เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ถ้วยหยกและมีกาไหล่สำริดครอบในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 9)
ตะขอเข็มขัด ตอกและสลักด้วยการออกแบบตามหลักของสัตว์และนกในตำนาน

ราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 220) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในยุคโบราณ ปรากฏช่วงเวลาที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองและถดถอยที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ราชวงศ์ฮั่นเหนือ (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 9) ราชวงศ์ซิน (ปี ค.ศ. 9 – 23) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ปี ค.ศ. 25 – 220) ระบอบการปกครองของราชวงศ์ซินก่อตั้งโดยจักรพรรดิซินเกาจู่ (หวัง หมั่ง) เป็นระบอบการปกครองช่วงระหว่างภาวะสุญญากาศทางการเมืองคั่นกลางระหว่างการปกครองที่ยาวนานของราชวงศ์ฮั่น หลังจากที่การปกครองของจักรพรรดิซินเกาจู่ล่มสลายลง เมืองหลวงของราชวงศ์ฮั่นถูกย้ายไปทางทิศตะวันออกจากเมืองฉางอานไปยังเมืองลั่วหยาง ด้วยเหตุนี้นักประวัติศาสตร์จึงเรียกยุคก่อนและหลังว่าราชวงศ์ฮั่นตะวันตกและราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตามลำดับ[1]

เศรษฐกิจสมัยราชวงศ์ฮั่นถูกกำหนดโดยการเติบโตของประชากรอย่างแพร่หลาย การกลายเป็นเมืองเพิ่มขึ้น การเติบโตอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของอุตสาหกรรมและการค้า และการทดลองของรัฐบาลโดยแปลงสินทรัพย์ของเอกชนให้เป็นสินทรัพย์ของรัฐ ในยุคนี้ระดับของการทำเหรียญและการไหลเวียนของเหรียญเงินตราเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ รูปแบบของพื้นฐานทางระบบการเงินที่มั่นคง เส้นทางสายไหมช่วยอำนวยความสะดวกในการสถาปนาการค้าและแลกเปลี่ยนเครื่องบรรณาการกับต่างประเทศทั่วทวีปยูเรเชีย หลายสิ่งนี้ไม่เคยเป็นที่รับรู้ของชาวจีนยุคโบราณมาก่อน เมืองหลวงของราชวงศ์ทั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ฉางอาน) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ลั่วหยาง) ตั้งอยู่ท่ามกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้นทั้งด้านประชากรและด้านพื้นที่ โรงงานของรัฐบาลผลิตเครื่องตกแต่งสำหรับพระราชวังของจักรพรรดิและผลิตสินค้าสำหรับสามัญชน รัฐบาลควบคุมการก่อสร้างถนนและสะพานหลายแห่งซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจของรัฐบาลอย่างเป็นทางการและส่งเสริมการเจริญเติบโตทางการค้า ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮั่น นักอุตสาหกรรม ผู้ค้าส่งและพ่อค้า จากพ่อค้าปลีกรายย่อยไปจนถึงนักธุรกิจที่มั่งคั่งสามารถมีส่วนร่วมในความหลากหลายของอุตสาหกรรมและการค้าที่หลากหลายทั้งภายในประเทศ ในแวดวงสาธารณะ และแม้แต่ทหาร

ในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่น ชาวนาที่อาศัยอยู่พื้นที่ชนบทพึ่งพาตัวเองเป็นส่วนใหญ่ แต่พวกเขาเริ่มพึ่งพาการแลกเปลี่ยนทางการค้าอย่างหนักกับเจ้าของที่ดินการเกษตรขนาดใหญ่ที่มั่งคั่ง ชาวนาชาวไร่จำนวนมากมีหนี้สินลดลงและถูกบังคับให้กลายเป็นแรงงานจ้างหรือไม่ก็เป็นผู้อยู่อาศัยที่ต้องจ่ายค่าเช่าให้กับชนชั้นเจ้าของที่ดิน รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นพยายามให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับชาวนาที่ยากจนอย่างต่อเนื่อง พวกชาวนาต้องแข่งขันกับขุนนาง เจ้าของที่ดินและผู้ประกอบการค้าที่ทรงอำนาจและอิทธิพล รัฐบาลพยายามจำกัดอำนาจของกลุ่มคนที่มั่งคั่งเหล่านี้โดยการเก็บภาษีและออกกฎระเบียบทางราชการอย่างหนัก ถึงแม้ว่ารัฐบาลของจักรพรรดิฮั่นอู่ (ปี 141 – 87 ก่อนคริสตกาล) ได้แปรรูปอุตสาหกรรมเหล็กและเกลือให้กลายเป็นกิจการของรัฐ อย่างไรก็ตาม การผูกขาดของรัฐบาลเหล่านี้ถูกยกเลิกในระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก การแทรกแซงของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นในด้านเศรษฐกิจภาคเอกชนระหว่างปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ส่งผลให้ชนชั้นพ่อค้าเชิงพาณิชย์อ่อนแอลงอย่างหนัก การแทรกแซงของรัฐบาลช่วยให้เจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งเพิ่มอำนาจพวกเขาและรับประกันความต่อเนื่องของเศรษฐกิจที่ครอบงำการเกษตร เจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งครอบงำกิจกรรมด้านการค้าได้เป็นอย่างดี ปรับปรุงอำนาจการปกครองให้อยู่เหนือชาวนาที่อยู่ในชนบททั้งหมด ผู้ซึ่งรัฐบาลไว้วางใจเพราะรายได้จากการจัดเก็บภาษี กำลังทางทหารและแรงงานสาธารณะ โดยในปีคริสต์ทศวรรษที่ 180 วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นเหตุให้รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นกระจายอำนาจมากขึ้น ขณะที่เจ้าของที่ดินรายใหญ่มีอิสระและมีอำนาจในชุมชนของพวกเขามากขึ้น

ระบบการเงินและการกลายเป็นเมือง[แก้]

การกลายเป็นเมืองและประชากร[แก้]

รูปจำลองทางสถาปัตยกรรมดินเผาทาสี พบในสุสานของราชวงศ์ฮั่น ปรากฏหอคอยที่อยู่อาศัยพร้อมด้วยระเบียง หลังคากระเบื้อง เสาและคานแบบโบราณ และสะพานเชื่อมต่อจากชั้น 3 ไปยังหอคอยอื่น

ในระหว่างยุคสงครามระหว่างรัฐ (ปี 403 - 201 ก่อนคริสตกาล) การพัฒนาของพาณิชย์เอกชน เส้นทางการค้าแห่งใหม่ อุตสาหกรรมหัตถกรรมและเศรษฐกิจการเงินนำไปสู่การเติบโตของศูนย์กลางเมืองแห่งใหม่ ศูนย์กลางด้านต่าง ๆ เหล่านี้แตกต่างจากเมืองเก่าต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นเพียงเมืองที่ใช้เป็นฐานอำนาจของขุนนางเท่านั้น[2] สกุลเงินที่ใช้กันทั่วประเทศและได้มาตรฐานในระหว่างยุคราชวงศ์ฉิน (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) ช่วยอำนวยความสะดวกให้เส้นทางการค้าที่มีระยะทางอันยาวไกลเชื่อมโยงระหว่างเมืองต่าง ๆ[3] เมืองในยุคราชวงศ์ฮั่นหลายเมืองขยายใหญ่ขึ้น เมืองหลวงฉางอานของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 250,000 คน ในขณะที่เมืองหลวงลั่วหยางของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 500,000 คน[4] จากบันทึกการสำรวจสำมะโนประชากรผู้เสียภาษีในปี ค.ศ. 2 ประชากรของจักรวรรดิฮั่นมีจำนวน 57.6 ล้านคนใน 12,366,470 ครัวเรือน[5] สามัญชนส่วนใหญ่ผู้ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองอาศัยอยู่ในส่วนที่มีขยายของเมืองและชานเมืองที่ขยายออกไปนอกกำแพงเมืองและเรือนเฝ้าประตู[6] พื้นที่ในเมืองฉางอานทั้งหมดของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก รวมถึงส่วนขยายออกนอกกำแพงเมืองอยู่ที่ 36 ตารางกิโลเมตร (14 ตารางไมล์) พื้นที่ในเมืองลั่วหยางทั้งหมดของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก รวมถึงส่วนขยายออกนอกกำแพงเมืองอยู่ที่ 24.5 ตารางกิโลเมตร (9.5 ตารางไมล์)[7] ทั้งเมืองฉางอานและเมืองลั่วหยางมีตลาดที่โดดเด่นอยู่ 2 แห่ง ตลาดแต่ละแห่งมีสำนักงานของรัฐบาลสูงสองชั้น แบ่งเขตโดยปักธงและตั้งกลองไว้ข้างบนสุด[8] เจ้าหน้าที่ของตลาดมีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เก็บภาษีการค้า ตั้งราคาสินค้าให้เป็นมาตรฐานทุกเดือนและบังคับใช้สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างพ่อค้าและลูกค้า[8]

การเปลี่ยนแปลงในเงินตรา[แก้]

ในระหว่างช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โรงผลิตเหรียญของรัฐบาลแบบปิดของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 – 195 ก่อนคริสตกาล) สนับสนุนสกุลเงินเหรียญที่ผลิตโดยภาคเอกชน[9] จักรพรรดินีฮั่นเกา พระพันปีหลวง ทรงยกเลิกการผลิตเหรียญจากภาคเอกชนในปี 186 ก่อนคริสตกาล พระองค์ออกใช้เหรียญสำริดของรัฐบาลมีน้ำหนัก 5.7 กรัม (0.20 ออนซ์) เป็นอันดับแรก แต่ออกใช้เหรียญชนิดอื่นมีน้ำหนัก 1.5 กรัม (0.053 ออนซ์) ในปี 182 ก่อนคริสตกาล[9] การเปลี่ยนไปใช้เหรียญที่มีน้ำหนักเบากว่าทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างแพร่หลาย ดังนั้น ในปี 175 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิฮั่นเหวิน (ปี 180 – 157 ก่อนคริสตกาล) ทรงยกเลิกการห้ามภาคเอกชนผลิตเหรียญ ภาคเอกชนถูกร้องขอให้กลับมาผลิตเหรียญซึ่งมีน้ำหนักแม่นยำที่ 2.6 กรัม (0.092 ออนซ์)[9] การผลิตเหรียญถูกยกเลิกอีกครั้งในปี 144 ก่อนคริสตกาล ระหว่างสิ้นสุดรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นจิง (ครองราชย์ปี 157 – 141 ก่อนคริสตกาล) ถึงแม้ว่าสิ่งนี้ เหรียญสำริดที่มีน้ำหนัก 2.6 กรัม (0.092 ออนซ์) ออกใช้โดยทั้งรัฐบาลปกครองส่วนกลางและรัฐบาลปกครองส่วนท้องถิ่นจนกระทั่งปี 120 ก่อนคริสตกาล เมื่อเป็นเวลา 1 ปีจึงถูกแทนที่ด้วยเหรียญที่มีน้ำหนัก 1.9 กรัม (0.067 ออนซ์)[10] เงินรูปแบบอื่นถูกแนะนำตลอดเวลานี้ บันทึกเงินที่มีค่าไม่เต็มตัว (Token money) ทำจากหนังกลับสีขาวปักกับมูลค่าที่ตราไว้จำนวน 400,000 เหรียญถูกใช้เพื่อเก็บรายได้รัฐบาล[10] จักรพรรดิฮั่นอู่ได้แนะนำเหรียญโลหะผสมดีบุกเงิน 3 ชนิด มูลค่า 3,000 500 และ 300 เหรียญสำริดตามลำดับเช่นเดียวกัน เหรียญทั้งหมดเหล่านี้มีน้ำหนักน้อยกว่า 120 กรัม (4.2 ออนซ์)[10]

เหรียญ "อู่จู" (五銖) ถูกออกใช้ในระหว่างรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ (ครองราชย์ปี 141 – 87 ก่อนคริสตกาล) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25.5 มิลลิเมตร (1 นิ้ว)

