ประเทศปานามา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิกัดภูมิศาสตร์: 9°N 80°W / 9°N 80°W / 9; -80

สาธารณรัฐปานามา

República de Panamá (สเปน)
ตราแผ่นดินของปานามา
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"เพื่อผลประโยชน์ของโลก"
(ละติน: Pro Mundi Beneficio)
ที่ตั้งของปานามา
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ปานามาซิตี
8°58′N 79°32′W / 8.967°N 79.533°W / 8.967; -79.533
ภาษาราชการสเปน
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2010[1])
ศาสนา
(ค.ศ. 2015)[2]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
เลาเรนติโน กอร์ติโซ
โฮเซ กาบริเอล การ์ริโซ
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เอกราช
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1821
• สหภาพร่วมกับกรันโกลอมเบีย
ธันวาคม ค.ศ. 1821
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1903
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945
11 ตุลาคม ค.ศ. 1972
พื้นที่
• รวม
75,417 ตารางกิโลเมตร (29,119 ตารางไมล์)[3][4] (อันดับที่ 116)
2.9
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
4,379,039[5]
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2010
3,405,813[6]
56 ต่อตารางกิโลเมตร (145.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 122)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
121.749 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 80)
28,456 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 57)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
73.369 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 70)
17,148 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 52)
จีนี (ค.ศ. 2017)positive decrease 49.9[8]
สูง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.815[9]
สูงมาก · อันดับที่ 57
สกุลเงิน
เขตเวลาUTC−5 (EST)
รูปแบบวันที่
  • ดด/วว/ปปปป (สั้น)
  • วว/ดด/ปปปป (ยาว)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+507
รหัส ISO 3166PA
โดเมนบนสุด.pa

ปานามา (สเปน: Panamá) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐปานามา (República de Panamá) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภูมิภาคอเมริกากลาง บนบริเวณซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดต่อกับประเทศคอสตาริกา ด้านตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับประเทศโคลอมเบีย ด้านเหนือติดต่อกับทะเลแคริบเบียน และด้านใต้ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีเมืองหลวงคือ กรุงปานามาซิตี โดยเป็นเขตเมืองขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ

ก่อนการมาถึงของนักสำรวจและนักล่าอาณานิคมชาวสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ดินแดนซึ่งเป็นปานามาในปัจจุบัน ปรากฏการตั้งถิ่นฐานโดยชนพื้นเมืองหลากหลายเผ่าอยู่ก่อนแล้วไม่น้อยกว่า 10,000 ปี ภายหลังได้รับเอกราชจากจักรวรรดิสเปนในปี ค.ศ. 1821 ปานามาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกรันโกลอมเบียซึ่งก่อตั้งขึ้นในรูปแบบสหภาพ (union) ระหว่างดินแดนในเขตอุปราชแห่งนิวกรานาดาเดิม (โคลอมเบียในปัจจุบัน) เขตการปกครองเอกวาดอร์ และเขตการปกครองเวเนซุเอลา

ภูมิศาสตร์[แก้]

ประเทศปานามาตั้งอยู่ในอเมริกากลางติดกับทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิกติดกับโคลอมเบียทางตะวันออกและคอสตาริกาทางตะวันตก พื้นที่ของประเทศส่วนใหญ่อยู่บริเวณละติจูด 7 องศาถึง 10 องศาเหนือและจากลองจิจูด 77 องศาถึง 83 องศาตะวันตกและมีพื้นที่ทั้งหมดปรมาณ 74,177.3 ตารางกิโลเมตร[10]

ปานามาตั้งอยู่ตรงคอคอดปานามาซึ่งเป็นหนึ่งในจุดที่มีความสำคัญ และ พ.ศ. 2543 รัฐบาลปานามาได้รับสิทธิในการบริหารคลองปานามาซึ่งเป็นคลองเชื่อมต่อมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิก[11]

การเมืองการปกครอง[แก้]

ปานามาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้ารัฐบาล ที่มาจากเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี

บริหาร[แก้]

ฝ่ายบริหาร ได้แก่ ประธานาธิบดี เป็นประมุข คณะรัฐมนตรี

นิติบัญญัติ[แก้]

ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก 72 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี

ตุลาการ[แก้]

ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง ฝ่ายตุลาการ ผู้พิพากษาการศาลสูงสุดมาจากการเสนอชื่อของประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งวาระละ 10 ปี

สิทธิมนุษยชน[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่เขตการปกครองของประเทศปานามา

