอาผิดจัดงานเลี้ยง กกต.ขอเวลา 3 วัน". matichon.co.th. 2024-06-23.
- ↑ "ทนายอั๋น ยื่น กกต.สอบการเลือกตั้งนายก อบจ.ราชบุรี". pptvhd36.com. 2024-09-03.