ในปี 119 ก่อนคริสตกาล รัฐบาลออกใช้เหรียญสำริด อู่จู (五銖) มีน้ำหนัก 3.2 กรัม (0.11 ออนซ์) เหรียญนี้ยังคงเป็นสกุลเงินมาตรฐานในประเทศจีนจนกระทั่งเข้าสู่ยุคราชวงศ์ถัง (ปี ค.ศ. 618 – ค.ศ. 917)[11] ระหว่างยุคราชวงศ์ซินซึ่งเป็นราชวงศ์ช่วงเวลาอันสั้นของหวัง หมั่ง (ปี 45 – 23 ก่อนคริสตกาล) รัฐบาลแนะนำหน่วยเงินตราสกุลใหม่ ๆ ในปี ค.ศ. 7, 9, 10, และ 14 หน่วยเงินตราสกุลใหม่เหล่านี้ (รวมถึงสกุลเงินเหรียญสำริดรูปทรงมีด ทองคำ เงิน เต่า และเปลือกหอยเบี้ย) มีราคาตลาดไม่เท่ากับน้ำหนักของเหรียญและปลอมปนมูลค่าของเงินสดเหรียญ[12] ครั้งหนึ่งเมื่อสงครามกลางเมืองซึ่งเป็นผลมาจากการล้มล้างหวัง หมั่งทุเลาลง เหรียญ "อู่จู" ถูกฟื้นฟูโดยจักรพรรดิฮั่นกวังอู่ (ครองราชย์ปี ค.ศ. 25 – 57) ในปี ค.ศ. 40 จากการยุยงของหม่า หยวน (ปี 14 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 49)[12] ตั้งแต่รัฐบาลได้ออกใช้เหรียญในเขตปกครองที่มีคุณภาพด้อยกว่าและน้ำหนักเบากว่าเสมอ รัฐบาลกลางปิดการทำเหรียญในเขตปกครองทั้งหมดในปี 113 ก่อนคริสตกาลและยินยอมให้รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นผลิตเหรียญได้[13] ถึงแม้ว่าในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก การออกใช้เหรียญของรัฐบาลกลางได้ถูกถ่ายโอนไปยังสำนักงานกระทรวงการคลัง (เป็น 1 ใน 9 กระทรวงของรัฐบาลกลาง) แต่รัฐบาลกลางยังผูกขาดการออกใช้เหรียญอยู่[14]

แกร์รี่ ลี ท็อดด์ (จบปริญญาเอกสาขาประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ และเป็นศาสตราจารย์สาขาวิชาประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนานาชาติไซแอส ในเมืองซินเจิ้ง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน) จัดหาภาพถ่ายของเหรียญที่ออกในช่วงยุคราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์ซินบนเว็ปไซต์ของเขา[15]

การไหลเวียนและเงินเดือน[แก้]

แม่พิมพ์สำริดจากยุคราชวงศ์ฮั่น ใช้สำหรับทำเหรียญวูซู (五銖) ส่วนที่สร้างกับแม่พิมพ์นี้มีรูสี่เหลี่ยมตรงกลางที่สามารถร้อยเชือกผ่านและลำเลียงได้ในครั้งเดียว

พ่อค้าและเกษตรกรชนบทจ่ายภาษีโรงเรือนและภาษีรายหัวเป็นเงินสดเหรียญและภาษีที่ดินเป็นสัดส่วนของผลผลิตพืชผล[16] ชาวนาได้รับเงินตราด้วยการทำงานเป็นแรงงานรับจ้างให้กับเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง ในธุรกิจที่เหมือนกับโรงต้มเบียร์หรือโดยการขายสินค้าการเกษตรและเครื่องใช้ซึ่งทำเองที่บ้านที่ตลาดในเมือง[17] รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นอาจจะพบว่าการเก็บภาษีจากเหรียญเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเนื่องจากการขนส่งสินค้าที่เก็บภาษีนั้นจะไม่จำเป็นอีก[18]

จากปี 118 ก่อนคริสตกาลถึงปี ค.ศ. 5 รัฐบาลผลิตเหรียญทั้งหมด 28,000,000,000 เหรียญ โดยผลิตเฉลี่ยปีละ 220,000,000 เหรียญ (หรือ 220,000 เชือกของ 1,000 เหรียญ)[19] ในการเปรียบเทียบยุคเทียนเป่า (天寶) (ปี ค.ศ. 742 – 755) ของราชวงศ์ถัง ผลิต 327,000,000 เหรียญทุกปีในขณะที่ผลิต 3,000,000,000 เหรียญในปี ค.ศ. 1045 และผลิต 5,860,000,000 เหรียญในปี ค.ศ. 1080 ถูกผลิตในยุคราชวงศ์ซ่ง (ปี ค.ศ. 960 – 1279)[19] เงินสดเหรียญกลายเป็นมาตรวัดความมั่งคั่งร่วมกันระหว่างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ขณะที่ค่าจ้างจำนวนมากถูกจ่ายเป็นเงินสดอย่างเดียว[20] หลุนที่ห้า (第五倫) (ค.ศ. 40 – 85) ผู้ว่าราชการจังหวัดฉู่ (ปัจจุบันคือมณฑลเสฉวน) อธิบายว่า ความมั่งคั่งอย่างเป็นทางการของผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาไม่ได้อยู่ในรูปแบบของการถือครองที่ดิน แต่อยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์โดยรวม มูลค่าเป็นเงินสดประมาณ 10,000,000 เหรียญ[21] การทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์เกี่ยวข้องกับหนึ่งแสนเหรียญถือเป็นเรื่องธรรมดา[21]

แอนกัส แมดดิสัน ประมาณค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจีนเท่ากับ 450 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัวในปี ค.ศ. 1990 ผลรวมอยู่เหนือกว่าระดับพอยังชีพ (Subsistence level) ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจนกระทั่งเข้าสู่สมัยต้นราชวงศ์ซ่งในปลายศตวรรษที่ 10[22] โจเซฟ นีดแฮม นักวิชาการสาขาวิชาจีนวิทยา โต้แย้งเรื่องนี้และกล่าวอ้างว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจีนมีมากกว่ายุโรป โดยอัตรากำไรขั้นต้นที่สำคัญจากคริสต์ศักราชที่ 5 ต่อมาถือได้ว่าประเทศจีนในยุคราชวงศ์ฮั่นมีความมั่งคั่งมากกว่าจักรวรรดิร่วมสมัยอย่างจักรวรรดิโรมัน[23] การไหลเวียนของเงินสดเหรียญอย่างแพร่หลายทำให้พ่อค้าจำนวนมากร่ำรวย ผู้ซึ่งใช้เงินของพวกเขาลงทุนในที่ดินและกลายเป็นเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง ความพยายามหมุนเวียนเงินสดของรัฐบาลได้เพิ่มอำนาจให้กับชนชั้นสังคมซึ่งรัฐบาลพยายามปราบปรามอย่างกระตือรือร้นโดยผ่านการออกภาษี ค่าปรับ ยึดทรัพย์ และรูปแบบการควบคุมราคาที่หนักหน่วง[18]

การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและระดับชนชั้นทางสังคม[แก้]

เจ้าของที่ดินและชาวนา[แก้]

รูปปั้นดินเผาคนรับใช้หญิงและที่ปรึกษาชายสวมใส่เสื้อคลุมไหมจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

หลังจากฉาง ยาง (เสียชีวิตปี 338 ก่อนคริสตกาล) แห่งรัฐฉินยกเลิกระบบบ่อนา (Well-field system) ของชุมชนและชนชั้นสูงในความพยายามที่จะเหนี่ยวรั้งอำนาจของขุนนางไว้ ที่ดินในประเทศจีนสามารถถูกซื้อและขายได้[24] นักวิชาการสาขาวิชาประวัติศาสตร์แห่งราชวงศ์ฮั่น เช่น ต่ง จ้งซู (ปี 179 – 104 ก่อนคริสตกาล) เชื่อในเรื่องการลุกขึ้นของชนชั้นเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งในการปฏิรูปนี้[24] "หนังสือของหาน เฟยจื่อ" อธิบายถึงการใช้แรงงานจ้างของเจ้าของที่ดินเหล่านี้ในภาคการเกษตร การปฏิบัตินี้ย้อนหลังกลับไปถึงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล อาจเป็นไปได้ก่อนหน้านี้[24] เจ้าของที่ดินบางรายมีทาสจำนวนน้อยไว้ใช้งาน แต่มีจำนวนมากที่ให้เกษตรกรชาวนาเช่าที่ทำกินโดยให้จ่ายค่าเช่าและปันผลผลิตทางการเกษตรให้กับเจ้าของที่ดิน[3][25] เกษตรกรเจ้าของที่ดินซึ่งมีจำนวนมากกว่าเกษตรกรผู้เช่าที่ดินอยู่อาศัยและทำการเกษตรด้วยตนเอง แต่มักมีหนี้สินและขายที่ดินของพวกเขาเพื่อความร่ำรวย[3] เจ้าหน้าที่ราชสำนักฉาว ชั่ว (晁錯) (เสียชีวิตปี 154 ก่อนคริสตกาล) ให้ความเห็นว่าหากครอบครัวสามัญชนมีสมาชิก 5 คน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโดยอิสระไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้ถึง 4.57 เฮกตาร์ (11.3 เอเคอร์) และไม่สามารถผลิตข้าวได้มากกว่า 2,000 ลิตร (530 แกลลอน) ทุกปี เมื่อใดที่เกิดภัยธรรมชาติประกอบกับอัตราภาษีที่สูงจะทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นหนี้จำนวนมาก ต้องขายที่ดิน บ้าน หรือแม้แต่เด็ก และต้องกลายเป็นผู้เช่าที่ดินผู้อื่นทำกินเพื่อความร่ำรวย[26]

เจ้าหน้าที่ในราชสำนักของจักรพรรดิฮั่นไอ (ครองราชย์ปี 7 – 1 ก่อนคริสตกาล) พยายามดำเนินการจำกัดการปฏิรูปจำนวนของขุนนางที่ดินและเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งสามารถเป็นเจ้าของได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ดำเนินการไม่สำเร็จ[27] เมื่อหวัง หมั่ง เข้าควบคุมรัฐบาลในปี ค.ศ. 9 พระองค์ทรงยกเลิกการซื้อและขายที่ดินในระบบที่เรียกว่าแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ (王田 "หวังเถียน") นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบบ่อนา โดยที่รัฐบาลเป็นเจ้าของที่ดินและรับประกันชาวนาทุกคนว่าได้ส่วนแบ่งพื้นที่เพาะปลูกเท่าเทียมกัน[28] ภายใน 3 ปีเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของที่ดินและขุนนางบังคับให้หวัง หมั่งยกเลิกปฏิรูป[28] หลังจากจักรพรรดิฮั่นเกิงฉื่อ (ครองราชย์ปี ค.ศ. 23 – 25) และจักรพรรดิฮั่นกวังอู่ (ครองราชย์ปี ค.ศ. 25 – 57) ฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น ทั้งสองพระองค์พึ่งพาบริการของครอบครัวผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่เพื่อรักษาสถานะของพระองค์ในสังคม เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจำนวนมากกลายเป็นเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งด้วย[29]

รูปจำลองบ่อน้ำที่มีหลังคากับถังน้ำดินเผายุคราชวงศ์ฮั่น

โดยปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ชาวนาส่วนใหญ่กลายเป็นผู้ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองและไปรับใช้บรรดาเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง ทำให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ[30] ถึงแม้ว่ารัฐบาลกลางภายใต้จักรพรรดิฮั่นเหอ (ครองราชย์ปี ค.ศ. 88 – 105) ลดภาษีในช่วงเวลาของภัยพิบัติทางธรรมชาติและความทุกข์โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อการคลังมาก ผู้ปกครองคนต่อมากลับมีความสามารถในการรับมือกับวิกฤติน้อยลง ในไม่ช้ารัฐบาลจึงต้องพึ่งพาฝ่ายปกครองท้องถิ่นเพื่อดำเนินการบรรเทาทุกข์[31] หลังจากรัฐบาลกลางล้มเหลวที่ให้รัฐบาลท้องถิ่นจัดเตรียมเสบียงอาหารในระหว่างที่มีฝูงตั๊กแตนและน้ำท่วมบริเวณแม่น้ำเหลืองในปี ค.ศ. 153 ชาวนาผู้ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองจำนวนมากกลายเป็นบริวารของเจ้าของที่ดินรายใหญ่ในการแลกเปลี่ยนเพื่อความช่วยเหลือ[32] แพทริเซีย อีเบรย์ เขียนไว้ว่า ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกเป็น “ยุคเปลี่ยนผ่าน” ระหว่างราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เมื่อเกษตรกรอิสระรายย่อยเป็นประชากรส่วนใหญ่ กับยุคสามก๊ก (ปี ค.ศ. 220 – 265) และต่อมาเป็นยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น (ปี ค.ศ. 304 – 439) เมื่อตระกูลใหญ่ใช้แรงงานที่ถูกควบคุม[33]

เมื่อกบฏโพกผ้าเหลืองปี ค.ศ. 184, สิบขันทีในปี ค.ศ. 189 และศึกปราบตั๋งโต๊ะในปี ค.ศ. 190 ทำลายเสถียรภาพรัฐบาลกลาง และเมืองลั่วหยางถูกเผา[34] ตรงจุดนี้ “... อำนาจของภาคเอกชนและส่วนท้องถิ่นเข้ามาเพื่อแทนที่อำนาจรัฐ”[33]

รูปปั้นเป็ดดินเผาสีเขียวเคลือบที่อุณหภูมิการเผาต่ำจากช่วงเวลาของยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
รูปปั้นวัวลากเกวียน ม้า และคนยุคราชวงศ์ฮั่นดินเผา พบในสุสานที่เมืองลั่วหยาง

