ซฺยงหนู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซฺยงหนู

ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล–คริสต์ศตวรรษที่ 1
ดินแดนซฺยงหนูในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล (ก่อนสงครามฮั่น–ซฺยงหนูใน 133 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 89): โดยรวมมองโกเลีย คาซัคสถานตะวันออก คีร์กีซสถานตะวันออก ไซบีเรียใต้ และจีนตอนเหนือบางส่วน เช่น แมนจูเรียตะวันตก, ซินเจียง, มองโกเลียใน และมณฑลกานซู่[1][2][3][4]
เมืองหลวงหลงเฉิง[5]
ภาษาทั่วไปซฺยงหนู
ศาสนา
เชมัน, ลัทธิเทงรี
การปกครองสมาพันธรัฐชนเผ่า
ฉาน-ยฺหวี 
• 220 - 209 ปีก่อนคริสตกาล
โถวม่าน
• 209 - 174 ปีก่อนคริสตกาล
มั่วตู๋
• 174 - 161 ปีก่อนคริสตกาล
เหล่าช่าง
• ค.ศ. 46
อูต๋าตีโหว
ยุคประวัติศาสตร์โบราณ
• ก่อตั้ง
ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
คริสต์ศตวรรษที่ 1
ก่อนหน้า
ถัดไป
วัฒนธรรมหลุมศพแผ่นหิน
ชาวตงหู
เยฺว่จือ
Sakas
วัฒนธรรมออร์โดส
ราชวงศ์ฮั่น
รัฐเซียนเป่ย์
รัฐข่านโหร่วหราน
โทแคเรียน
รัฐข่านเตอร์กิกที่หนึ่ง
ซฺยงหนู
ภาษาจีน匈奴

ซฺยงหนู ตามสำเนียงกลาง หรือ เฮงโน้ว ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน: 匈奴; พินอิน: Xiōngnú)[8] เป็นสมาพันธ์ชนเผ่า[9] ของชนร่อนเร่ที่ข้อมูลจีนสมัยโบราณบันทึกว่าอาศัยอยู่ในบริเวณทุ่งหญ้ายูเรเชียตะวันออกในศตวรรษที่ 3 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 มั่วตู๋ฉาน-ยฺหวี ผู้นำสูงสุดในช่วงหลัง 209 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผู้สถาปนา จักรวรรดิซฺยงหนู ขึ้น[10]

หลังโค่นล้มเยฺว่จือ เจ้าอธิราชกลุ่มก่อนหน้า[11] ซฺยงหนูจึงมีอำนาจเหนือทุ่งหญ้าในเอเชียตะวันออกซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในที่ราบสูงมองโกเลีย พวกซฺยงหนูยังมีบทบาทในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของไซบีเรีย มองโกเลียใน มณฑลกานซู่ และมณฑลซินเจียง ความสัมพันธ์กับราชวงศ์จีนที่ติดกันทางใต้-ตะวันออกนั้นซับซ้อน สลับกันระหว่างช่วงเวลาทั้งสันติภาพ สงคราม และการปราบปรามในช่วงต่าง ๆ ท้ายที่สุดพวกซฺยงหนูพ่ายแพ้ต่อราชวงศ์ฮั่นในความขัดแย้งนานนับศตวรรษ ซึ่งนำไปสู่การแบ่งสมาพันธรัฐออกเป็นสองส่วน และบีบให้เกิดการย้ายถิ่นฐานใหม่ของชาวซฺยงหนูในชายแดนฮั่นจำนวนมาก ในสมัยสิบหกรัฐ พวกซฺยงหนู ซึ่งกลายเป็นหนึ่งใน "ห้าชนเผ่า" ได้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นจ้าว เป่ย์เหลียง และหูเซี่ยในจีนตอนเหนือ

