เขื่อนทุ่งเพล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนทุ่งเพล
คลองทุ่งเพลช่วงท้ายน้ำของเขื่อน
บริเวณวัดเขาบรรจบ
เขื่อนทุ่งเพลตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรี
เขื่อนทุ่งเพล
ที่ตั้งของเขื่อนทุ่งเพลในจังหวัดจันทบุรี
ชื่อทางการโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล (เขื่อนทุ่งเพล)
ประเทศประเทศไทย
ที่ตั้งอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
พิกัดภูมิศาสตร์12°52′17″N 102°11′10″E / 12.8713°N 102.1861°E / 12.8713; 102.1861
จุดประสงค์เขื่อนอเนกประสงค์
เริ่มต้นการก่อสร้าง7 พฤษภาคม พ.ศ. 254
วันที่เปิด4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
งบประมาณ33.3801 ล้านบาท
เจ้าของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
โครงสร้างและทางน้ำล้น
ความสูง31 เมตร (102 ฟุต)
ความยาว220 เมตร (720 ฟุต)
กั้นคลองทุ่งเพล
ทางน้ำล้นทางระบายน้ำล้นสันมนแบบไม่มีประตูควบคุม
ชนิดทางน้ำล้นคอนกรีตหลา
ปริมาณน้ำล้น300 ลบ.ม./วินาที
อ่างเก็บน้ำ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนคอนกรีตแบบถ่วงน้ำหนัก
ความจุ534,000 ลบ.ม.
พื้นที่อ่าง32 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่วัด ณ ระดับน้ำส่วนเหนือเขื่อน0.083 ตารางกิโลเมตร
โรงไฟฟ้า
พิกัดภูมิศาสตร์12°48′30″N 102°10′31″E / 12.8082°N 102.1754°E / 12.8082; 102.1754
เจ้าของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
เริ่มต้นการผลิตพ.ศ. 2558
กังหัน2 × แบบฟรานซิสเพลานอน
กำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้ง2 × 4,900 กิโลวัตต์
กำลังผลิตสุทธิ9,800 กิโลวัตต์

เขื่อนทุ่งเพล เป็นเขื่อนคอนกรีตแบบถ่วงน้ำหนักสำหรับกักเก็บน้ำไว้สำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลฉมัน อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี

เขื่อนทุ่งเพล อยู่ในตำแหน่งของเขื่อนบน ตามโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล[1] ภายใต้ความดูแลของ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน[2]

ประวัติ[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล เป็นเขื่อนตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[2][3] สำหรับจัดหาแหล่งน้ำสำหรับกักเก็บในการอุปโภค บริโภค และใช้ในด้านการเกษตร รวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งดำริขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ในการเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธาร[4] โดยนางสิริพร ไศละสูต เลขาธิการพลังงานแห่งชาติในขณะนั้นได้ถ่ายทอดให้ฟังว่า[5]

"เมื่อถวายรายงานว่า หลังจากนี้กรมจะสร้างฝายยางเพื่อกั้นน้ำและปล่อยน้ำไปช่วยทางจังหวัดตราด พระองค์รับสั่งว่า "ยังไม่วิกฤติ ยังน้อย คนที่ต้องช่วยเขาก่อนจะอยู่ทางด้านทุ่งเพล เพราะขาดน้ำมากกว่า"...

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้รับกระแสพระราชดำริและมอบหมายให้เลขาธิการพลังงานแห่งชาติ (ปัจจุบันคือกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน)[4] นำไปศึกษาและดำเนินการ[5]

การศึกษา[แก้]

จากนั้นสำนักงานพลังงานแห่งชาติได้ดำเนินการศึกษาและสำรวจรายละเอียดเพิ่มเติม เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวได้รับการสำรวจเบื้องต้นแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2508 ด้วยความร่วมมือกับรัฐบาลออสเตรเลีย จึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามาดำเนินการสำรวจศึกษาความเหมาะสมในปีงบประมาณ 2532 โดยแบ่งเขื่อนในโครงการเป็นสองส่วนคือ เขื่อนบน อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า ชื่อว่าเขื่อนทุ่งเพล และเขื่อนล่าง อยู่ในตำแหน่งต่ำกว่า คือเขื่อนบ้านพลวง เพื่อประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ[4]

โครงการก่อสร้างนั้นถูกวางขึ้นในช่วงปีงบประมาณ 2532 ถึงปีงบประมาณ 2541 ใช้ระยะเวลา 10 ปี ภายใต้งบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 2,364 ล้านบาท โดยได้เริ่มต้นก่อสร้างส่วนของเขื่อนบ้านพลวง (เขื่อนล่าง) ก่อนเนื่องจากพื้นที่ไม่ได้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยลงนามว่าจ้างบริษัท บางกอกมอเตอร์อีควิปเมนต์ จำกัด ดำเนินการก่อสร้างในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 และก่อสร้างเสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2537 และเริ่มต้นใช้งานในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน[4]