อัครมหาเสนาบดีแห่งราชวงศ์ฮั่นและพระมหากษัตริย์แห่งวุยก๊ก ทรงพระนามว่าโจโฉ (ปี ค.ศ. 155 – 220) ทรงสร้างความพยายามที่สำคัญครั้งสุดท้ายเพื่อกำจัดอำนาจของเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง พระเจ้าโจโฉทรงสถาปนาอาณานิคมทางการเกษตรซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดการสำหรับสามัญชนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ในการแลกเปลี่ยนเพื่อที่ดินและอุปกรณ์ราคาถูก เกษตรกรจ่ายผลผลิตพืชผลเป็นสัดส่วน[35] ในปีคริสต์ทศวรรษที่ 120 จักรพรรดิฮั่นอู่ทรงพยายามสถาปนาอาณานิคมทางการเกษตรทางชายแดนภาคตะวันตกเฉียงเหนือของแนวระเบียงเหอซี (ปัจจุบันคือมณฑลกานซู) ที่พระองค์เพิ่งพิชิตมาได้ ผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ทำไร่ไถนาจำนวน 600,000 คน บนดินแดนของรัฐเหล่านี้ใช้เมล็ดพันธุ์พืช สัตว์ช่วยงาน และอุปกรณ์ที่รัฐบาลเป็นผู้ให้กู้ยืม[36] พระบรมราชโองการปี ค.ศ. 85 สั่งการให้รัฐบาลปกครองส่วนท้องถิ่นและราชอาณาจักรที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาจัดระบบชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองให้ไปยังที่ดินของรัฐ โดยที่พวกเขาจะต้องถูกจ่ายค่าจ้าง จัดหาเมล็ดพันธุ์พืช ให้กู้ยืมเครื่องมือการเกษตร และยกเว้นการจ่ายค่าเช่าเป็นเวลา 5 ปี และจ่ายภาษีรายหัวเป็นเวลา 3 ปี[37] พระบรมราชโองการนี้ยังได้อนุญาตให้ชาวนากลับไปยังบ้านเกิดของพวกเขาเมื่อใดก็ได้[37] รัฐบาลหลังจากยุคสามก๊กจัดตั้งอาณานิคมทางการเกษตรตามแบบจำลองนี้[38]

การปฏิรูปภาษี[แก้]

เนื่องจากว่าครอบครัวเจ้าของที่ดินรายย่อยเป็นกลุ่มฐานภาษีหลักของราชวงศ์ฮั่น รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นพยายามช่วยเหลือและปกป้องเจ้าของที่ดินรายย่อยและจำกัดอำนาจของเจ้าที่ดินและพ่อค้าผู้มั่งคั่ง[39] รัฐบาลลดภาษีในเวลาที่เก็บเกี่ยวไม่ดีและให้การสงเคราะห์หลังจากเหตุภัยพิบัติ[40] การเลี่ยงภาษีและสินเชื่อเมล็ดพันธุ์พืชสนับสนุนให้ชาวนาพลัดถิ่นกลับคืนสู่ที่ดินของพวกเขา[40] พระบรมราชโองการปี ค.ศ. 94 อภัยโทษให้ชาวนาพลัดถิ่นจากการจ่ายภาษีที่ดินและภาษีบริการแรงงานเป็นเวลา 1 ปีเมื่อกลับคืนไปยังไร่นาของพวกเขา[41] ภาษีที่ดินต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรถูกลดลงในปี 168 ก่อนคริสตกาล จากอัตราส่วน 1/15 ของผลผลิตพืชผล เหลืออัตราส่วน 1/30 และยกเลิกในปี ค.ศ. 167 ก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม ภาษีถูกนำกลับมาใช้อีกในปี 156 ก่อนคริสตกาลที่อัตราส่วน 1/30[42] เมื่อเริ่มต้นเข้าสู่ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อัตราภาษีที่ดินเป็น 1/10 ของผลผลิตพืชผล แต่ภายหลังจากการรักษาเสถียรภาพภายหลังจากการสวรรคตของหวัง หมั่ง อัตราส่วนถูกลดไปยังอัตราส่วนเริ่มต้นที่ 1/30 ในปี ค.ศ. 30[43]

เนื่องจากสิ้นสุดยุคราชวงศ์ฮั่น อัตราภาษีที่ดินถูกลดลงไปที่ 1/100 กับรายได้ที่สูญเสียไปถูกชดเชยโดยการเพิ่มอัตราภาษีรายหัวและภาษีโรงเรือน[44] ภาษีรายหัวสำหรับผู้ใหญ่อยู่ที่ 120 เหรียญเป็นประจำทุกปี 240 เหรียญสำหรับพ่อค้า และ 20 เหรียญสำหรับผู้เยาว์ที่มีอายุระหว่าง 3 ปี และ 14 ปี เกณฑ์อายุที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าสำหรับผู้เยาว์เพิ่มขึ้นเป็น 7 ปีระหว่างรัชสมัยจักรพรรดิฮั่น-ยฺเหวียน (ปี 48 – 33 ก่อนคริสตกาล)[45] และต่อมาชาร์ลส์ ฮัคเกอร์ นักประวัติศาสตร์ เขียนว่า ภายใต้การรายงานของจำนวนประชากรโดยเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นเป็นไปอย่างสุขุมรอบคอบและกว้างขวาง ตั้งแต่ลดภาระผูกพันด้านภาษีและบริการแรงงานของพวกเขาแสดงผลต่อรัฐบาลกลาง[46]

รูปปั้นดินเผาทหารม้ายุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล

ถึงแม้ว่ามีความต้องการเพิ่มรายได้เพื่อนำเงินไปทำสงครามฮั่น-ซฺยงหนู รัฐบาลในระหว่างรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ (ปี 141 – 87 ก่อนคริสตกาล) ขอหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีที่หนักหน่วงของเจ้าของที่ดินรายย่อย เพื่อที่จะเพิ่มรายได้ รัฐบาลจึงกำหนดภาษีต่อพ่อค้าหนักขึ้น ยึดที่ดินจากขุนนาง ขายตำแหน่งและยศฐาบรรดาศักดิ์ และจัดตั้งการผูกขาดของรัฐบาลตลอดจนการผลิตเหรียญ การผลิตเหล็ก และการทำเหมืองเกลือ[39] ภาษีใหม่ถูกกำหนดต่อเจ้าของเรือ รถม้า รถเข็นล้อเดียว ร้านค้า และทรัพย์สินอื่น ๆ ภาษีโรงเรือนรวมทั้งหมดสำหรับพ่อค้าถูกขึ้นในปี 119 ก่อนคริสตกาลจาก 120 เหรียญสำหรับทุก 10,000 มูลค่าเหรียญของทรัพย์สินที่เป็นเจ้าของ เป็น 120 เหรียญสำหรับทุก 2,000 มูลค่าเหรียญของทรัพย์สินที่เป็นเจ้าของ[47] อัตราภาษีสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์เกือบทั้งหมดไม่เป็นที่รู้จัก ยกเว้นสำหรับของเหล้า หลังจากการผูกขาดของรัฐบาลเกี่ยวกับเหล้าถูกยกเลิกในปี 81 ก่อนคริสตกาล ภาษีโรงเรือนของ 2 เหรียญสำหรับทุก 0.2 ลิตร (0.05 แกลลอน) ถูกเรียกเก็บจากพ่อค้าเหล้า[16]

การขายบางตำแหน่งและยศฐาบรรดาศักดิ์ถูกรื้อฟื้นขึ้นในราชวงศ์ฮั่นตะวันออกโดยจักรพรรดินีเด็งสุย ทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จากปี ค.ศ. 105 – 121 เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลในเวลาที่เกิดภัยพิบัติธรรมชาติอย่างรุนแรงและการก่อกบฏอย่างแพร่หลายของชาวเชียงในภูมิภาคจีนตะวันตก[48] การขายตำแหน่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากภายใต้รัฐบาลที่ถูกครอบงำโดยขันทีในจักรพรรดิฮั่นหลิง (ครองราชย์ปี ค.ศ. 168 - 189) เมื่อตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดจำนวนมากถูกขายให้กับผู้ที่ชนะการประมูลแทนที่จะเป็นการบรรจุแต่งตั้งโดยผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกด้วยวิธีการสอบขุนนางหรือเข้ามหาวิทยาลัยของจักรพรรดิ[49]

การเกณฑ์ทหาร[แก้]

รูปปั้นดินเผาทหารม้าและทหารราบ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

การเกณฑ์ทหารมีอยู่ 2 รูปแบบ เกิดขึ้นในระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่น มีการเกณฑ์พลเรือน (更卒 "เกิ้งจู๋") และการเกณฑ์ทหาร (正卒 "เจิ้งจู๋") นอกจากการจ่ายภาษีการเงินและภาษีพืชผลของพวกเขาแล้ว ชาวนาทุกคนในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่มีอายุระหว่าง 15 ปี และ 56 ปี จำเป็นต้องมีหน้าที่เกณฑ์ทหารเป็นเวลา 1 เดือนของแต่ละปี หน้าที่เหล่านี้ถูกเติมเต็มเสมอโดยทำงานเกี่ยวกับโครงการก่อสร้าง[50]

เมื่อชาวนาผู้ชายที่มีอายุครบ 23 ปีจะถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร โดยพวกเขาจะถูกเกณฑ์ให้ไปเป็นทหารราบ ทหารม้า หรือทหารเรือ หลังจาก 1 ปีของการฝึกทหาร พวกเขาถูกส่งไปประจำการเป็นกองทหารรักษาการณ์ชายแดนหรือเป็นยามรักษาเมืองหลวงเป็นเวลา 1 ปี[50] พวกเขายังคงรับผิดชอบต่อการปฏิบัติการปีนี้จนกระทั่งอายุครบ 56 ปี[50] เป็นอายุที่พวกเขาถูกปลดออกจากทหารกองหนุน ซึ่งพวกเขาสามารถเข้าร่วมครั้งหนึ่งที่พวกเขาได้สิ้นสุดปีแห่งการเป็นทหารเกณฑ์[51] ทหารมือสมัครเล่นที่ถูกเกณฑ์มาเหล่านี้ประกอบเป็นกองทัพตะวันตก (南軍 "หนานจวิน") ขณะที่กองทัพตะวันออก (北軍 "เป่ย์จวิน") เป็นกองทัพที่มีตำแหน่งประกอบไปด้วยทหารอาชีพที่ได้รับเงินเดือน[52]

ในระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ชาวนาสามารถหลีกเลี่ยงเดือนแห่งการเกณฑ์แรงงานประจำปีด้วยการจ่ายภาษีเป็นการแลกเปลี่ยน (更賦 "เกิ้งฟู่") การพัฒนานี้ไปด้วยกันได้กับการใช้แรงงานจ้างที่เพิ่มขึ้นโดยรัฐบาล[53] ในลักษณะเหมือนกัน เนื่องจากว่ารัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกโปรดปรานการเกณฑ์ทหารของอาสาสมัคร การเกณฑ์ทหารที่จำเป็นของชาวนาที่มีอายุครบ 23 ปีสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการจ่ายภาษีทดแทน[54]

พ่อค้า[แก้]

รูปปั้นสัตว์สำริดชุบทองจากราชวงศ์ฮั่น ประกอบด้วย ม้า ช้าง วัวและยูนิคอร์น

มีพ่อค้าชาวฮั่น 2 ประเภท ได้แก่ พ่อค้าขายสินค้าที่ร้านค้าในตลาดในเมือง และพ่อค้าที่เดินทางไปตามเมืองและประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า[55] ผู้ประกอบการในเมืองที่มีจำนวนน้อยกว่าถูกลงบันทึกว่าด้วยการลงทะเบียนอย่างเป็นทางการและต้องจ่ายภาษีการค้าอย่างหนัก[55] ถึงแม้ว่าพ่อค้าที่ลงทะเบียนเหล่านี้จะถูกเรียกเก็บภาษี แต่พระบรมราชโองการปี ค.ศ. 94 สั่งการให้ชาวนาที่ไม่มีที่ดินผู้ซึ่งต้องอาศัยเร่ขายได้รับการยกเว้นเก็บภาษี[41] ส่วนพ่อค้าที่เดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ มีความมั่งคั่งเสมอและไม่ต้องลงทะเบียน[55] พ่อค้าที่เดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ เหล่านี้มีส่วนร่วมในการค้าขนาดใหญ่เสมอกับครอบครัวและเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ[55] นิชิจิมะ เขียนว่า อัตชีวประวัติเกือบทั้งหมดของ “คนรวย” ในบันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ และหนังสือยุคราชวงศ์ฮั่น (Book of Han) เป็นบรรดาพ่อค้าที่เดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ[55]