ความพยายามเชื่อมโยงซฺยงหนูเข้ากับชาว Sakas และซาร์เมเชียน ในบริเวณใกล้เคียง เคยเป็นที่โต้แย้งมาก่อน กระทั่งข้อมูลทางพันธุศาสตร์เชิงโบราณคดียืนยันว่า กลุ่มชนดังกล่าวมีปฏิสัมพันธ์กับซฺยงหนู และยังมีความสัมพันธ์กับชาวฮัน อัตลักษณ์แกนกลางทางชาติพันธุ์ของซฺยงหนูนั้นเป็นแต่สมมติฐานกันไปในหลายทาง เพราะมีศัพท์ภาษาซฺยงหนูเพียงไม่กี่คำหลงเหลืออยู่ในแหล่งข้อมูลภาษาจีน ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งและชื่อบุคคล คำว่า ซฺยงหนู อาจเป็นคำร่วมเชื้อสายกับชื่อของชาว Hun หรือ Huna หรือทั้งสอง[12][13][14] แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงก็ตาม[15][16] นักวิชาการหลายคนเสนอความเชื่อมโยงอื่น ๆ ในทางภาษาศาสตร์ (ซึ่งทั้งหมดก็เป็นที่โต้แย้ง) ได้แก่ เตอร์กิก,[17][18][19][20][21][22] อิหร่าน,[23][24][25] มองโกล,[26] ยูรัล,[27] เยนีเซย์[15][28][29][30] หรือหลากชาติพันธุ์[31]

ชื่อ[แก้]

ชื่อซฺยงหนูในภาษาจีนเป็นคำเหยียดอยู่ในตัว เนื่องจากอักษร "匈奴" (ซฺยงหนู) มีความหมายตรงตัวว่า "ทาสที่ดุร้าย"[32] การอ่านออกเสียง "匈奴" ว่า "ซฺยงหนู" [ɕjʊ́ŋnǔ] เป็นการอ่านออกเสียงตามสำเนียงจีนกลางสมัยใหม่โดยอิงจากสำเนียงจีนกลางที่ใช้อยู่ในปักกิ่งปัจจุบัน ซึ่งมีอายุไม่ถึง 1,000 ปีก่อน ส่วนการอ่านออกเสียงตามสำเนียงจีนเก่านั้น ได้รับการปะติดปะต่อขึ้นใหม่ว่า ได้แก่ *xiuoŋ-na หรือ *qhoŋna[33]

ประวัติ[แก้]

ความสำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Coatsworth, John; Cole, Juan; Hanagan, Michael P.; Perdue, Peter C.; Tilly, Charles; Tilly, Louise (16 March 2015). Global Connections: Volume 1, To 1500: Politics, Exchange, and Social Life in World History. Cambridge University Press. p. 138. ISBN 978-1-316-29777-3.
  2. Atlas of World History. Oxford University Press. 2002. p. 51. ISBN 978-0-19-521921-0.
  3. Fauve, Jeroen (2021). The European Handbook of Central Asian Studies. p. 403. ISBN 978-3-8382-1518-1.
  4. Hartley, Charles W.; Yazicioğlu, G. Bike; Smith, Adam T. (19 November 2012). The Archaeology of Power and Politics in Eurasia: Regimes and Revolutions (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 245, Fig 12.3. ISBN 978-1-139-78938-7.
  5. Feng, Li (30 December 2013). Early China: A Social and Cultural History (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 273. ISBN 978-0-521-89552-1.
  6. Zheng Zhang (Chinese: 鄭張), Shang-fang (Chinese: 尚芳). 匈 – 上古音系第一三千八百九十字 [匈 - The 13890th word of the Ancient Phonological System]. ytenx.org [韻典網] (ภาษาจีน). Rearranged by BYVoid.
  7. Zheng Zhang (Chinese: 鄭張), Shang-fang (Chinese: 尚芳). 奴 – 上古音系第九千六百字 [奴 – The 9600th word of the Ancient Phonological System]. ytenx.org [韻典網] (ภาษาจีน). Rearranged by BYVoid.
  8. Martini, Martino (2002). Opera omnia. ISBN 9788884430281 – โดยทาง Google Books.
  9. "Xiongnu People". britannica.com. Encyclopædia Britannica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2020. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.
  10. Di Cosmo 2004, p. 186.
  11. Chase-Dunn, C.; Anderson, E. (18 February 2005). The Historical Evolution of World-Systems (ภาษาอังกฤษ). Springer. p. 36-37. ISBN 978-1-4039-8052-6. "The primary focus of the new threat became the Xiongnu who emerged rather abruptly in the late 4th century B.C. initially subordinated to the Yuezhi, the Xiongnu overthrew the nomadic hierarchy while also escalating its attacks on Chinese areas."
  12. Grousset 1970, pp. 19, 26–27.
  13. Pulleyblank 2000, p. 17.
  14. Schuessler 2014, pp. 257, 264.
  15. 15.0 15.1 Beckwith 2009, p. 404–405 notes 51–52.
  16. Étienne de la Vaissière (November 15, 2006). "Xiongnu". Encyclopedia Iranica online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-04.
  17. Hucker 1975, p. 136.
  18. Savelyev, Alexander; Jeong, Choongwon (May 10, 2020). "Early nomads of the Eastern Steppe and their tentative connections in the West". Evolutionary Human Sciences. 2. doi:10.1017/ehs.2020.18. hdl:21.11116/0000-0007-772B-4. PMC 7612788. PMID 35663512. S2CID 218935871. The predominant part of the Xiongnu population is likely to have spoken Turkic (Late Proto-Turkic, to be more precise)
  19. Robbeets, Martine; Bouckaert, Remco (2018-07-01). "Bayesian phylolinguistics reveals the internal structure of the Transeurasian family". Journal of Language Evolution. 3 (2): 145–162. doi:10.1093/jole/lzy007. hdl:21.11116/0000-0001-E3E6-B. ISSN 2058-4571.
  20. "Northern Dynasties and Southern Dynasties", Chinese Architecture, Princeton University Press, pp. 72–103, 2019-05-14, doi:10.2307/j.ctvc77f7s.11, S2CID 243720017, สืบค้นเมื่อ 2023-04-01Larousse, Éditions. "Turcs ou Turks - LAROUSSE". www.larousse.fr (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2023-04-01.
  21. Book of Zhou, vol. 50.Henning 1948.
  22. Sims-Williams 2004.Pritsak 1959.Hucker 1975, p. 136.Jinshu vol. 97 Four Barbarians - Xiongnu".Weishu, "vol. 102 Wusun, Shule, & Yueban" quote: "悅般國,…… 其先,匈奴北單于之部落也。…… 其風俗言語與高車同".Yuanhe Maps and Records of Prefectures and Counties vol. 4 quote: "北人呼駮馬為賀蘭.Kim, Hyun Jin (2013-04-18). The Huns, Rome and the Birth of Europe. Cambridge University Press. doi:10.1017/cbo9780511920493. ISBN 978-0-511-92049-3.Du You. Tongdian. Vol. 200. "突厥謂駮馬為曷剌,亦名曷剌國。".Wink 2002, pp. 60–61.
  23. Harmatta 1994, p. 488: "Their royal tribes and kings (shan-yü) bore Iranian names and all the Hsiung-nu words noted by the Chinese can be explained from an Iranian language of Saka type. It is therefore clear that the majority of Hsiung-nu tribes spoke an Eastern Iranian language."
  24. Bailey 1985, pp. 21–45.
  25. Jankowski 2006, pp. 26–27.
  26. Tumen D (February 2011). "Anthropology of Archaeological Populations from Northeast Asia" (PDF). Oriental Studies. Dankook University Institute of Oriental Studies. 49: 25, 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-29.
  27. Di Cosmo 2004, p. 166.
  28. Adas 2001, p. 88.
  29. Vovin, Alexander (2000). "Did the Xiongnu speak a Yeniseian language?". Central Asiatic Journal. 44 (1): 87–104. JSTOR 41928223.
  30. 高晶一, Jingyi Gao (2017). "Quèdìng xià guó jí kǎitè rén de yǔyán wéi shǔyú hànyǔ zú hé yè ní sāi yǔxì gòngtóng cí yuán" 確定夏國及凱特人的語言為屬於漢語族和葉尼塞語系共同詞源 [Xia and Ket Identified by Sinitic and Yeniseian Shared Etymologies]. Central Asiatic Journal. 60 (1–2): 51–58. doi:10.13173/centasiaj.60.1-2.0051. JSTOR 10.13173/centasiaj.60.1-2.0051. S2CID 165893686.
  31. Geng 2005.
  32. Yü, Ying-shih (1986). "Han Foreign Relations". The Cambridge History of China, Volume 1: The Ch'in and Han Empires, 221 BC – AD 220. Cambridge: Cambridge University Press. p. 384. ISBN 978-0-521-24327-8.
  33. Gao, Jingyi (高晶一) (2013). "Huns and Xiongnu Identified by Hungarian and Yeniseian Shared Etymologies" (PDF). Central Asiatic Journal. 56: 41. ISSN 0008-9192. JSTOR 10.13173/centasiaj.56.2013.0041.

ข้อมูล[แก้]

ปฐมภูมิ
ข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]