เขื่อนบ้านพลวงตั้งอยู่ในบริเวณรอยต่อของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ (ในภาพ) และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว

แต่ส่วนของเขื่อนทุ่งเพล (เขื่อนบน) สำนักงานพลังงานพลังงานแห่งชาติเห็นว่าแนวการวางท่อส่งน้ำเดิมที่บริษัทที่ปรึกษาออกแบบจะต้องมีการตัดหน้าดิน อาจจะส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จึงได้ขอความร่วมมือไปยังรัฐบาลสวีเดนเพื่อให้ร่วมศึกษาและทบทวนแผนในการออกแบบเขื่อนทุ่งเพล (เขื่อนบน) ให้ส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และออกแบบแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2536 แต่ก็ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ก่อสร้างส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ และเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว รวมถึงแนวอุโมงค์ส่งน้ำมายังเขื่อนบ้านพลวงบางส่วนอยู่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1 เอ โดยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2537 เห็นชอบในหลักการอนุญาตให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (สำนักงานพลังงานแห่งชาติเดิม) เข้าไปดำเนินการก่อสร้างเขื่อนทุ่งเพล (เขื่อนบน) ได้ พร้อมทั้งเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพิกถอนพื้นที่ที่จะก่อสร้างเขื่อนออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ ออกจากเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และผ่อนผันการใช้งานในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1 เอ[4]

นอกจากนี้สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2537 ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ให้ศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างเขื่อนบนและหาทางแก้ไขให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานจึงได้ว่างจ้งให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการศึกษาจนแล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2538[4]

การก่อสร้าง[แก้]

เขื่อนทุ่งเพลเริ่มต้นก่อสร้างเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 โดย บริษัท ไทยวิวัฒน์วิศวการทาง จำกัด วงเงิน 33,380,100 บาท ในส่วนของตัวเขื่อนทุ่งเพล (เขื่อนบน) โรงไฟฟ้าและอาคารประกอบ (C1) ซึ่งการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558[6]

ในส่วนของระบบผลิตและจ่ายไฟฟ้า ได้ดำเนินการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำพร้อมกับชุดอุปกรณ์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 วงเงินงบประมาณ 9,927,460 บาท[6] ติดตั้งระบบป้องกันสายส่งไฟฟ้าแรงสูงพร้อมทั้งอุปกรณ์ประกอบภายในโครงการฯ ดำเนินงานระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 วงเงิน 19,852,245 บาท ซึ่งสองงานไฟฟ้านี้ดำเนินการโดยบริษัท เพาเวอร์ ไนน์ เอ็นจิเนียริง จำกัด[6] และเชื่อมโยงระบบจำหน่ายไฟฟ้าและระบบป้องกันสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจันทบุรี ดำเนินการโดยการ่าจ้างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วงเงิน 4,550,000 บาท[6]

ปัจจุบันโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพลได้เริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2561[7] โดยมีอ่างเก็บน้ำบ้านพลวง (เขื่อนล่าง) เป็นแหล่งรับน้ำหลังจากการผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งมาจากเขื่อนทุ่งเพล (เขื่อนบน)[4][1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเดิม) ได้ว่าจ้างให้บริษัท บี แอนด์ ซี เมเนจเมนท์ จำกัด ศึกษาความเหมาะสมและดำเนินการสำรวจออกแบบการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล ปรากฏออกมาเป็นรายงานในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 จำนวน 3 โครงการ โดย 1 ใน 3 ของโครงการดำเนินการในเขื่อนทุ่งเพลในรูปแบบของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก แห่งที่ 2 ใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเดิม ให้พลังงานเฉลี่ยต่อปี 2.59 ล้านหน่วย โดยจะติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ 3 เฟส กังหันแกนนอน AC Synchronous Generator ขนาด 983 กิโลวัตต์-แอมแปร์ จำนวน 2 ชุด[8]

คุณสมบัติ[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำคลองทุ่งเพล ซึ่งอยู่ในกลุ่มของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก[9] โดยคุณสมบัติในส่วนของเขื่อนบน คือเขื่อนทุ่งเพล ประกอบไปด้วย[4]

อ่างเก็บน้ำ[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล บริเวณอ่างเก็บน้ำมีพื้นที่รับน้ำขนาด 32 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี 83 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 2.71 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด 261 ม.รทก. ใช้งานได้ต่ำสุด 257.8 ม.รทก. ความจุของอ่าง 0.534 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับใช้งาน 0.214 ล้านลูกบาศก์เมตร ระดับต่ำสุด 0.320 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ผิวอ่างเก็บน้ำจำนวน 0.083 ตารางกิโลเมตร (52 ไร่) รับน้ำจากคลองทุ่งเพล