ในทางตรงกันข้าม พ่อค้าในตลาดที่ลงทะเบียนมีสถานะทางสังคมต่ำมากและอาจมีข้อจำกัดเพิ่มเติมเสมอ[56] จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ทรงผ่านกฎหมายจัดเก็บภาษีที่สูงกว่า ห้ามพ่อค้าสวมใส่เสื้อไหมและห้ามทายาทรับราชการ กฎหมายเหล่านี้เป็นการยากที่จะบังคับใช้[56] จักรพรรดิฮั่นอู่ทรงมุ่งเป้าไปยังทั้งพ่อค้าผู้ที่ลงทะเบียนและไม่ได้ลงทะเบียนกับภาษีที่เก็บสูงกว่า ในขณะที่พ่อค้าที่ลงทะเบียนไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ดิน ถ้าหากพวกเขาฝ่าฝืนกฎหมายนี้ที่ดินและทาสของพวกเขาจะถูกยึด[56] อย่างไรก็ตาม พ่อค้าที่ไม่ได้ลงทะเบียนที่มั่งคั่งเป็นเจ้าของบริเวณที่ดินขนาดใหญ่[57] จักรพรรดิฮั่นอู่ทรงลดอิทธิพลทางเศรษฐกิจของพ่อค้ารายใหญ่อย่างน่าสังเกตด้วยการแข่งขันกับพวกพ่อค้ารายใหญ่อย่างเปิดเผยในตลาด โดยที่พระองค์ทรงจัดตั้งร้านค้าที่รัฐบาลเป็นผู้จัดการซึ่งขายสินค้าที่เก็บรวบรวมจากพ่อค้าเป็นภาษีโรงเรือน[39]

งานฝีมือ อุตสาหกรรม และการจ้างงานของรัฐบาล[แก้]

การผลิตภาคเอกชนและการผูกขาดของรัฐบาล[แก้]

รูปจำลองโรงโม่หินดินเผาขนาดเล็กจากสุสานราชวงศ์ฮั่น

เหล็กและเกลือ[แก้]

ในยุคเริ่มต้นของราชวงศ์ฮั่น อุตสาหกรรมเกลือและเหล็กของประเทศจีนเป็นของเอกชนโดยจำนวนของพ่อค้าผู้มั่งคั่งและผู้ใต้บังคับบัญชาของกษัตริย์ระดับภูมิภาค กำไรของอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นคู่แข่งเงินทุนของราชสำนัก[58] นักอุตสาหกรรมเหล็กหรือเกลือที่ประสบความสำเร็จอาจจะจ้างงานชาวนาเกิน 1,000 คน เป็นสาเหตุให้สูญเสียรายได้จากภาษีการเกษตรอย่างรุนแรงของรัฐบาลกลาง[59] เพื่อที่จะจำกัดอำนาจของนักอุตสาหกรรม จักรพรรดิฮั่นอู่จึงแปรรูปอุตสาหกรรมเกลือและเหล็กให้เป็นกิจการของรัฐบาลโดยปี 117 ก่อนคริสตกาล[60]

รัฐบาลยังได้ริเริ่มการผูกขาดสุราในปี 98 ก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม การผูกขาดนี้ถูกยกเลิกในปี 81 ก่อนคริสตกาลในความพยายามลดการแทรกแซงของรัฐบาลในเศรษฐกิจภาคเอกชน[61]

พรรคปฏิรูป (Reformist Party) สนับสนุนให้เอกชนเป็นเจ้าของ ต่อต้านพรรคสมัยใหม่ ซึ่งครองอำนาจทางการเมืองในรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นอู่และต่อมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ฮั่ว กวาง (เสียชีวิตปี 68 ก่อนคริสตกาล)[62] พรรคสมัยใหม่ (Modernist Party) โต้แย้งว่า การผูกขาดของรัฐสามารถจัดหาวัตถุดิบอันสมบูรณ์ สภาวะการทำงานที่ดี และเหล็กคุณภาพสูง พรรคปฏิรูปโต้แย้งว่าวัตถุที่ทำด้วยเหล็กที่รัฐเป็นเจ้าของผลิตขนาดใหญ่และการดำเนินการที่ไม่ได้ผลออกแบบเพื่อจัดการกับส่วนแบ่งค่อนข้างมากกว่าการใช้งานจริง มีคุณภาพด้อยกว่า และมีราคาแพงเกินไปสำหรับสามัญชนที่จะซื้อ[63] ในปี 44 ก่อนคริสตกาล พรรคปฏิรูปสามารถยกเลิกการผูกขาดทั้งเกลือและเหล็กได้ แต่การผูกขาดถูกนำกลับมาใช้อีกในปี 41 ก่อนคริสตกาล หลังจากการปิดอย่างกระทันหันซึ่งทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้อย่างมีนัยสำคัญและการหยุดชะงักของเศรษฐกิจภาคเอกชน[64]

หวัง หมั่งคงไว้ซึ่งการผูกขาดของรัฐบาลกลางเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก การผูกถูกขาดยกเลิกอีกครั้ง อุตสาหกรรมถูกกำหนดโดยรัฐบาลปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการภาคเอกชน[65] จักรพรรดิฮั่นจาง (ครองราชย์ปี ค.ศ. 75 – 88) ฟื้นฟูการผูกขาดของรัฐบาลอย่างรวบรัดเกี่ยวกับเกลือและเหล็กจากปี ค.ศ. 85 – 88 แต่ยกเลิกการผูกขาดในปีสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ หลังจากรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นจาง ราชวงศ์ฮั่นไม่เคยแปรรูปอุตสาหกรรมเกลือและเหล็กกลับคืนเป็นกิจการของรัฐอีก[66]

รูปจำลองเตาหลอมโลหะดินเผาเคลือบ ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

เมล็ดธัญพืช[แก้]

การค้าเมล็ดธัญพืชเป็นอุตสาหกรรมภาคเอกชนที่สามารถทำกำไรได้ในระหว่างช่วงต้นยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่กระนั้นรัฐบาลของจักรพรรดิฮั่นอู่แทรกแซงการค้าเมล็ดธัญพืชเมื่อรัฐบาลจัดตั้งระบบการตลาดแบบเท่าเทียมกัน (ทฤษฎีมูลภัณฑ์กันชน Buffer stock scheme) ในปี 110 ก่อนคริสตกาล[67] รัฐบาลซื้อเมล็ดธัญพืชเมื่อมีสภาพอุดมสมบูรณ์และราคาถูก ส่งเมล็ดธัญพืชไปยังยุ้งฉางเพื่อเก็บรักษาหรือไปยังพื้นที่ที่เมล็ดธัญพืชขาดแคลน[68] ระบบนี้ถูกหมายมั่นให้กำจัดการเก็งกำไรเมล็ดธัญพืช สร้างราคามาตรฐานและเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาล[68] ระบบนี้ถูกออกแบบโดยซาง หงหยาง ข้าราชการ (เสียชีวิตปี 80 ก่อนคริสตกาล) ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นพ่อค้า ซาง หงหยางถูกวิพากษ์วิจารณ์จากพ่อค้าในเรื่องการวางตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในตลาดแผงลอย[69] ระบบอุปทานนี้ถูกทำให้ล้มเลิกในราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ถึงแม้ว่าระบบนี้ถูกฟื้นฟูอย่างรวบรัดโดยจักรพรรดิฮั่นหมิง (ครองราชย์ปี ค.ศ. 57 – 75) จักรพรรดิฮั่นหมิงทรงยกเลิกระบบนี้ในปี ค.ศ. 68 ด้วย เมื่อพระองค์ทรงเชื่อว่าโกดังเก็บเมล็ดธัญพืชของรัฐบาลขึ้นราคาและทำให้เจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งร่ำรวยมากขึ้น[70]

อีเบลย์ถกเถียงว่า ถึงแม้ว่านโยบายการคลังของจักรพรรดิฮั่นอู่ทั้งหมดถูกยกเลิกในระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ความเสียหายของนโยบายต่อชนชั้นพ่อค้าและนโยบายเศรษฐกิจแบบปล่อยให้ทำไป (Laissez-faire) ของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกอนุญาตให้เจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งครอบงำสังคม สร้างความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของประเทศจีนจะยังคงเป็นฐานเกษตรกรรมอย่างแน่นหนาเป็นเวลาหลายศตวรรษ[39] รัฐบาลกลางของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกสูญเสียแหล่งรายได้ที่สำคัญจากการยกเลิกอุตสาหกรรมเหล็กและเกลือ และซื้อดาบและโล่ให้กองทัพจากผู้ผลิตภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ความสูญเสียรายได้นี้ถูกชดเชยโดยจัดเก็บภาษีกับพ่อค้าที่สูงขึ้นเสมอ[71]

โรงงานของรัฐบาล[แก้]

ด้านหลังของกระจกสำริดจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกที่ตกแต่งคล้ายหัวเสือในวงเปลือกหอย ปรากฏจารึกเวลาที่ผลิตบนกระจกปี ค.ศ. 174

โรงงานของรัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นผลิตสินค้าทั่วไป สินค้าฟุ่มเฟือย และแม้แต่สินค้าประดับตกแต่งที่ใช้กับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เช่น รูปแกะสลักเคลือบดินเผาและชื่อสุสานประดับด้วยกำแพงของสุสานใต้ดิน[72] โรงงานของราชสำนักดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริหารดูแล (Minister Steward) ผู้ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ควบคุมการคลังและการเงินส่วนพระองค์[73]

สำนักงานงานศิลปะและงานฝีมือ (The Office of Arts and Crafts) เป็นหน่วยงานในสังกัดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริหารดูแล มีหน้าที่ผลิตอาวุธ ภาชนะ กระจกสำริด เครื่องเรือ และสินค้าชนิดอื่น ๆ[73] สำนักงานช่างฝีมือ (The Office of Manufactures) เป็นหน่วยงานในสังกัดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริหารดูแลเช่นเดียวกัน ผลิตอาวุธ เครื่องใช้ในครัวและชุดเกราะ[73] สิ่งทอและเสื้อผ้าที่สวมใส่โดยจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ถูกผลิตในโรงทอผ้าแห่งตะวันตก (Weaving House of the West) และโรงทอผ้าแห่งตะวันออก (Weaving House of the East) ต่อมาถูกยกเลิกในปี 28 ก่อนคริสตกาล และโรงทอผ้าแห่งตะวันตกถูกเปลี่ยนชื่อเป็น โรงทอผ้า (Weaving House)[73]

โรงงานที่ตั้งอยู่ในผู้บังคับบัญชาทำด้วยผ้าไหมและผ้าปัก สินค้าฟุ่มเฟือยทำจากเงินและทองและอาวุธ โรงงานแห่งหนึ่งซึ่งตั้งในที่ที่ปัจจุบันคือมณฑลอันฮุยมีอู่ต่อเรือโดยที่เรือรบถูกสร้างขึ้น[74] ถึงแม้ว่ารัฐบาลใช้แรงงานทาสที่รัฐเป็นเจ้าของ แรงงานเกณฑ์และนักโทษในโรงงาน พวกเขายังได้ว่าจ้างช่างฝีมือทักษะสูงซึ่งได้รับค่าตอบแทนมาก[75]

งานไม้ที่ทาด้วยน้ำมันขัดเงาสมัยราชวงศ์ฮั่นถูกผลิตจากภาคเอกชนเช่นเดียวกับที่ผลิตในโรงงานของรัฐบาล[76] แรงงานจำนวนหลายร้อยคนสามารถถูกว่าจ้างให้ทำงานเกี่ยวกับสินค้าฟุ่มเฟือยชิ้นเดียว เช่น แก้วหรือผนังที่ทาด้วยน้ำมันขัดเงา[77] งานไม้ที่ทาด้วยน้ำมันขัดเงาบางชิ้นถูกเขียนสลักอย่างง่ายกับชื่อตระกูลของครอบครัวผู้ซึ่งเป็นเจ้าของ สินค้าชนิดอื่นถูกเขียนสลักกับชื่อของผู้ที่เป็นเจ้าของ ประเภทเฉพาะของเรือ ความจุของสินค้า วัน เดือน ปีที่แม่นยำของการผลิต (ตามบันทึกศักราชของจีนและปฏิทินจีน) ชื่อของหัวหน้าชั้นผู้ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการผลิตสินค้าและชื่อของคนงานผู้ที่ผลิตสินค้า[78] ยิ่งกว่านั้นอุปกรณ์ทำจากเหล็กบางชิ้นที่ทำขึ้นในช่วงของการผูกขาดก็ได้ประทับวันที่ที่พวกเขาผลิตและชื่อของโรงงาน[79] คาลิเปอร์สำริดจากราชวงศ์ซินใช้หน่วยวัดเป็นนาที มีคำจารึกกล่าวว่ามันถูก “ทำขึ้นเมื่อวันกุ๋ย โหย่ว เมื่อจันทร์ดับของเดือนแรกของปีแรกของระยะเวลาสือ เจียน กั้ว” คาลิเปอร์ระบุเวลาว่าผลิตเมื่อปี ค.ศ. 9[80] งานไม้ที่ทาด้วยน้ำมันขัดเงาสมัยราชวงศ์ฮั่นแสดงเครื่องหมายตราพระราชลัญจกรของจักรพรรดิถูกค้นพบในพื้นที่ห่างไกลจากภูมิภาคเมืองหลวงของราชวงศ์ฮั่นโดยนักโบราณคดีสมัยใหม่ ในสถานที่ เช่น ชิงเจิ้น (ในมณฑลกุ้ยโจว) กรุงเปียงยาง (ในประเทศเกาหลีเหนือ) และนอยอุลา (ในประเทศมองโกเลีย)[81]

