การค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“เส้นทางการค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย” ตาม “บันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียน” จากคริสต์ศตวรรษที่ 1

การค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย (อังกฤษ: Roman trade with India) เป็นการติดต่อค้าขายโดยการขนส่งสินค้าข้ามอานาโตเลียและเปอร์เซียที่พอจะมีบ้างเมื่อเทียบกับเวลาต่อมาที่ใช้เส้นทางสายใต้ผ่านทางทะเลแดงโดยการใช้ลมมรสุม การค้าขายเริ่มขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 หลังจากรัชสมัยของออกัสตัสเมื่อโรมันพิชิตอียิปต์(โรมันอียิปต์)ได้จากราชวงศ์ทอเลมี[1] เมื่อขยายดินแดนไปจนถึงลุ่มแม่น้ำไนล์ตอนเหนือแล้ว โรมันก็ไปพบกับชาติการค้าอาณาจักรอักซุม(จักรวรรดิอัคซูไมท์) บนฝั่งทะเลแดงที่ในปัจจุบันคือประเทศเอธิโอเปีย อาณาจักรอักซุมดำเนินการค้าขายกับอินเดียและอียิปต์มาเป็นเวลาหลายร้อยปีก่อนหน้านั้นแล้ว

การใช้ลมมรสุมในการช่วยเดินเรือที่ทำให้ปลอดภัยกว่าการเดินเรือเรียบฝั่งที่ริเริ่มขึ้นโดยนักเดินเรือของอาณาจักรอักซุม และต่อมาโดยชาวโรมัน อาณาจักรอักซุมถ่ายทอดความรู้ในการใช้ลมมรสุมในการเดินเรือให้กับชาวโรมัน และรักษาสัมพันธ์ไมตรีระหว่างกันอย่างปรองดองมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในบางโอกาสโรมันก็ใช้การบริการของเรืออาณาจักรอักซุมในการขนส่งสินค้าด้วย เส้นทางสายนี้ช่วยทำให้มีการติดต่อค้าขายโดยตรงระหว่างราชอาณาจักรโบราณของอินเดียและโรมัน ในที่สุดเส้นทางค้าขายทางทะเลมีความสำคัญขึ้นจนมาแทนที่เส้นทางข้ามทวีปทางบกที่ใช้กันมาแต่ก่อน[2]

การค้าขายของโรมันมักจะแวะที่รัฐทมิฬโบราณ (อินเดียใต้และประเทศศรีลังกาปัจจุบัน) เพื่อทำการค้ากับนักเดินเรือทะเลราชอาณาจักรทมิฬที่รวมทั้งราชอาณาจักรโจฬะ, ราชอาณาจักรพันด์ยัน (Pandyan Kingdom) และ ราชวงศ์เจรา (Chera Dynasty) และก่อตั้งที่ตั้งถิ่นฐานสำหรับผู้ทำการค้าขาย ที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อมาแม้ว่าจะหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก[3] และเลยไปจากเมื่อไบแซนไทน์สูญเสียเมืองท่าในอียิปต์และทะเลแดง[4] ราวระหว่างปี ค.ศ. 639 ถึงปี ค.ศ. 645 การค้าก็ตกอยู่ภายใต้ความกดดันของสงครามกับอิสลาม ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่ออัคซูมและจักรวรรดิไบแซนไทน์ยุติการมีความสัมพันธุ์ต่อกันแล้ว อาณาจักรคริสเตียนอักซุมก็เริ่มเสื่อมโทรมลง แต่ก็ยังคงอยู่รอดมาได้แม้จะได้รับความกดดันโดยกองกำลังของมุสลิมรอบข้างมาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 เมื่อมาได้รับการปฏิรูปหลังจากความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์

อ้างอิง[แก้]

  1. Shaw, Ian (2003). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. ISBN 0-19-280458-8
  2. Young, Gary Keith (2001). Rome's Eastern Trade: International Commerce and Imperial Policy, 31 BC-AD 305. Routledge. ISBN 0-415-24219-3.
  3. Curtin 1984: 100
  4. Holl 2003: 9

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Lionel Casson, The Periplus Maris Erythraei: Text With Introduction, Translation, and Commentary. Princeton University Press, 1989. ISBN 0-691-04060-5.
  • Chami, F. A. 1999. “The Early Iron Age on Mafia island and its relationship with the mainland.” Azania Vol. XXXIV.
  • Miller, J. Innes. 1969. The Spice Trade of The Roman Empire: 29 B.C. to A.D. 641. Oxford University Press. Special edition for Sandpiper Books. 1998. ISBN 0-19-814264-1.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]