เขื่อน[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล เป็นเขื่อนคอนกรีตแบบถ่วงน้ำหนัก (Concrete Gravity) มีความยาวสันเขื่อน 220 เมตร ความสูงจากระดับท้องน้ำ 31 เมตร

ทางระบายน้ำใต้เขื่อน[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล มีทางระบายน้ำใต้เขื่อนแบบ Sluice pipe ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 เมตร มีความสามารถในการปล่อยน้ำ 14 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ความยาว 60 เมตร

ท่อปล่อยน้ำใต้เขื่อน[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล มีท่อปล่อยน้ำใต้เขื่อนแบบท่อเหล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3 เมตร ความสามารถในการปล่อยน้ำ 0.886 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีความสามารถในการปล่อยน้ำตลอดเวลา 0.1 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

อาคารน้ำล้น[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล มีอาคารน้ำล้น (อยู่ในตัวเขื่อน) แบบสันมนไม่มีประตูควบคุม (Uncontrol Overflow Ogee) ชนิดคอนกรีตหลา (Mass Concrete) ปริมาณน้ำล้น (1,000 ปี) 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีความกว้าง 20 เมตร สูง 3.5 เมตร

อาคารรับน้ำ[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล มีอาคารรับน้ำ (Intake) แบบหอคอยอิสระ ประตูรับน้ำแบบ Cylinder gate เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.9 เมตร มีปริมาณน้ำออกแบบ (Design Discharge) 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ทางชักน้ำ[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล มีทางชักน้ำ (Headrace) แบบอุโมงค์รูปเกือกม้าดาดคอนกรีตบางช่วง ตามสเป็กออกแบบแรก มีขนาดพื้นที่หน้าตัด 10 ลูกบาศก์เมตร (กว้าง 3.5 เมตร) ความยาว 6,260 เมตร แต่ก่อสร้างจริงอุโมงค์ส่งน้ำความยาว 5,955 เมตร จากเขื่อนทุ่งเพลเข้าสู่โรงไฟฟ้าพลังน้ำสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า และจ่ายน้ำลงในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนบ้านพลวง[1]

ถังระบายความดัน[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล มีถังระบายความดัน (Surge Tank) แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก มีระดับยอดของถัง 276 ม.รทก. ระดับความสูงของถัง 36 เมตร ตัวถังมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตร

ท่อส่งน้ำรับแรงดัน[แก้]

เขื่อทุ่งเพล ท่อส่งน้ำรับแรงดัน (Penstock) แบบท่อเหล็กฝังดิน มีปริมาณน้ำออกแบบ (Design Discharge) ปริมาณ 6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เส้นผ่าศูนย์กลางท่อ 1.50 เมตร ความยาว 1,100 เมตร

ทางท้ายน้ำ[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล ประกอบด้วยทางท้ายน้ำออกจากโรงไฟฟ้าไปยังเขื่อนบ้านพลวงในรูปแบบคลองเปิด ความกว้างที่ฐานขนาด 5 เมตร ความลาดชันด้านข้าง 1.5:1 ความยาว 125 เมตร

การผลิตไฟฟ้า[แก้]

โรงไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล[10] เป็นส่วนหนึ่งของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล ตั้งอยู่บริเวณเหนือขอบส่วนอ่างเก็บน้ำของเขื่อนบ้านพลวง ปัจจุบันมีการเซ็นสัญญาผลิตกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในประเภทของ ผู้ผลิตเอกชนขนาดเล็ก (SPP) กำลังผลิตตามสัญญาคือ 9.80 เมกะวัตต์[10] (4,900 กิโลวัตต์) โดยมีรายละเอียดโครงสร้างการผลิตไฟฟ้าดังนี้

อาคารโรงไฟฟ้า[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล มีตัวอาคารโรงไฟฟ้าแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 13 เมตร ยาว 30 เมตร ระดับพื้นของโรงไฟฟ้าอยู่ที่ความสูง 73.50 ม.รทก.[4]

เครื่องกังหันน้ำ[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล ประกอบไปด้วยเครื่องกังหันน้ำ (Turbine) ชนิดกังหันน้ำฟรานซิสเพลาแนวนอน (Horizontal Shaft Francis) จำนวน 2 ชุด[11] กำลัง 4,900 กิโลวัตต์ต่อชุด แต่ละชุดมีปริมาณน้ำออกแบบ (Design Discharge) 3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ความดันน้ำปกติ 190 เมตร จำนวน 1,000 รอบต่อนาที กำลังผลิตรวม 9,800 กิโลวัตต์[1][4]