โครงการก่อสร้างสาธารณะ[แก้]

สภาสถาปนิกได้รับมอบหมายจากรัฐบาลกลางให้กำกับควบคุมการก่อสร้างของราชสำนักและโครงการงานสาธารณะทั้งหมด รวมถึงการก่อสร้างพระราชวังและสุสาน[82]

รูปจำลองสุสานดินเผาสมัยราชวงศ์ฮั่น ประกอบด้วย ที่อยู่อาศัยอันหรูหรากับหอนาฬิกา เรือนเฝ้าประตู ห้องโถง ผนังภายนอก ชานบ้าน ระเบียง กระเบื้องมุงหลังคา และหน้าต่าง

ในระหว่างช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ชาวนาเกณฑ์ถูกจัดระเบียบเป็นคณะทำงานประกอบด้วยแรงงานทั้งหนึ่งแสนคน คนงานเกณฑ์ประมาณ 150,000 คน ทำงานเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 30 วันในแต่ละทุก 5 ปี ทำงานเกี่ยวกับกำแพงป้องกันเมืองฉางอานอันแน่นหนา สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 190 ก่อนคริสตกาล[83] แรงงานเกณฑ์ถูกว่าจ้างให้ก่อสร้างและบำรุงรักษาเทวสถานที่อุทิศให้เทพเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษของจักรพรรดิ[84] แรงงานเกณฑ์บำรุงรักษาระบบคลองที่ใช้เพื่อขนส่งการเกษตรและชลประทานด้วยเช่นกัน[85] บางโครงการของการปรับปรุงคลองส่งน้ำขนาดใหญ่ของราชวงศ์ฮั่นรวมถึงซ่อมแซมระบบชลประทานตูเจียงเอี้ยนและคลองเจิ้งกัวถูกสร้างโดยรัฐยุคก่อนราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฉิน (ปี 221 -206 ก่อนคริสตกาล) ตามลำดับ[85]

จารึกหินที่ 19 ที่อยู่รอดมาได้เป็นอนุสรณ์ของการก่อสร้างถนนและสะพานแห่งใหม่โดยรัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[86] การขุดค้นของนักโบราณคดีที่เมืองฉางอานแสดงให้เห็นว่าสะพานไม้ถูกสร้างเหนือคูเมืองป้องกันและนำไปสู่เรือนเล็กข้างประตูสำหรับคนเฝ้าอาศัย[87] ถนนจำเป็นต้องซ่อมแซมเป็นระยะเช่นกัน ในปี ค.ศ. 63 เส้นทางนำจากภูเขาชิเหลียนผ่านทางเมืองหานซ่ง (ปัจจุบันอยู่ทิศตะวันตกของมณฑลชานซี) และไปทางเมืองหลวงลั่วหยางได้รับการซ่อมแซมที่สำคัญ[86] สำหรับโครงการนี้ สะพานขาหยั่ง 623 แห่ง สะพานใหญ่ 5 แห่ง ถนนสายใหม่ 107 กิโลเมตร (66 ไมล์) และสิ่งก่อสร้าง 64 แห่ง รวมถึงโรงเตี๊ยม ที่ทำการไปรษณีย์ และสถานีถ่ายทอดถูกสร้างขึ้น[86] ผู้ที่รับหน้าที่กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารยังได้สร้างสะพานด้วย ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการรณรงค์ต่อต้านพวกซฺยงหนูในทะเลทรายออร์ดอสในปี 127 ก่อนคริสตกาล นายพลเว่ย ชิง (เสียชีวิตปี 106 ก่อนคริสตกาล) สร้างสะพานแห่งใหม่ข้ามแม่น้ำหวูเจี้ย (อดีตแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเหลือง) ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เขาใช้สะพานแห่งนี้เคลื่อนย้ายกองทัพและพัสดุสำหรับการถล่มพวกซฺยงหนู ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภออู่หยวน (五原县)[88] อีเบรย์ เขียนว่า[89]

มีหลายเหตุผลที่แน่นอนเพื่อการบำรุงรักษาถนน ระบบการเมืองแบบรวมศูนย์จะคงอยู่ได้ตราบเท่าที่รัฐบาลมีความสามารถจัดการหรือส่งเจ้าหน้าที่ กองทัพ หรือสารไปยังที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็วตามที่ต้องการ ระบบของการขนส่งดังกล่าว ก่อตั้งขึ้นเมื่อ อำนวยความสะดวกทางการค้า ที่ระดับท้องถิ่นโครงการก่อสร้างถนนและสะพานดูเหมือนว่าได้ก่อให้เกิดประโยชน์ของบรรดาพ่อค้าเดินทางเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่[89]

การค้าภายในประเทศ[แก้]

การซื้อขายสินค้าและโภคภัณฑ์[แก้]

ชุดของถ้วยและจานแบบมีหูจับเคลือบด้วยน้ำมันแลคเคอร์สีแดงและสีดำจากสุสานหมายเลข 1 ที่สุสานหม่าหวางตุย ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

นักประวัติศาสตร์ยุคราชวงศ์ฮั่น เช่น ซือหม่า เชียน (ปี 145 – 86 ก่อนคริสตกาล) และปัน กู้ (ค.ศ. 32 – 92) เช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์รุ่นต่อมา ฟ่าน เย่ (ค.ศ. 398 – 445) บันทึกรายละเอียดการทำธุรกรรมทางธุรกิจและการซื้อขายผลิตภัณฑ์โดยพ่อค้ายุคราชวงศ์ฮั่น หลักฐานของผลิตภัณฑ์นี้ยังได้ปรากฏออกมาจากการวิจัยทางโบราณคดี

อาหารหลักประเภทพืชในช่วงราชวงศ์ฮั่น เช่น ข้าวฟ่างหางหมา ข้าวฟ่างหางกระรอก ข้าว (รวมถึงข้าวเหนียว) ข้าวสาลี ถั่วและข้าวบาร์เลย์[90] รายการอาหารชนิดอื่น รวมถึงข้าวฟ่าง เผือก ชบา มัสตาร์ด พุทรา ลูกแพร์ พลัม (รวมถึงสปีชีส์ Prunussalicina และสปีชีส์ Prunusmume) พีช แอปริคอทและยัมเบอร์รี่[91] ส่วนเนื้อที่รับประทานกันเป็นปกติ ได้แก่ ไก่ เป็ด ห่าน เนื้อวัว เนื้อหมู กระต่าย กวางซีกา นกเขาใหญ่ นกฮูก นกกระทา ไม้ไผ่จีน นกกางเขน ไก่ฟ้าคอแหวน นกกระเรียน และปลาหลายชนิด[92]

การผลิตไหมโดยวิธีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสร้างกำไรให้ทั้งเกษตรกรขนาดขนาดเล็กและผู้ผลิตขนาดใหญ่ เสื้อไหมมีราคาแพงเกินไปสำหรับคนจน ผู้ซึ่งสวมใส่เสื้อผ้าทำจากป่านอย่างธรรมดา[93] ผู้หญิงที่อาศัยอยู่ชนบทปกติจะจักสานเสื้อผ้าของครอบครัวทั้งหมด[94]

สินค้าทำจากสำริดทั่วไปรวมถึงภาชนะภายในบ้าน เช่น น้ำมันตะเกียง หัวตะเกียงก๊าซหอม โต๊ะ เหล็ก เตา และโถน้ำแบบหยด มีการใช้สินค้าทำจากเหล็กในการก่อสร้างและในไร่นา เช่น คันไถ พลั่ว จอบ เสียม เกรียงโบกปูน เคียว ขวาน ใบมีด ค้อน สิ่ว มีดเลื่อย ปากกาสว่านและตะปู[95] มีการใช้เหล็กทำดาบ ง้าว หัวธนู และเสื้อเกราะเกล็ดสำหรับกองทัพด้วย[96]

ถึงแม้ว่าเนื้อสุนัขถูกบริโภคในระหว่างราชวงศ์ฮั่น แต่สุนัขก็ถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย สุนัขเกือบทุกตัวถูกเก็บไว้เป็นสัตว์เลี้ยง ขณะที่บางพันธุ์ได้รับการขยายพันธุ์เพื่อการบริโภค[92] รูปปั้นสุนัขดินเผาในสุสาน 2 ตัวนี้กำลังสวมใส่ปลอกคอ

สินค้าทั่วไปอื่น ๆ รวมถึง เครื่องอุปโภคบริโภค (สุรา ผักดองและซอส แกะและหมู ข้าว ยีสต์หมัก ถั่วออกรส ปลาแห้งและหอยเป๋าฮื้อ อินทผาลัม เกาลัด ผักและผลไม้) วัตถุดิบ (หนังวัว เรือไม้ เสาไม้ไผ่ สีย้อม แตรชาด แล็กเกอร์ดิบ หยก อำพัน) เสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกาย (ผ้าไหม ผ้าที่ดีและหยาบ เสื้อขนตัวเซบลและหนังจิ้งจอก พรมและสักหลาด รองเท้าแตะหนังกลับ) ภาชนะที่ใช้รับประทานอาหาร (ช้อนส้อมและตะเกียบสำริด เงิน ภาชนะทำจากไม้และเหล็ก เช่น ถ้วย แก้ว หม้อ ถัง เครื่องถ้วยเซรามิก) ศิลปวัตถุ (งานไม้ที่ทาด้วยน้ำมันขัดเงา เครื่องเคลือบดินเผา) โลงศพที่หรูหรา (ทำจากต้นคาเทลป้า ปาทังกา ต้นสนชนิดหนึ่งและไม้เคลือบ) ยานพาหนะ เช่น รถลากสองล้อน้ำหนักเบาและเกรียนลากด้วยวัวหนักและม้า[97]

นอกเหนือจากสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วไปแล้ว นักประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ฮั่นได้ทำรายการสินค้าที่มีเฉพาะภูมิภาค รายการการค้าทั่วไปจากภูมิภาคของมณฑลชานซีในปัจจุบัน รวมถึงไม้ไผ่ เรือไม้ เมล็ดธัญพืชและอัญมณี มณฑลซานตงมีปลา เกลือ สุราและไหม เจียงหนานมีการบูร คาเทลป้า ขิง อบเชย ทองคำ ดีบุก ตะกั่ว ชาด นอแรดกระ ไข่มุก งาช้างและเครื่องหนัง[98] อีเบรย์ลงบัญชีสินค้าที่พบในสุสานสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในเมืองอู่เวย มณฑลกานซู (ตามแนวเส้นเฮอซี เสริมสร้างโดยกำแพงเมืองจีน) ปรากฏหลักฐานว่าสินค้าฟุ่มเฟือยสามารถรับได้แม้แต่ในชายแดนอันห่างไกล[99]

... หม้อปั้นดินเผา 14 ใบ วัตถุที่ทำจากไม้ เช่น ม้า หมู วัว ไก่ เล้าไก่และสัตว์ที่มีนอเดียว เหรียญทองแดง 70 เหรียญ กลไกธนูที่มีคันติดกับด้ามทำจากสำริด 1 คัน แปลงเขียน 1 อัน สระว่ายน้ำหมึกเงาและการกลั่น (ซึ่งเรียกว่า Inkstone) ซึ่งห่อหุ้มด้วยแลคเคอร์ 1 ถาด ถาดและขันใส่แลคเคอร์ 1 ชุด หวีไม้ 1 อัน เครื่องประดับหยก 1 อัน รองเท้าป่าน 1 คู่ กระเป๋าฟางข้าว 1 ใบ เศษธงที่จารึกไว้ ปิ่นปักผม 1 อัน กระเป๋าหนังสือ 2 ใบและโคมไฟหิน 1 โคม

การจัดการสินทรัพย์และการค้าขาย[แก้]

ก้อนอิฐแกะสลักสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก จากผนังห้องสุสานของครอบครัวที่ร่ำรวยและมีอำนาจในเมืองเฉิงตู เป็นภาพบ้านของเจ้าหน้าที่ในราชสำนักราชวงศ์ฮั่นที่มั่งคั่งและมีอิทธิพล แสดงลักษณะลานภายในบ้าน ม้า ห้องนอน ห้องโถง ห้องครัว บ่อน้ำและหอนาฬิกา เจ้าบ้านและแขกนั่งและดื่มอยู่ในลานภายในบ้าน ขณะที่ไก่ตัวผู้ 2 ตัวต่อสู้กันและนกกระสา 2 ตัวเต้นอยู่ด้านนอก

ในต้นยุคราชวงศ์ฮั่น จักรพรรดิฮั่นหมิงผ่านกฎหมายซึ่งห้ามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกษตรมีส่วนร่วมทางการค้าในเวลาเดียวกัน[100] กฎหมายเหล่านี้บังคับใช้ไม่ได้ผลเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่เจ้าของที่ดินและเจ้าของบ้านผู้มั่งคั่งทำกำไรที่สำคัญจากการซื้อขายสินค้าที่ผลิตบนที่ดินของพวกเขา[100] กุ่ย ซื่อ (催寔) (เสียชีวิตปี ค.ศ. 170) เป็นผู้บริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งภายหลังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการรัฐบาลกลาง เริ่มต้นทำธุรกิจโรงกลั่นเหล้าองุ่นในบ้านเพื่อหาค่าใช้จ่ายค่าจัดงานศพพ่อของเขา เพื่อนชนชั้นสูงวิจารณ์เขาโดยกล่าวอ้างว่า การกระทำแบบนี้ผิดศีลธรรมแต่ไม่ผิดกฎหมาย[100]

