การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มกราคม พ.ศ. 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย
มกราคม พ.ศ. 2551

← พ.ศ. 2548 28 มกราคม พ.ศ. 2551 กันยายน พ.ศ. 2551 →
 
Samak Sundaravej.JPG
Vejjajivacropped.jpg
ผู้ได้รับเสนอชื่อ สมัคร สุนทรเวช อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พรรค พลังประชาชน ประชาธิปัตย์
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 310 163

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551 หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดำรงตำแหน่งครบวาระตามรัฐธรรมนูญ

โดยนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยจะเปิดโอกาสให้ ส.ส.เสนอชื่อบุคคลมี่เหมาะสมเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยต้องมี ส.ส. รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด หรือประมาณ 96 คน โดยขั้นตอนการลงคะแนนจะเป็นแบบเปิดเผย ขานชื่อตามลำดับตัวอักษร ก-ฮ

โดยนายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ส.ส. สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ได้เสนอชื่อนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี จากนั้นนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส. สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี

การลงมติ[แก้]

ในการลงมติ ส.ส.กลุ่มสัจจานุภาพทั้ง 4 คน ประกอบด้วย นพ.แวมาฮาดี แวดาโอะ ส.ส.นราธิวาส นายนิมุคตาร์ วาบา ส.ส.ปัตตานี นายยุซรี ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี และนายมานพ ปัตนวงศ์ ส.ส.ระบบสัดส่วนกลุ่ม 8 ที่ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่าขอให้พรรคเพื่อแผ่นดินได้โควตารัฐมนตรี 4 ที่ ไม่เช่นนั้นจะโหวตสวนมติพรรคนั้น ได้เลือกนายสมัคร

ส่วนนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ลุกขึ้นยืนแล้วเงียบไปสักครู่ ก่อนจะกล่าวว่า "นายสมัคร สุนทรเวช" นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ของดออกเสียง เช่นเดียวกับตัวนายสมัครเอง ที่ของดออกเสียง สำหรับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ของดออกเสียงเช่นกัน

ในระหว่างการออกเสียงอยู่นั้น นายสมัครเดินออกไปจากห้องประชุม โดยเดินไปรับประทานอาหาร สั่งข้าวกับแกงเหลือง และผัดหน่อไม้ฝรั่งใส่กุ้ง ในราคาจานละ 20 บาท โดยมีสื่อมวลชนติดตามทำข่าวอย่างใกล้ขิด ทำใหนายสมัครกล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ทุกวันจะทำให้ขาดความเป็นส่วนตัว รู้สึกไม่สบายใจพร้อมยืนยันแม้จะเป็นนายกรัฐมนตรีก็จะปฏิบัติตัวตามปกติ

ชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี[แก้]

ผู้ได้รับการเสนอชื่อในสภาผู้แทนราษฎร
สมัคร สุนทรเวช อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พลังประชาชน ประชาธิปัตย์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

(23 กรกฏาคม 2543 - 22 กรกฏาคม 2547)

รองนายกรัฐมนตรี

(3 กรกฎาคม 2539 – 8 พฤศจิกายน 2540)

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(14 พฤศจิกายน 2540 – 17 กุมภาพันธ์ 2544)

ผลการลงมติ[แก้]

ภายหลังเสร็จสิ้นการลงคะแนน นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศผลการนับคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีว่า นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้รับความเห็นชอบ จำนวน 310 คะแนน ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความเห็นชอบ 163 คะแนน และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรงดออกเสียง 3 คะแนน (คือ นายสมัคร สุนทรเวช, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายยงยุทธ ติยะไพรัช) จึงถือได้ว่านายสมัคร สุนทรเวช ได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาแล้ว จึงถือได้ว่านายสมัครได้รับความเห็นชอบตามมติของสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พรรคการเมือง สมัคร สุนทรเวช อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ งดออกเสียง รวม
พรรคพลังประชาชน 231 - 2 233
พรรคประชาธิปัตย์ - 163 1 164
พรรคเพื่อแผ่นดิน 21 - - 21
พรรคชาติไทย 37 - - 37
พรรคมัชฌิมาธิปไตย 7 - - 7
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9 - - 9
พรรคประชาราช 5 - - 5
รวม 310 163 3 476

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มกราคม พ.ศ. 2551 ถัดไป
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2548
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย กันยายน พ.ศ. 2551