สายส่งไฟฟ้าแรงสูง[แก้]

เขื่อนทุ่งเพล ประกอบด้วยสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (Transmission Line) ระยะทาง 10 กิโลเมตร ขนาดของสายส่ง 120 ตารางมิลลิเมตร แรงดัน 115 กิโลโวลต์ ใช้เสาส่งแบบเสาเหล็ก[4]

การท่องเที่ยว[แก้]

เขื่อนทุ่งเพลตั้งอยู่ในพื้นที่รอยต่อระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว[4] ทำให้มีวิวทิวทัศน์และธรรมชาติที่สมบูรณ์สวยงาม การเข้าไปเยี่ยมชมจะต้องเข้าไปผ่านทางหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ซึ่งตัวเขื่อนไม่ได้เปิดให้เข้าไปเยี่ยมชมสาธารณะ มีการเปิดให้เข้าถึงบางโอกาส[12]เนื่องจากจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ไม่เพียงพอในการดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวทั้งในส่วนของเขื่อน และน้ำตกเขาบรรจบส่วนที่อยู่เหนือจากเขื่อนขึ้นไป[13] นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาท่องเที่ยวและกางเต็นท์ในบริเวณน้ำตกเขาบรรจบช่วงที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ และเข้าพักตามโฮมสเตย์ตลอดแนวคลองทุ่งเพล ที่เขื่อนทุ่งเพลจ่ายน้ำลงมา[14][15]

จุดที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางผ่านอีกแห่งคือถังระบายความดัน หรือปล่องอากาศของอุโมงค์ทางชักน้ำจากเขื่อนทุ่งเพลไปสู่โรงไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล เนื่องจากอยู่ในบริเวณจุดเริ่มต้นของเส้นทางเดินเท้าขึ้นไปนมัสการพระบาทพลวง ในช่วงงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พระบาทพลวง) ซึ่งเป็นเส้นทางเก่าแก่ มีการใช้งานจากชาวบ้านในท้องถิ่นหลายรอยปี[16][17][18]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "รมว.พลังงานตามความคืบหน้าโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล". mgronline.com. 2008-10-17.
  2. 2.0 2.1 องคมนตรี ไปติดตามการดำเนินงานโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธาร จังหวัดจันทบุรี, สืบค้นเมื่อ 2023-04-28
  3. "โครงการ เขื่อนบ้านพลวง". km.rdpb.go.th.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (1995). "โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). e-lib.dede.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 "พลังงานในพระราชดำริ". www.eppo.go.th.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "FN_การติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานโครงการด้านอนุรักษ์พลังงานและด้านพลังงานทดแทนในระยะที่ผ่านมา - ระบบสารสนเทศองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน". kc.dede.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ผลักดันโรงไฟฟ้าพลังน้ำเมืองจันทร์". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  8. "FN_ศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบรายละเอียดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี - ระบบสารสนเทศองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน". kc.dede.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. กระทรวงพลังงาน, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. "โครงการด้านพัฒนาพลังงานทดแทน : โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก" (PDF). e-lib.dede.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 "กำลังผลิตโรงไฟฟ้าเอกชน เดือนมีนาคม 2566 - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย" (PDF). www.egat.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "โครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล – KTP1 | บริษัท พาวเวอร์ไนน์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด".
  12. "จ.จันทบุรีแถลงข่าว จัดกิจกรรม เดิน วิ่ง เกี่ยวข้าว ..." nbtworld.prd.go.th.
  13. OkChanthaburi. "น้ำตกเขาบรรจบ จันทบุรี | OK Chanthaburi".
  14. "บ้านป่าริมธาร โฮมสเตย์ พักผ่อนหย่อนใจ ฟังเสียงน้ำไหล รับอากาศบริสุทธิ์ - ซอกแซก.com". 2022-07-05.
  15. 25 (2022-03-29). "เปิดลิสต์ 10 ที่เที่ยวหน้าร้อนไม่ใช่ทะเล ชวนไปคลายร้อนชิล ๆ". kapook.com.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  16. "เส้นทางเดินขึ้นเขาคิชฌกูฏ พิชิตศรัทธาด้วยใจและกำลังขา". travel.trueid.net.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "พิสูจน์ศรัทธา?! เปิดเส้นทางสายเก่า เดินเท้าขึ้นเขาคิชฌกูฏ จากวัดโคกตะพง ถึง "รอยพระพุทธบาท" ขาลุยต้องลองสักตั้ง?!". tnews. 2018-01-11.
  18. "เดินเท้าขึ้นเขาคิชฌกูฏ ในเส้นทางโบราณ". travel.trueid.net.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)