หนังสือ ซื่อหมินเยว่ลิ่ง (四民月令) ของซุย ฉือ เป็นเพียงแค่งานเขียนสำคัญที่อยู่รอดมาได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเกษตรจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[101] ถึงแม้ว่าอักษรจีน 3,000 คำจากฟ่าน เชิ่งจือซู (氾勝之書) ระบุเวลาว่าตรงกับรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นเฉิง (ปี 33 – 7 ก่อนคริสตกาล) ยังคงอยู่รอดมาได้[102] หนังสือของซุย ฉือ ให้รายละเอียดของพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ งานเฉลิมฉลองวันหยุดเทศกาลและศาสนา ความประพฤติเพื่อความสัมพันธ์เชิงเครือญาติและครอบครัว งานที่ทำในไร่นาและฤดูกาลการศึกษาของเด็กผู้ชาย หนังสือของซุย ฉือ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำในเรื่องของเดือนที่เป็นเวลาแห่งการซื้อและขายที่ทำกำไรมากที่สุดในรูปแบบของสินค้าที่ผลิตในไร่นา[103]

ตารางดังต่อไปนี้เป็นรูปแบบว่าด้วย "การจัดการสินทรัพย์และครอบครัวในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นตามที่พบในคำแนะนำรายเดือนสำหรับบุคคล 4 ชนชั้น (1974)" (Estate and Family Management in the Later Han as Seen in the Monthly Instructions for the Four Classes of People) (1974) ของอีเบรย์[104] อีเบรย์เขียนว่า “...สินค้าเหมือนกันถูกซื้อและขายเสมอในเวลาที่แตกต่างกันของปี เหตุผลนี้เป็นข้อมูลทางการเงินที่เห็นได้ชัดเจนมาก สินค้าถูกซื้อเมื่อราคาต่ำและถูกขายเมื่อราคาสูง”[104] จำนวนเฉพาะของการซื้อขายสินค้าแต่ละชนิดไม่ได้ขึ้นบัญชีไว้ แต่กระนั้นเวลาของการซื้อและขายระหว่างปีเป็นข้อมูลที่ทรงคุณค่าที่สุดสำหรับนักประวัติศาสตร์[105] สิ่งที่สูญหายไปจากบัญชีของซุย ฉือ เป็นสินค้าสำคัญซึ่งครอบครัวของเขาซื้อและขายแน่นอนที่เวลาเฉพาะของปี เช่น เกลือ เครื่องมือทำไร่นาทำจากเหล็กและเครื่องใช้ในครัว กระดาษและหมึก (กระบวนการผลิตกระดาษถูกประดิษฐ์โดยไช่ หลุน ในปี ค.ศ. 105)[106] เช่นเดียวกับสินค้าฟุ่มเฟือย ได้แก่ ไหมและอาหารแปลกใหม่[107]

สินค้าที่ซื้อและขายตลอดปีบนที่ดินของซุย ฉือ (催寔)
เดือนของปี ซื้อ ขาย
2 ฟืนและถ่าน ข้าวฟ่างเปลือก ข้าวฟ่างเหนียว ถั่วเหลือง ป่านและข้าวสาลี
3 ผ้าป่าน ข้าวฟ่างเหนียว
4 ข้าวบาร์เล่ย์เปลือกและไร้เปลือก เศษแผ่นใยไหม
5 ข้าวบาร์เล่ย์เปลือกและไร้เปลือก ข้าวสาลี ไหมจุรี เสื้อป่านและไหม ฟางข้าว ถั่วเหลือง ถั่ว งา
6 ข้าวบาร์เล่เปลือก ข้าวสาลี ไหมเนื้อบางและหนา ถั่วเหลือง
7 ข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เล่ย์ ไหมเนื้อบางและหนา ถั่วเหลือง ถั่ว
8 รองเท้าหนัง ข้าวฟ่างเหนียว เมล็ดข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เล่ย์
10 ข้าวฟ่างเปลือก ถั่วเหลืองและถั่วและเมล็ดป่าน ไหมเนื้อหนา ไหมและไหมจุรี
11 ข้าวเจ้า ข้าวฟ่างเปลือกและไร้เปลือก ถั่วและเมล็ดป่าน
รูปปั้นหมูและวัวดินเผาจากสุสานของยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

มีสภาวะการว่างงานอย่างรุนแรงท่ามกลางชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองในระหว่างช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางโบราณคดีและวรรณกรรมแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์การเกษตรอันมั่งคั่งที่มีการจัดการเหล่านั้นเพลิดเพลินกับความมั่งคั่งอันยิ่งใหญ่และอยู่อย่างสุขสบาย[108] นอกเหนือจากงานเขียนของซุย ฉือแล้ว จัง เหิง นักประดิษฐ์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ในราชสำนัก (ค.ศ. 78 - 139) เขียนคำอธิบายที่สวยหรูเกี่ยวกับชนบทของเมืองหนานหยางที่อุดมสมบูรณ์และทดน้ำลงไปยังนา เขาได้กล่าวถึงพื้นที่ปลูกข้าว บ่อน้ำที่เต็มไปด้วยปลาและสวนมรดกและสวนผลไม้ที่เติมเต็มไปด้วยหน่อไม้ กระเทียมหอมฤดูใบไม้ร่วง ผักกาดก้านขาวฤดูหนาว งาขี้ม้อน ส้มและขิงสีม่วง[109]

ก้อนอิฐที่เรียงเป็นกำแพงของสุสานราชวงศ์ฮั่นที่มั่งคั่งถูกประดับด้วยดุนแม่พิมพ์หรือแกะสลักและภาพจิตกรรมฝาผนังทาสี ฉากที่แสดงอยู่เสมอเหล่านี้ของทรัพย์สินของผู้ครอบครองสุสาน ห้องโถง บ่อน้ำ รถม้า เล้าสัตว์ แกะ ไก่และหมู คอกม้าและคนงานที่ถูกจ้างให้เก็บหม่อน การไถพืชไร่และการใช้จอบขุดสวนหย่อม[110]

สินทรัพย์ขนาดเล็กและขนาดกลางถูกจัดการโดยครอบครัวเดี่ยว พ่อรับบทเป็นหัวหน้าผู้จัดการ ลูกชายเป็นคนงานภาคสนาม ภรรยาและลูกสาวทำงานกับคนรับใช้ผู้หญิงทอเสื้อและผลิตไหม[111] เจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งมากมีชาวนาที่มีขนาดใหญ่ที่สนับสนุนให้ใช้ระบบการเช่าที่ดินโดยแบ่งผลผลิต ให้เหมือนกับระบบของรัฐบาลเพื่อให้รัฐเป็นเจ้าของที่ดิน ภายใต้ระบบนี้ ชาวนาจะได้รับที่ดิน เครื่องมือ วัวและบ้านหนึ่งหลังเป็นการแลกเปลี่ยน เพื่อหนึ่งในสามหรือครึ่งหนึ่งของผลผลิตพืชของพวกเขา[112]

การค้าต่างประเทศและการแลกเปลี่ยนเครื่องบรรณาการ[แก้]

ผ้าไหมทอจากสุสานหมายเลข 1 ที่สุสานหม่าหวังตุย เมืองฉางชา มณฑลหูหนาน ประเทศจีน ระบุเวลาอยู่ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล
แรดสำริดจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

ยุคก่อนราชวงศ์ฮั่น ตลาดที่ตั้งอยู่ใกล้กับชายแดนทางภาคเหนือของประเทศจีนทำสัญญาซื้อขายกับชนเผ่าเร่ร่อนของภาคตะวันออกของที่ราบยูเรเชีย[113] ข้อตกลงเหอชินระหว่างราชวงศ์ฮั่นและชนเผ่าซฺยงหนูกำหนดการถ่ายโอนสินค้าบรรณาการจากประเทศจีน จำนวนที่แน่นอนของเครื่องบรรณาการประจำปีส่งไปให้ชนเผ่าซฺยงหนูในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ในปี 89 ก่อนคริสตกาล หูลู่กู (狐鹿姑) จักรพรรดิซฺยงหนู (ครองราชย์ปี 95 – 85 ก่อนคริสตกาล) ทรงร้องขอให้มีการฟื้นฟูข้อตกลงเหอชิน พระองค์ต้องการเครื่องบรรณาการประจำปี ได้แก่ ไวน์ 400,000 ลิตร เมล็ดธัญพืช 100,000 ลิตร (2,800 บุชเชล) และไหม 10,000 ก้อน[114][115] จำนวนไวน์ เมล็ดธัญพืชและไหมเหล่านี้ถูกพิจารณาว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากจำนวนเบื้องต้นของเครื่องบรรณาการ ซึ่งต้องได้รับน้อยมาก[114] นอกจากการเตรียมการเหล่านี้ การแลกเปลี่ยนเชิงพาณิชย์ทั่วไประหว่างซฺยงหนูและพ่อค้าชาวฮั่นที่มากที่สุดประกอบด้วยการซื้อขายม้าและเสื้อขนสัตว์เพื่ออาหารการกินทางการเกษตรและสินค้าฟุ่มเฟือยของราชวงศ์ฮั่น ไหมเป็นสินค้าที่สะดุดตามากที่สุด[113] ด้วยวิธีของตลาดมืด ชนเผ่าซฺยงหนูสามารถลักลอบขนอาวุธเหล็กของราชวงศ์ฮั่นข้ามชายแดนได้ด้วย[113]

ราชวงศ์ฮั่นจัดตั้งการทูตในแอ่งทาริมของเอเชียกลางระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นอู่ (ปี 147 – 87 ก่อนคริสตกาล) นักการทูตของราชวงศ์ฮั่นนำของขวัญ ได้แก่ แกะ ทองคำ และไหมไปยังนครรัฐที่เป็นเมืองในโอเอซิส[113] บางเวลาชาวจีนใช้ทองคำเป็นเงินตรา อย่างไรก็ตาม ไหมถูกโปรดปรานให้เป็นสินค้าจ่ายเพื่ออาหารและที่พักอาศัย[113] ครั้งหนึ่งราชวงศ์ฮั่นได้ปราบปรามแอ่งทาริมและสถาปนารัฐอารักขาขึ้นที่นี่ นักการทูตของราชวงศ์ฮั่นที่ประจำอยู่ในบรรดารัฐเหล่านี้ได้รับการเลี้ยงอาหารและให้ที่พักโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นักการทูตเหล่านี้ถูกร้องขอให้ส่งสินค้าบรรณาการ ได้แก่ เสื้อขนสัตว์ จินดา และอาหาร เช่น ลูกเกดของเอเชียกลางให้กับราชสำนักฮั่น[113] ราชสำนักของจักรวรรดิพาร์เธียน (Parthian Empire) ส่งสัตว์ประหลาดรวมถึงสิงโตและนกกระจอกเทศให้กับราชสำนักฮั่น และการปกครองโดยกษัตริย์ในสิ่งที่ปัจจุบันนี้คือพม่าส่งช้างและแรด[116] ภารกิจทางการทูตของราชวงศ์ฮั่นต่อราชสำนักผ่านเอเชียถูกคลุกคลีเป็นปกติโดยคาราวานการค้าซึ่งได้รับกำไรเป็นกอบเป็นกำ[117]

ราชสำนักฮั่นได้รับเครื่องบรรณาการจากจักรพรรดิซฺยงหนู ฮูหานเสีย (呼韓邪) (ครองราชย์ปี 58 – 31 ก่อนคริสตกาล) เป็นคู่แข่งคนสำคัญต่อ จื้อจือฉานหฺยวี (郅支單于) (ครองราชย์ปี 56 – 36 ก่อนคริสตกาล สิ้นพระชนม์ในสงครามจื้อจือ) เครื่องบรรณาการของฮูหานเสีย แลกเปลี่ยนตัวประกันและปรากฏตัวที่เมืองฉางอานในวันตรุษจีนของปี 51 ก่อนคริสตกาลถูกตอบแทนด้วยของขวัญที่ตามมาจากจักรพรรดิ ได้แก่ ทองคำ 5 กิโลกรัม (160 ออนซ์) เหรียญ 200,000 เหรียญ เสื้อสูท 77 ตัว ผ้าไหม 8,000 ก้อน ไหมจุรี 1,500 กิโลกรัม (3,300 ปอนด์) ม้า 15 ตัว และองุ่น 680,000 ลิตร (19,000 บุชเชล)[118] อย่างไรก็ตาม ของขวัญนี้เป็นของขวัญตอบแทนซึ่งเป็นวัสดุอื่นมากกว่าผ้า ขณะที่แสดงในตารางข้างล่างขึ้นอยู่กับ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยราชวงศ์ฮั่น” ของ หฺยวียิงฉือ (Yü Ying-shih) (1986) ของขวัญมีเพียงแค่ผ้าไหมหลังจากปี 51 ก่อนคริสตกาล และการมอบให้จะถูกเพิ่มขึ้นมากกว่าไหมและการยอมจำนนทางการเมืองของผู้นำซฺยงหนูได้รับประกันเท่านั้นเช่นเดียวกันที่ราชวงศ์ฮั่นสามารถให้ปริมาณของไหมจำนวนมากที่เพิ่มขึ้นในการเยือนราชสำนักจีนครั้งใหม่[119]

