ข้ามไปเนื้อหา

การศึกษาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การศึกษาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย บันทึกว่ามีจัดการเรียนการสอนยุคแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2477 ในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 7-8 แผนกวิสามัญภาษาต่างประเทศ ณ โรงเรียนมัธยมวัดบพิตรภิมุข กรมวิสามัญศึกษา กระทรวงธรรมการ ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ และเริ่มการสอนระดับอุดมศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนวิชาภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเลือกใน พ.ศ. 2487

ตามข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ประเทศไทยมีสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นอยู่ 385 แห่ง ครูสอนภาษาญี่ปุ่น 1,153 คน และนักเรียนอีก 71,083 คน[1][2][3]

สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่เปิดสอนภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรี เรียงตามปีพุทธศักราช

[แก้]
ชื่อคณะ มหาวิทยาลัย ปีพุทธศักราชที่เปิดสอนเป็นวิชาเอก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2509
คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2523
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2525
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2526
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2529
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2530
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 2531
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2534
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ 2538
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2540
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 2541
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2542
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 2543
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 2545
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2546
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2547
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 2548
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิดถ์ 2549
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2554
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต 2556
คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 2557
คณะสื่อสารสากล สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2567

การสอบวัดระดับความสามารถ

[แก้]
จำนวนผู้เข้าสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น
ปี เมือง ระดับ
L1 L2 L3 L4 รวม
พ.ศ. 2552
(ค.ศ. 2009)[4]
กรุงเทพฯ 958 2,993 4,591 4,952 13,494
เชียงใหม่ 65 315 597 964 1,941
สงขลา 4 35 78 261 378
ขอนแก่น 12 129 379 435 955
รวม 1,039 3,472 5,645 6,612 16,768
พ.ศ. 2551
(ค.ศ. 2008)[5]
กรุงเทพฯ 754 2,704 4,356 5,037 12,851
เชียงใหม่ 64 239 639 910 1,852
สงขลา 1 18 80 220 319
ขอนแก่น 8 94 316 406 824
รวม 827 3,055 5,391 6,573 15,846
พ.ศ. 2549
(ค.ศ. 2006)[6]
กรุงเทพฯ 700 1,949 3,100 3,900 9,649
เชียงใหม่ 52 202 628 1,021 1,794
สงขลา 4 37 89 291 463
พ.ศ. 2548
(ค.ศ. 2005)[7]
กรุงเทพฯ 633 1,616 2,416 3,456 8,121
เชียงใหม่ 56 164 409 1,120 1,749
สงขลา 7 41 122 293 463
พ.ศ. 2547
(ค.ศ. 2004)[8]
กรุงเทพฯ 434 1,280 1,940 2,719 6,373
เชียงใหม่ 35 170 333 798 1,336
สงขลา 2 33 94 180 309
พ.ศ. 2546
(ค.ศ. 2003)[9]
กรุงเทพฯ 380 1,188 1,773 2,735 6,076
เชียงใหม่ 27 151 273 746 1,197
พ.ศ. 2544
(ค.ศ. 2001)[10]
กรุงเทพฯ 211 681 1,198 1,774 3,864
เชียงใหม่ 18 61 157 303 539
พ.ศ. 2543
(ค.ศ. 2000)[11]
กรุงเทพฯ 194 696 960 1,338 3,188
เชียงใหม่ 15 70 130 238 453
พ.ศ. 2542
(ค.ศ. 1999)[12]
กรุงเทพฯ 152 544 811 1,174 2,681
เชียงใหม่ 24 45 120 205 394
พ.ศ. 2541
(ค.ศ. 1998)[12]
กรุงเทพฯ - - - - 2,175
เชียงใหม่ - - - - 289

แต่ละปีมีการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทยอย่างน้อยสามแห่ง เริ่มแรกจัดเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร ต่อมาใน พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2006) จึงจัดเพิ่มที่จังหวัดสงขลา[9] ปัจจุบันมีการจัดสอบที่จังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานีด้วย และเปิดรับสมัครสอบวัดระดับเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ JLPT Online[1] โดยสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น (ส.น.ญ.) นอกจากนั้น กรุงเทพมหานครยังเป็นแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นเชิงธุรกิจ (Business Japanese Proficiency Test) ซึ่งเมื่อปี 2546 ได้มีผู้เข้าสอบเป็นจำนวน 232 คน นับได้เป็นร้อยละ 13 ของผู้ทดสอบนอกประเทศญี่ปุ่น[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 http://www.arts.chula.ac.th/~east/japanese/activites/history.html เก็บถาวร 2008-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. "2003年海外日本語教育機関調査結果: タイ (Results of the 2003 survey of overseas Japanese language educational institutions: Thailand)". The Japan Foundation. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-08. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  3. "2006年海外日本語教育機関調査結果: タイ (Results of the 2003 survey of overseas Japanese language educational institutions: Thailand)". The Japan Foundation. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-11. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  4. "Japanese Language Proficiency Test 2009: Summary of the Results" (PDF). Japan Educational Exchanges and Services, The Japan Foundation. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.
  5. "Japanese Language Proficiency Test 2008: Summary of the Results". Japan Educational Exchanges and Services, The Japan Foundation. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-27. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  6. "Japanese Language Proficiency Test 2006: Summary of the Results" (PDF). Japan Educational Exchanges and Services, The Japan Foundation. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12.
  7. "Japanese Language Proficiency Test 2005: Summary of the Results" (PDF). Japan Educational Exchanges and Services, The Japan Foundation. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-01-06. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12.
  8. "Japanese Language Proficiency Test 2004: Summary of the Results" (PDF). Japan Educational Exchanges and Services, The Japan Foundation. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2005-08-27. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12.
  9. 9.0 9.1 "Japanese Language Proficiency Test 2003: Summary of the Results" (PDF). Japan Educational Exchanges and Services, The Japan Foundation. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2004-11-17. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12.
  10. "The 2001 Japanese-Language Proficiency Test Number of Examinees by Sites". The Japan Foundation. 2002-02-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-07. สืบค้นเมื่อ 2006-12-03.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. "The 2000 Japanese-Language Proficiency Test Number of Examinees by Sites". The Japan Foundation. 2001-02-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-07. สืบค้นเมื่อ 2006-12-03.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 "The 1999 Japanese-Language Proficiency Test Number of Examinees by Sites". The Japan Foundation. 2000-02-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-10-18. สืบค้นเมื่อ 2006-12-13.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. "13th JLRT (2006) : A Summary Report" (PDF). Japan External Trade Organization. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12.

ดูเพิ่ม

[แก้]