ปานามาแบ่งออกเขตการปกครองออกเป็น 10 จังหวัด (provincia) และ 6 ดินแดนชนพื้นเมือง (comarca indígena) โดยแบ่งเป็นดินแดนระดับจังหวัด 4 แห่ง และดินแดนระดับเทศบาล 2 แห่ง

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย[แก้]

สาธารณรัฐปานามาและราชอาณาจักรไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2525 รัฐบาลไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก มีเขตอาณาครอบคลุมปานามา และปานามาได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2538

ไทยและปานามามีการแลกเปลี่ยนการเยือนไม่มากนัก โดยบุคคลสำคัญของไทยที่เคยเดินทางเยือนปานามาได้แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 นายกันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย เมื่อเดือนมิถุนายน 2545 สำหรับฝ่ายปานามาที่เคยเยือนไทยคือ นายราฟาเอล ฟลอเรซ (Rafael Florez) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร เมื่อเดือนตุลาคม 2545

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2561 นางอิซาเบล เด เซนต์ มาโล เด อัลบาราโด (H.E. Mrs. Isabel de Saint Malo de Alvarado) รองประธานาธิบดี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐปานามา เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ[12]

ในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวชาวปานามาเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 1,108 คน [13]

ในด้านการศึกษา ปัจจุบัน มีการจัดตั้ง Thai Corner ที่มหาวิทยาลัยปานามา (Universidad de Panama) ในกรุงปานามาซิตี [14]

ประชากร[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

มีประชากร 3,308,157 ล้านคน ร้อยละ 70 เป็นพวกเมสติโซ (เผ่าพันธ์ผสมระหว่างผิวขาวชาวยุโรปและชนพื้นเมืองอินเดียน) เป็นพวกผิวดำ (เป็นประชากรที่อพยพมาจากหมู่เกาะอินดีสตะวันตก) ร้อยละ 14 ร้อยละ 10 เป็นชาวสเปน ส่วนที่เหลือเป็นชนพื้นเมืองอินเดียน ร้อยละ 6 ปัจจุบันชนพื้นเมืองอินเดียน แบ่งออกได้ 3 เผ่าใหญ่ ได้แก่ เผ่าคูนา (Cuna) อาศัยอยู่ในหมู่เกาะมูลาตาสในทะเลแคริบเบียน ชนเผ่ามีอำนาจในการปกครองตัวเอง แต่ยังคงอยู่ในอำนาจของรัฐบาลกลาง เผ่ากายมี (Guaymi) อาศัยอยู่ในจังหวัดชีรีกี จังหวัดโบกัสเดลโตโร และ จังหวัดเบรากวัส เผ่าโชโก (Choco) อาศัยอยู่ในป่าภายในจังหวัดดาเวียง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Panama". CIA World Factbook.
  2. "Segunda Encuesta Nacional de Hogares, Panama 2015" (PDF). Ministerio Público de la República de Panamá. December 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 18, 2019. สืบค้นเมื่อ February 17, 2019.
  3. "Demographic Yearbook – Table 3: Population by sex, rate of population increase, surface area and density" (PDF). United Nations Statistics Division. 2012. สืบค้นเมื่อ September 4, 2017. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. "United Nations Statistics Division - Demographic and Social Statistics". unstats.un.org.
  5. "Panama Population". worldometers.info. สืบค้นเมื่อ July 1, 2021.
  6. Distribución territorial y migración interna en Panamá: Censo 2010 (PDF) (Report) (ภาษาสเปน). INEC. 2014. p. 2. สืบค้นเมื่อ December 22, 2015.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ January 16, 2019.
  8. "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ June 16, 2019.
  9. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. December 15, 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ December 16, 2020.
  10. "Datos generales e históricos de la República de Panamá" (PDF) (ภาษาสเปน). INEC. สืบค้นเมื่อ December 22, 2015.
  11. 1978: Carter wins Panama Canal battle bbc.co.uk เรียกดูเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (อังกฤษ)
  12. "ปานามากระชับสัมพันธ์ทุกมิติ พร้อมเป็นประตูให้ไทยสู่ลาตินอเมริกา". mgr. 22 ตุลาคม 2561.
  13. "ข้อมูลประเทศปานามา". กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้. ตุลาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2021-08-17.
  14. "ข้อมูลความสัมพันธ์ทวิภาคี : ไทย - ปานามา". กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้. พฤษภาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]