ของขวัญจากราชสำนักฮั่นได้รับโดยจักรพรรดิชนเผ่าซฺยงหนู ระหว่างการเดินทางไปถวายบังคมยังราชสำนักฮั่นในเมืองฉางอาน[119]
ปี (ก่อนคริสตกาล) ไหมจุรี (หน่วยวัด : ชั่งจีน (600 กรัม)) ผ้าไหม (หน่วยวัด : ก้อน)
51 1,500 8,000
49 2,000 9,000
33 4,000 18,000
25 5,000 20,000
1 7,500 30,000
ภาพซ้าย: มิเนอร์วาบนจานกะไหล่เงินโรมัน ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล มิเนอร์วาบนจานกะไหล่เงินโรมันเป็นแบบเดียวกับที่พบในอำเภอจิ้งหย่วน มณฑลกานซู ประเทศจีน ระบุเวลาอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หรือ 3 มีภาพการปลดปล่อยที่เพิ่มขึ้นของไดอะไนซัส เทพเจ้ากรีก-โรมัน[120]
ภาพขวา: ขันแก้วสีน้ำเงินยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ถึงแม้ว่าชาวจีนผลิตชิ้นส่วนลูกปัดแก้วตั้งแต่ยุควสันตสารท (ปี 722 – 481 ก่อนคริสตกาล) เครื่องแก้วจีน (เช่น ขันและขวด) ปรากฏครั้งแรกระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก[121]

การก่อตั้งเส้นทางสายไหมเกิดขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นอู่ เนื่องจากความพยายามของนักการทูต จาง เชียน ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของไหมจากจักรวรรดิโรมันกระตุ้นการจราจรในเชิงพาณิชย์ในทั้งเอเชียกลางข้ามมหาสมุทรอินเดีย พ่อค้าชาวโรมันเดินเรือไปยังเมืองบาบาริกอน อยู่ใกล้กับเมืองการาจี ในปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน และฉนวนแบรี่ ในปัจจุบันคือรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย เพื่อซื้อผ้าไหมจีน (ดูเพิ่มที่ การค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย)[122] เมื่อจักรพรรดิฮั่นอู่ทรงพิชิตอาณาจักรหนานเยว่ ปัจจุบันอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนและภาคเหนือของประเทศเวียดนามในปี 111 ก่อนคริสตกาล การค้าโพ้นทะเลถูกต่อขยายออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรอินเดีย ในขณะที่พ่อค้าทางทะเลซื้อขายทองคำและไหมของราชวงศ์ฮั่นเพื่อไข่มุก หยก วิฑูรย์ และแก้วน้ำ[123]

หนังสือยุคปลายราชวงศ์ฮั่น (Book of the Later Han) ระบุว่าทูตจากโรมันถูกส่งมาโดยจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัส (ครองราชย์ปี ค.ศ. 161 – 180) เดินทางมาตามเส้นทางภาคใต้ นำของขวัญมาถวายราชสำนักในจักรพรรดิฮั่นหฺวัน (ครองราชย์ปี ค.ศ. 146 – 168) ในปี ค.ศ. 166[124] ภารกิจของอาณาจักรโรมันดังกล่าวเจริญรอยตามความพยายามที่ไม่ประสบผลสำเร็จของนักการทูตของราชวงศ์ฮั่น กาน ยิง เพื่อที่จะไปถึงกรุงโรมในปี ค.ศ. 97 กาน ยิงถูกทำให้ล่าช้าที่อ่าวเปอร์เซียโดยเจ้าหน้าที่ของจักรวรรดิพาเธียน และสามารถทำรายงานเกี่ยวกับกรุงโรมขึ้นอยู่กับคำอธิบายด้วยปากเปล่าเท่านั้น[125][126][127] ชาร์ลส ฮัคเกอร์และเรฟ เดอ เครสปิกนี นักประวัติศาสตร์ ทั้งคู่คาดเดาว่าภารกิจของกรุงโรมปี ค.ศ. 166 เกี่ยวข้องกับพ่อค้าชาวโรมันที่กล้าได้กล้าเสียแทนที่จะเป็นนักการทูตที่แท้จริง[128] ฮัคเกอร์เขียนว่า[129]

ภารกิจส่งเครื่องบรรณาการจากรัฐศักดินาได้รับอนุญาตอย่างเป็นที่รู้จักกันทั่วไปให้รวมพ่อค้าด้วย ผู้ซึ่งได้รับโอกาสให้ทำธุรกิจในตลาดเมืองหลวง ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสัดส่วนขนาดใหญ่ของสิ่งที่ราชสำนักจีนเลือกติดต่อภารกิจส่งเครื่องบรรณาการถูกก่อตั้งกิจการเชิงพาณิชย์อย่างฉลาด ในความเป็นจริงโดยพ่อค้าชาวต่างชาติโดยไม่มีสถานะทางการทูตทั้งหมด นี่เป็นกรณีที่ไม่ต้องสงสัย ที่น่าสะดุดตาที่สุด กับกลุ่มของพ่อค้าผู้ปรากฏตัวบนชายฝั่งภาคใต้ในปี ค.ศ. 166 ยืนยันว่าเป็นทูตจากจักรพรรดิโรมันมาร์คัส ออเรลิอัส แอนโตนิอุส แห่งโรมัน[129]

เส้นทางการค้าสายหลักนำไปสู่ประเทศจีนยุคราชวงศ์ฮั่นผ่านเมืองคัชการ์ (Kashgar) เป็นเมืองแรก แต่กระนั้นเมืองแบคเตรียซึ่งเป็นเมืองสมัยเฮลเลนิสติกทางทิศตะวันตกที่ไกลออกไปเป็นปมศูนย์กลางของการค้าระหว่างประเทศ[130] โดยคริสต์ศตวรรษที่ 1 เมืองแบคเตรียและอีกหลายเมืองในเอเชียกลางและอินเดียเหนือถูกควบคุมโดยจักรวรรดิกุษาณะ[131] ไหมเป็นสินค้าส่งออกหลักจากประเทศจีนไปยังประเทศอินเดีย พ่อค้าชาวอินเดียนำสินค้าหลากหลายชนิดมายังประเทศจีน รวมถึงกระดองเต่า ทองคำ เงิน ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว ดีบุก เนื้อผ้าเกรดดี ผ้าขนสัตว์ น้ำหอมและเครื่องหอม น้ำตาลคริสตัล พริกไทย ขิง เกลือ ปะการัง ไข่มุก ชิ้นส่วนทำจากแก้วและเครื่องใช้ของโรมัน[132] พ่อค้าชาวอินเดียนำกำยานไปยังประเทศจีน ขณะที่ชาวจีนมีความรู้เรื่องยางไม้หอมบีเดลเลียม (Bdellium) ว่าเป็นสินค้าที่มีกลิ่นหอมจากเปอร์เซีย ถึงแม้ว่ามันเป็นสินค้าพื้นเมืองของอินเดียตะวันตก[133] ม้าเหงื่อโลหิตนำเข้าจากเมืองเฟอกานาถูกตีราคาสูงในประเทศจีนยุคราชวงศ์ฮั่น[134] องุ่นจากเอเชียกลางที่แปลกใหม่ที่แนะนำใหม่ถูกใช้ผลิตไวน์องุ่น ถึงแม้ว่าชาวจีนได้ผลิตไวน์ข้าวก่อนหน้านี้[135] สินค้าฟุ่มเฟือยทำจากแก้วจากดินแดนเมโสโปเตเมียยุคโบราณถูกค้นพบในสุสานจีนและระบุเวลาว่าอยู่ในช่วงปลายยุควสันตสารท (ปี 771 – 476 ก่อนคริสตกาล) เครื่องแก้วของโรมันถูกค้นพบในสุสานจีนระบุเวลาอยู่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล ตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดพบที่เมืองท่าจีนทางภาคใต้ของเมืองกว่างโจว[121] เครื่องเงินจากชายแดนระหว่างจักรวรรดิโรมันและจักรวรรดิพาร์เธียนถูกค้นพบที่สุสานราชวงศ์ฮั่นเช่นเดียวกัน[136]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Hinsch 2002, pp. 24–25; Cullen 2006, p. 1.
  2. Nishijima 1986, p. 574.
  3. 3.0 3.1 3.2 Hinsch 2002, p. 28.
  4. Nishijima 1986, pp. 574–575; Stearns & Langer 2001, p. 51.
  5. Schinz 1996, p. 136; Nishijima 1986, pp. 595–596.
  6. Schinz 1996, p. 140; Wang 1982, pp. 1–4, & 30.
  7. Wang 1982, pp. 1–4, 30; Hansen 2000, pp. 135–136.
  8. 8.0 8.1 Nishijima 1986, pp. 575–576.
  9. 9.0 9.1 9.2 Nishijima 1986, p. 586.
  10. 10.0 10.1 10.2 Nishijima 1986, pp. 586–587.
  11. Nishijima 1986, p. 587.
  12. 12.0 12.1 Ebrey 1986, p. 609; Bielenstein 1986, pp. 232–233; Nishijima 1986, p. 588.
  13. Nishijima 1986, pp. 587–588.
  14. Bielenstein 1980, pp. 47 & 83.
  15. GaryLeeTodd.com (March 4, 2009). China: Ancient coinage เก็บถาวร 2011-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved on 2009-03-09.
  16. 16.0 16.1 Nishijima 1986, p. 600.
  17. Nishijima 1986, pp. 600–601.
  18. 18.0 18.1 Nishijima 1986, p. 601.
  19. 19.0 19.1 Nishijima 1986, p. 588.
  20. Ebrey 1986, pp. 612–613.
  21. 21.0 21.1 Ebrey 1986, p. 612.
  22. Maddison 2001, p. 259.
  23. Maddison 2007, p. 42
  24. 24.0 24.1 24.2 Nishijima 1986, p. 556.
  25. Nishijima 1986, pp. 556–557.
  26. Nishijima 1986, pp. 556–557 & 577–578; Ebrey 1999, pp. 73–74; Wang 1982, pp. 58–59.
  27. Nishijima 1986, pp. 557–558; see also Hucker 1975, p. 183.
  28. 28.0 28.1 Nishijima 1986, pp. 557–558; Hansen 2000, p. 134; Bielenstein 1986, p. 232; Lewis 2007, p. 23; Hucker 1975, p. 183.
  29. Nishijima 1986, pp. 558–559; see also Hucker 1975, p. 183.
  30. Nishijima 1986, pp. 558–559.
  31. Ebrey 1986, p. 621.
  32. Ebrey 1986, pp. 621–622.
  33. 33.0 33.1 Ebrey 1974, pp. 173–174.
  34. de Crespigny 2007, p. 515; Ebrey 1999, p. 84; Beck 1986, pp. 344–345 & 347–349.
  35. Wang 1982, p. 61; Hucker 1975, p. 183.
  36. Deng 1999, p. 76.
  37. 37.0 37.1 Ebrey 1986, p. 619.
  38. Deng 1999, p. 77.
  39. 39.0 39.1 39.2 39.3 Ebrey 1999, p. 75.
  40. 40.0 40.1 Ebrey 1999, p. 75; Hucker 1975, pp. 182–183.
  41. 41.0 41.1 Ebrey 1986, pp. 620–621.
  42. Loewe 1986, pp. 149–150; Nishijima 1986, pp. 596–598; see also Hucker 1975, p. 181.
  43. Nishijima 1986, pp. 596–598; Ebrey 1986, pp. 618–619.
  44. Nishijima 1986, pp. 596–598.
  45. Nishijima 1986, p. 598; see also Hucker 1975, p. 181.
  46. Hucker 1975, p. 171.
  47. Ebrey 1999, p. 75; Nishijima 1986, p. 599.
  48. de Crespigny 2007, pp. 126–127.
  49. de Crespigny 2007, pp. 126–127; Kramers 1986, pp. 754–756; Ebrey 1999, pp. 77–78.
  50. 50.0 50.1 50.2 Nishijima 1986, p. 599.
  51. Bielenstein 1980, p. 114.
  52. Bielenstein 1980, pp. 114–115.
  53. de Crespigny 2007, pp. 564–565; Ebrey 1986, p. 613.
  54. de Crespigny 2007, pp. 564–565.
  55. 55.0 55.1 55.2 55.3 55.4 Nishijima 1986, p. 576.
  56. 56.0 56.1 56.2 Nishijima 1986, p. 577; see also Hucker 1975, p. 187.
  57. Ch'ü (1972), 113–114; see also Hucker 1975, p. 187.
  58. Nishijima 1986, pp. 583–584.
  59. Nishijima 1986, p. 584; Needham 1965, p. 22.
  60. Ebrey 1999, p. 75; Hinsch 2002, pp. 21–22; Wagner 2001, pp. 1–2.
  61. Wagner 2001, pp. 13–14.
  62. Loewe 1986, pp. 187–206.
  63. Wagner 2001, pp. 56–57.
  64. Wagner 2001, p. 15.
  65. Wagner 2001, pp. 15–17; Nishijima 1986, p. 584.
  66. Wagner 2001, p. 17; see also Hucker 1975, p. 190.
  67. Ebrey 1999, p. 75; Wagner 2001, p. 13; Hucker 1975, pp. 188–189.
  68. 68.0 68.1 Ebrey 1999, p. 75; Hucker 1975, p. 189.
  69. Wagner 2001, p. 13; Hucker 1975, p. 189.
  70. de Crespigny 2007, p. 605.
  71. Ebrey 1986, p. 609.
  72. Bower 2005, p. 242; Ruitenbeek 2005, p. 253; Steinhardt 2005, p. 278.
  73. 73.0 73.1 73.2 73.3 Nishijima 1986, p. 581.
  74. Nishijima 1986, p. 582.
  75. Nishijima 1986, p. 583.
  76. Wang 1982, pp. 84–85; Nishijima 1986, p. 582.
  77. Wang 1982, p. 83.
  78. Wang 1982, pp. 84–85.
  79. Wang 1982, p. 125.
  80. Colin A. Ronanm; Joseph Needha (24 June 1994). The Shorter Science and Civilisation in China:. Cambridge University Press. p. 312. ISBN 978-0-521-32995-8. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013. adjustable outside caliper gauge... self-dated at AD 9
  81. Wang 1982, pp. 86–87.
  82. Nishijima 1986, pp. 581–582.
  83. Loewe 1986, pp. 130–131.
  84. Loewe 1986, pp. 130–131, 207–209.
  85. 85.0 85.1 Wang 1982, pp. 55–56.
  86. 86.0 86.1 86.2 Ebrey 1986, pp. 613–614.
  87. Wang 1982, p. 2.
  88. Di Cosmo 2002, p. 238.
  89. 89.0 89.1 Ebrey 1986, p. 614.
  90. Wang 1982, p. 52.
  91. Wang 1982, p. 53.
  92. 92.0 92.1 Wang 1982, pp. 57 & 203.
  93. Wang 1982, pp. 53 & 58.
  94. Nishijima 1986, p. 585; Hinsch 2002, pp. 59–60 & 65.
  95. Wang 1982, pp. 103 & 122.
  96. Wang 1982, p. 123.
  97. Nishijima 1986, pp. 578–579; Ebrey 1986, pp. 609–611.
  98. Nishijima 1986, pp. 578–579.
  99. Ebrey 1986, pp. 611–612.
  100. 100.0 100.1 100.2 Ebrey 1986, p. 615.
  101. Nishijima 1986, pp. 566–567.
  102. Nishijima 1986, p. 564.
  103. Ebrey 1986, p. 615; Nishijima 1986, pp. 567–568.
  104. 104.0 104.1 Ebrey 1974, p. 198.
  105. Ebrey 1974, pp. 197–199.
  106. Tom 1989, p. 99; Cotterell 2004, p. 11.
  107. Ebrey 1974, p. 199.
  108. Ebrey 1986, pp. 622–626.
  109. Ebrey 1986, p. 624; Knechtges 1997, p. 232.
  110. Ebrey 1986, pp. 622–623.
  111. Ebrey 1986, p. 626.
  112. Ebrey 1986, pp. 625–626.
  113. 113.0 113.1 113.2 113.3 113.4 113.5 Liu 1988, p. 14.
  114. 114.0 114.1 Yü 1986, p. 397.
  115. Book of Han, vol. 94a.
  116. de Crespigny 2007, pp. 497–591.
  117. Torday 1997, pp. 114–117.
  118. Yü 1986, pp. 395–396; Loewe 1986, pp. 196–197.
  119. 119.0 119.1 Yü 1986, pp. 396–397.
  120. Harper 2002, p. 106 (Fig. 6).
  121. 121.0 121.1 An 2002, pp. 79, 82–83.
  122. Liu 1988, p. 19.
  123. Nishijima 1986, pp. 579–580.
  124. Liu 1988, p. 19; de Crespigny 2007, p. 600; Nishijima 1986, pp. 579–580.
  125. Nishijima 1986, p. 579.
  126. de Crespigny 2007, pp. 239–240.
  127. Yü 1986, pp. 460–461.
  128. Hucker 1975, p. 191; de Crespigny 2007, p. 600.
  129. 129.0 129.1 Hucker 1975, p. 191.
  130. Liu 1988, p. 26.
  131. Liu 1988, pp. 26–29.
  132. Liu 1988, pp. 52–53, 64–65.
  133. Liu 1988, p. 63.
  134. Liu 1988, p. 53.
  135. Gernet 1962, pp. 134–135.
  136. Harper 2002, pp. 96–107.

อ้างอิง[แก้]

  • An, Jiayao (2002), "When Glass Was Treasured in China", ใน Juliano, Annette L.; Lerner, Judith A. (บ.ก.), Silk Road Studies VII: Nomads, Traders, and Holy Men Along China's Silk Road, Turnhout: Brepols Publishers, pp. 79–94, ISBN 978-2-503-52178-7.
  • Beck, Mansvelt (1986), "The Fall of Han", ใน Twitchett, Denis; Loewe, Michael (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume I: the Ch'in and Han Empires, 221 B.C. – A.D. 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 317–376, ISBN 978-0-521-24327-8.
  • Bielenstein, Hans (1980), The Bureaucracy of Han Times, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-22510-6.
  • Bielenstein, Hans (1986), "Wang Mang, the Restoration of the Han Dynasty, and Later Han", ใน Twitchett, Denis; Loewe, Michael (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume I: the Ch'in and Han Empires, 221 B.C. – A.D. 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 223–290, ISBN 978-0-521-24327-8.
  • Bower, Virginia (2005), "Standing man and woman", ใน Richard, Naomi Noble (บ.ก.), Recarving China's Past: Art, Archaeology, and Architecture of the 'Wu Family Shrines', New Haven and London: Yale University Press and Princeton University Art Museum, pp. 242–245, ISBN 978-0-300-10797-5.
  • Ch'ü, T'ung-tsu (1972), Dull, Jack (บ.ก.), Han Dynasty China: Volume 1: Han Social Structure, Seattle and London: University of Washington Press, ISBN 978-0-295-95068-6.
  • Cotterell, Maurice (2004), The Terracotta Warriors: The Secret Codes of the Emperor's Army, Rochester: Bear and Company, ISBN 978-1-59143-033-9.
  • Cullen, Christoper (2006), Astronomy and Mathematics in Ancient China: The Zhou Bi Suan Jing, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-03537-8
  • de Crespigny, Rafe (2007), A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23-220 AD), Leiden: Koninklijke Brill, ISBN 978-90-04-15605-0.
  • Deng, Gang (1999), The Premodern Chinese Economy: Structural Equilibrium and Capitalist Sterility, New York: Routledge, ISBN 978-0-415-16239-5.
  • Di Cosmo, Nicola (2002), Ancient China and Its Enemies: The Rise of Nomadic Power in East Asian History, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-77064-4.
  • Ebrey, Patricia (1974), "Estate and Family Management in the Later Han as Seen in the Monthly Instructions for the Four Classes of People", Journal of the Economic and Social History of the Orient, 17 (2): 173–205, JSTOR 3596331.
  • Ebrey, Patricia (1986), "The Economic and Social History of Later Han", ใน Twitchett, Denis; Loewe, Michael (บ.ก.), Cambridge History of China: Volume I: the Ch'in and Han Empires, 221 B.C. – A.D. 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 608–648, ISBN 978-0-521-24327-8.
  • Ebrey, Patricia (1999), The Cambridge Illustrated History of China, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-66991-7.
  • Gernet, Jacques (1962), Daily Life in China on the Eve of the Mongol Invasion, 1250-1276, Translated by H. M. Wright, Stanford: Stanford University Press, ISBN 978-0-8047-0720-6.
  • Hansen, Valerie (2000), The Open Empire: A History of China to 1600, New York & London: W.W. Norton & Company, ISBN 978-0-393-97374-7.
  • Harper, P. O. (2002), "Iranian Luxury Vessels in China From the Late First Millennium B.C.E. to the Second Half of the First Millennium C.E.", ใน Juliano, Annette L.; Lerner, Judith A. (บ.ก.), Silk Road Studies VII: Nomads, Traders, and Holy Men Along China's Silk Road, Turnhout: Brepols Publishers, pp. 95–113, ISBN 978-2-503-52178-7.
  • Hinsch, Bret (2002), Women in Imperial China, Lanham: Rowman & Littlefield Publishers, ISBN 978-0-7425-1872-8.
  • Hucker, Charles O. (1975), China's Imperial Past: An Introduction to Chinese History and Culture, Stanford: Stanford University Press, ISBN 978-0-8047-0887-6.
  • Knechtges, David R. (1997), "Gradually Entering the Realm of Delight: Food and Drink in Early Medieval China", Journal of the American Oriental Society, 117 (2): 229–339, doi:10.2307/605487, JSTOR 605487.
  • Kramers, Robert P. (1986), "The Development of the Confucian Schools", ใน Twitchett, Denis; Loewe, Michael (บ.ก.), Cambridge History of China: Volume I: the Ch'in and Han Empires, 221 B.C. – A.D. 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 747–756, ISBN 978-0-521-24327-8.
  • Lewis, Mark Edward (2007), The Early Chinese Empires: Qin and Han, Cambridge: Harvard University Press, ISBN 978-0-674-02477-9.
  • Liu, Xinru (1988), Ancient India and Ancient China: Trade and Religious Exchanges: AD 1–600, Delhi and New York: Oxford University Press, ISBN 978-0-19-562050-4.
  • Loewe, Michael (1986), "The Former Han Dynasty", ใน Twitchett, Denis; Loewe, Michael (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume I: the Ch'in and Han Empires, 221 B.C. – A.D. 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 103–222, ISBN 978-0-521-24327-8.
  • Maddison, Angus (2001), The World Economy: A Millennial Perspective, OECD Publishing, ISBN 978-92-64-18608-8.
  • Maddison, Angus (2007), Chinese economic performance in the long run, Organisation for Economic Co-operation and Development. Development Centre, ISBN 978-92-64-03762-5
  • Needham, Joseph (1965), Science and Civilization in China: Volume 4, Physics and Physical Technology; Part II, Mechanical Engineering, Cambridge: Cambridge University Press. 1986 reprint from Taipei: Caves Books Ltd. ISBN 978-0-521-05803-2.
  • Nishijima, Sadao (1986), "The Economic and Social History of Former Han", ใน Twitchett, Denis; Loewe, Michael (บ.ก.), Cambridge History of China: Volume I: the Ch'in and Han Empires, 221 B.C. – A.D. 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 545–607, ISBN 978-0-521-24327-8.
  • Ruitenbeek, Klaas (2005), "Triangular hollow tomb tile with dragon design", ใน Richard, Naomi Noble (บ.ก.), Recarving China's Past: Art, Archaeology, and Architecture of the 'Wu Family Shrines', New Haven and London: Yale University Press and Princeton University Art Museum, pp. 252–254, ISBN 978-0-300-10797-5.
  • Schinz, Alfred (1996), The Magic Square: Cities in Ancient China, Fellbach: Edition Axel Menges, ISBN 978-3-930698-02-8.
  • Stearns, Peter N. & Langer, William L. (2001), The Encyclopedia of World History (Sixth ed.), New York: Houghton Mifflin Company, ISBN 978-0-395-65237-4.
  • Steinhardt, Nancy N. (2005), "Pleasure tower model", ใน Richard, Naomi Noble (บ.ก.), Recarving China's Past: Art, Archaeology, and Architecture of the 'Wu Family Shrines', New Haven and London: Yale University Press and Princeton University Art Museum, pp. 275–281, ISBN 978-0-300-10797-5.
  • Tom, K. S. (1989), Echoes from Old China: Life, Legends, and Lore of the Middle Kingdom, Honolulu: The Hawaii Chinese History Center of the University of Hawaii Press, ISBN 978-0-8248-1285-0.
  • Torday, Laszlo (1997), Mounted Archers: The Beginnings of Central Asian History, Durham: The Durham Academic Press, ISBN 978-1-900838-03-0.
  • Wagner, Donald B. (2001), The State and the Iron Industry in Han China, Copenhagen: Nordic Institute of Asian Studies Publishing, ISBN 978-87-87062-83-1.
  • Wang, Zhongshu (1982), Han Civilization, Translated by K.C. Chang and Collaborators, New Haven and London: Yale University Press, ISBN 978-0-300-02723-5.
  • Yü, Ying-shih (1986), "Han Foreign Relations", ใน Twitchett, Denis; Loewe, Michael (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume I: the Ch'in and Han Empires, 221 B.C. – A.D. 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 377–462, ISBN 978-0-521-24327-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]